23 พฤษภาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น ‘วันเต่าโลก’ หรือ World Turtle Day 

สำหรับวันเต่าโลก ทางองค์กรอนุรักษ์และช่วยเหลือเต่าบกและเต่าทะเล ในสหรัฐอเมริกา หรือ American Tortoise Rescue ได้เสนอให้ทุกวันที่ 23 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันเต่าโลก (World Turtle Day) เพื่อกระตุ้นเตือนสังคมให้ตระหนักรู้และร่วมกันอนุรักษ์เต่า ทั้งเต่าบกและเต่าทะเล เนื่องจากปริมาณประชากรเต่าที่มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ

ถึงแม้ว่าเต่าจะขึ้นชื่อว่าเป็นสัตว์ที่อายุยืน แต่จากรายงานสถานภาพสัตว์ทะเลหายาก ปี 2560 ของสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กลับพบว่า สถิติการลดลงของเต่าทะเลยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุหลักมาจากการติดเครื่องมือประมงโดยบังเอิญ มีปัญหาการลักลอบเก็บไข่เต่า อีกทั้งพื้นที่วางไข่และหากินของเต่าทะเลที่ลดลงจากการพัฒนาการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายฝั่ง ทำให้สถิติการวางไข่ของเต่าทะเลลดลงเหลือเพียง 1 ใน 5 ส่วน ภายในระยะเวลา 60 ปี

ที่ผ่านมา การอนุรักษ์เต่าในประเทศไทยนั้นมีการการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และการอนุรักษ์ทั้งเต่าบกและเต่าทะเลอย่างต่อเนื่อง โดยที่เต่ามะเฟืองถูกบรรจุอยู่ในบัญชีสัตว์ป่าสงวน ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 นอกจากนี้ ยังมีการปลูกจิตสำนึกและสร้างการมีส่วนร่วมด้านการอนุรักษ์เต่าจากหน่วยงานภาครัฐและชุมชน รวมทั้งองค์กรอิสระในการเพิ่มประชากรทั้งเต่าบกและเต่าทะเล ให้ดำรงชีวิตอยู่ตามธรรมชาติอย่างยั่งยืน ซึ่งในปี 2564 มีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์เป็นจำนวนมาก เป็นสิ่งบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย

ซึ่งในน่านน้ำประเทศเราก็มีเต่าทะเลถึง 4 ชนิดอาศัยอยู่ ได้แก่ เต่ากระ, เต่าตะนุ, เต่ามะเฟือง และเต่าหญ้า โดยในทุกๆ เต่าทะเลเหล่านี้ก็จะล้มตายด้วยหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเรือประมงเข้าไปบุกรุกที่อยู่อาศัยของเต่าทะเลมากเกินไป ทำให้ถูกใบพัดเรือฟันกระดองจนแตก ตลอดจนที่ที่เต่าทะเลใช้สำหรับวางไข่ก็ได้ถูกทำลายและแปรสภาพเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทำให้เต่าไม่สามารถที่จะขึ้นวางไข่ได้ตามปกติ หรือหากวางแล้วลูกๆ เต่าโอกาสที่จะรอดชีวิตก็มีน้อย

อีกหนึ่งปัญหาที่บรรดาเต่าทะเลต้องเผชิญคือเรื่องของขยะ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำอึ้งเมื่อประเทศติดอยู่ในอันดับ 5 ที่มีการทิ้งขยะลงไปในทะเลมากที่สุด มีการพบเศษพลาสติก ซากอวนเก่าๆ ที่กลายเป็นขยะ เป็นสาเหตุที่ทำให้เต่าทะเลเสียชีวิตในอันดับต้นๆ อีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าเต่าทะเลนั้นกินแมงกะพรุนเป็นอาหาร ถึงแม้ในแมงกะพรุนเองจะมีพิษอยู่ก็ตาม แต่เต่าทะเลมีความสามารถในการสะสมพิษในร่างกายได้อย่างไม่เป็นอันตราย ถึงแม้ว่าเต่าทะเลจะกินแมงกะพรุนตามห่วงโซ่อาหาร แต่ด้วยจำนวนของเต่าที่มีลดน้อยลง แมงกะพรุนจึงยังมีมาก และเป็นอันตรายต่อนักท่องเที่ยวอยู่เช่นเดิม


อ้างอิง : https://dmcrth.dmcr.go.th/attachment/dw/download.php


ติดตามผลงานอื่นๆ ของ THE STATES TIMES ได้ที่
TikTok > https://www.tiktok.com/@thestatestimes