คืบหน้าในยุคนี้!! อัปเดต!! โครงการรถไฟทางคู่ ‘เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ’ เส้นทางขนส่งสินค้า ‘ไทยสู่จีน’ ที่รอเวลาก่อสร้างร่วม 60 ปี
เมื่อวานนี้ (8 มี.ค.66) เพจ ‘โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure’ ได้เผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับการติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ ‘เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ’ โดยระบุว่า…
ติดตามความคืบหน้า โครงการรถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ผ่านเว็บไซต์ www.srt-denchai-chiangrai-chiangkhong.com เพื่อนๆ คงได้เห็นความคืบหน้าในการก่อสร้างโครงการ รถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ จากในหลาย ๆ ช่องทาง
วันนี้ผมเลยเอาช่องทางเป็นทางการของโครงการ โดยรวบรวมข้อมูลและความคืบหน้า
ผ่านเว็บไซต์ : www.srt-denchai-chiangrai-chiangkhong.com
Facebook Fanpage : รถไฟทางคู่ เด่นชัย เชียงราย เชียงของ
ซึ่งล่าสุด ทางโครงการได้ Update ความคืบหน้าของโครงการแล้วกว่า 0.74% พร้อมกับการเปิดเผยภาพการออกแบบสถานีแป้ (แพร่) ซึ่งปรับให้เข้ากับศิลปะท้องถิ่น เป็นตัวแทนในการส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่น
ใครที่ยังไม่รู้จัก โครงการรถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ สามารถดูได้ตามลิ้งค์นี้ครับ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1588626191575854&id=491766874595130
ความเป็นมาของโครงการรถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ที่มีอายุโครงการมากกว่า 60 ปี!!!
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/920004821771331/?mibextid=cr9u03
การรถไฟได้ทำการเซ็นสัญญาก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เรียบร้อยแล้ว เมื่อปลายปี 64 ที่ผ่านมา ตามลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1340636983041444/?d=n
ควบคู่กับการเวนคืน ซึ่งได้ประกาศไปเมื่อกลางปี 64 ที่ผ่านมาตามลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1200325763739234/?d=n
โครงการเด่นชัย-เชียงราย เป็นโครงการเก่าแก่มาก มีการศึกษาครั้งแรกตั้งแต่ปี 2503 ซึ่ง มีการออก พระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินแล้วตั้งแต่ในปี 2510 แต่ก็ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง
หลังจากนั้นก็มีการรื้อโครงการออกมาศึกษา อยู่อีกหลายๆรอบ คือ 2512, 2528, 2537, 2541, 2547 และเล่มศึกษาปัจจุบันที่จะใช้ในการก่อสร้าง ศึกษาในปี 2554 และ มติครม. อนุมัติโครงการในปี 2561 เป็นโครงการก่อสร้างทรหดเหลือเกินกว่าจะได้สร้างจริงๆ ร่วม 60 ปี
ใครอยากอ่านพระราชกฤษฎีกา เวนคืนที่ดิน ปี 2510 ดูได้จากลิ้งค์นี้ครับ
https://ratchakitcha.soc.go.th/
เส้นทางโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ
จุดประสงค์หลักของโครงการนี้ คือการขนส่งสินค้า จากไทยไปจีน ผ่านช่องทางหลัก 2 ช่องทาง คือ
- ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน
- สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ)
รายละเอียดเส้นทาง
- ระยะทางรวม 308 กิโลเมตร
- เป็นทางรถไฟขนาด 1 เมตร
- ใช้รางมาตรฐาน UIC 60 E1
- รองรับน้ำหนักกดเพลาสูงสุด 20 ตัน รองรับรถไฟใหญ่สุดของการรถไฟ (รถจักร CSR)
- รองรับความเร็วสูงสุด 160 กม/ชม
- ใช้อาณัติสัญญาณ ETCS Level 1 ตามมาตรฐานทางคู่ใหม่
ในโครงการมีอุโมงค์ทั้งหมด 4 แห่งคือ
- อุโมงค์ที่ 1 กม. 606+200-607+325 ระยะทาง 1.1 กิโลเมตร
- อุโมงค์ที่ 2 กม. 609+050-615+425 ระยะทาง 6.4 กิโลเมตร
- อุโมงค์ที่ 3 กม. 663+400-666+200 ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร
