Tuesday, 22 April 2025
งานวิจัย

AIT ชี้!! ทุกการวิจัยทั้งหมด ต้องดำเนินการด้วยความซื่อสัตย์-ถูกต้อง ห้าม 'ปลอมแปลง-บิดเบือน' เมื่อเงยหน้าจะได้ไม่อายฟ้า ก้มหน้าจะได้ไม่อายดิน

(27 มี.ค. 67) ผู้ใช้เฟซบุ๊ก 'LVanicha Liz' ได้โพสต์เนื้อหาในหัวข้อ 'AIT #เงยหน้าไม่อายฟ้าก้มหน้าไม่อายดิน' ระบุว่า...

เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2567 อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ได้ส่งอีเมลเตือนความจำไปยังผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายภายในสถาบันเรื่อง 'การผดุงไว้ซึ่งจริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริตในการวิจัย' มีใจความโดยย่อว่า AIT มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานสูงสุดในการ #กำกับดูแลกิจกรรมการวิจัยทั้งหมด...

การวิจัยทั้งหมดจะต้องดำเนินการด้วยความซื่อสัตย์ ถูกต้อง และเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณสูงสุด นี่เป็นสิ่งสำคัญในการรับประกันการมีคุณภาพสูงของงานวิจัย และรักษาไว้ซึ่งความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในนักวิจัย ตัวสถาบันเอง และประชาคมวิจัยโดยรวม...

โดยเราจะต้องทำให้แน่ใจได้ว่างานของเราได้ดำเนินไปด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส และเคารพในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น ประกอบด้วย...

การตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลและสิ่งที่ค้นพบทั้งหมดถูกนำเสนออย่างถูกต้องและตรงไปตรงมา #โดยไม่มีการปลอมแปลงหรือบิดเบือน (#WithoutFabricationOrManipulation)

หากพบเห็นหรือสงสัยว่ามีการทุจริตทางวิชาการ ให้รายงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสอบสวน...

ฯลฯ

ในฐานะประชาคมวิจัย เราต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และความเคารพต่อการมีส่วนร่วมทางปัญญาของบุคคลทุกคน

ป่านนี้มหาวิทยาลัยไทยบางแห่งจัดการงานวิจัยปลอมแปลงไปถึงไหนแล้ว มีการผดุงไว้ซึ่งจริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริตในการวิจัย รวมทั้งส่งเสริมความรับผิดชอบกันหรือยัง

AIT #เงยหน้าไม่อายฟ้าก้มหน้าไม่อายดิน

‘7 มหาวิทยาลัยจีน’ ติดโผ TOP 10 โลกด้านงานวิจัย แซงหน้า ‘สหรัฐฯ’ ไกล เหลือแค่ 'ฮาร์วาร์ด' ยังยืนท็อป

(11 ก.ค. 67) ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘Ethan Hunts’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า…

“วงการวิจัยและพัฒนาสหรัฐ เพิ่งตื่นตัวว่าการศึกษาจีน ด้านวิจัยและพัฒนาได้แซงหน้าสหรัฐไปแล้ว

การศึกษาแนว STEM หรือการศึกษาแนวบูรณาการ วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (ที่มาของชื่อย่อ Science Technology Engineering & Mathematics) ขณะนี้สหรัฐเหลือเพียง ‘มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด’ ที่ยังคงติดอันดับ 1 ใน 10 มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกด้านงานวิจัย เพียงแห่งเดียวเท่านั้น ที่เหลือเป็นมหาวิทยาลัยของจีนถึง 7 แห่ง

ที่สำคัญงานวิจัยอเมริกัน ราว 40% ก็เป็นผลงานนักศึกษาจีนสัญชาติสหรัฐ (คล้าย ๆ ทีมแชมป์โอลิมปิกคณิตศาสตร์สหรัฐ ล้วนเป็นคนจีนที่ถือสัญชาติสหรัฐทั้งนั้น)

ทางการจีนจ้างนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยด้าน STEM เมื่อเดือนที่แล้วเกือบ 4.7 ล้านคน (เรียกได้ว่าจบมามีงานรออยู่) และด้านการศึกษา จีนลงทุนงานวิจัยพัฒนาในระดับอุดมศึกษา เป็นอัตราส่วนเมื่อเทียบกับสหรัฐ เกือบ 4:1 (1 ล้านล้านเหรียญ : 3 แสนล้านเหรียญ)”

สมุทรปราการ-ศูนย์เวลเนส วีแคร์ ร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิต นำเสนอแนวปฏิบัติทางคลินิกจากงานวิจัยกว่า 500 ฉบับ

ศูนย์เวลเนส วีแคร์ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานประชุมวิชาการระดับชาติด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิตและการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ครั้งที่ 2 ประจำปี 2568 หัวข้อ "HEALTHY LIVING | HEALTHY LONGEVITY เวชศาสตร์วิถีชีวิต จังหวะชีวิตเพื่ออายุที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี" ซึ่งจัดโดยกรมอนามัย ร่วมกับ สสส. สมาคมเวชศาสตร์วิถีชีวิตไทย สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่าย 

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ผู้อำนวยการศูนย์เวลเนส วีแคร์ ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรบรรยายหลักใน session "แนวทางปฏิบัติทางคลินิกและแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อเวชศาสตร์วิถีชีวิต" (KALM Series) ทได้นำเสนอแนวปฏิบัติทางคลินิก (Clinical Practice Guidelines: CPG) อันเป็นผลจากการศึกษาวิเคราะห์และทบทวนงานวิจัยอย่างเข้มข้นกว่า 500 บทความวิชาการ ก่อนนำมาสังเคราะห์และพัฒนาเป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม องค์ความรู้เหล่านี้ไม่เพียงมีฐานทางวิชาการที่แข็งแกร่ง แต่ยังถูกออกแบบให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในระบบสาธารณสุข เพื่อยกระดับการจัดการสุขภาพของประชาชนไทยให้ก้าวสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน 

ในงานนี้ ศูนย์เวลเนส วีแคร์ ยังได้ออกบูธประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิต สำหรับองค์กรและบุคลากรสาธารณสุข พร้อมนำเสนอแคมป์สุขภาพที่ทางศูนย์ได้จัดทำขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ขณะที่เมก้า วีแคร์ บริษัท ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์บำรุงสุขภาพคุณภาพสูงในราคามิตรภาพสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เข้าร่วมงาน 

การเข้าร่วมงานครั้งนี้สะท้อนวิสัยทัศน์ของศูนย์เวลเนส วีแคร์ ในการเป็นผู้นำด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิตและการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน โดยมุ่งมั่นถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และนวัตกรรมด้านสุขภาพ เพื่อร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมสุขภาพดีถ้วนหน้า ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการประชุมที่มุ่งพัฒนาระบบเวชศาสตร์วิถีชีวิตในประเทศไทยอย่างยั่งยืน 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top