เปิดเที่ยวบินประวัติศาสตร์ พาเด็กไทยกลับไปศึกษาต่อจีน ภายใต้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนตลอดช่วง 2 ปี

นับเป็นอีกความสำเร็จของกลุ่มเด็กไทย ภายใต้การร่วมมือจากทุกภาคส่วน ตั้งแต่ภาครัฐ, เอกชน, สมาคมนักเรียนไทย-จีน รวมถึงบรรดานักเรียนและผู้ปกครอง ที่รวมพลัง #พาเด็กไทยกลับจีน ตลอด 2 ปีหลังร่วมต่อสู้กันอย่างมีความหวัง เพื่อให้เด็กทุกคนได้กลับไปศึกษา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีนอีกครั้ง

เพราะอย่างที่ทราบดีว่าปัจจุบันมีนักเรียนไทยที่กำลังศึกษาต่อที่ประเทศจีน ประสบปัญหายังกลับไปเรียนไม่ได้มีจำนวนมาก ซึ่งความยากลำบากที่นักเรียน/ นักศึกษากลุ่มนี้ต้องประสบ ก็มีตั้งแต่ ทุนรัฐบาลที่หลายคนกำลังจะถูกยกเลิกไป จนถึงถูกบังคับให้ลาออก, หลายคนต้องเสียค่าเช่าที่พักฟรีๆ เป็นปีเพราะขนของกลับไม่ได้, ค่าเทอมที่ต้องจ่ายเต็มแต่คุณภาพการเรียนออนไลน์ที่ไม่ช่วยอะไร, การฝึกงานหรือการทำตัวจบที่ค้างคาไปต่อไม่ได้ ฯลฯ ซึ่งถือว่าหนักหนามาก และกระทบต่อแผนการชีวิตและครอบครัว

นายสรวง สิทธิสมาน นายกสมาคมนักเรียนไทย-จีน ได้เปิดเผยพร้อมขอบคุณทุกการช่วยเหลือนี้ว่า ตามที่กลุ่มร้องขอเปิดวีซ่านักเรียน (จีน) ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการส่วนใหญ่ในนามสมาคมนักเรียนไทย-จีน ได้ขอความอนุเคราะห์ช่วยเหลือจากท่านในด้านต่างๆ เพื่อช่วยเหลือนักเรียน/นักศึกษาไทยให้สามารถกลับไปศึกษาต่อ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีนมาตั้งแต่กลางปี 2563 นั้น

.
บัดนี้ด้วยความช่วยเหลือจากหลายฝ่าย ทำให้ความพยายามเรียกร้องเปิดวีซ่านักเรียนจีนของนักศึกษาไทยตลอด 2 ปี นั้นประสบความสำเร็จ จนเกิดเป็นเที่ยวบินแรกของนักศึกษาไทยในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 ที่ผ่านมา อันนำไปสู่การทยอยอนุมัติรายชื่อเดินทางกลับสาธารณรัฐประชาชนจีนของนักเรียน/นักศึกษาไทยในระยะยาว ซึ่งปัจจุบันเที่ยวบินที่สองกำลังดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายนศกนี้ และเริ่มเข้าสู่การดำเนินการเที่ยวบินที่สามในลำดับถัดไป
.
ในนามของสมาคมนักเรียนไทย-จีน ร่วมกับกลุ่มร้องขอเปิดวีซ่านักเรียน (จีน) จึงขอขอบคุณท่านและผู้เกี่ยวข้องในหน่วยงานของท่านที่ให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือในด้านต่างๆ จนนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียกร้องเปิดวีซ่านักเรียนจีนของนักศึกษาไทย ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา
.
สำหรับความสำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นผ่านความอนุเคราะห์จากบุคคล รวมถึงองค์กรอีกหลายภาคส่วน เพื่อผลักดันให้เกิดเที่ยวบินแรกของโลกและเที่ยวบินถัดๆ ไป ในการพานักเรียน/นักศึกษาไทยกลับไปยังประเทศจีน เพื่อทำการศึกษาต่อ ได้แก่...

1.นายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี
2. นายหาน จื้อเฉียง (เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำราชอาณาจักรไทย)
3. กระทรวงศึกษาธิการ และ กระทรวงการต่างประเทศ ของรัฐบาลจีน
4. อุปทูตฝ่ายการศึกษา และหัวหน้าฝ่ายวีซ่า ตลอดจนเจ้าหน้าที่ประจำสถานทูตจีนในไทย
5. นายหยาง ซิน (อุปทูตสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย)
6. ดร.วิษณุ เครืองาม (รองนายกรัฐมนตรี)
7. นายอนุทิน ชาญวีรกูล (รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข)
8. นายดอน ปรมัตถ์วินัย (รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ)
9. นายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)
10. นายชวน หลีกภัย (ประธานรัฐสภา)
11. นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล (เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร )
12. นายคำนูณ สิทธิสมาน (สมาชิกวุฒิสภา )
13. คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ
14. สถานเอกอัคราชทูตไทย ประจำกรุงปักกิ่ง และสถานกงสุลใหญ่ทุกแห่ง
15. กองเอเชียตะวันออก 3 กรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ
16. นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ
17. ดร.รัชดา ธนาดิเรก (รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)
18. ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ
19. กระทรวงคมนาคมไทย
20. การบินพลเรือนไทย
21. ข้าราชการกระทรวงคมนาคมไทย
22. การบินพลเรือนจีน
23.กระทรวงสาธารณสุข
24.กรมควบคุมโรค
25. ศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์          
26. ศูนย์บริการวัคซีนจุฬาฯ อาคารจามจุรี 9 
27. ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ (ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์)
28. เจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลบางรัก           
29. เจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลวิมุต             
30. นายสนธิ ลิ้มทองกุล (นักจัดรายการสนธิทอล์ก)
31. คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย)
32. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (อดีตนายกรัฐมนตรี)
33. นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ (รองปลัดกระทรวงคมนาคม)
34. สำนักข่าวบางกอกโพสต์
35. สำนักข่าว THE STANDARD 
36. สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
37. สำนักข่าว The Publisher
38. บริษัท อัลปากา มีเดีย แอนด์ เทคโนโลยี โซลูชั่นส์ จำกัด
39. เพจลุยจีน
40. เพจ Drama-addict