“วันแรดโลก” ตรงกับวันที่ 22 กันยายน ของทุกปี เพื่อสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์แรดทั้ง 5 สายพันธุ์ เนื่องจากประชากรแรดทั่วโลกกำลังลดจำนวนลง และเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ โดยสาเหตุหลักมาจากการล่าของมนุษย์

จุดเริ่มต้นของวันแรดโลก ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2553 โดยองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wide Fund for Nature - WWF) แห่งแอฟริกาใต้ จากการริเริ่มของผู้หญิง 2 คน คือ ลิซ่า เจน แคมป์เบล และ ซิงห์ ที่มีความต้องการเหมือนกันในการก่อตั้งวันแรดโลกขึ้นมา เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองให้กับแรดทั้ง 5 สายพันธุ์ และผลักดันจนสามารถเกิดเป็นวันแรดโลกได้สำเร็จ จนกลายเป็นที่ยอมรับของทั่วโลกและองค์กรต่าง ๆ ที่หันมาร่วมกันอนุรักษ์แรด 5 สายพันธุ์ 

1.) แรดขาว (Ceratotherium simum) เป็นแรดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พบในทวีปแอฟริกา
2.) แรดดำ (Diceros bicornis) เป็นแรดที่มีความใหญ่รองมาจากแรดขาว พบในทวีปแอฟริกาเช่นกัน
3.) แรดอินเดีย (Rhinoceros unicornis) พบในภูมิภาคเอเชียใต้ จัดเป็นแรดที่มีเพียงนอเดียว มีลักษณะเด่นคือ ผิวหนังหนาและมีรอยย่นเห็นได้ชัดเจน
4.) แรดชวา (Rhinoceros sondaicus) พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับแรดอินเดีย เป็นแรดชนิดที่หายากที่สุดในโลก และได้รับการจัดอันดับว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดที่หายากที่สุดในโลกอีกด้วย
5.) กระซู่ หรือแรด 2 นอ หรือ แรดสุมาตรา, แรดขน (Dicerorhinus sumatrensis) มีลักษณะเด่นที่สุดคือ มี 2 นอ นอหน้าใหญ่กว่านอหลัง จัดเป็นสัตว์ตระกูลแรดที่มีขนาดเล็กที่สุด พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน มีลักษณะเด่นคือ มีขนปกคลุมทั้งลำตัว เป็นแรดที่หายากมากอีกชนิดหนึ่ง

ในปัจจุบัน แรดกลายมาเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เข้าไปทุกขณะ โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้แรดใกล้สูญพันธุ์นั้นเกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าที่ทำลายที่อยู่อาศัยของแรด และอีกสาเหตุหลักที่สำคัญคือ การล่าของมนุษย์ ที่ต้องการนำนอแรดไปขายแปรรูปเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ รวมถึงการนำนอแรดไปปรุงเป็นยา ตามความเชื่อของชาวจีนว่านอแรดสามารถรักษาโรคได้บางโรค ทั้งที่จริงแล้วส่วนประกอบทางเคมีของนอแรดนั้นไม่ต่างอะไรไปกับเส้นผมของคนเลย ซึ่งการสำรวจการลักลอบฆ่าแรดในแอฟริกาใต้ พบว่ามีการลักลอบฆ่าแรดเพื่อเอานอเพิ่มสูงขึ้นกว่า 9,300 ตัว จาก 13 ตัว ในปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 1,215 ตัว ในปี 2557

จากวิกฤตการณ์ใกล้สูญพันธุ์ของแรด ส่งผลให้ก่อนหน้านี้มีข่าวการปกป้องสัตว์สายพันธุ์นี้อย่างจริงจัง อย่างเช่นกรณีของ เจ้าซูดาน แรดขาวเหนือ (northern white rhino) เพศผู้ วัย 42 ปี ที่คาดว่าน่าจะเป็นแรดขาวเหนือตัวผู้ตัวสุดท้ายของโลก ในวัยชรา ที่มีความหวังในการผสมพันธุ์กับตัวเมียริบหรี่เพราะอสุจิอ่อนแอ แม้จะพยายามผสมพันธุ์กันมาหลายครั้งก็ประสบความล้มเหลว ส่งผลให้ทางศูนย์อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าต้องออกมาตรการปกป้องคุ้มครองแบบถึงที่สุด โดยให้เจ้าหน้าที่ถือปืนคอยปกป้องดูแลมัน 24 ชั่วโมง เพราะเกรงว่าหากคลาดสายตา เจ้าซูดานอาจจะตกเป็นเหยื่อของนักล่าสัตว์ได้ ซึ่งนั่นอาจหมายถึงการสูญสิ้นของสายพันธุ์แรดขาวเหนือเลยทีเดียว

สำหรับการลักลอบฆ่าแรดเพื่อเอานอนั้น พบว่าตลาดที่มีการค้าขายใหญ่ที่สุดในเอเชีย คือ ประเทศเวียดนาม รวมทั้งพบว่า แรดชวาตัวสุดท้ายของเวียดนามถูกพบเป็นซากเมื่อเดือนเมษายน 2553 ขณะที่ประเทศไทยนั้น ในอดีตสามารถพบสัตว์ตระกูลแรดในประเทศไทยได้ 2 ชนิด คือ แรดชวาและกระซู่ ซึ่งเป็นสัตว์สงวนบัญชีหมายเลข 1 ของไซเตส แต่ปัจจุบันไม่มีใครพบสิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ชนิดนี้ตามธรรมชาติของผืนป่าไทยอีกแล้ว โดยเฉพาะแรดชวาได้หายไปจากประเทศไทยอย่างสิ้นเชิง ส่วนกระซู่ แม้จะยังมีรายงานว่าพบเพียงร่องรอยบ้าง แต่ก็ยังไม่มีใครพบตัวเป็น ๆ แต่อย่างใด

จากวิกฤตการณ์การใกล้สูญพันธุ์ของประชากรแรด ทาง WWF จึงขอเชิญชวนทุกคนร่วมกันช่วยอนุรักษ์ประชากรแรด รวมทั้งช่วยกันต่อต้านค่านิยมการนำนอแรดมาทำเครื่องประดับ และความเชื่อผิด ๆ ที่เชื่อว่านอแรดสามารถนำมาปรุงยา และเพื่อไม่ให้สายพันธุ์แรดหมดไปจากโลก


ที่มา: https://hilight.kapook.com/view/126754


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9