Thursday, 22 May 2025
กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา

ส่อง!! ข้อเสนอ กยศ. ฉบับพรรคก้าวไกล ไม่ต้องมีผู้ค้ำ นำเกณฑ์พิสูจน์ความจนออก

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึง การพิจารณาร่าง พ.ร.บ. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดยสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้ ทำให้ประเด็นเรื่องสวัสดิการการเรียนในระดับมหาวิทยาลัย (ซึ่งกว้างกว่าแค่ประเด็นในร่าง พ.ร.บ. กยศ.) กลับมาเป็นที่สนใจของสังคมอีกครั้ง

การศึกษาเป็นสวัสดิการที่สำคัญสำหรับอนาคตของประชาชนและเป็นการลงทุนที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ แม้หลายประเทศจะมีข้อถกเถียงและข้อสรุปที่แตกต่างกันถึงระดับชั้นที่รัฐควรอุดหนุนให้ประชาชนได้เรียนฟรี ณ ปัจจุบัน แต่คงไม่มีใครปฏิเสธ ว่าหากสามารถจัดสรรงบประมาณได้เพียงพอ การอุดหนุนให้ประชาชนมีสิทธิเรียนฟรีถึงระดับมหาวิทยาลัย เป็นนโยบายที่จะสร้างโอกาสให้กับผู้คนจำนวนมาก และเป็นนโยบายที่บางประเทศทำให้เกิดขึ้นจริงได้

การเรียนมหาวิทยาลัยฟรี จึงเป็นเป้าหมายที่พรรคก้าวไกลต้องการมุ่งไป โดยหากรัฐไทยยังไม่สามารถจัดสรรงบประมาณเพื่อเรียนอุดมศึกษาฟรีได้ในทันที เรามีความจำเป็นต้องแก้ปัญหาของกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ดังที่วาระร่างพระราชบัญญัติ กยศ. เข้าสู่สภาในวันนี้ครับ เพื่อรับประกันสิทธิทางการศึกษาของผู้เรียนในช่วงเปลี่ยนผ่าน

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ถูกก่อตั้งขึ้นบนพื้นฐานของการขยายโอกาสในการเข้าถึงทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะสำหรับนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ผ่านการให้ผู้เรียนกู้ยืมจากกองทุนในส่วนของค่าเล่าเรียน และค่าครองชีพ 3,000 บาทต่อเดือน (เฉลี่ยประมาณ ~400,000 บาทต่อคน สำหรับการเรียน ป.ตรี 4 ปี) เพื่อจ่ายคืนตามจำนวนที่ยืมมา

แต่ที่ผ่านมา เงื่อนไขและการบริหารจัดการในหลายส่วน กลับทำให้เกิดปัญหาทั้งในการจำกัดโอกาสสำหรับผู้ที่อยากเรียนบางกลุ่ม การเพิ่มภาระให้กับผู้เรียนที่กู้เงินไปแล้ว และการบริหารจัดการกองทุนให้มีสภาวะทางการเงินที่เสี่ยงจะไม่ยั่งยืนสำหรับการปล่อยกู้ให้ผู้เรียนในอนาคต

หากเรายังต้องการคงไว้ถึงกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาในช่วงที่ยังไม่มีการอุดหนุนการเรียนมหาวิทยาลัยฟรี พรรคก้าวไกลจึงได้เสนอ 5 ข้อเสนอ ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในการพิจารณาวาระ 2 (รายมาตรา) เพื่อปรับปรุงให้ กยศ. มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดภาระต่อผู้เรียน และรักษาความยั่งยืนของกองทุน

โดยพรรคก้าวไกลมีข้อเสนอ5ข้อ คือ...

1. ทุกคนเข้าถึงสวัสดิการ กยศ. ได้อย่างถ้วนหน้า (มาตรา 4): ยกเลิกเรื่องเกณฑ์พิสูจน์ความจนในการกู้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการตกหล่น และเพื่อยืนยันหลักคิดว่าสวัสดิการกู้ยืมเพื่อการศึกษา ควรเป็นสวัสดิการที่ทุกคนเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะยากดีมีจน

2. ขยายเงื่อนไขการให้ทุนเรียนฟรี สำหรับผู้เรียนบางกลุ่ม (มาตรา 5) : เพิ่มความยืดหยุ่นให้กองทุน ในการพิจารณาให้ทุนการศึกษาแบบให้เปล่าสำหรับผู้เรียนบางกลุ่ม ซึ่งเป็นบันไดขั้นแรกไปสู่การเรียน ปวส. ฟรี หรือ ป.ตรี ฟรี สำหรับบางกลุ่ม


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top