Tuesday, 22 April 2025
การเมืองระหว่างประเทศ

'จีน - อาร์เจนตินา' ท้าชนอังกฤษที่หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ยุทธศาสตร์ 'หนามยอก-หนามบ่ง' จากพญามังกร 

ความสัมพันธ์ระหว่างจีน และ อังกฤษ ยังคงเลวร้ายลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อสำนักข่าว CCTV ของจีนได้รายงานข่าวการเซ็นข้อตกลงร่วมกันครั้งสำคัญในช่วงการพบปะกันระหว่าง 'สี จิ้นผิง' ผู้นำจีน และ 'อัลเบอโต เฟอร์นานเดซ' ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา ที่เดินทางไปร่วมพิธีเปิดงานกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่นครปักกิ่ง 

โดยทางอาร์เจนตินาจะเข้าร่วมขบวนเป็นส่วนหนึ่งในโครงการเมกะโปรเจกต์ Belt and Road Initiatives (BRI) ของจีน แผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมต่อเส้นทางเศรษฐกิจจากจีนออกไปทั่วโลก ซึ่งจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งจีน และ อาร์เจนตินา แน่นแฟ้นยิ่งกว่าเดิม

นอกจากนี้ ทางรัฐบาลจีนยังทำข้อตกลงกับทางอาร์เจนตินาในการสนับสนุนการอ้างสิทธิ์เหนือหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ซึ่งเป็นพื้นที่พิพาทระหว่าง อาร์เจนตินา และอังกฤษมานานถึง 40 ปี ที่ในปัจจุบันทางอังกฤษได้ครอบครองอยู่ โดยทางจีนยังต้องการให้รัฐบาลอาร์เจนตินาออกมาประกาศอธิปไตยอย่างเต็มรูปแบบในเขตหมู่เกาะฟอล์กแลนด์อีกด้วย

ส่วนรัฐบาลอาร์เจนตินา ก็จะสนับสนุนนโยบาย “จีนเดียว” อย่างเต็มที่ รวมถึงการยอมรับไต้หวันว่าเป็นส่วนหนึ่งของจีนเท่านั้น 

'รมว.ตปท.เวเนฯ' ประณามสหรัฐฯ ปมยึดแอร์ฟอร์ซวันแห่งเวเนฯ เพิ่มรอยร้าวความสัมพันธ์ 'สหรัฐฯ-เวเนฯ' ให้ลึกยิ่งขี้น

(3 ก.ย.67) นายอีวาน กิล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวเนซุเอลา กล่าวว่า เวเนซุเอลา ประณามการยึดเครื่องบินดังกล่าว โดยระบุว่าเป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ สหรัฐฯ ใช้มาตรการกดดัน บังคับใช้ฝ่ายเดียวและผิดกฎหมายไปทั่วโลก

ข้อโต้แย้งของเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่ว่าการขายและการส่งออกเครื่องบินดังกล่าวถือเป็นการละเมิดมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ไม่น่าจะมีน้ำหนักมากนักกับประธานาธิบดีมาดูโร ซึ่งกล่าวหาสหรัฐฯ เสมอว่าแทรกแซงกิจการภายในของประเทศ

การตรวจยึดเครื่องบินเกิดขึ้นในสาธารณรัฐโดมินิกันและส่งกลับมาที่สำนักงานของกระทรวงยุติธรรมในรัฐฟลอริดา ยังไม่ชัดเจนว่าเครื่องบินลำดังกล่าวลงจอดที่สาธารณรัฐโดมินิกันได้อย่างไรและเมื่อใด ข้อมูลการติดตามระบุว่าเครื่องบินออกจากสนามบินลาอิซาเบลา ใกล้กับกรุงซานโตโดมิงโก เมื่อวันจันทร์ (2 ก.ย.67) และถึงสนามบินในรัฐฟลอริดา 

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในขณะที่นายมาดูโร ประกาศว่าชนะการเลือกตั้ง ขณะที่ ฝ่ายค้าน อ้างว่า ชนะการเลือกตั้งเช่นกัน เนื่องจาก มีบันทึกการลงคะแนน ทำให้เกิดเหตุการณ์ประท้วงวุ่นวาย มีผู้เสียชีวิตหลายสิบรายและมีคนถูกจับกุมมากกว่า 2,400 คน

ความเคลื่อนไหวของเวเนซุเอลา หลังจากที่รัฐบาลสหรัฐฯ ยึดเครื่องบิน Falcon 900 EX  ของประธานาธิบดี นิโคลัส มาดูโร ของเวเนซุเอลา อ้างว่าละเมิดมาตรการคว่ำบาตรและกฎหมายควบคุมการส่งออก ซื้อมาอย่างผิดกฎหมายด้วยราคา 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (9.8 ล้านปอนด์) และลักลอบนำออกนอกประเทศ

