29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เรือดำน้ำชุดแรก 4 ลำ ที่รัฐบาลไทยสั่งซื้อ เดินทางจากประเทศญี่ปุ่นมาถึงประเทศไทย

รู้หรือไม่ ในอดีตประเทศไทยเคยมีเรือดำน้ำที่สั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่น มาแล้ว เมื่อปี พ.ศ.2481 

29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เรือหลวงสินสมุทร, เรือหลวงพลายชุมพล, เรือหลวงมัจจาณุ (ลำที่ 2) และ เรือหลวงวิรุณ ซึ่งเป็นเรือดำน้ำชุดแรกที่รัฐบาลไทยสั่งต่อมาจากประเทศญี่ปุ่น ได้เดินทางมาถึงประเทศไทย 

เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ได้รับการต่อที่อู่ต่อเรือ บริษัท มิตซูบิชิ ที่เมืองโกเบ เมื่อปี 2479 ในสนนราคาลำละ 882,000 บาท วางกระดูกงูและปล่อยลงน้ำไล่เลี่ยกันคือระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2479  ดังนี้ 

พิธีวางกระดูกงู ร.ล.มัจฉาณุ และ ร.ล.วิรุณ โดยพระมิตรกรรมรักษา เมื่อ 6 พฤษภาคม 2479

พิธีวางกระดูกงู ร.ล.สินสมุทร และ ร.ล.พลายชุมพล โดยพระมิตรกรรมรักษา เมื่อ 1 ตุลาคม 2479

ปล่อยลงน้ำ ร.ล.มัจฉาณุ และ ร.ล.วิรุณ โดยนางมิตรกรรมรักษา เมื่อ 24 ธันวาาคม 2479

ปล่อยลงน้ำ ร.ล.สินสมุทร และ ร.ล.พลายชุมพล โดยพระมิตรกรรมรักษา เมื่อ 14 พฤษภาคม 2480 (มีการถ่ายทำภาพยนตร์โดย ร.ท.นิตย์ สุขุม)

ทำพิธีมอบเรือ ร.ล.มัจฉาณุ และร.ล.วิรุณ เมื่อ 4 กันยายน 2480 ถือวันนี้เป็น “วันที่ระลึกเรือดำน้ำ”

พิธีมอบเรือ ร.ล.สินสมุทร และ ร.ล.พลายชุมพล เมื่อ 30 เมษายน 2481 เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ถอนสมอเคลื่อนที่อออกจากท่าน้ำประเทศญี่ปุ่น สู่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2481 และเดินทางมาถึงกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2481 

หลังจากมาถึงประเทศไทยก็ได้ขึ้นระวางประจำการพร้อมกันคือวันที่ 19 กรกฎาคม 2481 และปลดระวางประจำการพร้อมกันคือวันที่ 30 พฤศจิกายน 2494 เมื่อครั้งกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส หลังจาก เรือหลวงธนบุรี และ เรือตอร์ปิโด ถูกเรือฝรั่งเศสยิงจมแล้ว เรือหลวงมัจฉาณุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล ได้ไปลาดตระเวนเป็น 4 แนวอยู่หน้าบริเวณฐานทัพเรือเรียมของอินโดจีนฝรั่งเศส ใช้เวลาดำอยู่ใต้น้ำทั้งสิ้นลำละ 12 ชั่วโมง ขึ้นไปนับเป็นการดำที่นานที่สุด ตั้งแต่ได้เริ่มมีหมวดเรือดำน้ำมาจนกระทั่งได้ถูกยุบเลิกไป ปัจจุบันเรือหลวงมัจฉานุได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ


อ้างอิง : http://www.navedu.navy.mi.th/submarine_web/420_ship_bio.htm
https://guru.sanook.com/26393/