Tuesday, 8 July 2025
ค้นหา พบ 49261 ที่เกี่ยวข้อง

'โปรจีน' อาฒยา ฐิติกุล ผงาดขึ้นอันดับ 1 ของโลก จาก Rolex Rankings ล่าสุด

Rolex Rankings คือการจัดอันดับนักกอล์ฟหญิงซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในปี 2006 และเป็นระบบที่ใช้คะแนนเพื่อจัดอันดับนักกอล์ฟหญิงที่เก่งที่สุดในโลก

โดยคะแนนจะคำนวณจากผลงานของนักกอล์ฟในการแข่งขันในช่วงระยะเวลา 2 ปี และการจัดอันดับจะอัปเดตทุกสัปดาห์ ตามกิจกรรมที่เล่นในทัวร์กอล์ฟอาชีพหญิง 10 แห่ง จากทั่วโลก โดยจะมีการสรุป rankings ประจำสัปดาห์ ในแต่ละละทัวร์นาเมนต์ 

ล่าสุดการสรุปผลเมื่อวันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้ปรากฎว่า 'อาฒยา ฐิติกุล-โปรจีน' (Atthaya Thitikul) โปรกอล์ฟสาวชาวไทย ได้ผงาดขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของการจัดอันดับของ Rolex Rankings โดยขึ้นนำ Jin Young Ko โปรกอล์ฟสาวชาวเกาหลีใต้ที่ตกลงไปอยู่อันดับ 2 ตามมาด้วย Lydia Ko อันดับ 3 , Nelly Korda อันดับ 4 , Minjee Lee อันดับ 5 , Brooke M. Henderson อันดับ 6, Lexi Thompson อันดับ 7, In Gee Chun อันดับ 8, Nasa Hataoka อันดับ 9 และ Hyo-Joo Kim อันดับ 10

‘อีลอน มัสก์’ ไล่บอร์ดบริหารทวิตเตอร์ออกยกแผง อ้าง!! มีพฤติกรรมปกปิดตัวเลขบัญชีผู้ใช้ปลอม

‘อีลอน มัสก์’ มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของโลกยุบทิ้งบอร์ดบริหารบริษัททวิตเตอร์ เพื่อกุมอำนาจเบ็ดเสร็จ หลังเสร็จสิ้นการเข้าซื้อกิจการเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

โดยในเอกสารที่ยื่นต่อคณะกรรมการกำกับกิจการตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ ทวิตเตอร์ แจ้งว่า คณะกรรมการบริหารชุดเดิม ไม่อยู่ในตำแหน่งดังกล่าวต่อไปแล้ว ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขการเข้าซื้อกิจการของ อีลอน มัสก์ ที่ดำเนินการเสร็จสิ้นไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

นอกจากนี้เอกสารดังกล่าวยังระบุว่า มัสก์ คือกรรมการผู้บริหารเพียงคนเดียวของทวิตเตอร์ อย่างไรก็ตามความเคลื่อนไหวดังกล่าวไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะมัสก์ แสดงจุดยืนมาโดยตลอดว่าต้องการเข้ามาควบคุมการบริหารของทวิตเตอร์อย่างเบ็ดเสร็จ

โดยทันทีที่เทคโอเวอร์บริษัทได้สำเร็จ สิ่งแรกที่ มัสก์ ทำคือการไล่ประธานกรรมการบริหาร (CEO) และผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน (CFO) ออกในทันที และ ‘ถูกเชิญ’ ออกจากอาคารสำนักงาน

แหล่งข่าวเผยว่า สาเหตุที่มัสก์ไล่ ปารัก อักราวัล ซึ่งเป็น CEO กับเน็ด เซกัล ซึ่งเป็น CFO และวิจายา แกดเด หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและนโยบายออก เนื่องมาจากพฤติกรรมของทั้งสามที่ต้องการปกปิดตัวเลขบัญชีผู้ใช้ปลอมบนทวิตเตอร์


ที่มา : https://www.pptvhd36.com/news/ต่างประเทศ/183642

'บิ๊กป้อม' แง้ม!! 'โมโตจีพี 65' ดูด 800 ล้านคนชมสด สร้างมูลค่าเศรษฐกิจเข้าไทย กว่า 4,048 ล้านบาท

พล.อ.ประวิตร เผยผลสำเร็จ จัดแข่งจักรยานยนต์ชิงแชมป์โลก โมโตจีพี ปี 65 มีผู้เข้าร่วมงาน 178,463 คน รับชมถ่ายทอดสดทั่วโลกกว่า 800 ล้านคน สร้างมูลค่า ศก.กว่า 4,048 ล้านบาท

พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (1 พ.ย.65)  ถึงผลสรุปการจัดการแข่งขันจักรยานยนต์ชิงแชมป์โลก รายการโมโตจีพี ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 30 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 ณ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จังหวัดบุรีรัมย์ สามารถเพิ่มมูลค่ากีฬาที่มีศักยภาพเพื่อการท่องเที่ยว มีการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก โดยมีผู้เข้าร่วมงาน ประมาณ 178,463 คน และมีผู้รับชม การถ่ายทอดสดทั่วโลก มากกว่า 800 ล้านคน ซึ่งการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติในครั้งนี้ สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมเป็น มูลค่ากว่า 4,048,000,000 บาท

'ตรีนุช' ตั้งเป้าสิ้นปีการศึกษา 2565 เด็กออกกลางคันเป็นศูนย์ พร้อมเน้นให้ครูเข้าใจนักเรียนเป็นรายบุคคล

