Tuesday, 22 April 2025
การค้าระหว่างประเทศ

'จีน' เมินประณามคว่ำบาตร หันจับมือการค้า 'รัสเซีย' ตั้งเป้าเงินสะพัด 200,000 ล้านดอลฯ ในปี 2024

รัสเซียเมื่อวันเสาร์ (30 เม.ย.) คาดว่าการไหลเวียนของสินค้ากับจีนจะเติบโตขึ้น และการค้ากับปักกิ่งจะแตะระดับ 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2024 ในขณะที่มอสโกกำลังถูกตะวันตกโดดเดี่ยวมากยิ่งขึ้น

จีนปฏิเสธประณามปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียในยูเครน และวิพากษ์วิจารณ์มาตรการคว่ำบาตรหนักหน่วงอย่างไม่เคยมีมาก่อนของตะวันตกที่กำหนดเล่นงานมอสโก สองประเทศยกระดับความสัมพันธ์ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในนั้นรวมถึงคำแถลง "ความเป็นหุ้นส่วนแบบไร้ขีดจำกัด" ในเดือนกุมภาพันธ์

"เรามุ่งเน้นไปที่การบรรลุเป้าหมาย ตามที่ทางประมุขแห่งรัฐตั้งเป้าไว้ว่าจะนำพาการค้าทวิภาคีสะพัดสู่ 200,000 ล้านดอลลาร์ ภายในปี 2024" จอร์จี ซิโนเวียฟ เจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านกิจการเอเชียของกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอินเตอร์แฟ็กซ์ "ยิ่งไปกว่านั้น เราคิดว่ามีความเป็นไปได้ที่เราจะบรรลุตัวเลขแห่งความทะเยอทะยานนี้เร็วกว่าแผนที่วางเอาไว้"

OMD2-DITP’ จัดสัมมนา ‘เปิดประตูสู่โอกาสการค้าไทยในตลาดโลก’ เสริมศักยภาพการค้าให้ผู้ประกอบการไทย ผ่านระบบ ZOOM 7-8 มิ.ย.นี้

(7 มิ.ย. 66) สำนักพัฒนาตลาดและธุรกิจไทยในต่างประเทศ 2 (สพต.2) ภายใต้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ หรือ ‘OMD2’ ขอเชิญชวนเข้าร่วมสัมมนาการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการในภูมิภาค ภายใต้แนวคิด ‘เปิดประตูสู่โอกาสการค้าไทยในตลาดโลก’ (The Keys to Connext)

ในโครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้ส่งออกไทยด้วยข้อมูลการค้าตลาดภูมิภาคอเมริกา ลาตินอเมริกา ยุโรป และ CIS แอฟริกา และตะวันออกกลาง โดยการสัมมนาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ถ่ายทอดผ่านระบบโปรแกรมผ่านระบบ ZOOM Application โดยครั้งที่ 1 จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 31 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2566 และครั้งที่ 2 วันที่ 7 – 8 มิถุนายน 2566 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

โครงการดังกล่าว เป็นโครงการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้ส่งออกไทยในการค้าระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ และความพร้อมให้ผู้ประกอบการไทย และผลักดันการขยายการค้าและการลงทุนของไทย ดำเนินการโดยสำนักพัฒนาตลาดและธุรกิจไทยในต่างประเทศ 2 (OMD 2) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพการค้าไทยในตลาดโลก โดยปีนี้ มีเป้าหมายคือการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในภูมิภาคหรือรายใหม่ ให้ใช้ข้อมูลการค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้ผู้ประกอบการได้ใช้ข้อมูลการค้าสำหรับการเจาะตลาดการค้า หรือวางแผนการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของตลาด

