Friday, 23 May 2025
การเมืองไทย

'เพจดัง' ชวนอ่าน!! 'อำนาจ การเมือง เรื่องลือ' ความจริงที่หายไปจากกรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8

(4 ก.ค. 67) จากเพจ 'ฤๅ - Lue History' ได้โพสต์ข้อความถึงหนังสือเล่มใหม่ ในชื่อ 'อำนาจ การเมือง เรื่องลือ' - ความจริงที่หายไปจากกรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8 ระบุว่า...

หนังสือเล่มนี้ ว่าด้วยเรื่องปริศนาเรื่องเอกของวงการประวัติศาสตร์ไทย ที่ยังเป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน นั่นก็คือ...

‘กรณีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8’

แม้ว่าในท้องตลาดจะมีหนังสือประเภทดังกล่าวอยู่จำนวนพอสมควร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่เริ่มทยอยผลิตออกมาตั้งแต่เหตุการณ์สวรรคตบังเกิดขึ้นใหม่ ๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

เนื่องจากกระแสเรื่องกรณีสวรรคตยังคงเป็นปริศนาและยังไม่เป็นที่ยุติโดยได้ง่าย ความกระหายใคร่อยากรู้ของประชาชนในประเด็นดังกล่าว จึงยังเป็นสิ่งที่ไม่เคยจางหายแม้นเหตุการณ์วิปโยคนี้จะล่วงเลยมากว่าชั่วอายุคนแล้วก็ตาม

อย่างไรก็ดี หนังสือเหล่านี้จำกัดอยู่เพียงแค่การเล่าถึงรูปคดีและการอธิบายทฤษฎีเบื้องลึก/เบื้องหลัง ตามหลักฐานเดิม ๆ ที่ถูกนำมาตีความใหม่ ๆ โดยผู้เขียนเหล่านั้นจำนวนไม่น้อยต่างมีธงหรือทฤษฎีในใจในการเขียนชี้นำผู้อ่านให้เลือกเชื่อตามแต่เจตนาของผู้เขียนอยู่แล้ว

แน่นอนว่าจำนวนเกินกว่าครึ่งของหนังสือเหล่านี้หาใช่หนังสือในรูปแบบวิชาการ หากแต่เป็นการเล่าเรื่องแนวซุบซิบ คำแก้ตัว การรวมคำพิพากษาคดีและบทวิเคราะห์ หรืองานเขียนกึ่งสารคดีทางการเมือง อันมีการใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์รวมถึงกรอบทฤษฎีอย่างวิชาการน้อยมาก ทำให้ความก้าวหน้าในเรื่องกรณีสวรรคตไม่ปรากฏ ‘เป็นการพายเรือวนในอ่าง’ แต่เพียงเท่านั้น

ทางคณะผู้เขียนซึ่งเห็นตรงกัน จึงรู้สึกเบื่อหน่ายกับการใช้กรณีสวรรคต ซึ่งเป็นเรื่องราวในประวัติศาสตร์ที่จบไปแล้ว มาใช้ประโยชน์เป็นเครื่องมือทางการเมือง เช่น การเผยแพร่ข่าวลือหรือการกล่าวหาอย่างไร้หลักฐานและไม่เป็นธรรมต่อบุคคลใด ๆ ก็ตามในเรื่องนี้โดยปราศจากข้อมูลที่ถูกต้อง

พฤติการณ์เช่นนี้คือ การกระทำที่ไร้ความรับผิดชอบและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ แก่ชาติ และคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันการใช้กรณีสวรรคตมาปลุกระดมทางการเมือง เป็นการกระทำการเซาะกร่อนบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นแกนกลางของกรณีสวรรคตนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้คณะผู้เขียนเห็นว่าควรต้องยุติได้แล้ว