(1 พ.ย. 65) ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวตอนหนึ่งในการมอบนโยบายเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ให้แก่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียนทั่วประเทศ ผ่าน OBEC Channel ว่า ขอบคุณทุกคนที่ได้นำนโยบายของกระทรวงไปปฏิบัติให้มีผลสำเร็จมีความคืบหน้าตามลำดับ ซึ่งในโอกาสเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ขอเน้นย้ำการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาที่สำคัญในการดูแลพัฒนาการของนักเรียนอย่างเป็นองค์รวม ได้แก่ ความปลอดภัยในสถานศึกษา ทั้งด้านการเดินทางไป-กลับของนักเรียน การจัดสภาพแวดล้อมสถานศึกษาให้ปลอดภัย การให้บริการดูแลด้านโภชนาการ และสุขภาพ การป้องกันภัยธรรมชาติ และที่สำคัญ คือ การป้องกันภัยจากยาเสพติด และภัยจากอาวุธปืน ซึ่งต้องไม่เกิดขึ้นในสถานศึกษาอย่างเด็ดขาด และต้องปฏิบัติอย่างเข้มข้น ตามหลัก 3 ป. ได้แก่ ป้องกัน, ปลูกฝัง และ ปราบปราม ภายใต้โครงการ MOE Safety Center เพื่อสร้างความปลอดภัยให้นักศึกษา ครู และบุคลากรทุกคน

“ในการเปิดภาคเรียนที่ 2/2565 นี้ กระทรวงศึกษาธิการ ได้มุ่งเน้นให้ครูกระชับความสัมพันธ์กับนักเรียนและผู้ปกครองมากขึ้น เพื่อทำให้เข้าใจนักเรียนเป็นรายบุคคล ทั้งนิสัยและชีวิตความเป็นอยู่ ได้พูดคุยกับผู้ปกครองโดยตรง เพื่อร่วมกันหาแนวทางช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องเหมาะสม อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายผู้ปกครองและชุมชนให้ช่วยกันเฝ้าระวัง และมีส่วนร่วมในการแจ้งเหตุความไม่ปลอดภัย ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ปกครองไว้วางใจในการนำผู้เรียนมาอยู่ภายใต้การดูแลของเราผ่านการเยี่ยมบ้านนักเรียน” นางสาวตรีนุช กล่าว

รมว.ศธ.กล่าวต่อไปว่า เราจะสร้างความเข้มแข็งให้แก่นักเรียน ผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ‘Screening Learning Loss’ ครอบคลุม 4 มิติ ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ดำเนินการแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอย ด้วยการนำข้อมูลนักเรียนมาใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม และป้องกันเด็กนักเรียนหลุดออกจากระบบการศึกษา ซึ่งโครงการพาน้องกลับมาเรียน ยังเป็นนโยบายสำคัญที่เดินหน้าต่อเนื่อง โดยติดตามเด็กกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาครบ 100% และ ทำให้การออกกลางคันเป็นศูนย์ (zero drop out) ในปีการศึกษา 2565 นี้ นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์ม School Mental Health ระบบดูแลนักเรียนและครูในสถานศึกษา ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อตรวจสภาพจิตใจของเด็กและครู ซึ่งสถานศึกษาสามารถประสานกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อขอรับคำปรึกษาและความช่วยเหลือเกี่ยวกับสุขภาพจิตได้

รมว.ศธ.กล่าวอีกว่า การยกระดับคุณภาพทางการศึกษา และการแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอยนั้น ให้โรงเรียนจัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริม ชดเชย หรือ กิจกรรมเสริมทักษะเพิ่มเติมตามความถนัด ความสนใจ และเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน โดยนำการเรียนการสอนรูปแบบ Active Learning มาใช้ช่วยให้ผู้เรียน เรียนอย่างมีความสุข สนุก และมีทักษะการคิด ซึ่งจะทำให้เรียนรู้ได้เร็วและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ และขอให้เพิ่มความสำคัญในวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง เพื่อสร้างสำนึกของความเป็นไทย รักในการเป็นชาติของเรา โดยจัดการเรียนรู้ตามความพร้อม และเหมาะสมในแต่ละบริบทพื้นที่

นางสาวตรีนุช กล่าวด้วยว่า สำหรับนักเรียนที่จะจบชั้น ม. 3 สถานศึกษาควรสำรวจความต้องการในการศึกษาต่อสายอาชีพ เพื่อเตรียมความพร้อม ให้คำแนะนำและส่งต่อเข้าสู่โครงการ ‘อาชีวะ อยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ’ ในปีการศึกษา 2566 โดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่ครอบครัวประสบปัญหาด้านค่าใช้จ่าย สำหรับหลักสูตรทวิศึกษา ซึ่งเป็นการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย เมื่อสำเร็จการศึกษาผู้เรียนจะได้รับวุฒิการศึกษาทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) นั้น ตนได้มอบหมายให้ สพฐ. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดทำแผนระดับจังหวัดว่า ควรจัดทวิศึกษารายวิชาใด ในโรงเรียนไหน โดยให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ทั้งแก้ไขปัญหา และข้อจำกัดจากการดำเนินงานในอดีต โดยเป้าหมายระยะสั้น เน้นการเรียนการสอนทวิศึกษาในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์, โรงเรียนตามโครงการพระราชดำริ และโรงเรียนที่มีความพร้อม


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top