ไม่จบ!! 'กรมศิลป์ฯ' ประกาศพื้นที่สถานีอยุธยาเป็น 'โบราณสถาน' เกมวางหมากขวางที่สุดท้าย 'ประชาชน' เสียประโยชน์ทุกมุม

(12 เม.ย. 67) เพจเฟซบุ๊ก ‘โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure’ โพสต์ข้อความหัวข้อ ‘กรมศิลป์ฯ ประกาศพื้นที่สถานีอยุธยาโบราณสถาน ตอนนี้??’ โดยระบุว่า…

“ค้านจนสงสัย… ตั้งแต่อ้างมรดกโลก ขอทำ HIA ทำครบทุกอย่าง แต่มาประกาศโบราณสถาน!!!

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นเห็นประกาศพื้นที่โบราณสถานของกรมศิลป์ฯ ในพื้นที่อาคารสถานีอยุธยา ซึ่งปัจจุบันทุกคนก็รู้แล้วจะจะเป็นพื้นที่ก่อสร้าง สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ที่คุยกันมา กว่า 2 ปีแล้ว!!! 

ซึ่งที่ผ่านมา กรมศิลป์ฯ และนักอนุรักษ์ ต่าง ๆ ก็แวะเวียนกันมา ยกประเด็นที่อ้างถึงเพื่อให้แก้ไขเส้นทาง หรือย้ายตำแหน่งสถานี ได้แก่

- มีการคัดค้านการแก้ไข EIA โครงการรถไฟความเร็วสูง ที่เคยผ่านไปแล้วตั้งแต่ปี 2562

- การแจ้งข้อกังวลของ UNESCO ในผลกระทบจากตัวมรดกโลก ซึ่งก็ขอให้ทำ HIA เพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่มรดกโลก (ซึ่งห่างกว่า 1.5 กิโลเมตรจากตัวสถานี) ซึ่งปัจจุบัน HIA ก็เสร็จแล้ว ส่งให้กรมศิลป์ฯ ตรวจ (แต่ก็ยังไม่ส่งต่อให้ UNESCO พิจารณา)

- คัดค้านทางวิ่งยกระดับ ที่ผ่านเส้นทางรถไฟในปัจจุบัน อ้างว่าบดบังทรรศนะวิสัย ซึ่งระบุให้ทำการจำลองใน HIA

- การสร้างกระแส #Saveอโยธยา จากนักอนุรักษ์บางกลุ่ม และบอกว่าพื้นที่สถานีอยุธยาปัจจุบันคือเมืองเก่าอโยธยา ในยุคทวารวดี แต่ถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการขุดค้นอย่างเป็นทางการ และก็ไม่มีคำตอบว่า ถ้าจะขุดค้นจะทำอย่างไร จะไล่ที่ประชาชนที่อยู่ปัจจุบันออกเหรอ???

- สร้างกระแสผลกระทบกับชุมชนหน้าสถานีรถไฟอยุธยา ที่ต้องย้ายออก แต่ก็ไม่ได้พูดว่า นั่นเป็นที่ดินรถไฟมาตั้งแต่แรก ซึ่งคนเหล่านั้นมาเช่าที่ดินอยู่เพื่อใช้ประโยชน์

ล่าสุด!!! กรมศิลป์ฯ ได้ประกาศพื้นที่อนุรักษ์บนพื้นที่อาคารสถานีอยุธยา ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ถนนฝั่งตรงข้ามตัวอาคารสถานี ไปจนถึงชานชาลา 1 ริมทางรถไฟ ซึ่งการทำแบบนี้ก็เท่ากับว่า ตั้งใจจะวางหมากเพื่อให้สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยาก่อสร้างได้ยาก และติดปัญหาที่ต้องมาเคลียร์กับ กรมศิลป์ ต่อในอนาคตอีก…

ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับตัวอาคารสถานีอยุธยาในปัจจุบัน หน่อย 

ซึ่งหลายๆ คนบอกว่าเป็นอาคารสถานีที่ สร้างสมัย ร.5 ตั้งแต่การเดินรถไฟครั้งแรกในปี พ.ศ.2434 ซึ่งไม่จริง!!!

อาคารสถานีเดิมเป็นอาคารไม้ ซึ่งสร้างใหม่เป็นอาคารคอนกรีต ในสมัย ร.6 ซึ่งเปิดใช้ในปี พ.ศ.2464 

แต่อย่างไรก็ตาม อาคารสถานีก็มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย เนื่องจากเป็นพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมีการใช้ปริมาณมากในแต่ละวัน ซึ่งก็ปรับปรุงภายในไปพอสมควร 

และก็ไม่ใช่เรื่องที่แปลกเลย ที่จะมีการปรับปรุงสถานีเก่าให้อยู่ร่วมกับ โครงสร้างใหม่ เพื่อมาขยายการพัฒนาด้านระบบราง ซึ่งมีตัวอย่างจากทั่วโลก

ซึ่งจากที่เล่ามาทั้งหมด ผมก็อยากทราบว่า กรมศิลป์ฯ และนักอนุรักษ์ มีจุดประสงค์ต้องการทำไปเพื่ออะไร…. อยากให้ย้าย หรือ อยากจะให้โครงการช้าไปถึงไหน!!!

จากการคัดค้านอย่างต่อเนื่อง จนสงสัยว่า หน่วยงานมีปัญหาอะไรกับรถไฟความเร็วสูงกันแน่!!!

แต่ไม่เป็นไร ต่อให้กรมศิลป์ฯ ประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์ แต่ตัวอาคารก็ไม่ได้ไปรื้อย้าย หรือกระทบอะไรกับตัวอาคารอยู่แล้ว เพียงแต่ตัวอาคารสถานีรถไฟความเร็วสูง คร่อมทับบางส่วนของตัวอาคารสถานีรถไฟอยุธยาไปเท่านั้น!!!

ผมขอร้องเถอะครับ กรมศิลป์ฯ ก็เป็นหน่วยงานภายใต้รัฐบาลไทย ช่วยทำงานคุยกัน เพื่อให้โครงการมันราบรื่นหน่อยเถอะครับ ไม่ใช่มาวางหมากขวางกันไปมา สุดท้าย “ประชาชน” เป็นคนที่เสียประโยชน์จากเรื่องนี้ในทุกมุม!!!

ผมขอฝากรัฐบาลไปช่วยเป็นตัวกลางช่วยคุยให้เรื่องมันจบซักทีเถอะครับ
พรรคเพื่อไทย เศรษฐา ทวีสิน - Srettha Thavisin

ลิงก์ ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับสถานีรถไฟอยุธยา 
สถานีอยุธยา VS กรมศิลป์ฯ ตามลิงก์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1201611603610650/

การทำ HIA ตามที่กรมศิลป์ฯ และ UNESCO ต้องการ ตามลิงก์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1202420353529775/?d=n

การเปรียบเทียบ โครงการอื่นที่ใกล้มรดกโลก จากทั่วโลก
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1286300595141750/?mibextid=BfDkjB

ลิงก์คลิปชี้แจงรายละเอียด สถานีอยุธยา โดยกรมการขนส่งทางราง
https://youtu.be/iiCPwh7vFDM

สรุปรายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-โคราช
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/949437542161392/?d=n

การพัฒนาสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา อยู่ที่เดิม คนอยุธยาจะได้อะไร???

เปลี่ยน mode การเดินทาง จากรถ สู่เดิน!!! อนาคตยกระดับสู่ ถนนคนเดิน Historical Walk Way เทียบเท่า ญี่ปุ่น!!!
https://www.facebook.com/100067967885448/posts/649456317329959/?mibextid=cr9u03