เทียบมุมมอง 'หมอชลน่าน - ปกรณ์วุฒิ' กรณีอนาคตประชากรไทย ภายใต้สังคมผู้สูงอายุพุ่ง อัตราการเกิดต่ำ สั่นคลอนความสมดุล
(13 ก.ย.66) ผู้ใช้เฟซบุ๊ก 'ถือแถน ประสพโชค' ได้โพสต์คำพูดความคิดเห็นของ 2 คนจาก 2 พรรค (นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข และ ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล) ที่สะท้อนถึงการมองปัญหาของสังคมและปัญหาของประเทศที่แตกต่าง ไว้ว่า...
สภาพสังคมผู้สูงอายุ อัตราการเกิดต่ำ คนวัยทำงานมีน้อยลง ภาระพึ่งพิงมากขึ้น เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ
สภาวะทางเศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนวัยเจริญพันธุ์ไม่อยากมีลูก จนกลายมาเป็นฐานคิดว่าลูกมากจะยากจนอย่างที่หมอชลน่านพูด
ซึ่งมันเป็นปัญหาที่รัฐจะทำอย่างไร จึงจะสามารถแก้ปัญหาไม่ให้เกิดภาวะการมีลูกแล้วกลายเป็นภาระ โดยรัฐจะต้องมีมาตรการออกมาช่วยเหลือ มาช่วยให้โครงสร้างประชากรเป็นโครงสร้างที่สมดุล ซึ่งจะส่งผลต่อประเทศในอนาคต
แต่อีกคนจากอีกพรรคไปมองว่า การแต่งงานการมีลูกจะไปบังคับกันไม่ได้ ซึ่งเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นไปเลย
เพราะการสร้างครอบครัว การจะเป็นครอบครัวขยาย ไม่มีรัฐที่ไหนจะไปบังคับให้ใครมีลูก
รัฐทำได้เพียงทำมาตรการส่งเสริม สร้างสวัสดิการที่ดีไว้สำหรับเด็กที่เกิดขึ้นมา สร้างการศึกษาที่ดี สร้างการเรียนฟรีที่ฟรีจริงๆ สร้างสภาวะสังคมที่ดีปลอดภัยสำหรับเด็ก เพื่อให้คู่ชีวิตวัยหนุ่มสาวอยากมีครอบครัวอยากมีลูก และมีลูกมากก็ยังไม่ยากจน
สังคมบ้านเราปัจจุบันเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้ว และอัตราการเกิดต่ำมีเด็กน้อย โรงเรียนร้างไม่มีเด็กๆ มีอยู่ทั่วไปเต็มไปหมด แถวบ้านผม โรงเรียนประถมตามบ้านนอก เด็กที่เรียนอยู่เกินครึ่งเป็นลูกหลานของแรงงานต่างชาติ ส่วนโรงเรียนเอกชนนานาชาติในเมืองเกินครึ่งเป็นลูกหลานคนจีนที่มาเรียนในไทย
ถ้าเราปล่อยให้โครงสร้างประชากรในประเทศอยู่ในสภาพนี้ อนาคตของประเทศจะเป็นอย่างไร
พรรคที่หาเสียงจะแก้โครงสร้าง แต่ดูทัศนะแล้วเหมือนยังไม่เข้าใจโครงสร้างเลย จะเอาแต่สิทธิ์แต่เหมือนไม่รู้หน้าที่