การสัมมนาในครั้งนี้ อัดแน่นด้วยเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ และเน้นให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้และต่อยอดได้จริง ครั้งที่ 1 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 31 พ.ค. – 1 มิถุนายน 2566 ในวันแรกจะเป็นการเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการในหัวข้อ ‘การเสริมสร้างศักยภาพด้านการค้าระหว่างประเทศ’ หัวข้อ ‘การเจรจาการค้าออนไลน์’, ‘การเตรียมตัวเจรจาการค้าออนไลน์ให้ประสบผลสำเร็จ’, หัวข้อ ‘การนำเสนอเรื่องราวและความน่าสนใจของสินค้า (Story Telling)’ และหัวข้อ ‘การเลือกรูปแบบการนำเสนอสินค้าให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพกับการเจรจาการค้าแบบออนไลน์’

การสัมมนาในครั้งที่ 2 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 7 – 8 มิถุนายน 2566 ในวันแรกจะเป็นการเสริมเทคนิคให้กับผู้ประกอบการ ในหัวข้อ ‘การคาดการณ์ความต้องการตลาด’ เพื่อให้กลยุทธ์การต่อยอดการค้าที่วางไว้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด, หัวข้อ ‘การวางแผนและวิเคราะห์โอกาสในการพัฒนาการค้า’, หัวข้อ ‘การนำเสนอภาพลักษณ์ของแบรนด์และสินค้าแก่กลุ่มเป้าหมาย’, หัวข้อ ‘การนำเสนอภาพลักษณ์ของแบรนด์และสินค้าแก่กลุ่มเป้าหมาย’ และหัวข้อ ‘การนำเสนอสินค้าแก่ผู้ซื้อ ผู้นำเข้า’ เพื่อการเตรียมตัวเจรจาการค้าโดยการสัมมนาในครั้งนี้ร่วมถ่ายทอดผ่านวิทยากรที่มากด้วยความรู้และความรู้ รวมถึงประสบการณ์การทำงานจริงในวงการธุรกิจ เพื่อเป็นการติดปีกให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้

ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการในภูมิภาค ภายใต้แนวคิด ‘เปิดประตูสู่โอกาสการค้าไทยในตลาดโลก’ (The Key to Connext) ได้แล้วที่ www.ditp-overseas.com ตั้งแต่วันนี้ - 28 มิถุนายน 2566

‘จีน’ มั่นใจ!! ‘การค้าต่างแดน-ส่วนแบ่งตลาดโลก’ ฟื้นตัวดี พร้อมดึงผู้ประกอบการ ร่วมมือรักษาเสถียรภาพ ศก.ต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 66 สำนักข่าวซินหัว ,ปักกิ่ง รายงานว่า กระทรวงพาณิชย์ของจีน แถลงข่าวว่า ‘จีน’ มั่นใจว่าจะสามารถรักษาเสถียรภาพโดยทั่วไป ของปริมาณการค้าระหว่างประเทศ และส่วนแบ่งในตลาดโลกในปีนี้

‘เหอ ย่าตง’ โฆษกกระทรวงฯ กล่าวว่า การค้าระหว่างประเทศของจีน ค่อนข้างมีความแข็งแกร่งในปีนี้ สามารถเอาชนะผลกระทบจากความต้องการภายนอกหดตัว แนวโน้มขาลงของราคา และฐานสูงของปีก่อน

สำหรับปี 2024 จีนอาจประสบกับความไม่แน่นอนจากภายนอก แต่มีปัจจัยเกื้อหนุนการพัฒนาเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น โดยการเปิดกว้างของจีนจะยังคงสร้างผลประโยชน์ ขณะผลิตภัณฑ์ใหม่และธุรกิจรูปแบบใหม่ในการค้าระหว่างประเทศ จะปลดปล่อยศักยภาพเพิ่มขึ้น

เหอ เสริมว่า จีนมั่นใจว่า จะสามารถรักษาทิศทางขาขึ้นของการฟื้นฟูการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้แรงสนับสนุนจากหลากหลายนโยบาย ที่มุ่งรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงความพยายามร่วมจากผู้ประกอบการ