>> ดังนั้น หนังสือเล่มนี้จึงถูกเขียนขึ้นมาด้วยเหตุข้างต้น คณะผู้เขียนตั้งใจจะฉายให้เห็นสภาพแวดล้อมทางการเมืองทั้งในและนอกประเทศ รวมถึงเหตุการณ์และรายงานจากเอกสารทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่เกี่ยวกับกรณีสวรรคตนับตั้งแต่ พ.ศ.2489-2500 และลงลึกไปถึงระดับจุลภาคว่ามีผู้ใดบ้างที่เกี่ยวข้องหรือเป็นผู้บงการการปล่อยข่าวลือดังกล่าว

โดยหนังสือเล่มนี้ได้เรียกเอาเอกสารชั้นต้นเท่าที่เสาะหาได้ล่าสุดในปัจจุบันมาทำการสอบปากคำอย่างละเอียดในทุก ๆ หน้ากระดาษและตัวอักษร เพื่อเค้นเอา ‘ความจริง’ ในเหตุการณ์ที่จบสิ้นไปนานแล้วออกมาให้มากที่สุด

และแน่นอน คณะผู้เขียนได้พยายามอย่างที่สุดที่จะสกัดเอาการเมืองออกไปจากความจริงแห่งยุคสมัยให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

*** คณะผู้เขียนหวังใจเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป ผู้ที่สนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทย หรือเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยากทราบความจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคตที่มีความเบื่อหน่ายกับการใช้ข่าวลือ เรื่องเท็จ หรือความเห็นทางการเมืองมาเขียนปะปนกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์

นอกจากนี้ หนังสือเล่มนี้หวังใจว่าจะเป็น ‘ก้าวแรกที่ยิ่งใหญ่’ ในการจุดประกายสู่การนำไปต่อยอดทางวิชาการหรือวิพากษ์งานชิ้นนี้ต่อไปในอนาคต เพื่อเติมเต็ม ‘ความจริง’ ที่ยังขาดตกบกพร่องในประเด็นนี้ต่อไป

จีรวุฒิ (อุไรรัตน์) บุญรัศมี, จิตรากร ตันโห และธงรบ
มิถุนายน 2567, หาดใหญ่ - พระนคร

เราจะอัปเดตความคืบหน้าของหนังสือเล่มนี้ให้ทราบเป็นระยะครับ

ช่วยเป็นกำลังใจ และร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของพวกเราได้ที่...
บัญชี. มูลนิธิสยามรีกอเดอ
ธนาคารกรุงเทพ เลขที่บัญชี 0398045898

ขอบคุณครับ

📌ส่อง ‘6 ผู้นำ’ อายุน้อยที่สุดในโลก ‘นายกฯ ไทย’ ก็ติดโผด้วยนะ!!

วันนี้ 16 ส.ค. 67 นับเป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ทางการเมืองของประเทศไทย เพราะที่ประชุมรัฐสภา มีมติเห็นชอบให้นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่ 31 ด้วยเสียงเห็นชอบ 319 เสียง ไม่เห็นชอบ 145 เสียง และงดออกเสียง 27 เสียง

ถือว่า ‘นายกฯ อิ๊งค์’ เป็นนายกฯ หญิงคนที่ 2 และยังครองตำแหน่งนายกฯ ที่อายุน้อยที่สุดของไทยอีกด้วย ซึ่งอีกเพียง 5 วันก็จะถึงวันคล้ายวันเกิด (21 ส.ค.) ของนายกฯ อิ๊งค์แล้วด้วย ✨❤

'สื่ออาวุโส' สแกนทิศทางการเมืองไทยจากนี้ ใต้ 17 ความเป็นไปได้จากแรงกระแสธารข่าว

(29 ส.ค. 67) เถกิง สมทรัพย์ สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

เขียนตามที่เห็นข่าว...ผมไม่มีข้อมูลอินไซด์อะไรเลยนะครับ…ไม่ต้องอ่านก็ได้

1. ใครบางคน น่าจะกำลังทำให้พรรคเพื่อไทยรวบรวมเสียงจากพรรคอื่น ๆ มาให้มากที่สุดเพื่อเป็นพรรคใหญ่ที่สุดในรัฐสภา

