Tuesday, 20 May 2025
ค้นหา พบ 48202 ที่เกี่ยวข้อง

‘น้องนัท-น้องฮาบาส’ สุดยอด 2 เด็กไทย คว้าเหรียญเงิน จากการแข่งขันกระโดดเชือกคู่ผสม ใน ‘IJRU 2023 WC’ สำเร็จ

.
‘สมาคมกีฬาจัมพ์โร้ปไทย’ ขอแสดงความยินดีกับน้องนัท ด.ญ.พรกมล เอียดประดิษฐ์ และน้องฮาบาส ด.ช.วรเวช โลเกตุ ที่สามารถคว้าเหรียญเงิน🥈 ในการเเข่งขันในรายการ ‘Single Rope Double Unders Relay 2x30 seconds’ คู่ผสม ในรุ่น ‘Junior World Jump Rope Championship 2023’ ได้สำเร็จ
.
แค่ตั้งใจและมีความพยายาม ไม่ว่าอุปสรรคระหว่างทางจะมากมายขนาดไหน เราก็เอาชนะมันมาได้ น้องทั้ง 2 คนเก่งมาก!!
.
Congratulations for the ‘FIRST SILVER Medal’ of THAILAND TEAM
YOU DID IT‼️ @nut_ponkamon @loketworavet 
YOU MAKE COUNTRY PROUD OF YOU 🇹🇭
.
ที่มา : https://www.facebook.com/JumpropeTH/posts/pfbid0n3PKjqUD8dDByEemmq827gkts3PzQu6aJodddRyMQgJyABqJ45apXG89Da31UTBrl

‘น้องนัท-น้องฮาบาส’ สุดยอด 2 เด็กไทย คว้าเหรียญเงิน จากการแข่งขันกระโดดเชือกคู่ผสม ใน ‘IJRU 2023 WC’ สำเร็จ

.
‘สมาคมกีฬาจัมพ์โร้ปไทย’ ขอแสดงความยินดีกับน้องนัท ด.ญ.พรกมล เอียดประดิษฐ์ และน้องฮาบาส ด.ช.วรเวช โลเกตุ ที่สามารถคว้าเหรียญเงิน🥈 ในการเเข่งขันในรายการ ‘Single Rope Double Unders Relay 2x30 seconds’ คู่ผสม ในรุ่น ‘Junior World Jump Rope Championship 2023’ ได้สำเร็จ
.
แค่ตั้งใจและมีความพยายาม ไม่ว่าอุปสรรคระหว่างทางจะมากมายขนาดไหน เราก็เอาชนะมันมาได้ น้องทั้ง 2 คนเก่งมาก!!
.
Congratulations for the ‘FIRST SILVER Medal’ of THAILAND TEAM
YOU DID IT‼️ @nut_ponkamon @loketworavet 
YOU MAKE COUNTRY PROUD OF YOU 🇹🇭
.
ที่มา : https://www.facebook.com/JumpropeTH/posts/pfbid0n3PKjqUD8dDByEemmq827gkts3PzQu6aJodddRyMQgJyABqJ45apXG89Da31UTBrl

5 ประเทศที่ใช้เวลาจัดตั้งรัฐบาล ‘นานที่สุดในโลก’

ช่วงนี้การเมืองไทยร้อนระอุ และถูกพูดถึงอย่างหนักหน่วงทั้งในโลกออนไลน์ ออฟไลน์ และสื่อต่างชาติก็ให้ความสนใจอย่างยิ่ง หลายคนเกิดความกังวลว่าการจัดตั้งรัฐบาลในครั้งนี้จะใช้เวลานานและส่งผลกระทบต่อประเทศชาติและประชาชน 

วันนี้ THE STATES TIME ได้รวบรวม 5 ประเทศที่ใช้เวลาจัดตั้งรัฐบาล ‘นานที่สุดในโลก’ มาให้ดูกัน จะมีประเทศอะไรบ้างมาดูกัน

1. เบลเยียม ใช้เวลา 541 วัน การเลือกตั้งในปี 2010 ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เพราะความแตกต่างทางนโยบาย จากฝ่ายการเมืองอย่าง ‘พรรคการเมืองฝ่ายเฟลมมิช’ และ ‘ฝ่ายฟรองโคโฟน’ โดยเฉพาะเรื่องการปฏิรูปประเทศ ไม่มีรัฐบาลกลางเกือบ 2 ปี จนถูกบันทึกลงสถิติโลก

