Tuesday, 6 May 2025
ค่าไฟ

‘พีระพันธุ์’ ผงาด!! ขึ้นเบอร์หนึ่ง 3 เดือนติด จากการโหวตใน Line Todayหลังทำงานหนัก!! ตรึงราคาค่าไฟ พลังงาน เดินหน้า ‘รื้อ-ลด-ปลด-สร้าง’

(23 มี.ค. 68) LINE TODAY ได้ทำการสำรวจคะแนนความนิยม ของบุคคลทางการเมือง ที่ประชาชนชื่นชอบ ประจำเดือนมีนาคม 2568 ผลปรากฏว่า ...

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จากพรรครวมไทยสร้างชาติ มีคะแนนนำคู่แข่ง ทิ้งห่างอย่างขาดลอย ขึ้นที่ 1 ด้วยคะแนน 1,913 คะแนน คิดเป็น 30.34% ทิ้งห่างที่ 2 นางสาวรักชนก ศรีนอก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคประชาชน ซึ่งมีคะแนน 1,302 คะแนน คิดเป็น 20.65%

นอกจากนี้ ก็ยังมีนักการเมืองที่น่าสนใจ ท่านอื่นๆ อาทิ

นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อยู่อันดับที่ 4 มีคะแนน 461 คะแนน คิดเป็น 7.31%

นายรังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคประชาชน อยู่อันดับที่ 5 มีคะแนน 317 คะแนน คิดเป็น 5.03%

ซึ่งการเป็นนักการเมืองที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุดนั้น นายพีระพันธุ์ ได้รับความนิยมเป็นอันดับที่ 1 มาถึง 3 เดือนติดกันแล้ว

โดยเดือนมกราคม นายพีระพันธุ์ ขึ้นอันดับที่ 1 ด้วยคะแนน 2,493 คะแนน หรือคิดเป็น 30.04%

และในเดือนกุมภาพันธุ์ ก็ได้ขึ้นมาอันดับที่ 1 อีกครั้ง ด้วยคะแนน 1,810 คะแนน หรือคิดเป็น 29.69%

‘พีระพันธุ์’ ระบุ คนไทยมีภาระมาก รัฐควรแบกรับส่วนต่างค่าไฟแทน ชี้ กรอบเป้าหมายไม่เกิน 3.99 บาทต่อหน่วย

คนไทยมีภาระมาก รัฐควรแบกรับส่วนต่างค่าไฟแทน ชี้ กรอบเป้าหมายไม่เกิน 3.99 บาทต่อหน่วย

‘พีระพันธุ์’แจงปมสัญญาซื้อไฟ 5,200 MW ลั่น!! พบผิด‘ยกเลิกสัญญา’ได้ทันที

(20 เม.ย. 68) นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  กล่าวว่า เรื่อง การเซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เป็นเรื่องที่ฝ่ายค้านได้ตั้งกระทู้ถามในสภาเมื่อเดือนที่ผ่านมา และนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ตอบไปอย่างครบถ้วนแล้ว

Lesiy[โครงการประมูลดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ปี 2565 ในรัฐบาลที่ผ่านมา ในรอบแรกมีการประมูลขนาด 5,200 เมกะวัตต์ ซึ่งหลังจากการประมูลเสร็จสิ้น ผู้ที่ไม่ได้รับคัดเลือกได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ทำให้ในช่วงเวลาดังกล่าวไม่สามารถเซ็นสัญญาได้ แต่ล่าสุด ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยยกฟ้องทุกกรณีแล้ว จึงไม่มีข้อกฎหมายใดเป็นอุปสรรคต่อการลงนามในสัญญาอีกต่อไป และการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งจึงเริ่มทยอยดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นยังมีเงื่อนไขกำหนดให้ กฟผ.ต้องลงนามในสัญญาภายในสอง 2 ปี โดยในส่วนของไฟฟ้าจากแสงแดดจะครบกำหนดในวันที่ 18 เมษายน 2568 ส่วนพลังลมครบกำหนดภายในปี 2569

สำหรับการซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจำนวน 5,200 เมกกะวัตต์ในเฟสแรกนั้น มีการประมูลที่ 4,852 เมกกะวัตต์ มีสัญญาทั้งสิ้น 175 ฉบับ มีโครงการ  ที่ กฟผ.เกี่ยวข้อง 83 โครงการ และเซ็นสัญญาแล้ว 67 โครงการ โดยเป็นการดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2565  และทางกฤษฎีกาได้ให้ข้อเสนอแนะว่า เนื่องจากมีการเซ็นลงนามสัญญาไปแล้วหากยกเลิกหรือชะลอการเซ็นลงนามสัญญาส่วนที่เหลืออาจจะทำให้เกิดปัญหาข้อกฎหมาย

ในส่วนของ 16 โครงการที่ยังไม่ได้ลงนามนั้น หากจะหยุดกระบวนการทันที จะทำให้เกิดปัญหาข้อกฎหมาย  เนื่องจากอยู่ในขั้นตอนที่มีการดำเนินการล่วงหน้าแล้ว และ กฤษฎีกาได้แนะนำให้ กฟผ. ใส่เงื่อนไขในสัญญาเพิ่มเติมว่า หากภายหลังพบว่าการประมูลมีปัญหาทางกฎหมายหรือผิดขั้นตอนใด ๆ ก็สามารถยกเลิกสัญญาได้ โดยไม่ต้องรอให้ครบสัญญา 25 ปี  ดังนั้น ทั้ง 3 สัญญาที่ลงนามไปเมื่อวันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมา จึงได้มีการดำเนินการตามเงื่อนไขที่ต้องลงนามในสัญญาภายใน 2 ปีและมีการปรับเงื่อนไขของสัญญาตามคำแนะนำของกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้ว ขอให้วางใจได้

ขณะเดียวกัน สำหรับ 16 สัญญาที่เหลือ นายพีระพันธุ์ได้หารือกับผู้ว่าการ กฟผ.เพื่อหาช่องทางทางกฎหมายในการชะลอการลงนามเพื่อให้มีเวลาตรวจสอบประเด็นที่สังคมกังวลอย่างรอบคอบ โดยส่วนใหญ่เป้นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม โดยจะครบกำหนดในปี 2569 ซึ่งขณะนี้ ผู้ว่าฯ กฟผ. กำลังตรวจสอบข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางดำเนินการให้สอดคล้องกับกรอบอำนาจที่มี จึงขอให้มั่นใจว่าการเซ็นสัญญาครั้งนี้จะไม่เป็นข้อผูกมัดไป 25 ปี เพราะสามารถยกเลิกสัญญาได้ทันที หากพบว่ามีการกระทำผิด

อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่าเรื่องนี้ไม่ใช่อำนาจของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แต่เป็นเงื่อนไขที่กำหนดโดย กกพ. ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2565   และรัฐมนตรีพลังงานไม่มีอำนาจใน กกพ. เลย  ส่วน กฟผ. นั้น รัฐมนตรีพลังงานมีอำนาจแค่กำกับ จึงเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญในเชิงโครงสร้างที่ต้องมีการแก้ไข  ซึ่งนายพีระพันธุ์ระบุชัดว่า หนึ่งในอุปสรรคใหญ่ของการปฏิรูปพลังงานคือ ปัญหากฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยกฎหมายพลังงานที่มีอยู่จำกัดอำนาจรัฐมนตรีในการกำกับดูแลอย่างแท้จริง รัฐบาลจึงอยู่ระหว่างการเร่งแก้ไขกฎหมายเหล่านี้ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และไม่เปิดช่องให้เกิดการเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนใด ๆ ในอนาคต

“ขอยืนยันว่า หากมีหลักฐานหรือข้อเท็จจริงใหม่ที่แสดงให้เห็นว่าโครงการใดผิดกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยขั้นตอน ก็สามารถดำเนินการยกเลิกสัญญาได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ครบอายุสัญญา 25 ปี พร้อมย้ำว่ารัฐบาลจะดำเนินการทุกอย่างที่ทำได้เพื่อให้ถูกต้อง โปร่งใส และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย”

ทั้งนี้  รัฐบาลพร้อมรับฟังทุกเสียงของประชาชนและฝ่ายค้านอย่างสร้างสรรค์ แต่ขอให้การนำเสนอข้อกล่าวหาเป็นไปอย่างรอบคอบและยึดข้อเท็จจริง มิใช่การบิดเบือนเพื่อหวังผลทางการเมือง เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดคือผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้นายศุภโชติ ไชยสัจ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว อ้างว่า การลงนามสัญญารับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบ 5,200 เมกะวัตต์ จะส่งผลให้คนไทยต้องจ่ายค่าไฟแพงกว่าที่ควรเป็นกว่า 1 แสนล้านบาทตลอดระยะเวลา 25 ปี

