'อัยการสุงสุด' แฉไทม์ไลน์คดี GT200 แนะ ทบ. พิสูจน์ตั้งแต่ปี 60 ชี้ทำตอนนี้ไม่มีผล

‘อัยการสุงสุด’ แจงไทม์ไลน์คดี GT200 แนะตรวจสอบ 757 เครื่อง ตั้งแต่ปี 2560 กองทัพบกชนะคดีให้บริษัทคืนเงินตั้งแต่ปลายปี 2564 ย้ำ การพิสูจน์ไม่ได้มีผลแพ้ชนะทางคดีแล้ว

6 มิ.ย. 2565 – นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยในรายการเจาะลึกทั่วไทยอินไซด์ไทยแลนด์กรณีที่กระทรวงกลาโหมระบุถึงอัยการสูงสุดแนะให้ตรวจสอบจีที 200 ทุกเครื่องว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2560 กองทัพบกได้ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดเพื่อขอให้จัดพนักงานอัยการสำนักงานอัยการคดีปกครองว่าต่างฟ้อง บริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด กับพวกรวม 4 คน เพื่อให้รับผิดตามสัญญาปกครอง กรณีซื้อขายเครื่องจีที 200 รวม 12 สัญญา ทุนทรัพย์ยังไม่รวมดอกเบี้ย 683,900,000 บาท

เมื่อได้รับเรื่องมาจึงได้มอบเรื่องให้ทางสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครอง 5 เป็นผู้รับผิดชอบคดีนี้ ระหว่างตรวจสำนวน ทางพนักงานอัยการเห็นว่าการที่จะบอกว่าเครื่องนี้ไม่มีคุณสมบัติตามสัญญาหรือเป็นเครื่องที่ใช้การไม่ได้นั้น เป็นสาระสำคัญที่จะบอกว่าคดีนี้แพ้หรือชนะ จึงได้ทำหนังสือแจ้งไปยังกองทัพบกเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2560 เพื่อให้เป็นข้อเท็จจริงซื้อเป็นข้อยุติเพื่อให้ศาลใช้ประกอบการตัดสินคดี

วันที่ 23 เมษายน 2560 อัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครอง 5 ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครอง โดยฟ้องบริษัท เอวิเอ แซทคอม เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1 นายสุทธิวัฒน์ วัฒนกิจ ผู้ถูกร้องที่ 2 ธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้ถูกฟ้องที่ 3 ในฐานะเป็นแบงก์การันตี รับผิดในวงเงินประมาณ 56,000,000 บาท โดยไม่เกิน 56,000,000 บาทเศษ ธนาคารกรุงเทพเป็นผู้ถูกฟ้องที่ 4 ในฐานะแบงก์การันตีรับผิดชอบในวงเงินไม่เกิน 6,000,000 บาทเศษ ซึ่งทุนทรัพย์ที่ยื่นฟ้องไป ณ วันที่ 27 เมษายน 2560 คือ 687,691,975.49 บาท

วันที่ 28 ธันวาคม 2560 ศาลปกครองกลางกลาง สั่งไม่รับคำฟ้องคดีนี้ โดยวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความ ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ แต่ทางอัยการฝ่ายคดีปกครอง 5 ยื่นอุทธรณ์ว่า คดีไม่ขาดอายุความ
 

1 มิถุนายน 2560 มีคำสั่งลงมาบอกว่าให้ศาลปกครองกลางรับคดีไว้โดยคดีไม่ขาดอายุความให้ดำเนินการไปตามรูปเรื่อง ทำให้คดีก็ดำเนินการต่อไป และกระบวนการในการตรวจเครื่องจีที 200 ยังเป็นในเงื่อนไขที่จะต้องดำเนินคดี ซึ่งหลักการมีแค่นี้ ส่วนรายละเอียดจะไปตรวจอย่างไรก็เป็นเรื่องของกองทัพบก หรือตัวความที่ส่งเรื่องไปให้ดำเนินการ

“ตรงนี้มีความสำคัญและต้องเคลียร์ให้ความเป็นธรรมทุกฝ่ายและเฉพาะกองทัพบกด้วย โดยวันที่ 1 กันยายน 2564 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งพิพากษาตามคำฟ้องที่พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครอง 5 ฟ้องไปว่า เครื่องจีที 200 จำนวน 757 เครื่องเป็นสินค้าไม่มีคุณภาพ ไม่มีคุณลักษณะเฉพาะตามเอกสารแสดงคุณสมบัติของเครื่อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจึงพิพากษา ดังนี้ ให้บริษัทเอวิเอฯ ชำระเงินให้กับกองทัพบกเป็นเงิน 683,441,561.64 บาท ใช้ธนาคารกสิกรไทย ชำระเงิน 56,856,438.87 บาท ให้ธนาคารกรุงเทพ ชำระ 6,195,452.5 บาท ยกฟ้องนายสุทธิวัฒน์ วัฒนกิจผู้ถูกฟ้องที่สอง เพราะเป็นผู้บริหารและไม่ได้ความว่า ทำเกินขอบข่าย ขอบเขตของนิติบุคคล”

