Tuesday, 8 July 2025
ค้นหา พบ 49261 ที่เกี่ยวข้อง

การประชุมคณะกรรมการระดับสูง (HLC) ไทย - มาเลเซีย ครั้งที่ 37

เมื่อวานนี้ (12 ม.ค. 66) พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ พลอากาศเอก ตัน สรี ดาโต๊ะ สรี ฮัญจี อัฟเฟนดี บิน บวง ผู้บัญชาการทหารสูงสุดมาเลเซีย เป็นประธานร่วมในการประชุมคณะกรรมการระดับสูง (HLC) ไทย-มาเลเซีย ครั้งที่ 37 ณ โรงแรมรติล้านนา ริเวอร์ไซด์ สปา รีสอร์ท เชียงใหม่ 

การประชุมคณะกรรมการระดับสูง (High Level Committee : HLC) ไทย-มาเลเซีย เป็นการดำเนินการตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งประเทศไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศมาเลเซียว่าด้วยความร่วมมือชายแดน เมื่อ 18 พฤษภาคม 2543 มีกำหนดจัดขึ้นปีละ1 ครั้ง โดยสลับกันเป็นเจ้าภาพ มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารสูงสุดมาเลเซีย เป็นประธานร่วม

การประชุมดังกล่าวเป็นการดำเนินการตามกลไกระหว่างกองบัญชาการกองทัพไทยกับกองบัญชาการทหารสูงสุดมาเลเชีย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้กองบัญชาการกองทัพไทย และกองบัญชาการทหารสูงสุดมาเลเซีย มีความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ดีระหว่างกันอย่างแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้พื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย มีความมั่นคง และสงบเรียบร้อย เป็นพื้นที่แห่งมิตรภาพ สันติภาพ ความสงบสุข และความร่วมมือในการพัฒนาระหว่างสองประเทศอย่างยั่งยืน ตลอดจนช่วยเสริมสร้างบรรยากาศที่เกื้อกูลต่อความร่วมมืออันดีในการปฏิบัติงานร่วมกันของคณะกรรมการฯ ฝ่ายไทย และฝ่ายมาเลเชีย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงตามพื้นที่ชายแดนของทั้งสองประเทศ และเป็นการสนับสนุนให้มีความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นในทุกมิติอย่างเป็นรูปธรรม

การประชุม HLC ไทย-มาเลเซีย ในครั้งนี้จะได้รับทราบถึงผลการดำเนินงานตามงานมอบที่ HLC มอบให้คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (RBC) และคณะกรรมการฝึกร่วม/ผสม (JCEC) ดำเนินการ รวมทั้งจะมอบหมายงานเพิ่มเติมให้ RBC และ JCEC ดำเนินการต่อไป อาทิ การแลกเปลี่ยนข่าวสาร เพื่อรักษาความมั่นคงและลดอาชญากรรมตามแนวชายแดนไทย-มาเลเชีย การสกัดกั้นการผ่านแดนโดยผิดกฎหมาย การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ การอำนวยความสะดวกในการข้ามแดนเพื่อให้การผ่านเข้า-ออกของบุคคลและสินค้าตามแนวชายแดนมีความปลอดภัย และการป้องกันอาชญากรรมตามแนวชายแดน เป็นต้น

'กองทัพอากาศ' จัดพิธีมอบเครื่องหมายแสดงความสามารถด้านกีฬาให้แก่ผู้ฝึกสอน และนักกีฬาในสังกัดกองทัพอากาศ

พลอากาศเอก ชานนท์ มุ่งธัญญา รองผู้บัญชาการทหารอากาศ ในฐานะผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีมอบเครื่องหมายแสดงความสามารถด้านกีฬา ให้แก่ คณะกรรมการกีฬา ผู้ฝึกสอน และนักกีฬากองทัพอากาศ ณ ห้องรับรองกองทัพอากาศ กองบัญชาการกองทัพอากาศ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากรด้านการกีฬาของกองทัพอากาศ ที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ซึ่งจะต้องสั่งสมประสบการณ์จากสนามแข่งขันต่าง ๆ จนเกิดเป็นทักษะในกีฬาประเภทนั้น ๆ อีกทั้งต้องมีความเสียสละ มีระเบียบวินัยในตนเอง อดทน ขยันหมั่นเพียร และทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญาในการฝึกซ้อมจนประสบความสำเร็จในหลายประเภทกีฬา

โดยมีผู้ได้รับเครื่องหมายแสดงความสามารถด้านกีฬาในครั้งนี้ จำนวน 43 คน แบ่งเป็น 
- เครื่องหมายแสดงความสามารถชั้นกิตติมศักดิ์ จำนวน 2 คน
- เครื่องหมายแสดงความสามารถ ชั้นหนึ่ง จำนวน 20 คน
- เครื่องหมายแสดงความสามารถ ชั้นสอง จำนวน 21 คน

สมเด็จพระสังฆราช ประทานคติธรรม วันเด็กแห่งชาติ “เด็กและเยาวชนคืออนาคตของสังคมไทย”

(13 ม.ค. 66) เพจเฟซบุ๊ก สำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช โพสต์ข้อความระบุว่า...

เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๖ ความว่า

“เด็กและเยาวชนคืออนาคตของสังคมไทย ซึ่งจะเติบโตมาแทนที่ผู้ใหญ่ผู้กำลังร่วงโรยสู่วัยชราในไม่ช้า ถ้าเด็กและเยาวชนเป็นผู้มีสติปัญญาไม่เฉียบแหลม มีสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิตใจอ่อนแอ ย่อมไม่อาจทำหน้าที่รับภาระของชาติบ้านเมืองในอนาคตได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ การกระทำตนให้ห่างพ้นจากภยันตรายที่อาจบั่นทอนสุขภาวะจึงเป็นหน้าที่สำคัญของเด็ก ๆ ทุกคน รวมทั้งผู้ใหญ่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อเด็กก็ต้องบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม สภาพสังคม และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้เอื้ออำนวยต่อสุขภาวะของเด็กและเยาวชนด้วย

นายกฯ สั่ง ทุกหน่วยงานรับมือผลกระทบต่อประชาชน วอน ปรับราคาแล้ว ต้องปรับปรุงคุณภาพการบริการด้วย

(13 ม.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกโดยสาร และค่าบริการอื่น สำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน ที่จดทะเบียนในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน โดยประกาศดังกล่าว เป็นการให้ยกเลิกประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (TAXI - METER) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร ประกาศ ณ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557 

นายอนุชา กล่าวว่า ประกาศกระทรวงคมนาคมฯ พ.ศ. 2565 จะเริ่มมีผลบังคับให้มีการจัดเก็บค่าโดยสารแท็กซี่อัตราใหม่ ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คือตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2566 เป็นต้นไป นั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ติดตามและมีความห่วงใยประชาชนที่โดยสารรถแท็กซี่ที่อาจมีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น จึงได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารดังกล่าว

นายอนุชา กล่าวว่า แม้การปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารจะช่วยให้คนขับแท็กซี่มีรายได้ที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันมากขึ้น นายกรัฐมนตรีก็ยังเป็นห่วงประชาชนที่โดยสารรถแท็กซี่ ที่อาจมีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น จึงได้มีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ติดตามผลกระทบต่อประชาชนและเศรษฐกิจในภาพรวมจากการปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารดังกล่าว และเสนอแนะมาตรการทางเศรษฐกิจที่เหมาะสม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการการขึ้นค่าโดยสารแท็กซี่ดังกล่าวต่อไปโดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนผ่าน

นายอนุชา กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีรับรู้ถึงความเดือดร้อนของคนขับรถแท็กซี่ ซึ่งถือว่าเป็นประชาชนกลุ่มหนึ่งที่ได้รับความเดือดร้อนจากค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงสถานการณ์ราคาพลังงานและเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นด้วย ในขณะที่ค่าจ้าง ค่าโดยสารรถแท็กซี่ ไม่ได้มีการปรับขึ้นมาเป็นเวลากว่า 8 ปีแล้ว จึงเป็นที่มาของการปรับค่าโดยสารในครั้งนี้ 

