30 มกราคม 2491 การลอบสังหาร 'มหาตมา คานธี' นักต่อสู้อหิงสาเพื่อเอกราชของอินเดีย

มหาตมะ คานธี เกิดเมื่อปี 1869 ในครอบครัวชนชั้นพ่อค้าและเติบโตในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายทางศาสนา ซึ่งมีผลต่อทัศนคติและการดำเนินชีวิตของเขา พ่อของเขานับถือศาสนาฮินดูและบูชาเทพวิษณุ ขณะที่แม่ของเขานับถือนิกายที่ผสมผสานระหว่างฮินดูกับมุสลิม จึงมีการปฏิบัติประเพณีอดอาหารตามคำสอนของศาสนาแม่ที่มีอิทธิพลต่อเขาอย่างมาก เมื่อคานธีอายุครบ 18 ปี เขาถูกส่งไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษในสาขากฎหมาย

ในปี 1930 คานธีนำประชาชนอินเดียเดินขบวนต่อต้านภาษีเกลือของอังกฤษ โดยการเดินทางระยะทางกว่า 400 กิโลเมตร และในปี 1947 เขากลายเป็นผู้นำในการต่อสู้เพื่อเอกราชของอินเดียโดยใช้หลักอหิงสา (การต่อต้านโดยไม่ใช้ความรุนแรง) ซึ่งนำไปสู่ชัยชนะในที่สุด

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 30 มกราคม 1948 นาถูราม โคทเส ได้ยิงคานธี 3 นัดที่หน้าอกในระยะใกล้ สาเหตุเกิดจากความไม่พอใจที่คานธีมีแนวคิดเป็นมิตรกับชาวมุสลิมและปากีสถาน

หลังจากการยิงโคทเสไม่ได้หลบหนีและถูกจับกุม ต่อมาศาลสูงของรัฐปัญจาบพิพากษาประหารชีวิตเขาด้วยการแขวนคอในวันที่ 15 พฤศจิกายน 1949 พร้อมกับผู้ร่วมสมคบคิดอีกคนหนึ่ง