- อุโมงค์ที่ 4 กม. 816+600-820+000 ระยะทาง 3.4 กิโลเมตร
ระยะทางรวมอุโมงค์ของโครงการ 13.4 กิโลเมตร
มีสถานี 3 รูปแบบ คือ
- สถานีขนาดใหญ่ จะเป็นสถานีระดับจังหวัด
- สถานีขนาดเล็ก
- ป้ายหยุดรถไฟ
โครงการใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี เส้นทางมีดังนี้
—— อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัด แพร่ ——
- โครงการเริ่มต้นจากสถานีรถไฟเด่นชัย เป็นสถานีชุมทางใหม่ แล้วแยกออกไปทางตะวันออก ปรับปรุงสถานีเป็นสถานีขนาดใหญ่
- สถานีสูงเม่น เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 547
- สถานีแพร่ เป็นสถานีขนาดใหญ่
- สถานีแม่คำมี เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 572
- ป้ายหยุดรถไฟหนองเสี้ยว กม. 584
- สถานีสอง เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 590
- มีอุโมงค์ 2 จุดต่อกัน ที่กม. 606+200-607+325 และ กม. 609+050-651+425
—— อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัด ลำปาง ——
- ป้ายหยุดรถไฟแม่ตีบ กม. 617
- สถานีงาว เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 636
- ป้ายหยุดรถไฟปาเตา กม. 642
- มีอุโมงค์ ที่กม. 663+400-666+200
—— อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัด พะเยา ——
- สถานีมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 670
- ป้ายหยุดรถไฟบ้านโทกหวาก กม. 677
- สถานีพะเยา เป็นสถานีขนาดใหญ่ กม. 683
- ป้ายหยุดรถไฟดงเจน กม. 689
- ป้ายหยุดรถไฟบ้านร้อง กม. 696
- ป้ายหยุดรถไฟบ้านใหม่ กม. 709
—— อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัด เชียงราย ——
- สถานีบ้านป่าแดด เป็นสถานีขนาดเล็ก กม.724
- ป้ายหยุดรถไฟป่าแงะ กม. 732
- ป้ายหยุดรถไฟบ้านโป่งเกลือ กม. 743
- ป้ายหยุดรถไฟบ้านสันป่าเหียง กม. 756
- สถานีเชียงราย เป็นสถานีขนาดใหญ่ กม. 771
- ป้ายหยุดรถไฟทุ่งก่อ กม. 785
- สถานีเวียงเชียงรุ้ง เป็นสถานีขนาดเล็ก กม.796
- สถานีชุมทางบ้านป่าซาง เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 806 และแยกไปสถานีเชียงแสน
- มีอุโมงค์ ที่กม. 816+600-820+000
- ป้ายหยุดรถไฟบ้านเกี๋ยง กม. 829
- ป้ายหยุดรถไฟศรีดอนชัย กม. 839
- สถานีเชียงของ เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 853
รายละเอียดเส้นทางโครงการ
https://www.google.com/maps/d/u/0/viewer?mid=1REMriQY0BxNPmksruPXyT867ewA&ll=20.200689158260193%2C100.43516933379739&z=14&fbclid=IwAR0u2VucHzGA4EzipfZwWA4MLhqrJxnO8dv1aYB7NJsIa6Bvlp2nYppkfZ4
ในโครงการจะมีการตัดกับถนนเดิมของประชาชน ซึ่งจะทำเป็นระบบปิด ซึ่งจะมีการก่อสร้างทางข้ามทางรถไฟและถนนออกจากกัน โดยมี 5 แบบคือ
- สะพานทางรถไฟข้ามถนน 31 แห่ง
- สะพานถนนข้ามรถไฟแบบตรง 53 แห่ง
- สะพานรถไฟข้ามคลองชลประทาน 35 แห่ง
- ถนนทางลอดทางรถไฟ 63 แห่ง
การคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร ในปีที่เปิดให้บริการ 4,811 คน/วัน
การคาดการณ์ปริมาณสินค้าในปีแรก แบ่งเป็น 2 กรณีคือ
1. ถ้าไม่รวมการส่งสินค้าจากจีน 313,669 ตัน/ปี
2. ถ้ารวมการส่งสินค้าจากจีน 1,603,669 ตัน/ปี
มูลค่าการลงทุนโครงการทั้งหมด 79,619 ล้านบาท
จากการประเมินมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ (EIRR) 13.31%
การประเมินมีความคุ้มค่าทางการเงิน (FIRR) 1.02%
รูปแบบการลงทุนที่ทำการศึกษา มี 2 รูปแบบ คือ
- รัฐบาลลงทุน 100% มีความคุ้มค่าทางการเงิน (FIRR) 1.02%
- รัฐบาลลงทุนงานโยธา และระบบควบคุม
เอกชนลงทุนบำรุงรักษา และดำเนินงาน การรถไฟ เก็บรายได้ รัฐบาลมีความคุ้มค่าทางการเงิน (FIRR) -1.82% ซึ่งจากที่ดูตามนี้รัฐบาลควรเป็นผู้เดินรถเอง และให้การรถไฟเป็นผู้เดินรถ แต่อาจจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมเดินรถ