Friday, 9 May 2025
ค้นหา พบ 47953 ที่เกี่ยวข้อง

‘ทักษิณ’ มั่นใจ!! ‘พท.’ ครองเสียงข้างมาก ชนะเลือกตั้ง แต่อาจต้องตั้ง ‘รัฐบาลผสม’ ยัน!! ไม่ต้องการนิรโทษกรรม

เมื่อวันที่ (25 มี.ค. 66)  นิกเคอิเอเชีย สื่อญี่ปุ่นรายงานบทสัมภาษณ์ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า นายทักษิณคาดการณ์ว่ารัฐบาลชุดใหม่ที่จะมาบริหารประเทศไทยต่อไปจะเป็นรัฐบาลผสม ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 14 พฤษภาคม แม้ว่าพรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งและสามารถคว้าเสียงข้างมากในสภาฯ ได้ก็ตาม

“ผมเชื่อว่าจะเป็นรัฐบาลผสมอย่างแน่นอน” นายทักษิณกล่าว พร้อมเสริมว่า เขามีความมั่นใจว่า พรรคเพื่อไทยจะชนะได้ที่นั่งในสภาฯ อย่างน้อย 250 ที่นั่ง จาก 500 ที่นั่ง และเขาไม่ต้องการให้รัฐบาลใหม่ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับเขา โดยเขาจะเดินทางกลับประเทศไทยด้วยตนเอง แม้ว่านั่นจะหมายถึงการต้องติดคุกก็ตาม

นอกจากนี้ นายทักษิณปฏิเสธที่จะกล่าวว่า พรรคเพื่อไทยกำลังตกลงกับพรรคอื่น ๆ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่หรือไม่ “ผมเป็นแค่ผู้ก่อตั้งพรรค ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรค ดังนั้น สิ่งที่ผมสามารถทำได้ คือ การสังเกตการณ์การเลือกตั้งอยู่ห่าง ๆ” นายทักษิณกล่าว

‘บิ๊กตู่’ สั่ง ‘ททท.’ เตรียมความพร้อมจัดกิจกรรมสงกรานต์ เร่งวางแผนหนุนการท่องเที่ยว คาด นนท.สูงถึง 17–20 ล้านคน

(26 มี.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม วางแนวทางการทำงานส่งเสริมการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2566 สั่งการให้เตรียมความพร้อมจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองสงกรานต์แบบยิ่งใหญ่ ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดการณ์ว่าการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศจะเติบโตมาก วางแผนวิจิตรสงกรานต์ 5 ภาค พร้อมประชาสัมพันธ์โครงการ ‘365 วัน มหัศจรรย์เมืองไทยเที่ยวได้ทุกวัน’ กระตุ้นตลาดการท่องเที่ยวภายในประเทศ

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากการคาดการณ์แนวโน้มการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2566 ททท. คาดว่าจะคึกคักมากกว่า ปี 2562 ช่วงสงกรานต์ก่อนสถานการณ์โควิด-19 เนื่องจากการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง พร้อมคาดการณ์ว่า การเดินทางท่องเที่ยวของคนไทยในช่วงวันหยุดยาวสงกรานต์ จะสนับสนุนให้เกิดการเดินทางในประเทศทั้งเดือนเมษายน ปี 2566 อยู่ที่ 17-20 ล้านคน/ครั้ง

‘นิด้าโพล’ เผย ‘คนกรุงเทพฯ’ เลือก ‘ก้าวไกล’ อันดับ 1 หนุน ‘พิธา’ นั่งนายกฯ ด้าน ‘อุ๊งอิ๊ง’ พท.คะแนนสูสี อันดับ 2

(26 มี.ค. 66) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘คน กทม. เลือกพรรคไหน’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-21 มีนาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ ทั้ง 50 เขต กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,500 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคนกรุงเทพมหานครเลือกพรรคไหน

เมื่อถามถึงบุคคลที่คนกรุงเทพมหานครจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่า