'สุชาติ' หารือ 'ออสซี่' ชวนลงทุน EEC 'ด้านการศึกษา-พลังงานหมุน' พร้อมขอลดข้อจำกัด-อุปสรรคทางการค้า เอื้อสินค้าไทยไปออสเตรเลีย

(24 ก.ย. 67) นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานร่วมการประชุมยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ ครั้งที่ 1 กับผู้ช่วยรัฐมนตรีด้านการค้าเครือรัฐออสเตรเลีย (นายทิม แอร์) ในวันที่ 23 กันยายน 2567 ณ กรุงเทพฯ โดยทั้งสองฝ่ายต่างยินดีที่การค้าไทยออสเตรเลียมีมูลค่าสูงสุดอย่างไม่เคยมีมาก่อน พร้อมเดินหน้าขยายการค้าการลงทุน ยกระดับผู้ประกอบการให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะประเด็นการค้าใหม่ ๆ เช่น การค้าดิจิทัล และสิ่งแวดล้อม

นายสุชาติ กล่าวว่า ไทยได้ขอให้ออสเตรเลียร่วมมือกับไทยในหลากหลายด้านภายใต้วาระการดำเนินการของยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและออสเตรเลีย หรือ เซก้า ทั้งเรื่องการยกระดับการเกษตรไทยโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย การส่งเสริม Soft Power ของไทย การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล การพัฒนาเศรษฐกิจสุขภาพและการแพทย์ การส่งเสริมการท่องเที่ยว และการดึงดูดการลงทุนออสเตรเลียเข้ามาในไทย การส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต และความร่วมมือด้านพลังงานไฮโดรเจนสีเขียว ซึ่งถือเป็นเทรนด์ใหม่ที่จะช่วยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทั้งหมดนี้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแนวทางผลักดันทางการค้าของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายพิชัย นริพทะพันธุ์) ที่เน้นเรื่องการขยายการค้าการลงทุนกับประเทศคู่ค้า การเร่งเจรจาจัดทำ FTA และการยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการไทย

นายสุชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ไทยได้ขอให้ออสเตรเลียร่วมมือในการลดข้อจำกัดและอุปสรรคทางการค้าเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างกัน เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านกฎระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานในการส่งออกสินค้าเกษตรไทยไปยังออสเตรเลีย และขอให้ออสเตรเลียพิจารณาใช้มาตรการที่กำหนดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรถยนต์นำเข้าจากไทยไปยังออสเตรเลียอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เวลากับภาคอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ไทยได้มีเวลาปรับตัว และเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในอุตสาหกรรมดังกล่าว

“ออสเตรเลียกับไทยมีความสัมพันธ์อย่างยาวนานกว่า 70 ปี ผมได้ขอให้ออสเตรเลียเข้ามาลงทุนใน EEC ทั้งด้านการศึกษาและพลังงานหมุนเวียน อีกทั้งทั้งสองประเทศยังเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรหลัก จึงมีหารือในการส่งเสริมด้านการเกษตรทั้งใน WTO และในรูปแบบทวิภาคีด้วย” นายสุชาติกล่าว

ในส่วนของความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-ออสเตรเลีย หรือ ทาฟต้า (TAFTA) มีส่วนสำคัญที่ทำให้การค้าสองฝ่ายเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 200 และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต โดยทั้งสองฝ่ายพร้อมที่จะสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินการต่อไป ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ไทยและออสเตรเลียจึงได้ร่วมตัดเค้กเพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จที่ FTA ไทย-ออสเตรเลีย (ทาฟต้า) จะครบรอบ 20 ปี ในวันที่ 1 มกราคม 2568 ด้วย

ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม-กรกฎาคม) การค้าระหว่างไทยและออสเตรเลีย มีมูลค่า 10,827.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกไปออสเตรเลีย มูลค่า 7,234.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 10.07 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สินค้าส่งออกสำคัญ อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และไทยนำเข้าจากออสเตรเลีย มูลค่า 3,593.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้านำเข้าสำคัญ อาทิ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ และพืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เป็นต้น


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top