นายอนุชา กล่าวว่า เพื่อให้กลุ่มคนขับแท็กซี่ มีรายได้เพียงพอกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงคมนาคมไปกำกับดูแลเพิ่มเติมว่า เมื่อขึ้นราคาค่าโดยสารแท็กซี่แล้ว ก็ต้องปรับปรุงคุณภาพการบริการให้ดีขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะต้องเข้มงวดในเรื่องมารยาทของคนขับรถ ความปลอดภัย ความสะอาด ไม่เอาเปรียบผู้โดยสาร และต้องปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด หากพบว่าแท็กซี่กระทำผิดจะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมายที่กำหนดในเรื่องบทลงโทษต่อไปโดยไม่ละเว้น

นายอนุชา กล่าวว่า โดยรายละเอียดของประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกโดยสาร และค่าบริการอื่น สำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 บางส่วนระบุถึงการกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสาร สำหรับ (1) กรณีรถยนต์รับจ้าง ที่มีลักษณะเป็นรถเก๋งสามตอน รถเก๋งสามตอนแวน รถยนต์นั่งสามตอน และรถยนต์นั่งสามตอนแวน ให้กำหนด ดังต่อไปนี้...

ผบ.ตร.เซ็นส่งสำนวนคดีนายตู้ห่าวกับพวก ให้อัยการสูงสุดพิจารณา มั่นใจพยานหลักฐานแน่นหนา เอาผิดเครือข่ายทุนจีนสีเทาได้

(13 ม.ค. 66) เวลา 9.30 น. พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ในฐานะหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวน สำนวนคดีนายชัยณัฐร์ หรือตู้ห่าว กรณ์ชายานันท์ กับพวก เดินทางไปส่งสำนวนคดี 'ตู้ห่าว' ให้อัยการสูงสุด ณ สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารแจ้งวัฒนะศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ

ผบ.ตร.กล่าวว่า "คดีนี้สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 26 ต.ค.65 ที่ บช.น. นำกำลังเข้าตรวจค้นผับจินหลิง พบและยึดยาเสพติด พร้อมอุปกรณ์การเสพหลายรายการเป็นของกลางพร้อมจับกุมตัวผู้ต้องหาที่มั่วสุมเสพยา และจำหน่ายยาเสพติด นำสง พงส. สน.ยานนาวา ดำเนินคดีตามกฎหมาย ต่อมาศาลได้ออกหมายจับนายตู้ห่าวกับพวก ในข้อหาร่วมกันจำหน่ายยาเสพติดและสมคบ และแจ้งข้อหาเพิ่มเติมในข้อหาร่วมกันฟอกเงินและมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พร้อมทั้งขยายผลสืบสวนจับกุมบุคคลผู้เกี่ยวข้อง

คดีนี้เป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องนอกราชอาณาจักร อัยการสูงสุดได้มอบหมายให้กับตน เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบร่วมกันทำการสอบสวนกับ พงส. ในสังกัด 4 กองบัญชาการประกอบด้วย บช.น. บช.ก. บช.สอท. บช.ปส. และร่วมกับพนักงานอัยการทำการสอบสวนคดีนี้ บัดนี้การสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว ทางคดีมีการสอบสวนพยานบุคคล 444 ปาก สืบพยานล่วงหน้า 20 ปาก ตรวจยึดทรัพย์สิน 5,345 ล้านบาท มีพยานเอกสาร พยานนิติวิทยาศาสตร์ และอื่นๆกว่า 67 แฟ้ม จำนวน 26,892 แผ่น  สอบสวนผู้ต้องหา ทั้งหมด 43 คน แบ่งเป็นบุคคลธรรมดา 38 คน นิติบุคคล 5 ราย 

ในส่วนของบุคคลธรรมดา 38 คน จับกุมดำเนินคดีแล้ว 20 คน ยังหลบหนี 18 คน ได้สั่งการให้เร่งรัดติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดีให้ได้โดยเร็ว ส่วนผู้ต้องหาที่เป็นนิติบุคคลอีกจำนวน 5 บริษัทแจ้งข้อหาดำเนินคดีแล้วเช่นกัน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top