สนพ. แจงการรับซื้อไฟฟ้าสีเขียว 5,200 MW ไม่ทำให้ค่าไฟแพง ชี้ชัด กลับช่วยลดค่าไฟ - หนุนอนาคตพลังงานสะอาดของประเทศ

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ชี้แจงถึงข้อเท็จจริงในประเด็นที่มีกระแสข่าวและความกังวลเกี่ยวกับการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (RE Big Lot) จำนวน 5,200 เมกะวัตต์ (MW) ว่าอาจทำให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้นและสร้างภาระงบประมาณแผ่นดินเป็นหลักแสนล้านบาท ดังนี้

1. การยกเลิกการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 5,200 MW
นายวัฒนพงษ์ฯ ระบุว่า การรับซื้อไฟฟ้าปริมาณ 5,203 เมกะวัตต์ RE Big Lot เป็นการดำเนินการจากมติ กพช. ในการประชุมเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 และได้มีการดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ครบถ้วนไปก่อนแล้ว ปัจจุบันมีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) แล้วเป็นส่วนใหญ่และบางโครงการได้มีการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) แล้ว การยกเลิกสัญญาของ RE Big Lot ที่ลงนามไปแล้วจึงไม่อาจจะทำได้ และหากจะมีการยกเลิกโครงการที่ไม่ลงนามในสัญญาส่วนที่เหลือกว่าสิบสัญญา จะทำให้เกิดข้อขัดแย้งกับสัญญาที่ลงนามไปแล้ว และเป็นการดำเนินการแบบ 2 มาตรฐานระหว่างกลุ่มโครงการที่ได้มีการลงนามในสัญญาแล้ว และโครงการที่ยังไม่ได้ลงนามในสัญญา

2. การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 5,200 MW จะทำให้ค่าไฟฟ้าแพงหรือไม่?
นายวัฒนพงษ์ฯ กล่าวว่า การรับซื้อไฟฟ้า RE Big Lot มีต้นทุนรับซื้อไฟฟ้าเฉลี่ยประมาณ 2.7 บาทต่อหน่วย (พลังงานแสงอาทิตย์มีอัตรา 2.16 บาทต่อหน่วย พลังงานลมมีอัตรา 3.10 บาทต่อหน่วย พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับ BESS (ระบบเดินไฟในแบตเตอรี่) มีอัตรา 2.83 บาทต่อหน่วย) ซึ่งมีราคาที่ต่ำกว่าค่าไฟฟ้าขายส่งเฉลี่ย(Grid Parity) ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ขายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย (การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) โดย ณ เดือน มีนาคม 2568 มีค่าไฟฟ้าขายส่งเฉลี่ยประมาณ 3.18 บาทต่อหน่วย ดังนั้น การรับซื้อไฟฟ้า RE Big Lot จะไม่ทำให้ราคาค่าไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามการรับซื้อไฟฟ้า RE Big Lot จะทำให้ค่าไฟฟ้าขายส่งเฉลี่ยลดลง เนื่องจากมีราคารับซื้อไฟฟ้าต่ำกว่าค่าไฟฟ้าขายส่งเฉลี่ย โดยการรับซื้อไฟฟ้าจาก RE Big Lot จะช่วยให้ค่าไฟฟ้าขายส่งเฉลี่ยลดลงประมาณ 4,574 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ การรับซื้อไฟฟ้าจาก RE Big Lot จะช่วยให้ประเทศไม่เสียโอกาสในการลงทุนในพัฒนาพลังงานหมุนเวียนซึ่งเป็นเชื้อเพลิงพลังงานสะอาดที่มีอัตรารับซื้อในระดับที่เหมาะสมและสามารถแข่งขันได้ ไม่ส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าในภาพรวม และช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพทางด้านราคาค่าไฟฟ้าของประเทศได้ในระยะยาว

3. สนับสนุนเป้าหมายลดคาร์บอน และตอบโจทย์อนาคตพลังงานสะอาดของประเทศ
นายวัฒนพงษ์ฯ เน้นว่าการรับซื้อไฟฟ้า RE Big Lot เป็นการช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในระบบไฟฟ้า และจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยให้สามารถบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution: NDC) ร้อยละ 30 – 40 ภายในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) และบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero Carbon Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 (พ.ศ. 2608) 