จากเหตุการณ์นี้ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และเวเนซุเอลายิ่งตึงเครียดมากขึ้น โดยเจ้าหน้าที่ระบุว่า เครื่องบินลำนี้เทียบเท่ากับเครื่องบินแอร์ ฟอร์ซ วันของเวเนซุเอลา และเคยถ่ายภาพเครื่องบินลำนี้ในระหว่างการเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการของนายมาดูโรด้วย

‘ดร.อาร์ม’ ชี้ ยุคโลกาภิวัตน์ไม่หวนกลับมาแล้ว นี่คือโจทย์ใหม่ของไทยบนการเมืองโลก

เมื่อวานนี้ (9 ก.ย. 67) สำนักข่าว TNN ได้มีการจัดสัมมนาในหัวข้อ ‘ปลดล็อกกับดัก: การปรับจุดยืนไทย ในโลกที่แบ่งขั้ว’ ซึ่งการจัดงานสัมมนาที่ได้มีการเชิญนักวิชาการไทยจากหลากหลายสาขาและภูมิภาคมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่า ประเทศไทยควรมีการดำเนินนโยบายอย่างไรเพื่อสร้างความเข้มแข็งและให้ผลประโยชน์กับเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศชาติได้

โดย ‘ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร’ ผ.อ. ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความคิดเห็นว่า ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ทั่วโลกอยู่ในช่วงโลกาภิวัตน์ หรือ โลกที่ไร้พรมแดน ทว่าไม่กี่ปีมานี้ โลกเหมือนจะเข้าสู่ Deglobalization และกำลังถูกตอกฝาโลงด้วยสงครามที่เกิดขึ้นทั่วโลก และประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่กำลังได้รับผลกระทบ Supply Chain ที่กำลังปั่นป่วนอยู่ในขณะนี้ 

“ก็จริง ๆ แล้วเนี่ย สมัยก่อนพูดกันนะครับว่าเป็นเทรนด์ของโลกว่าเป็นยุคที่ไม่มีสงคราม ยุคของความซิงลี้ ผู้คนค้าขาย ผู้คนที่เรียกกันว่า… เป็นมิตรต่อกันและกัน แต่ตั้งแต่สงครามการค้าของทรัมป์ตั้งแต่ปี 2017 ตามมาด้วยวิกฤตโควิด 19 ซึ่งทำให้เกิดความปั่นป่วนของ Supply Chain ทั่วโลก แล้วก็มา ‘ตอกฝาโลง’ โลกาภิวัตน์ด้วยสงครามยูเครน ซึ่งเราบอกว่าทำให้ความไม่ไว้วางใจระหว่างมหาอำนาจเนี่ยสูงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ตอนนี้ผมคิดว่าบรรดานักวิชาการในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลกต่างเห็นตรงกันว่าเป็นยุค Deglobalization คือเป็นยุคที่โลกาภิวัตน์ไม่หวนกลับมาแล้ว”

“แต่ว่าจริงๆ แล้ว หลายคนบอกว่า มันกำลังเกิดห่วงโซ่การค้าโลกแตกเป็น 2 ห่วงโซ่ ก็คือ ห่วงโซ่สหรัฐฯ เชื่อมโลก แล้วก็พยายามที่จะสกัดขัดขวางจีน และห่วงโซ่จีนเชื่อมโลก ซึ่งก็พยายามสกัดขัดขวางสหรัฐฯ อันนี้เลยเป็นโจทย์ใหม่สำหรับประเทศไทย เพราะว่าในอดีต เราถามตลอดว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งของ Supply Chain อย่างไร แต่วันนี้ต้องพูดกันตามตรงนะครับว่า Global Supply Chain กำลังปั่นป่วนมากครับ”

อย่างไรก็ตาม ศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่ยุคแห่งสงครามเย็น แต่เป็นยุคสงครามร้อนที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ทั่วโลก พร้อมกันนั้น ประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบมากมายต่อการขับเคี่ยวกันทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจ ดังนั้นงานสัมมนาครั้งนี้จึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถสร้างจุดยืนที่เป็นประโยชน์ท่ามกลางความร้อนระอุของโลกยุคนี้

‘สุรัชนี’ ชี้ ควรยึดประโยชน์ของไทยเป็นที่ตั้ง แนะ ไทยสามารถร่วมมือกับประเทศอื่นนอกจากมหาอำนาจ