2. พรรคพลังประชารัฐแม้จะออกไปทั้งพรรค แต่สส.ร่วม ๆ 30 คนน่าจะรอเวลา U-TURN มาร่วมมือกับเพื่อไทย...ถึงขั้นมาร่วมพรรคกันในอนาคต

3. พรรครวมไทยสร้างชาติผนึกกับเพื่อไทยแน่น

4. พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคขนาดเล็กอื่น ๆ น่าจะร่วมเดินทางไปด้วยกันกับเพื่อไทยอีกนาน

5. พรรคประชาชน…น่าจะอยู่ในสภาพอัมพฤกษ์ไปจนกว่าจะชัดเจนเรื่อง 44 สส. (และข่าวเรื่องมีการติดต่อขอตัวย้ายพรรคนั้นยังเชื่อว่าจะจริง ดังนั้นนี่จะเป็นอีกหนึ่งกำลังของรัฐบาลเพื่อไทย)

6. รัฐบาลเพื่อไทยน่าจะจัดหาจำนวน สส. มาไว้ข้างตัวเองเกือบ ๆ 400 เสียงเพื่อความมั่นคงในช่วงนี้ และเพื่อลงสนามเลือกตั้งคราวหน้า

7. พรรคเพื่อไทยกับพรรคร่วมรัฐบาลปัจจุบัน ต้องสร้างผลงานให้ดีเป็นที่ประจักษ์ต่อประชาชน และทำงานการเมืองเพื่อเป็นพรรคเสียงข้างมากอีกสมัย  ด้วยการเอาชนะพรรคประชาชนให้ได้อย่างเด็ดขาด…มันเป็นไฟท์บังคับที่ต้องทำเพราะกติกาการเมืองไทยเป็นแบบนี้

8. พรรคประชาชน จะผ่านการเมืองช่วงนี้ไปถึงไหน…ต้องรอชมบทบาทในสภาฯ ในฐานะฝ่ายค้าน และในฐานะพรรคที่มาแรงที่สุดในปัจจุบัน

9. พลเอกประวิตร ยังสู้ไม่ถอย ยังเคลื่อนไหวต่อสู้ทางการเมืองกับเพื่อไทย โดยที่การเป็นคนมีอำนาจมาก จึงทำให้เพื่อไทยไม่วางใจ เพราะโดนสอยมาหลายครั้งแล้ว

10. คุณชวน หลีกภัย น่าจะอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ต่อไป…เพราะกลุ่มนำของพรรคในปัจจุบันคงจะหาทาง 'ขับ' ท่านออกจากพรรคยาก เพราะคุณชวนไม่ได้ทำอะไร 'ผิดข้อบังคับพรรค' และถ้าจะขับท่านออก ก็ต้องใช้มติของกรรมการบริหารกับสส.ในสภา ที่จะต้องใช้เสียงถึง 3 ใน 4 ซึ่งยากมาก

11. แต่คุณชวน หลีกภัย ไม่เหมือนพลเอกประวิตร...ถึงแม้คุณชวนจะไม่เห็นด้วยกับการเข้าร่วมรัฐบาล แต่คุณชวนไม่เคลื่อนไหวล้มรัฐบาลเพื่อไทยหรือไม่สร้างปัญหาให้กับเสถียรภาพของรัฐบาล…คุณชวนมุ่งที่จะสร้างเครดิตให้กับพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น

12.ในข้อบังคับพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า ถ้าจะมีการควบรวมพรรคกับใคร ต้องใช้ชื่อ 'พรรคประชาธิปัตย์' เท่านั้น...อันนี้น่าคิดว่า ถ้ากลุ่มผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ในปัจจุบันวางมือจากพรรคในคราวหน้า ไม่เอาพรรคไปรวมกับใครหรือรวมแล้วยังใช้ชื่อ ประชาธิปัตย์ เหมือนเดิม...โอกาสที่สมาชิกพรรคที่มีแนวคิดเหมือนเดิมก็จะมีโอกาสมาฟื้นฟูพรรคตามแนวทางเดิม