2. สเปน ใช้เวลา 315 วัน ในปี 2015 การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่อาจทำให้สเปนพ้นจากทางตันได้ เพราะถึงแม้พรรคสายอนุรักษ์นิยมจะชนะ แต่ไม่สามารถคุมเสียงข้างมากในสภาที่จำนวน 176 ที่นั่งเอาไว้ได้ จากทั้งหมด 350 ที่นั่ง อีกทั้งพรรคการเมืองอื่น ๆ ก็มีท่าทีต่อต้านการเมืองรูปแบบเดิม ๆ โดยพรรคประชาชนสเปนพยายามเจรจากับกลุ่มพรรคการเมืองอื่นหลายครั้ง แต่ก็ล้มเหลว กว่าจะตั้งรัฐบาลได้สำเร็จก็กินเวลาเกือบ 1 ปี

3. เนเธอร์แลนด์ ใช้เวลา 225 วัน หลังการเลือกตั้งในปี 2017 รัฐบาล 4 พรรคผสมของเนเธอร์แลนด์ ที่มีทั้งสายเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยม โดยมีนโยบายสนับสนุนความหลากหลายทางเพศที่ต่างกัน จนต้องใช้เวลาเจรจากัน 225 วัน แถมยังมีเสียงข้างมากเกินรัฐสภาแค่ 1 เสียงเท่านั้น ขณะที่มีพรรคการเมืองอยู่ในสภาถึง 13 พรรค 

4. เยอรมนี ใช้เวลา 136 วัน เกือบจะต้องเลือกตั้งใหม่ เพราะจัดตั้งรัฐบาลไม่สำเร็จ เมื่อนางแองเกลา เมเคิล ผู้นำพรรค CDU ชนะการเลือกตั้งในปี 2017 ด้วยคะแนน 33% ซึ่งถือว่าต่ำมาก จึงต้องจัดตั้งรัฐบาล รวมกับพรรค SDP ซึ่งได้ที่นั่งอันดับ 2 แต่การเจรจาล้มเหลวหลายครั้ง เพราะมีนโยบายไม่ตรงกันหลายเรื่อง จนต้องใช้เวลาเจรจานาน 136 วัน ท้ายสุดต้องยอมยก ก.คลัง ก.ต่างประเทศ ก.แรงงาน ให้พรรค SDP ถือเป็นการเจรจาที่นานที่สุดในประวัติศาสตร์เยอรมนี

5. สวีเดน ใช้เวลา 134 วัน ในปี 2018 พรรค Social Democrats ได้คะแนนเสียงต่ำที่สุดในรอบศตวรรษของพรรค จึงต้องรวมคะแนนเสียงกับกลุ่มพรรคฝั่งซ้ายอื่น ๆ จนอยู่ที่ 40.6% ขณะที่อันดับ 2 รวมคะแนนเสียงได้อยู่ที่ 40.3% ซึ่งนั่นก็ยังไม่พอให้ Social Democrats จัดตั้งรัฐบาลได้ ทางรัฐสภาจึงมีมติหลังการเจรจากว่า 134 วัน ให้ผู้นำพรรค Social Democrats เป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย ตัดปัญหาการเลือกตั้งที่หาข้อสรุปไม่ได้ไป

14 ล้านเสียงกา ‘ก้าวไกล’ ยังไม่พร้อมลงถนน เชื่อ!! ปชช. สนปากท้อง มากกว่าแตกแยก

(21 ก.ค. 66) นายปรเมษฐ์ ภู่โต สื่อมวลชนอาวุโส พิธีกร ผู้ประกาศข่าว รายการคุยถึงแก่น ได้ร่วมพูดคุยกับ นายพิชิต ไชยมงคล อดีตแกนนำกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ในเรื่อง ‘ปฏิกิริยามวลชน 14 ล้านที่เลือกก้าวไกล หลัง ‘พิธา’ ไม่ได้เป็นนายกฯ และท่าทีของมวลชน หากเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ’ ผ่านช่องทางเฟซบุ๊กไลฟ์ ‘คุยถึงแก่น’ 

>> ประเมินแรงกดดันนอกสภาจากกองเชียร์ของพรรคก้าวไกล คิดว่าจะมีทิศทางอย่างไร?

