โทรมาไม่รับนะ ‘พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่’ ตัดการเชื่อมต่อนายจ้าง ห้ามติดต่อหลังเวลาเลิกงาน แต่เสียดายไม่มีโทษอาญา
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่บังคับใช้แล้ว ห้ามนายจ้างติดต่อลูกจ้างหลังเวลาเลิกงาน
.
(25 มี.ค.66) รศ.ตรีเนตร สาระพงษ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นหลังจาก ที่มีพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ ที่เพิ่งได้ออกมาไม่นานมานี้ ว่า “นายจ้างจะส่งข้อความตามให้ทำงานมาดึก ๆ ดื่น ๆ ไม่ได้อีกแล้ว สิ่งนี้เรียกว่าหลักการตัดการเชื่อมต่อกับนายจ้าง”
รศ.ตรีเนตร ได้ยกพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ ขึ้นมาพูดว่า “ที่มีกฎหมายระบุไว้ว่าเมื่อสิ้นสุดเวลาทำงานปกติ หรือสิ้นสุดระยะเวลาการทำงานที่ได้ตกลงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง หรือสิ้นสุดระยะเวลาที่นายจ้างมอบหมาย ซึ่งแปลว่าหลังเวลาทำงานปกติ หลังจากที่เราเลิกจากการทำงานล่วงเวลา หลังจากเลิกเวลางานในวันหยุด หรือในกรณีที่เป็นวันหยุดวันลา ที่ไม่ใช่เวลาทำงาน”
กฎหมายได้บอกไว้ว่าลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธการติดต่อสื่อสารกับนายจ้าง ลูกจากทุกคนมีสิทธิที่ไม่ตอบไลน์ หรือทางใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะโซเชียล หรือจ้างเมสเซนเจอร์มาส่งที่บ้าน หรือขับรถมาเองถึงที่บ้านเพื่อติดตามงาน นั้นทำไม่ได้ เพราะลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธ
รศ.ตรีเนตร ได้ยกตัวอย่างกลุ่มคนที่กฎหมายห้ามติดต่อลูกจ้างมีดังนี้ 1.นายจ้าง 2.หัวหน้างาน 3.ผู้ควบคุมงาน 4.ผู้ตรวจงาน ซึ่งถ้าสังเกตจากคนกลุ่มนี้นั้นจะเป็นกลุ่มที่ลูกจ้างนั้นเกรงใจ
พร้อมยังได้เสริมอีกว่า “นอกเหนือจากบุคคลเหล่านี้เช่น ลูกค้า เพื่อนร่วมงาน กฎหมายไม่ได้ห้ามไว้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีหลักก็ต้องมีข้อยกเว้นโดยกฎหมายนั้นได้บอกไว้ว่า นายจ้างสามารถติดต่อลูกจ้างนอกเหนือเวลาทำงานได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือ ซึ่งต้องทำหนังสือทำความยินยอมไว้ล่วงหน้า”
ซึ่งในกรณีนี้ รศ.ตรีเนตร ยังได้ตอบคำถามว่า “หากนายจ้างทำหนังสือยินยอมล่วงหน้ากันหมด แต่ถ้าหากลูกจ้างไม่ตอบแชท หรือติดต่อไม่ได้หลังเลิกงาน นายจ้างไม่มีสิทธิตัดเงินเดือน หรือลงโทษ เพราะกฎหมายได้รองรับสิทธิไว้แล้ว”
รศ.ตรีเนตร ได้เสริมว่า “ถ้าลูกจ้านั้นเห็นว่านายจ้าง ไม่ทำปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ สามารถร้องเรียนกรมแรงงานได้ เพราะกรมแรงแรงงานอาจมีคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎได้”
ทั้งนี้ รศ.ตรีเนตร ยังได้ปิดท้ายว่า “แต่สิ่งน่าเสียดายที่กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้เขียนโทษอาญาไว้เลย”
ที่มา : https://www.tiktok.com/@labourprotectionlaw/video/7213718743074098458?_r=1&_t=8aucrOvVo9q