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักข่าว TNN ได้มีการจัดสัมมนาในหัวข้อ ‘ปลดล็อกกับดัก: การปรับจุดยืนไทย ในโลกที่แบ่งขั้ว’ ซึ่งการจัดงานสัมมนาที่ได้มีการเชิญนักวิชาการไทยจากหลากหลายสาขาและภูมิภาคมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่า ประเทศไทยควรมีการดำเนินนโยบายอย่างไรเพื่อสร้างความเข้มแข็งและให้ผลประโยชน์กับเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศชาติได้

‘ผศ.ดร. สุรัชนี ศรีใย’ นักวิจัยอาคันตุกะ สถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษา ยูซุฟ อิสฮัค ประเทศสิงคโปร์ และเป็นหนึ่งในนักวิชาการที่ได้รับเชิญไปสัมมนางานดังกล่าว มีความเห็นว่า ประเทศไทยจะต้องตอบตนเองให้ได้ก่อนว่าต้องการผลประโยชน์ของชาติแบบใด นโยบายแบบใด ที่น่าจะสามารถให้ประโยชน์กับทุกคนในประเทศส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่เพียงเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น และยังเสริมว่า ประเทศไทยสามารถทำงานร่วมกับประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากประเทศมหาอำนาจที่กำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นตลาดอื่นๆ ทางเศรษฐกิจได้ เช่น อาเซียนและประเทศในกลุ่ม EU เป็นต้น 

“คิดว่าไทยต้องเริ่มจากการ Identify ความต้องการของตนเองก่อนว่าผลประโยชน์ของชาติไทยมันคืออะไร ซึ่งอันนี้ขีดเส้นใต้เยอะมากว่าหมายถึง ‘ผลประโยชน์ของคนไทย’ ส่วนใหญ่นะคะว่า การที่ประเทศจะบริหารความสัมพันธ์ระหว่างไทยเองกับประเทศที่เป็นมหาอำนาจนี้น่ะค่ะ มันจะส่งผลประโยชน์ต่อคนไทยยังไง เมื่อไปจากจุดนั้นแล้ว เราก็จะสามารถนึกได้นอกกรอบว่า เราจะสามารถบริหารความสัมพันธ์เหล่านี้ยังไงได้บ้างนะคะ นี่คือจุดเริ่มต้นสำคัญที่เราจะต้องเริ่มก่อน หลังจากนั้นเราก็จะสามารถที่จะเลือกได้ว่า เราจะไปสู่ผลประโยชน์เหล่านั้นเนี่ย โดยการที่จะทำงานร่วมกับมหาอำนาจไหน? หรือเราไม่จำเป็นต้องทำงานร่วมกับมหาอำนาจอย่างเดียวค่ะ เราสามารถที่จะนึกถึงตัวละครอื่นๆ อย่างเช่น ทำงานผ่านกรอบอาเซียน ทำงานร่วมกับ EU ก็ได้ หรือแม้กระทั่งกับประเทศอื่นๆ ที่กำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นตลาดอื่นๆ ที่ไทยจะสามารถ Explore ได้ค่ะ” 

อย่างไรก็ตาม ศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่ยุคแห่งสงครามเย็น แต่เป็นยุคสงครามร้อนที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ทั่วโลก พร้อมกันนั้น ประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบมากมายต่อการขับเคี่ยวกันทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจ ดังนั้นงานสัมมนาครั้งนี้จึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถสร้างจุดยืนที่เป็นประโยชน์ท่ามกลางความร้อนระอุของโลกยุคนี้

'ดุลยภาค' ชี้ โลกกำลังเข้าสู่การแบ่งขั้วมหาอำนาจที่ชัดเจน ย้ำ!! ประเทศไทยควรวางตัวเป็นกลางอย่างสร้างสรรค์

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักข่าว TNN ได้มีการจัดสัมมนาในหัวข้อ ‘ปลดล็อกกับดัก: การปรับจุดยืนไทย ในโลกที่แบ่งขั้ว’ ซึ่งการจัดงานสัมมนาที่ได้มีการเชิญนักวิชาการไทยจากหลากหลายสาขาและภูมิภาคมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่า ประเทศไทยควรมีการดำเนินนโยบายอย่างไรเพื่อสร้างความเข้มแข็งและให้ผลประโยชน์กับเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศชาติได้

