มันจบแล้วกี้ บทเรียนของ ‘ขี้ข้า’ ประเทศมหาอำนาจ หลัง ‘เซเลนสกี’ ถูกถีบออกมาจาก ‘ห้องทำงานรูปไข่’
เป็นมีมไปทั่วโลกหลังที่ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ เรียกประธานาธิบดีของยูเครน โวโลดีมีร์ เซเลนสกีไปหารือแต่สุดท้ายกลายเป็นภาพที่เซเลนสกีถูกถีบออกมาจากห้องทำงานรูปไข่ นั่นทำให้ประเทศอื่นๆที่ยืนเคียงข้างยูเครนอย่างยุโรปสั่นคลอน เพราะหากมองกลับไปถึงจุดเริ่มต้นของสงครามคือการที่ยูเครนต้องการจะเข้านาโต้ โดยการสนับสนุนจากชาติสมาชิกนาโต้โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ในเวลานั้น
ย้อนกลับไปในการประชุมสุดยอดผู้นำองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ NATO (North Atlantic Treaty Organization) ประจำปี 2024 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 9-11กรกฎาคมที่ผ่านมา มีการประกาศถึงกร้าวในที่ประชุม NATO ระบุข้อความชัดเจนในปฏิญญาวอชิงตันว่า “พันธมิตร NATO จะยับยั้งและป้องกันภัยคุกคามทางอากาศและขีปนาวุธทั้งหมดด้วยการปรับปรุงการป้องกันทางอากาศและขีปนาวุธแบบผสมผสาน” และยืนยันว่า “NATO ยังคงมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามขั้นตอนที่จำเป็นทั้งหมด เพื่อรับประกันความน่าเชื่อถือ ความมีประสิทธิผล ความปลอดภัย และความมั่นคงของภารกิจป้องปรามด้วยนิวเคลียร์” โดยขณะนั้นพี่ใหญ่ของนาโต้คือ สหรัฐอเมริกา นั่นเอง
คำถามคือเวลาเปลี่ยน คนเปลี่ยน นโยบายระดับชาติเปลี่ยนได้หรือ….?
ต้องยอมรับข้อหนึ่งว่าชาติสมาชิกนาโต้ในยุโรปต้องไขว้เขวเมื่อประธานาธิบดีทรัมป์ขึ้นมาและประกาศกร้าวว่าจะเป็นคนกลางเพื่อจบปัญหาสงครามยูเครน จุดนี้นี่แหละที่ทำให้การสนทนา 10 นาทีสุดท้ายเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างยูเครนและสหรัฐจาก ดีล เป็น โดดเดี่ยว หากมองว่ามาถึงวันนี้ที่ยูเครนเข้าประเทศชาติ และพลเรือนมาเป็นตัวแปรในขณะที่สหรัฐอเมริกาไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย แถมยังมาขอเรียกร้องค่าใช้จ่ายที่วันนั้นสัญญาว่าจะให้เองตามที่ปรากฏในหน้าสื่อ ทำให้เซเลนสกี ถึงเลือกที่จะพูดว่าก็ใช่ไงสงครามมันไม่ได้เกิดที่หน้าบ้านคุณนี่ และคำนี้นี่แหละที่ทำให้โดนัลด์ ทรัมป์สติหลุด
นับตั้งแต่เหตุการณ์ที่อ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์มา อเมริกาก็ซ่อนตัวอยู่หลังสงครามมาตลอด แม้ฝ่ายตนจะบอบช้ำจากการทำสงครามแต่หากเทียบกับคนในประเทศที่อเมริกาไปทำสงครามนั้น เทียบความสูญเสียกันไม่ได้เลยแถมการทำสงครามที่ผ่านมาหลายครั้งอเมริกาเลือกจะใช้วิธีการใช้ตัวแทนในการทำสงครามไม่ว่าจะในยูเครน ตะวันออกกลางหรือแม้กระทั่งใกล้บ้านเราอย่างผู้ก่อการร้ายทางภาคใต้หรือข้างบ้านเราอย่างสงครามระหว่างกองทัพกะเหรี่ยงและกองทัพเมียนมา หลายครั้งจะเห็นได้ว่าการที่ฝ่ายต่อต้านมีอาวุธที่ทันสมัยขนาดกองทัพเมียนมายังไม่มีนั่นคงไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆกองกำลังเหล่านี้จะสามารถผลิตมันขึ้นมาเองได้หากไม่ได้มีเงินทุนจัดหาและสนับนุน
จากที่มีรายการรายงานเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาว่า มีการตรวจพบหลักฐานสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่ากลุ่ม NGO สัญชาติอเมริกันและ USAIDS ให้การสนับสนุนทั้งด้านเงินทุนและยุทโธปกรณ์ให้กับเครือข่ายกบฏในพื้นที่ โดยหลักฐานที่พบประกอบด้วยเอกสารการโอนเงิน จากเครือข่าย NGO และ USAIDS ไปยังบุคคลที่มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มกบฏ อาวุธและอุปกรณ์สื่อสาร บางส่วนที่ตรวจพบมีเครื่องหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ NGO ต่างชาติ รวมถึงข้อมูลปฏิบัติการลับ ที่บ่งชี้ว่าเงินทุนที่ได้รับจากองค์กรเหล่านี้ ถูกนำไปใช้เพื่อสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของไทย นั่นเป็นหลักฐานชั้นดีที่แสดงให้เห็นว่าองค์กรเหล่านี้เคลื่อนไหวภายใต้คำสั่งลับของสหรัฐฯนั่นเอง เช่นกันในฝั่งเมียนมาก็มีรายงานว่าองค์กร NGO อย่าง Free Burma Ranger ก็เป็นหนึ่งในองค์กรที่รับเงินทุนจาก NGO เหล่านี้ด้วยเช่นกันในการสนับสนุนสงครามให้แก่กองกำลังกะเหรี่ยงที่ทำสงครามกับกองทัพเมียนมาในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ทรัมป์มองออกว่าการที่เขาจ่ายเงินไปในสงครามแบบนี้มันคือการจ่ายเงินไปให้คนอื่นใช้แต่ผลที่ได้ในแต่ละที่ไม่ได้เกิดประโยชน์กับสหรัฐฯอย่างเป็นรูปธรรมเลย หากสหรัฐฯจะมองใหม่ว่าเข้าไปขอคืนดีกับผู้นำกองทัพเมียนมาและช่วยเมียนมาแก้ปัญหาภายในประเทศนั่นอาจจะทำให้เมียนมามีทางเลือกที่จะไม่ไปคบค้ากับจีนและรัสเซียมากไปกว่านี้ ซึ่งน่าจะเป็นการหยุดการแผ่ขยายอำนาจของจีนและรัสเซียในภูมิภาคนี้ได้ด้วย
สุดท้ายเอย่าก็หวังแค่ว่ากลุ่มกองกำลังทั้งหลายคงได้ตระหนักถึงสิ่งที่สหรัฐฯ กระทำกับยูเครน หากกองกำลังเหล่านั้นคิดแค่เพียงว่า “สู้แล้วรวย” คนซวยคือชาวบ้านที่เป็นกองเชียร์ต่อไป แต่หากคิดได้ว่าที่เขาให้มาไม่มีอะไรฟรี หากคิดถึงคนของตัวเองในวันที่สหรัฐฯจะมาขอค่าอาวุธคืนโดยจ่ายเป็นทรัพยากรที่คุณมี คุณจะยอมไหม อย่างน้อยวันนี้กี้ก็เห็นธาตุแท้ของอเมริกาแล้ว
เรื่อง : AYA IRRAWADEE