13. และคงจะไม่มีใครบริหารพรรคประชาธิปัตย์ให้ถูกยื่นยุบพรรคอีก หรือถ้าใครจะไปทำ ก็เห็นได้ชัดว่าคุณชวนก็พูด ๆ เหมือนจะวางแนวทางอะไรบางอย่างไว้แล้วว่าถ้ามีวิกฤตินี้มาจะทำยังไง

14. คุณชวน น่าจะยังอยู่กับประชาธิปัตย์ต่อไป และทำงานในฐานะสมาชิกสภาฯ ต่อไป...แต่น่าจะมีบทบาทให้ข้อคิดกับสังคมมากขึ้น สร้างความหวังให้กับคนที่เคยสนับสนุนประชาธิปัตย์ให้มาร่วมกับกอบกู้พรรค  

15. แม้จะมีคนห่วงท่านว่าท่านอายุมากแล้ว แต่คำพูดของคนอายุจะใกล้ 90 สามารถปลุกพลังผู้คนได้มากกว่าคนอายุน้อย ๆ ที่ไม่คิดจะสู้

16. กำลังกายอ่อนลง กำลังทางการเมืองอ่อนลง แต่คำพูดที่ยึดมั่นในหลักการกลับทรงพลังอย่างไม่น่าเชื่อ

17. คุณชวน ต้องอยู่ในสภาฯ เพื่อมีพื้นที่ทำงานทางความคิดต่อไป

แม่นบ่

'นายกฯ อิ๊งค์' วอนทุกฝ่ายขอให้ดูที่ความตั้งใจ หลังถูกวิจารณ์เป็น 'ครม.สืบสันดาน' ลั่น!! เป็นนายกฯ แล้ว ไม่พร้อมข่มเหงใคร ยินดีรับฟังและให้เกียรติทุกฝ่าย

(5 ก.ย. 67) ที่อาคารชินวัตร 3 ‘น.ส.แพทองธาร ชินวัตร’ นายกรัฐมนตรีเดินทางเข้ามาปฏิบัติภารกิจโดยให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า การที่ตนเข้ามาทำงาน ได้รับตำแหน่งอันทรงเกียรติ จากการโหวตของสภา ก็ต้องขอบคุณทุกท่าน และเมื่อเป็นนายกฯ แล้วไม่พร้อมที่จะข่มเหงใคร แต่พร้อมที่จะรับฟังและพร้อมที่จะให้ความเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นคิดว่าหลักคิดตรงนี้จะทำให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่น อย่างไรก็ตามข้อวิจารณ์และข้อร้องเรียนต่าง ๆ ไม่คิดว่าจะทำให้เกิดการบั่นทอนการทำงานของตัวเอง ซึ่งทุกคนก็มีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์ และถ้าเป็นการวิจารณ์ด้วยเหตุผลไม่ใช่อารมณ์ คิดว่าน่าจะดีแต่สามารถเกิดขึ้นได้

เมื่อถามถึงข้อวิจารณ์ว่าเป็นคณะรัฐมนตรีสืบสันดาน หรือ ครม.ครอบครัว ‘น.ส.แพทองธาร’ กล่าวยอมรับว่า…

“เป็นคำที่แรงจริงๆ ด้วยใช้คำแรงจัง ความจริงมีหลายรูปแบบมีหลายคนที่ไม่ได้มาจากครอบครัว หรือเกี่ยวข้องกันและก็มีหลายคู่ที่เป็นครอบครัวต่อมา ส่วนตัวอยากให้มองถึงความตั้งใจ ที่ตั้งใจถ่ายทอดกันมาในคนใกล้ชิดและคนรู้จัก หลายอย่างในชีวิตที่ต้องทำต้องอาศัยแรงผลักดัน และความภูมิใจของคนรอบข้าง ครอบครัว เพราะฉะนั้นคำว่าเป็นครอบครัวมันไม่ใช่ข้อเสียมันเป็นแรงผลักดันให้กันมากกว่า”

ส่วนข้อวิจารณ์และการร้องเรียนหนีไม่พ้นคำว่าครอบงำ โดยเฉพาะจากการพูดของ ’นายทักษิณ ชินวัตร’ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีกล่าวว่า…