นายพิชิต ระบุว่า ผมต้องประเมินย้อนไปถึงตั้งแต่ยุคอนาคตใหม่ กรณีคุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ คล้ายคล้ายกรณีคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เพราะเป็นคดีถือหุ้นสื่อเหมือนกัน ตอนนั้นคุณธนาธรออกมาแสดงความคิดเห็น (ข้อแก้ตัว) ทางคดีผ่านมวลชน ศาลตัดสินได้ไม่ถึงสัปดาห์ คุณธนาธรก็นัดมวลชนที่สวนจตุจักร มวลชนไปเยอะมาก แต่ตอนนั้นคุณธนาธร คุณช่อ และคุณปิยะบุตร ก็ไม่ได้ออกมานำมวลชน และไม่ได้มีเหตุการณ์อะไร

ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน ผมประเมินว่าสุดท้ายก็จะเป็นหนังม้วนเดิม พรรคก้าวไกลก็อาจจะถูกคดีคล้ายกับพรรคอนาคตใหม่ คีย์แมนคนสําคัญของพรรคก้าวไกลก็ไม่กล้าออกมานำมวลชนชุมนุม พรรคก้าวไกลนัดมวลชนให้ไปปกป้องคุณพิธาที่รัฐสภา แต่กลายเป็นว่ามวลชนไม่ออกไป มวลชนส่วนหนึ่งคนรุ่นใหม่ที่เป็นฐานสําคัญของพรรคก้าวไกล คนทํางาน คนรุ่นใหม่ ไม่มีใครออก ถ้าพูดกันตรงๆ ก็คือเป็นมวลชนนี้คือพี่น้องคนเสื้อแดงที่หันมาเชียร์คุณพิธามากกว่า 

หรือแม้กระทั่งเมื่อวันที่ 19 ก.ค.66 การชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ผมต้องใช้คําว่า ‘สอบไม่ผ่าน’ ถ้าดูจากคะแนนเสียงที่ถูกเคลมอ้างตลอดว่า 14 ล้านเสียงพร้อมจะออกมา พรรคก้าวไกลก็พยายามปั่นว่า ถ้าคุณพิธาไม่ได้เป็นนายก มวลชน 14 ล้านเสียงจะปิดบริษัทชุมนุม แต่ 19 ก.ค. ที่ผ่านมา ยืนยันว่าเป็นแค่คำขู่ 

มวลชน 14 ล้านเสียงที่เลือกก้าวไกล ไม่ใช่มวลชนที่พร้อมจะลงถนนทั้ง 14 ล้านคน ต้องมองแบบแยกแยะกันพอสมควร จะมาเคลมแบบก้าวไกลว่า 14 ล้านเสียงคือแรงผลักดันทางการเมืองที่พร้อมจะลงถนน ผมว่า ณ วันนี้ต้องประเมินกันใหม่ บางส่วนเขาไม่ได้พร้อมที่จะมาปกป้องคุณพิธา บางส่วนของ 14 ล้านเสียงที่เขาเลือกก้าวไกล เพราะเขาอาจจะเบื่อลุงก็ได้ หรือจะเพื่อการเปลี่ยนแปลง แต่ไม่ใช่พร้อมจะลงถนน 

>> สาเหตุที่ 14 ล้านเสียงไม่ไปลงถนนชุมนุม มาจากกลุ่มแกนนำชุมนุมยังเป็นกลุ่มเดิมๆ เนื้อหาที่พูดก็ค่อนข้างสุดโต่งเกินไป ทำให้คนไม่ค่อยอยากสุงสิงหรือเปล่า?