อีกทั้งการเพิ่มการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพของประเทศไทยในการรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดของผู้ประกอบการภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะธุรกิจส่งออกที่มีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ และเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศด้วยการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

‘พีระพันธุ์’ เดินหน้า!! ลดราคาพลังงานไฟฟ้า ให้พี่น้องประชาชน ล่าสุด!! เหลือ 3.99 บาท/ต่อหน่วย สำหรับงวดเดือน พ.ค.- ส.ค.68

(26 เม.ย. 68) เพจ ‘พีระพันธุ์ FC’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ...

ขอบคุณ พี่ตุ๋ย-พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ทุ่มเทแสวงหาทุกช่องทางในการลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าให้พี่น้องประชาชนมาตลอด โดยล่าสุดจะสามารถลดค่าไฟลงเหลือ 3.99 บาท/ต่อหน่วย สำหรับงวดเดือน พ.ค.-ส.ค.68 ตามมติ ครม. ที่กระทรวงพลังงานนำเสนอ และจะเร่งบริหารจัดการให้ค่าไฟลดลงได้อีกอย่างต่อเนื่อง คนไทยเตรียมรับข่าวดีอีกครับ!!

'ศศิกานต์ วัฒนจันทร์’ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผย!! ‘ค่าไฟไม่ได้แพงขึ้น แต่ลดลงต่อเนื่อง’

(26 เม.ย. 68) กระทรวงพลังงานภายใต้การนำของ ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ คุมเข้มค่าไฟปี 2567 ตรึงราคาไว้ที่ 4.18 บาทต่อหน่วย งวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 68 ลดลงเหลือ 4.15 บาทต่อหน่วย และข่าวดี!!! งวด พ.ค.-ส.ค. ตั้งเป้าลดลงเหลือ 3.99 บาทต่อหน่วย 

สำหรับการเซ็นสัญญารับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเริ่มโครงการมาตั้งแต่ 3 ปีก่อน มีการเซ็นสัญญาไปแล้วถึง 67 โครงการ และเซ็นสัญญาในวันที่ 18 เม.ย. ที่ผ่านมาเพียง 3 โครงการ และอีก 13 โครงการยังไม่ได้เซ็นสัญญาซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบสัญญาอย่างละเอียด 

แม้สัญญาจะมีการเซ็นไปแล้ว แต่หากตรวจสอบพบความผิดปกติในการประมูล มีความไม่ชอบมาพากล หรือการทำผิดกฎหมาย สามารถยกเลิกสัญญาได้ในทันที ไม่ต้องรอหมดสัญญา

ย้ำ!! ทำทุกอย่างด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม เป็นประโยชน์กับทุกคน

Timeline ลดค่าไฟ!!

‘พีระพันธุ์’ ยัน!! ค่าไฟฟ้า
ปี 67 ราคา 4.18 บาท ตลอดทั้งปี
ปี 68 ลดถึง 3.89 บาทต่อหน่วย

‘พิชัย-พีระพันธุ์’ ร่วมย้ำ ค่าไฟฟ้างวด ก.ย.-ธ.ค. เหลือ 3.99 บาท/หน่วย ไม่ใช้งบหลวง เว้นแต่ราคาพลังงานเปลี่ยนแปลงรุนแรง

(6 พ.ค. 68) นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2568 ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบลดค่าไฟฟ้างวดเดือนกันยายนถึงธันวาคม 2568 จาก 4.15 บาท เหลือ 3.99 บาทต่อหน่วย โดยย้ำว่ารัฐบาลมั่นใจจะควบคุมค่าไฟให้อยู่ในกรอบนี้จนถึงสิ้นปี เว้นแต่มีการเปลี่ยนแปลงต้นทุนเชื้อเพลิงอย่างมีนัยสำคัญ โดยไม่ใช้งบประมาณแผ่นดิน

ขณะเดียวกัน ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงและขยะอุตสาหกรรม ภายใต้แผนพลังงานสะอาดปี 2566–2573

ด้านนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยืนยันผ่านเฟซบุ๊กว่า การกำหนดเพดานค่าไฟไม่เกิน 3.99 บาทต่อหน่วย เป็นมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาภาระประชาชน พร้อมเฝ้าระวังต้นทุนพลังงานอย่างใกล้ชิด


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top