“สงสารนายกฯ บ้างอย่าฟ้องอะไรเยอะเลย ดิฉันเป็นนายกฯ ที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ตั้งใจทำงานเต็มที่ ขอย้ำอีกครั้งว่าบางครั้งเรื่องเล็ก ๆ อย่าให้ความสำคัญมากนัก คนฟ้องก็อย่าฟ้องเยอะเลยมันไม่ได้มีอะไรผิดแบบนั้นอยู่แล้ว”

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในส่วนของการแบ่งงานให้กับรองนายกรัฐมนตรีนั้น ขอเวลาพิจารณาถึงงานต่าง ๆ ก่อน รวมถึงจะมอบหมายการกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ให้กับ ‘นายภูมิธรรม เวชยชัย’ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ด้วยหรือไม่ ขอพิจารณาดูอีกครั้ง

นายกรัฐมนตรีเปิดเผยด้วยว่า วันเดียวกันนี้จะพิจารณาในส่วนของนโยบายรัฐบาลที่จะนำสู่การแถลงต่อรัฐสภาโดยเฉพาะของพรรคเพื่อไทย วันเดียวกันนี้ก็จะมีการพูดคุยกันตกผลึกในทุกๆ ประเด็น เช่นเดียวกับในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลได้มีการส่งเข้ามาแล้วบางพรรค รวมทั้งนโยบายของพรรคภูมิใจไทยในเรื่องของกัญชาขอให้รอสักนิดซึ่งที่ผ่านมาได้มีการพูดคุยกันมาโดยตลอดรอให้ได้ข้อสรุปแล้วจะมาชี้แจงอีกครั้ง

'ขุนคลัง' ชี้!! การเมืองนิ่งมีส่วนทำตลาดหุ้นไทยขึ้นแรงกว่า 30 จุด แง้ม!! ปมขึ้นค่าแรง 400 บาท เตรียมหาทางช่วยผู้ประกอบการแล้ว

(5 ก.ย. 67) ที่ทำเนียบรัฐบาล ‘นายพิชัย ชุณหวชิร’ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ตอบคำถามสื่อมวลชนกรณีสถานการณ์การลงทุนที่ตลาดหุ้นไทยในวันนี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาเกือบ 30 จุด ว่าถือเป็นเรื่องที่ดี และน่ายินดี

เมื่อถามว่าการตอบรับของตลาดหุ้นมาจากสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความชัดเจนใช่หรือไม่? นายพิชัย ระบุว่า "ก็คงมีส่วนด้วย แต่ก็มีหลายประเด็นที่เป็นปัจจัยเกี่ยวข้องกัน"

เมื่อถามว่ามาตรการเรื่องภาษีที่กระทรวงแรงงานอยากให้กระทรวงการคลังเสนอเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่จะได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศในวันที่ 1 ต.ค.นี้? นายพิชัย กล่าวว่า "ตอนนี้ได้รับแจ้งความคืบหน้าเข้ามาแล้ว อยู่ระหว่างการรอพิจารณามาตรการทางภาษีที่จะเสนอเข้ามาอีกครั้ง"

'ปิยบุตร' อบรม 'พรรคส้ม' ทำการเมืองแบบโดดเดี่ยวตัวเอง หากปี 2570 ได้เสียงไม่ถึงครึ่งสภาอีก จะเป็นรัฐบาลได้อย่างไร

(10 ก.ย. 67) ขณะนี้กลุ่มชาวเน็ต ได้แชร์คลิปความเห็นทางการเมืองของ นายปิยบุตร แสงกนกกุล อดีตสส.บัญชีรายชื่อ อดีตเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ที่พูดในช่องสื่อออนไลน์แห่งหนึ่ง ถึงการเมืองในระบบรัฐสภา และวิพากษ์วิจารณ์พรรคก้าวไกล (ปัจจุบันชื่อพรรคประชาชน) กรณีการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งมีความยาว 2 นาที