นายพิชิต กล่าวว่า เป็นส่วนหนึ่งครับ ผมถึงบอกตั้งแต่ต้นว่าถ้าจะให้จริงจังคุณพิธา คุณธนาธรต้องออกมานําเอง ผมว่ามวลชนจะเชื่อใจ คณะแกนนำชุมนุมต้องพูดเรื่องเดียวกับที่เกิดขึ้นในสภา อธิบายเนื้อหาว่าทําไมคุณพิธาไม่ได้ถูกเลือกเป็นนายก มีเนื้อหาอะไรบ้าง? มีการเล่นเกมโกงกันยังไง? รัฐธรรมนูญมีปัญหาอะไร? แต่เนื้อหาที่พูดบนเวทีกลายเป็นเรื่อง ม.112 ผมเชื่อว่ามวลชนเขาก็ไม่กล้าเสี่ยง เพราะกลัวคดี แต่หากอยากให้มวลชนออกมา คุณพิธา คุณธนาธรต้องออกมานำเอง อยู่ที่ว่าพวกเขากล้าหรือเปล่า

>> ประเมินธนาธร ซึ่งเป็นประธานคณะก้าวหน้า กล้าถือไมค์อยู่บนหลังรถกระบะนําคนเป็นพัน เป็นหมื่นพร้อมจะโดนคดี เขาจะกล้าไหม?

นายพิชิต ให้ความเห็นว่า ให้ประเมินตอนนี้ผม ผมฟันธงได้เลยว่า ‘ไม่กล้า’ ถ้าเป็นการชุมนุมแบบเดิมคือ ปักหลักยืดเยื้อขึ้นบนรถหลังเวที นอนพักค้างคืน แบบนี้เขาไม่กล้าแน่ หรือถ้าเอาแบบใหม่ แบบที่เขาถนัดคือมาแล้วกลับ ผมก็ยังฟันธงว่า ‘เขาไม่กล้า’ เพราะการชุมนุมมันมีผลแห่งการรับผิดชอบมวลชนเยอะพอสมควร ฟันธงว่าทั้งคุณธนาธรและคุณพิธาก็ไม่กล้า

>> หากพรรคเพื่อไทยตั้งรัฐบาลโดยไม่มีพรรคก้าวไกล จะเจอแรงคนกดดันจากกองเชียร์พรรคก้าวไกลแค่ไหน? แล้วทางกองเชียร์เพื่อไทยจะหนุนหลังพรรคเพื่อไทยมากน้อยแค่ไหน?

นายพิชิต กล่าวว่า ถ้าเพื่อไทยมีนโยบายเรื่องปากท้องเพื่อพี่น้องประชาชน เชื่อว่ามวลชนจะไม่ออกมา เพราะต้องยอมรับว่าประชาชนเหนื่อยกับการชุมนุม ประเทศไทยมีการชุมนุมมา ในช่วง 20 ปีก็หลายครั้งชุมนุมใหญ่ก็หลายหน มวลชนจะเหนื่อยกับการชุมนุม คณะราษฎร์ก็มีการชุมนุมใหญ่มาแล้ว มีการเคลื่อนไหว มวลชนออกมาค่อนข้างเยอะ แล้วจะกล้าไหมที่จะออกมาแค่ปกป้อง ‘พิธาหรือพรรคก้าวไกล’ 

ผมว่าถ้าพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลร่วมกับพรรคอื่น สิ่งที่ต้องคํานึงให้มากที่สุดคือ การแก้ปัญหาของพี่น้องประชาชน เอานโยบายที่สามารถจับต้องได้ แก้ปัญหาของพี่น้องได้ เรื่องปากท้อง เรื่องแรงงาน เรื่องชาวนา เชื่อว่าประชาชนจะอินกับการแก้ปัญหามากกว่าที่จะออกมาเคลื่อนไหวบนถนน 

แน่นอนว่าอาจจะมีการโวยวายในโลกโซเชียล ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ แต่คนที่จะออกมาเคลื่อนไหว ผมคิดว่า มันจะถูกลดทอนด้วยการทํางาน เอาการทํางานมาเป็นตัวพิสูจน์ ถึงแม้เราจะไม่ค่อยไว้ใจเพื่อไทยเท่าไหร่ แต่ในการจับขั้วรัฐบาลอย่างน้อยมันก็ต้องมีรัฐบาลในการบริหารประเทศ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหนก็แล้วแต่ ถ้าคํานึงถึงผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนเป็นหลัก การชุมนุมมันจะไม่มีเหตุผลอะไรเลย เพราะเกมการเดินหน้าการแก้ปัญหาของประเทศยังเดินอยู่ ผมคิดว่าคนที่คิดออกมาชุมนุมก็ต้องเลือกระหว่างจะ ‘ทําให้ประเทศเดินหน้า’ หรือว่าจะเอามาชุมนุม ‘เพื่อสิ่งที่ตัวเองต้องการ’

>> ประชาชนคนทั่วไป ที่ทำงานหาเช้ากินค่ำ ผ่านช่วงที่เศรษฐกิจบอบช้ำ สงครามรัสเซีย-ยูเครน คนก็คงไม่อินกับการไปม็อบ ใช่ไหม?