อันดับ 1 ร้อยละ 25.08 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล)
อันดับ 2 ร้อยละ 24.20 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย)
อันดับ 3 ร้อยละ 18.24 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ)
อันดับ 4 ร้อยละ 5.96 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)
อันดับ 5 ร้อยละ 5.68 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย)
อันดับ 6 ร้อยละ 5.20 ระบุว่า ยังหาคน ที่เหมาะสมไม่ได้
อันดับ 7 ร้อยละ 4.84 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า)
อันดับ 8 ร้อยละ 2.40 ระบุว่าเป็น นายเศรษฐา ทวีสิน (พรรคเพื่อไทย)
อันดับ 9 ร้อยละ 2.00 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย)
อันดับ 10 ร้อยละ 1.64 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย)
อันดับ 11 ร้อยละ 1.56 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์)

ร้อยละ 3.20 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนากล้า) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ (พรรคพลังประชารัฐ) นายรังสิมันต์ โรม (พรรคก้าวไกล) นายวิกรม กรมดิษฐ์ และนายสกลธี ภัททิยกุล (พรรคพลังประชารัฐ)

เมื่อพิจารณาบุคคลที่คนกรุงเทพมหานครจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี 5 อันดับแรก เมื่อจำแนกตามกลุ่มเขตการปกครอง ของกรุงเทพมหานคร พบว่า

1.) กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง อันดับ 1 ร้อยละ 27.50 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 2 ร้อยละ 22.14 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 3 ร้อยละ 21.07 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 4 ร้อยละ 7.86 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) และอันดับ 5 ร้อยละ 5.36 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)

2.) กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 23.72 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 2 ร้อยละ 23.49 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 3 ร้อยละ 19.30 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 6.05 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) และอันดับ 5 ร้อยละ 5.81 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)

3.) กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 29.16 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 2 ร้อยละ 24.43 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 3 ร้อยละ 18.89 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 7.60 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) และอันดับ 5 ร้อยละ 3.49 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า)

4.) กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก อันดับ 1 ร้อยละ 24.52 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 22.61 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 3 ร้อยละ 19.35 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 7.47 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) และอันดับ 5 ร้อยละ 6.71 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้

5.) กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 27.09 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 19.60 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 3 ร้อยละ 16.43 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 7.20 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) และยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ ในสัดส่วนที่เท่ากัน และอันดับ 5 ร้อยละ 6.34 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)

6.) กลุ่มเขตกรุงธนใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 27.65 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 2 ร้อยละ 23.96 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 3 ร้อยละ 14.06 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 6.68 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ และอันดับ 5 ร้อยละ 5.53 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย)

เบื้องลึกกองกำลังประชาชนแห่งเมียนมา เมื่อแรงชักจูง ปั่นหัวให้อยากเป็นฮีโร่

เมื่อย้อนกลับไปมองถึงการปฏิวัติของนายพล มิน อ่อง หล่าย ก็เหมือนกับการย้อนดูหนังฮอลลีวู้ดสักเรื่อง นั่นก็เพราะหลังจากที่มีการประท้วงโดยการนำของเหล่าผู้แทนของพรรค NLD รวมถึงมีการเคลื่อนไหวการจัดตั้งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติหรือ National Unity Government (NUG) (หลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาล NUG ก็มีการประกาศอะไรต่าง ๆ มากมาย จนแรก ๆ ผู้คนส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยคล้อยตามไปกับทางนั้น) ได้มีประกาศที่สำคัญอันหนึ่งคือ การประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติในวันที่ 16 เมษายน 2564 ว่า...