‘รศ.ดร. ดุลยภาค ปรีชารัชช’ จาก สถาบันเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในนักวิชาการที่ได้เข้าร่วมสัมมนาดังกล่าว ได้มีความคิดเห็นว่า ประเทศไทยเหมาะที่จะดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยการเป็นกลางอย่างยืดหยุ่นและสร้างสรรค์มากกว่า และเน้นยึดหลักความถูกต้องและกฎกติการะหว่างประเทศเป็นตัวนำ พร้อมกับเลือกดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศโดยไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นการถาวร อย่างเช่น ประเทศไทยโยกเข้าหาสหรัฐอเมริกาในเรื่องการทหาร และ โยกเข้าหาจีนในเรื่องของการค้าและเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องปิดกั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากจนเกินไป รวมไปถึงขณะเดียวกันก็ให้ประเทศไทยหันมาเสริมสร้างแกนนอก ซึ่งหมายถึง การขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจนอกประเทศไทยด้วย

“ผมคิดว่าเราน่าจะดำเนินนโยบายเป็นกลางแบบยืดหยุ่น นั่นก็คือ เราไม่ประกาศว่าเราฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เนื่องจากยังไม่ได้มีแรงบีบคั้นทางยุทธศาสตร์อย่างรุนแรงที่ถึงขนาดประเทศไทยต้องเลือกข้างนะครับ เพราะฉะนั้นเราน่าจะยึดประเด็น ยึดความถูกต้อง ยึดกฎกติกา บรรทัดฐานระหว่างประเทศเป็นตัวนำ มหาอำนาจชาติใดทำเหมาะไม่เหมา จะต้องมีการประณามหรือยังไง แล้วก็ปฏิบัติไปตามความเหมาะสมบนหลักการแบบนี้ แต่ในขณะเดียวกันในบางครั้ง ในบางประเด็น เราอาจจะต้องโยกเข้าหาสหรัฐฯ หรือจีนบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะฝักใฝ่ประเทศเหล่านั้นเป็นการถาวร ยกตัวอย่างเช่น ในเรื่องของการซ้อมรบ พันธมิตรทางทหาร พันธมิตรทางยุทธศาสตร์ กำลังทหารของสหรัฐอเมริกายังมีความสำคัญอยู่ เพราะฉะนั้น ไทยก็น่าจะเอนเข้าหาสหรัฐฯ หรือว่าระบบอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพอากาศ เครื่องบินรบต่าง ๆ เราก็ต้องเน้นสหรัฐอเมริกา แล้วก็จีนก็เข้ามาตาม จีนอยากจะถ่วงดุลกับสหรัฐฯ ก็เข้ามาบริหารความสัมพันธ์ดู แต่ในมิติของการค้าชายแดน ในมิติของการลงทุน การท่องเที่ยวต่างๆ เนี่ย อิทธิพลจีนน่าจะมีอยู่สูงกว่าอย่างชัดเจน เราก็ต้องโยกเข้าหาจีนไปโดยปริยาย แต่เราก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะปิดโอกาสนี้สำหรับสหรัฐอเมริกาหรือประเทศอื่นๆ เพราะฉะนั้นผมคิดว่า ความเป็นกลางแบบยืดหยุ่น แบบสร้างสรรค์น่าจะเหมาะสมกับไทยนะครับ”

“แล้วอีกเรื่องหนึ่งก็คิดว่า ประเทศไทยน่าจะเสริมสร้างแกนนอก เสริมสร้างแกนนอกก็คือ ให้เราไปมองดูพื้นที่นอกประเทศไทยว่า ส่วนไหนจะเป็นอิทธิพล เขตไหนเป็นอิทธิพลของเรา เหนือ, ใต้, ออก, ตก อย่างนี้ เช่น พื้นที่รัฐฉานของพม่า พื้นที่บรรจบทางทะเลระหว่าง ไทย, พม่า, อินเดีย, อินโดนีเซีย อะไรอย่างนี้เป็นต้น เป็นพื้นที่ที่เราจะต้องทำ Power Projection นะครับ ทำการสำแดงอำนาจ หรือเพิ่มปฏิบัติการทางเศรษฐกิจหรือมิติต่าง ๆ ให้มากขึ้น” 

อย่างไรก็ตาม ศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่ยุคแห่งสงครามเย็น แต่เป็นยุคสงครามร้อนที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ทั่วโลก พร้อมกันนั้น ประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบมากมายต่อการขับเคี่ยวกันทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจ ดังนั้นงานสัมมนาครั้งนี้จึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถสร้างจุดยืนที่เป็นประโยชน์ท่ามกลางความร้อนระอุของโลกยุคนี้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top