นายพิชิต กล่าวว่า ประเมินจากพรรคก้าวไกล กรณีคุณพิธาที่โดน กกต. โดนศาลรัฐธรรมนูญ ถ้ามวลชนเยอะจริงอย่างที่พูดในโซเชียล ผมว่ามวลชนจะออกเยอะกว่านี้ แต่ที่นัดชุมนุมใหญ่ที่ผ่านมาหลายครั้ง คนไม่ออกนะ ดังนั้นผมมองว่าแม้เขาจะชอบก้าวไกล แต่เขายังไม่พร้อมที่จะลงถนนแบบแตกหัก บางส่วนก็คิดว่าประเทศบอบช้ำจากการชุมนุม และคนก็ต้องทำมาหากิน เขาก็ไม่ลงถนน อีกฝั่งก็คิดว่าที่คุณพิธาเป็นแบบนี้ก็เพราะไม่จัดการตัวเองเรื่องถือหุ้นสื่อ มันก็ต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ เรื่องพวกนี้จะทำให้คนไม่อิน

ในอนาคต ถ้าพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนําจัดตั้งร่วมกับพรรคอื่น แต่ถ้าบริหารจัดการนโยบายดี ๆ ผมคิดว่าคนพร้อมอยากให้รัฐบาลใหม่มาแก้ไขปัญหาของประเทศ มากกว่าที่จะออกมาชุมนุม

>> หากเปรียบการเมืองไทยเป็นสามก๊ก มีเพื่อไทย ก้าวไกล และ ฝั่ง กปปส. รวมกับพันธมิตร คิดว่ามวลชนกลุ่มที่ไม่ได้เชียร์เพื่อไทย หรือก้าวไกล จะออกมาเคลื่อนไหวด้วยเหตุผลอะไร?

นายพิชิต กล่าวว่า จุดแตกหักของมวลชนคงจะเป็นเรื่อง 112 ที่หลายคนกังวล มีโอกาสที่จะทําให้พันธมิตรเดิม หรือ กปปส. เดิม กลุ่มที่เคยออกมาปกป้องสถาบันได้ขยับอีกครั้งหนึ่ง แน่นอนว่าการขยับอาจจะไม่ใช่การแสดงพลังชุมนุมใหญ่ แต่มันจะไปกระตุ้น ให้เกิดการตื่นตัวและการเคลื่อนไหวออกมา ผมว่ามีปมเดียวคือเรื่อง 112 ยกเว้นกรณีคุณทักษิณจะกลับมา ซึ่งหลายคนก็เฝ้าจับตามอง จะกลับมาในลักษณะไหน มาแล้วต้องเคารพกฎหมาย ถ้าไม่เคารพกฎหมาย นี่อาจจะเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่จะทําให้ กลุ่มที่เคยต่อต้านคุณทักษิณได้กลับมาแสดงพลังอีกรอบ

>> คิดว่าจะเป็นโอกาสทองในการก้าวข้ามความขัดแย้งของคนในสังคมหรือไม่?

นายพิชิต กล่าวว่า ที่จริงเรื่องความปรองดองเป็นเรื่องที่ต้องคุยกันมาตั้งนานแล้ว แกนนำหลายท่านก็เคยมานั่งคุยกัน แต่การปรองดองก็ต้องมีเงื่อนไข ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจะบอกว่าปรองดองหมด หากปรองดองภายใต้เงื่อนไขทางการเมือง สามารถเกิดขึ้นได้ อยู่ที่รัฐบาลจะกล้าหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาพูดคุยกันให้จริงจังขนาดไหน 

>> เมื่อถามว่า หากเพื่อไทยเป็นรัฐบาล จะเกิดการพูดคุยเรื่องการปรองดองหรือไม่?