“ทาง NUG จะจัดตั้งกลุ่มติดอาวุธที่จะร่วมมือกับองค์กรติดอาวุธชาติพันธุ์ต่าง ๆ เริ่มการปฏิวัติด้วยอาวุธเพื่อต่อต้านรัฐบาลทหาร” ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณแรกของการตอบโต้ โดยตอนนั้นก็เหมือนจะมีกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มเห็นพ้องที่จะเอาด้วย  

ต่อมาในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 NUG ได้ประกาศการจัดตั้งกองกำลังชุดแรกว่าเป็น “ผู้บุกเบิกกองกำลังของรัฐบาลกลาง” นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่า กองกำลังนี้เกิดขึ้นเพื่อตอบโต้กับกองทัพรัฐบาลทหารของเมียนมาด้วยความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นทั่วประเทศ

จากนั้นในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 NUG ได้เผยแพร่วิดีโอพิธีสำเร็จการศึกษาของการฝึกกองกำลังนี้ โดยประกาศว่ากลุ่มติดอาวุธพร้อมที่จะท้าทายกองกำลังของรัฐบาลทหารแล้ว  

และเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2564 NUG ได้ประกาศเปิดตัว “สงครามป้องกันประชาชน” เพื่อต่อต้านรัฐบาลทหาร และเรียกร้องให้ประชาชนลุกฮือต่อต้านรัฐบาลทหารในทุกมุมของประเทศ โดยในประกาศได้อ้างว่า ประชาชนมีสิทธิ์ที่จะปกป้องตนเองและครอบครัวจากรัฐบาลทหาร ซึ่งนั่นถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดกลุ่ม People Defense Force หรือ PDF อย่างเป็นทางการ

‘เอกนัฏ’ ลุยบึงกุ่ม ช่วยผู้สมัครหาเสียง-รับฟังปัญหา ปชช. เผย ‘รทสช.’ กระแสแรง ชาวบ้านพร้อมหนุนลุงตู่แบบใจต่อใจ

(26 มี.ค. 66) ที่สวนเสรีไทยเขตบึงกุ่ม นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) และนายเกรียงยศ สุดลาภา ผู้บริหารพรรคลงพื้นที่ช่วย น.ส.กาญจนา ภวัครานนท์ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เขตบึงกุ่ม คันนายาว หาเสียงพบปะประชาชน โดยเดินทักทายแนะนำตัวผู้สมัครกับประชาชนที่มาเดินออกกำลังกายภายในสวนสาธารณะเสรีไทย ก่อนขึ้นรถแห่หาเสียงไปตามเส้นทางหลัก ท่ามกลางความสนใจของประชาชนที่มายืนรอต้อนรับ บางส่วนก็โบกมือให้กำลังใจ และไปเดินหาเสียงที่ตลาดเช้าหมู่บ้านสหกรณ์ รับฟังปัญหาข้อเสนอแนะจากประชาชน เพื่อขอให้ช่วยแก้ไขหากได้เป็นรัฐบาล ซึ่งในเขตนี้ประชาชนให้การต้อนรับดีมาก หนุนลุงตู่แบบใจต่อใจ

นายเอกนัฏ กล่าวว่า งานเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. 400 เขตทั่วประเทศ มื่อวันเสาร์ที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นความพร้อมเพรียงอย่างเต็ม 100% ของว่าที่ผู้สมัครทุกคนตั้งแต่ตนทำงานด้านการเมืองมา ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่ทุกคนที่มีจิตอาสาจะมาทำงานเพื่อส่วนรวมไม่ว่าจะมาจากที่ไหน ก็ตั้งใจที่จะมารวมกันอย่างพร้อมเพรียง ซึ่งทางพรรคเองก็ได้มีการประกาศรายชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค โดยเป็นการลงมติเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารพรรคในคืนก่อนมีการจัดเวที โดย พลเอกประยุทธ์ได้กล่าวบนเวทีว่า รู้สึกอบอุ่นเพราะมีผู้ที่อยู่ร่วมบนเวทีที่จะต่อสู้ไปด้วยกันอีก 400 คนรวมทั้งสมาชิกอื่น ๆ อีกทั่วประเทศทำให้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ที่จะขับเคลื่อนภารกิจไปด้วยกัน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top