โดยในคลิปมีเนื้อหาดังนี้ "...เราก็ต้องยอมรับ นี่ผมเตือน เดี๋ยวคนจะบอกว่าผมพูดเหมือนนางแบก ต้องยืนยันว่าระบบรัฐสภาทั่วโลก ไม่ได้หมายความว่าพรรคที่ได้ที่ 1 จะต้องเป็นรัฐบาลเสมอไป มันอยู่ที่คุณตั้งได้หรือตั้งไม่ได้ อย่างนายกฯ นิวซีแลนด์ ผมเข้าใจว่าเขาก็ไม่ได้ที่ 1 แต่เขาตั้งได้ เพราะระบบรัฐสภา คือการรวมเสียงข้างมากในสภา…

“ก้าวไกลมีความชอบธรรมสูงที่สุดในการตั้งรัฐบาลก่อน เพราะคุณได้ที่ 1 ตามธรรมเนียม แต่พอตั้งไม่ได้ หาไม่ได้ แล้วอีกข้างหนึ่งหาได้ แม้จะมี สว.พิเรนทร์โผล่มาด้วย ก็ว่ากันไป แต่สุดท้ายก็ต้องเข้าสู่ระบบรัฐสภา ต้องยึดว่า พรรคที่ได้ที่ 1 อาจจะไม่ได้เป็นรัฐบาลก็ได้ ถ้าคุณรวมเสียงไม่ได้…

“ดังนั้น เวลาเราบอกว่า ก้าวไกลชนะแล้วไม่ได้เป็นรัฐบาล ก็มันรวมไม่ได้ แม้จะมีรัฐธรรมนูญที่พิการ เพราะมี สว. แต่ก็เหมือนกัน ผมพูดถึงการเลือกตั้ง 2570 ที่ไม่มี สว. มาโหวตนายกฯ แล้ว เกิดวันนั้นก้าวไกล (ปัจจุบันชื่อพรรคประชาชน) ได้ 200 กว่า แล้วคุณตั้งไม่ได้อีกจะทำยังไง…

“คุณมั่นใจได้ยังไงว่าครั้งหน้าคุณจะเกิน 250 ถ้ามันไม่ถึง คุณจะเดินการเมืองเพื่อมัดตัวเองตั้งแต่วันนี้ทำไม พูดในมุมของคนที่ชอบการปฏิวัติ ไม่ชอบระบบพ่อปกครองลูกในระบบรัฐสภา แต่ชวนให้คิดว่า ถ้าคุณอยากเป็นรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญแบบนี้ โครงสร้างแบบนี้ ที่คุณยังไปไม่ถึงครึ่งหนึ่ง คุณจะทำยังไง…

“ถ้าคุณล่อตั้งแต่วันนี้ ผมนึกไม่ออกเลยว่างวดหน้าจะเป็นยังไง จะคุยกับใครได้ มันคือเล่นการเมืองแบบโดดเดี่ยวตัวเองออกมา ถ้าคุณเล่นแบบนี้ คุณต้องเลิกคิดเรื่องนี้แล้ว พูดง่าย ๆ คุณเป็นรบทุกสนาม เพื่อการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ แต่ถ้ายังเชื่อว่า 2570 กำลังยังไม่พอ เราได้แค่นี้ ต้องคิดอีกมุมหนึ่ง ถ้าอยากเป็นรัฐบาล"

'สวนดุสิตโพล' กาง 25 ตัวชี้วัด 'ดัชนีการเมืองไทย' พร้อมเทียบฟอร์มนักการเมือง ‘รัฐบาล-ฝ่ายค้าน’

(29 ก.ย. 67) 'สวนดุสิตโพล' มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง 'ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนกันยายน 2567' กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,183 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 23-27 กันยายน 2567 โดยมีตัวชี้วัด 25 ประเด็นที่บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นต่อการเมืองไทยในด้านต่าง ๆ ซึ่งแต่ละตัวชี้วัดจะมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน สรุปผลเรียงลำดับจากค่าคะแนนสูงสุดไปถึงต่ำสุด ได้ดังนี้