นายพิชิต กล่าวว่า เพื่อไทยก็จะถูกจับตามองเรื่องคุณทักษิณ ขยับตัวยาก จึงต้องเป็นรัฐบาลที่หลายฝ่ายยอมรับ แต่ทุกวันนี้ก็ระแวงกันอยู่พอสมควร ดังนั้นต้องใช้ตัวเนื้อหาเป็นต้นแบบในการพูดคุย และให้สังคมได้ร่วมวิพากย์วิจารณ์กัน

‘ก้าวไกล’ เปิดทางพรรคอันดับสองตั้งรัฐบาล พร้อมเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ จาก ‘เพื่อไทย’

(21 ก.ค.66) นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล แถลงข่าวความคืบหน้าในการเจรจาจัดตั้งรัฐบาลว่า การเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา เป็นการประกาศเจตจำนงของประชาชนที่ชัดเจนว่าต้องการเปลี่ยนขั้วรัฐบาล ด้วยการลงคะแนนเสียงเลือกพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยจนชนะเป็นอันดับ 1 และอันดับ 2 ดังนั้น เป้าหมายสูงสุดของเราในฐานะพรรคอันดับ 1 คือการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ให้สำเร็จเพื่อหยุดยั้งการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลเดิม

แต่ตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา สถานการณ์ทุกอย่างชี้ชัดว่าทุกองคาพยพของฝ่ายอนุรักษนิยม ทั้งการเมืองจารีต ทุนผูกขาด และสถาบันองค์กรต่างๆ ที่เป็นบริวารแวดล้อม ทั้งหมดไม่ยอมให้พรรคก้าวไกลเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยเอาเรื่อง ม.112 มาบังหน้า และอ้างความจงรักภักดีมาปะทะกับการเลือกตั้งของประชาชน นอกจากนี้ ยังมีการเคลื่อนไหวผ่านคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อหวังตัดสิทธิการเมืองของแกนนำพรรคและยุบพรรคก้าวไกลให้ได้

ด้วยเหตุนี้ ส.ว. จึงฝืนมติมหาชน ไม่โหวตเลือกนายกฯ ตามเสียงส่วนใหญ่ของสภาผู้แทนราษฎร มิหนำซ้ำ ยังกล้าทำลายหลักการ ตีความข้อบังคับของรัฐสภาให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เปรียบเสมือนการล้มล้างการปกครอง หรือฉีกรัฐธรรมนูญผ่านกฎหมู่ เพียงเพื่อต้องการขัดขวางไม่ให้เสนอชื่อพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกฯ ในครั้งที่สอง

พรรคก้าวไกลไม่ยอมรับการตีความข้อบังคับดังกล่าว แต่ภายใต้การทำงานที่สอดประสานกันทั้งองคาพยพของฝ่ายอนุรักษนิยมเช่นนี้ เราจำเป็นต้องขอโทษต่อประชาชน และยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่าพวกเขาไม่ยอมให้พรรคก้าวไกลเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล

อย่างไรก็ดี การที่พิธาไม่สามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ไม่ได้หมายความว่าภารกิจการจัดตั้งรัฐบาลเพื่อพลิกขั้วอำนาจรัฐบาลจะไม่สำเร็จไปด้วย เป้าหมายสูงสุดของเราในฐานะพรรคอันดับ 1 ยังคงอยู่ นั่นคือการจัดตั้งรัฐบาล เพื่อหยุดยั้งการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลเดิมให้สำเร็จ

สิ่งสำคัญในวันนี้จึงไม่ใช่เรื่องพิธาจะเป็นนายกฯ ได้หรือไม่ แต่คือเรื่องประเทศไทยจะกลับสู่ประชาธิปไตยได้หรือไม่ หยุดการสืบทอดอำนาจได้หรือไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรรคก้าวไกลจะเปิดโอกาสให้ประเทศ โดยให้พรรคอันดับสอง คือพรรคเพื่อไทย เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลของพันธมิตร 8 พรรคที่ได้เคยทำ MOU กันไว้