นายประยุทธ กล่าวว่า เรื่องเวลาเป็นสาระสำคัญ ซึ่งวันที่ 8 กันยายน 2564 สำนักอัยการสูงสุดแจ้งไปยังกองทัพบกถึงผลคดีดังกล่าว จากนั้น 23 กันยายน 2564 ผู้ถูกฟ้องทุกคนอุทธรณ์ จนกระทั่งวันที่ 8 มีนาคม 2565 อัยการได้อุทธรณ์ในส่วนที่ยกฟ้องคือผู้ถูกฟ้องที่ 2

7 กุมภาพันธ์ 2565 ผู้ถูกฟ้องที่ 1 ถอนอุทรณ์ นั่นก็คือบริษัท เอวิเอฯ ถอนอุทธรณ์ จากนั้น วันที่ 7 มีนาคม 2565 ศาลปกครองสูงสุดอนุญาตให้อุทธรณ์ และคดีถึงที่สุด

“สรุปก็คือ ณ วันที่ 7 มีนาคม 2565 ศาลปกครองสูงสุดให้ถอนอุทธณ์ หมายความว่าคำพิพากษาที่ศาลปกครองกลางให้ เอวิเอฯ ชำระเงินตามที่อัยการฟ้องให้กับกองทัพบก 683,441,561.64 บาท จึงเป็นที่สุด กระบวนการตั้งแต่ 7 มีนาคม 2565 รายละเอียดว่าเครื่องจะตรวจหรือไม่อย่างไร จึงไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะเลยตรงนั้นมาแล้ว คดีที่มันค้างอยู่เหลือแค่ประเด็นที่อัยการอุทธรณ์กรณีนายสุทธิวัฒน์ ในส่วนของธนาคารก็ไม่ได้เกินวงเงินแบงก์การันตีอยู่แล้ว ดังนั้นประเด็นที่อัยการมีข้อสั่งการที่สาระสำคัญชี้แพ้ชนะคดีเดินมาถึงที่สุดแล้วตั้งแต่ 7 มีนาคม 2565 แล้ว ซึ่ง detail หรือการตรวจรายละเอียดอะไร มันก็เลยเกินและตกไปโดยปริยาย ไม่จำเป็นต้องไปพูดถึงตรงนั้น”

รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า ต้องให้ความเป็นธรรมกองทัพบกด้วย เพราะกระบวนการงบประมาณของหน่วยงานของรัฐ มีไทม์ไลน์ในเรื่องยื่นคำขอต่อสำนักงบประมาณ การรวบรวมคำขอ การตั้งเป็นพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่งคิดว่าตรงนี้อาจอาจจะเป็นส่วนที่ค้างท่อมาเก่า ตรงนี้เป็นความเห็นส่วนตัว ซึ่งทางอัยการนั้น สั่งการไปแค่ทางคดีให้ไปทำอะไร เพื่อวินิจฉัยว่าจะแพ้ชนะคดีคดีอย่างไร ซึ่งเป็นดุลพินิจของอัยการเจ้าของสำนวนที่ดู ภาพรวมทั้งหมดของคดี ส่วนการจะไปทำอย่างไรนั้นเราไม่ก้าวล่วง

เมื่อถามว่าในการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเครื่อง GT200 ทางอัยการส่งเรื่องไปตั้งแต่ปี 2560 และ ปลายปี 2564 ก็รู้อยู่แล้วว่าชนะ โดยเดือนมีนาคม 2565 คดีถึงที่สุดแล้วจึงไม่จำเป็นจะต้องหาข้อเท็จจริงมาต่อสู้ใช่หรือไม่ นายประยุทธ กล่าวว่า ถูกต้อง ส่วนจะจ้างทำไมนั้น ก็เป็นอย่างที่นำเรียน

เมื่อถามย้ำว่า พลเอกคงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกกระทรวงกลาโหม โยนมาเราก็โยนกลับใช่ไหม นายประยุทธ์ กล่าวว่า เป็นการโยนในเชิงข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และรายละเอียดขั้นตอนปฏิบัติซึ่งค่อนข้างชัดเจนแจ่มแจ้ง


ที่มา : https://www.thaipost.net/hi-light/155777/