1. 'ดัชนีการเมืองไทย' เดือนกันยายน 2567 ภาพรวมคะแนนเต็ม 10 ได้ 4.80 คะแนน (เดือนสิงหาคม 2567 ได้ 4.46 คะแนน)

2. ประชาชนให้คะแนน 25 ตัวชี้วัด 'ดัชนีการเมืองไทย' โดยคะแนนเต็ม 10 เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ 

3. นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ประชาชนคิดว่ามีบทบาทโดดเด่นในเดือนกันยายน 67 

4. ผลงานของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ประชาชนชื่นชอบในเดือนกันยายน 67 

นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า คะแนนดัชนีการเมืองไทยเพิ่มขึ้นทุกตัวชี้วัดครั้งแรกในรอบ 6 เดือน โดยได้ปัจจัยเชิงบวกที่สร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนทั้งการได้นายกฯ คนใหม่ การเร่งแจกเงินหมื่นช่วยคนเปราะบาง การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม การช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ผลงานเหล่านี้เข้าถึงปากท้องและครัวเรือนของประชาชนโดยตรง ทำให้รับรู้ได้ว่ารัฐบาลกำลังมุ่งมั่นแก้ปัญหาอย่างจริงจัง แม้จะมีความกังวลผลของเงินหมื่นในระยะยาวแต่ก็นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยเหลือประชาชนได้บ้าง

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต อธิบายว่า คะแนนดัชนีการเมืองไทยปรับเพิ่มขึ้นในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา โดยคะแนนของฝ่ายค้านเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วเป็นเพราะการทำหน้าที่อภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 มีการนำเสนอข้อมูลที่ชัดเจน เป็นปากเป็นเสียงแทนประชาชนได้ ในขณะที่คะแนนฝั่งรัฐบาลก็ขยับเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่และการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยลงตัว และได้เริ่มขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ ๆ เช่น นโยบายเรือธงดิจิทัลวอลเล็ตที่ปรับเปลี่ยนมาแจกรูปแบบเงินสด ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าได้รับเงินหมื่นจริง ๆ รวมทั้งการที่รัฐบาลคลอดมาตรการเยียวยาให้กับผู้ประสบอุทกภัย ทำให้รู้สึกว่ารัฐบาลไม่ได้ทอดทิ้งประชาชน แม้ว่าการบริหารจัดการสถานการณ์น้ำท่วมจะมีความล่าช้าก็ตาม รวมทั้งการตรึงราคาก๊าซหุงต้ม การปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทต่อวันที่อาจเกิดขึ้น ทำให้ประชาชนรู้สึกว่ารัฐบาลเริ่มขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้คะแนนของนายกรัฐมนตรีและผลงานของรัฐบาลขยับเพิ่มขึ้นนั่นเอง

ร.9 เสด็จพระราชดำเนินอีสาน: จุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์จอมพล ป. | THE STATES TIMES Story EP.159

พฤศจิกายน 2498 การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรภาคอีสานของในหลวง ร.๙ ไม่ใช่เพียงการพบปะประชาชนครั้งประวัติศาสตร์ แต่ยังกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้สถานะของจอมพล ป. พิบูลสงคราม สั่นคลอนลงอย่างไม่คาดฝัน

ติดตามเรื่องราวการต่อรองอันแยบยล ความศรัทธาที่เปี่ยมล้นของประชาชน และบทเรียนทางการเมืองที่สะท้อนถึงพลังของ "ผู้นำที่แท้จริง"

'ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์' แจงไม่สามารถร่วมเวที คปท. ต้านระบอบทักษิณได้ ด้วยเหตุผลส่วนตัว แม้ใจยังยืนเคียงข้างการเคลื่อนไหว

อ.อานนท์ โพสต์ไม่สะดวกร่วมเวที คปท. ต้านระบอบทักษิณ ด้วยข้อจำกัดส่วนตัว แม้ใจจะอยู่ที่เวทีแล้วก็ตาม


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top