ดังนั้น ในการประชุมรัฐสภาครั้งต่อไป พรรคก้าวไกลจะเสนอชื่อแคนดิเดตจากพรรคเพื่อไทยเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 เช่นเดียวกับที่พรรคเพื่อไทยเคยสนับสนุนพรรคก้าวไกล

เมื่อเสร็จการแถลง สื่อมวลชนได้สอบถามถึงเงื่อนไขการจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย โดยนายชัยธวัชกล่าวว่า หลังจากนี้จะเป็นบทบาทหลักของพรรคเพื่อไทยในการพูดคุยถึงแนวทางการจัดตั้งรัฐบาล ขึ้นอยู่กับพรรคเพื่อไทยว่าจะเสนอแคนดิเดตนายกฯ คนไหนในการประชุมรัฐสภาครั้งหน้า พรรคก้าวไกลไม่ได้ระบุว่าต้องเป็นใครโดยเฉพาะจงเจาะ ขึ้นอยู่กับมติของพรรคเพื่อไทย เราต้องเคารพ

ผู้สื่อข่าวถามถึงจุดยืน ‘มีลุง ไม่มีเรา’ พรรคก้าวไกลยังเหมือนเดิมหรือไม่ นายชัยธวัชกล่าวว่า เรื่องนี้เป็นจุดยืนที่ชัดเจนสำหรับพรรคก้าวไกล สิ่งที่เราได้สัญญาพูดคุยต่อพี่น้องประชาชนทั่วประเทศในการเลือกตั้งที่ผ่านมา เราไม่สามารถเสียสัจจะเรื่องนี้ได้

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากการประชุมรัฐสภาครั้งต่อไป แคนดิเดตนายกฯ ของพรรคเพื่อไทยเสนอแล้วไม่ผ่านความเห็นชอบของสภาฯ จะถือว่าการเสนอแคนดิเดตคนนั้นจบลงเลยหรือไม่ นายชัยธวัชกล่าวว่า จุดยืนของพรรคก้าวไกลไม่ยอมรับการตีความข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อที่ 41 เรายืนยันว่า มติของรัฐสภาในครั้งที่แล้วขัดต่อรัฐธรรมนูญ เมื่อถูกถามต่อว่า คิดเห็นอย่างไรต่อบทบาทการทำหน้าที่ของ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาในการประชุมรัฐสภาครั้งที่ผ่านมา นายชัยธวัชกล่าวว่า เรื่องนี้เป็นข้อถกเถียงกันในสมาชิกรัฐสภา เราเห็นว่าประธานสภาสามารถวินิจฉัยได้ แต่เมื่อมีความเห็นแตกต่างกันเยอะ ประธานสภาอาจเห็นว่าควรให้สมาชิกได้อภิปรายถกเถียงกันอย่างเต็มที่และมีมติร่วมกัน อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ผ่านไปแล้ว หวังว่ารัฐสภาชุดนี้จะไม่มีเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นอีก

เมื่อถามว่า กังวลหรือไม่เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของประชาชนที่เลือกพรรคก้าวไกล ที่อาจมองว่าพรรคถอย ชัยธวัชกล่าวว่า ไม่กังวล ตอนนี้ไม่ใช่แค่ผู้ที่ลงคะแนนเสียงให้พรรคก้าวไกล แต่ตนกำลังพูดว่าผู้ลงคะแนนเสียงส่วนใหญ่ที่ให้พรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล มีส่วนสำคัญ ตนเชื่อว่าคนที่เลือกทั้งพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย แม้วันนี้พรรคก้าวไกลจะเป็นไปได้ยากในการเป็นนายกฯ แต่ประชาชนทั้งสองส่วนก็ยังอยากเห็นรัฐบาลที่พรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลเป็นแกนนำ

ในช่วงท้าย ผู้สื่อข่าวถามว่าคิดอย่างไรกับคำพูดว่าก้าวไกลต้องเสียสละ นายชัยธวัชกล่าวว่า “ผมคิดว่าคนที่ไม่ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลง คนที่ไม่ยอมรับหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยต่างหาก ที่ควรจะมีสำนึกว่าการกระทำแบบนี้จะไม่ส่งผลดีต่อบ้านเมืองในระยะยาว”


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top