'บุเรงนองโมเดล' กลศึกแห่งกองทัพเมียนมา เอาคืนฝ่ายต่อต้านแบบ 'บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น'

แทบจะเรียกได้ว่า 'มันจบแล้ว' ระหว่างศึกกะเหรี่ยงกับกองทัพเมียนมา เมื่อนายพลชิตตูเคลื่อนพลมาช่วยเหลือกองทัพเมียนมา จนสามารถนำทัพเข้ามายึดเมียวดีคืนได้สำเร็จ ไม่เพียงแค่นั้นฝั่งกองทัพเมียนมายังไล่ตะเพิดกลุ่ม PDF ที่ซ่อมตัวในหุบเขาแล็ตคัดต่อง จนราบคาบ และนำมาสู่การเปิดด่านพรมแดนอย่างเป็นทางการอีกครั้ง

หากเทียบกลศึกของพม่าในปัจจุบันมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ในพงศาวดารระบุไว้เรื่องกลศึกของบุเรงนอง จะเห็นว่ามีหลายส่วนมีความเหมือนกันอยู่ไม่น้อย ... วันนี้ 'เอย่า' จะมาถอดกลศึกของกองทัพเมียนมาว่าเหมือนกลศึกสมัยบุเรงนองเรื่องใดบ้าง?

1. นำศัตรูมาเป็นพวกตน : กลศึกนี้จะเห็นได้ว่าในพงศาวดารระบุชัดเจนว่า มีการนำฝ่ายที่เป็นศัตรูของตนมาจัดการฝ่ายเดียวกัน ซึ่งในกรณีชิตตูก็เป็นโมเดลนี้

2. กลยุทธ์องค์ประกัน : ในอดีตพระนเรศถูกนำตัวไปเป็นองค์ประกันเพื่อบังคับพระธรรมราชาอยู่ใต้อำนาจหงสาวดี แต่ในปัจจุบันทางกองทัพนำเมืองฉ่วยก๊กโก มาเป็นตัวประกันในการดึงนายพลชิตตูเข้าสู่เกมส์ศึกครั้งนี้

3. สิ่งที่เห็นได้ชัดคือกองทัพเมียนมาจัดการกลศึกในการรับใช้ที่มุ่งเน้นให้เกิดการเจรจามากกว่าต้องการที่จะใช้กองกำลังเข้ายึด โดยสังเกตจากการส่งกำลังพลและการใช้ยุทโธปกรณ์ในการรบนั้น ส่วนใหญ่ใช้กองทหารราบและยานเกราะเคลื่อนพลยึดพื้นที่เป็นหลักและยังไม่ได้รับรายงานว่ามีการใช้ขีปณาวุธพื้นสู่พื้นเลย อนึ่งเพื่อจำกัดวงรบให้อยู่วงจำกัดเท่านั้น เช่นเดียวกับที่บุเรงนองพยายามรบแบบมุ่งเน้นการเจรจา

และนี่เป็นจุดใหญ่ๆ ในกลยุทธ์ของกองทัพเมียนมาที่เหมือนกับกลยุทธ์ของบุเรงนองในอดีต


เรื่อง: AYA IRRAWADEE