‘ม.ฮาร์วาร์ด’ บรรจุ ‘ภาษาไทย’ ลงหลักสูตรการเรียนการสอนปี 66-67 เชื่อ!! ก้าวสำคัญแห่ง 'ภาษาสยาม' ผงาดข้ามสู่ความเป็นอินเตอร์

เมื่อไม่นานมานี้ ช่องยูทูบ ‘สะท้อนไทย’ ได้นำเสนอมุมมองของผู้คนในหลายประเทศ ว่ามีความคิดเห็นยังไงกับประเทศไทยในแง่มุมต่างๆ

หนึ่งในนั้นเป็นเรื่องของภาษาไทย ที่ดังไกลทั่วโลกจนถึงขั้นมหาวิทยาลัยระดับโลกอย่าง ‘ฮาร์วาร์ด’ (Harvard University) ต้องทำการบรรจุไว้ในหลักสูตรการศึกษา

สำหรับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา โดยได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 ก.ย. ค.ศ. 2179

เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยกลุ่มไอวีลีก (Ivy League) โดยในปี ค.ศ. 2009-2010 และได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่ง ของสหรัฐอเมริกา โดยนิตยสารยูเอสนิวส์ รวมถึงได้รับการจัดอันดับโดย ไทมส์ไฮเออร์เอดยูเคชันซัปพลีเมนต์ (Times Higher Education) หนังสือพิมพ์ชื่อดังจากลอนดอน ประเทศอังกฤษ ให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 7 ของโลก ในปี ค.ศ. 2019-2020 ซึ่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีแห่งหนึ่งของโลก ที่ผู้คนทั่วโลกให้การยอมรับ

ทั้งนี้หากอ้างอิงจาก เพจอาเซียน ได้มีการโพสต์ถึงภาษาของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้มีการบรรจุเข้าไปเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้แก่ ภาษาบาฮาซา (Bahasa) ของประเทศอินโดนีเซีย, ภาษาตากาล็อก (Tagalog) หรือภาษาฟิลิปีโน (Filipino) ประเทศฟิลิปปินส์ และ ภาษาไทย (Thai) ของประเทศไทย

ด้าน เว็บไซต์เดอะสตาร์ ได้เขียนบทความเกี่ยวกับภาษาตากาล็อก, ภาษาบาฮาซา และภาษาไทยที่ถูกนำมาสอนในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ไว้ด้วยว่า ภาควิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จะทำการจ้างอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน เพื่อสอนภาษาเหล่านี้โดยเฉพาะ สำหรับปีการศึกษา 2566-2567

แน่นอนว่า ภายหลังที่ทางมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้บรรจุหลักสูตรภาควิชาภาษาไทย เข้าไปเป็นหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอน ก็ทำให้ในโลกออนไลน์ มีการแสดงความคิดเห็นถึงประเด็นดังกล่าวกันเป็นจำนวนมาก อาทิ...

- “ฉันเรียนภาษาไทยมา 2-3 ปีแล้ว แต่ฉันกลัวเกินกว่าจะพูดกับคนพื้นเมืองเสมอ เพราะฉันมักจะไม่มั่นใจในความเข้าใจของตัวเอง”
- “ภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนใคร คำศัพท์แสลงใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกปีที่มาจากคนหนุ่มสาว ง่ายยากอยู่ที่นิสัย และเรียนรู้ได้อย่างเต็มใจ ถ้ามีความสุขภาษา เขาจะสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว”
- “ภาษาไทยไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย”
- “ภาษาไทยเป็นภาษาที่ทั่วโลกให้การยอมรับ”
- “คนรุ่นใหม่ทั่วโลกอยากเรียนภาษาไทยกันมากขึ้น”

- “ภาษาเวียดนามอยู่ในอันดับที่ 10 ของโลก เมื่อพิจารณาจากจำนวนของเจ้าของภาษา 86 ล้านคน และอันดับที่ 20 ของโลก เมื่อพิจารณาจากจำนวนผู้พูดระดับ 1 และ 2 ภาษาเวียดนามเป็นภาษาประชากรรายใหญ่อันดับ 4 ในสหรัฐอเมริกา เป็นเรื่องปกติที่จะได้รับการสอนภาษาเวียดนามในฮาร์วาร์ด แต่น่าตลกที่ข้อมูลนี้ แสดงเฉพาะภาษาไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียเท่านั้น”
- “ถ้าไม่มีภาษาเวียดนาม นั่นคือข่าวปลอม ได้โปรด จงเข้าไปเช็กที่เว็บไซต์ของฮาร์วาร์ด”
- “ภาษาอินโดนีเซียเอามาจากภาษามาเลเซีย” และได้มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นโต้แย้งความเห็นนี้ว่า “ภาษามาเลเซียไม่มีอยู่จริง”

***ทั้งนี้ ก็มีดรามาเล็กๆ ถึงความเห็นที่พูดถึงเกี่ยวกับภาษาเขมร ซึ่งอ้างว่าเป็นต้นกำเนิดของภาษาไทยในหัวข้อประเด็นนี้ด้วย อาทิ...
- “แล้วภาษาเขมรล่ะ อยู่ที่ไหน?” จากคำถามนี้ ก็ได้มีความคิดเห็นส่วนใหญ่มาตอบกลับใต้คอมเมนต์นี้ว่า…
- “พวกเขาไม่สอนหรอก ภาษาตลกแบบนั้น มันตลกเกินไป”

หลังจากนั้นก็ได้มีชาวกัมพูชาเข้ามาแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมอีกว่า…
- “ตัวอักษรไทย มาจากภาษาเขมร ยินดีต้อนรับ คนรับใช้ชาวไทยของเรา”
- “ทำไมเขาถึงไม่สอนภาษาเขมร พวกเขายิ่งใหญ่ที่สุดในจักรวาล”
- “ภาษาต้นฉบับแรกอยู่ที่ไหน? ภาษาเขมรอยู่ที่ไหน?”
- “ต้องมีแค่ภาษาเขมรอย่างเดียวสิ เพราะเขมรคือประเทศมหาอำนาจ”

ไม่ว่าประเด็นข้อถกเถียงจะเป็นเช่นไรก็ตาม แต่สิ่งที่น่าภูมิใจคือ ภาษาไทยกับก้าวสำคัญในการเป็นหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยระดับโลกอย่าง 'ฮาร์วาร์ด' อาจเป็นจุดเริ่มต้นบทใหม่ของ Soft Power ไทยผ่านภาษาไทยนับต่อจากนี้ ก็เป็นได้...