ขุดโคตรยิว! 124 ปี “ขบวนการไซออนิสต์” (Zionism) ฤๅจะเป็นลัทธิการก่อการร้ายซ่อนรูป!!

ปกติแล้วผมจะโพสต์และ Live ใน FB วันละหนึ่งเรื่องครับ มีเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ติดตามมากมายหลายท่านอยู่ แล้วก็มี request มาให้เล่าเรื่องราวของ “ขบวนการไซออนิสต์” ขอจัดให้ใน Weekly Column ตามนี้เลยครับ

หลังจากชนชาติยิวได้กระจัดกระจายออกจากมาตุภูมิไปอยู่ตามประเทศต่าง ๆ โดยไม่มีรัฐชาติของตนเกือบสองพันปี ชาวยิวต้องตกอยู่ในสภาพระหกระเหเร่ร่อนไปทั่วทั้งแผ่นดินยุโรป หลังจากถูกกวาดล้างโจมตีโดยจักรวรรดิโรมันซึ่งยกทัพเข้าถล่มนครเยรูซาเล็มจนราบคาบ จากสภาวะที่ต้องอพยพอยู่ตลอดเวลา และการถูกจำกัดสิทธิ์ต่าง ๆ นานา ก็มาถึงยุคที่ชาวยิวเริ่มมีอิสรภาพมากขึ้น นั่นคือในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ในสมัยของนโปเลียนปกครองฝรั่งเศส นโปเลียนยกศาสนายิวให้เป็นศาสนาประจำชาติร่วมกับคริสต์นิกายต่าง ๆ เมื่อนโปเลียนขยายอาณาเขตออกไปถึงไหนก็จะปลดปล่อยชาวยิวในเขตนั้น ๆ ด้วย ชาวยิวจึงได้เริ่มที่จะมีสถานะแบบชนปกติขึ้นมา 

ธีโอดอร์ เฮิร์ซล์ (Theodor Herzl)

แม้จะเริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้นแล้ว แต่ปัญหาการเหยียดชาวยิวก็ยังคงมีอยู่ จึงทำให้ ธีโอดอร์ เฮิร์ซล์ (Theodor Herzl)นักหนังสือพิมพ์ชาวยิวในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (สมัยนั้น)เชื้อสายยิว ผู้ตีพิมพ์นิตยสาร Die Welt (The World) รายสัปดาห์ เห็นว่า ทางเดียวที่จะแก้ปัญหาของชาวยิวได้ คือการให้ชาวยิวมีประเทศของตนเอง เฮิร์ซล์จึงเริ่มเผยแพร่แนวคิดนี้ออกไป ซึ่งต่อมาแนวคิดนี้คือรากฐานของอุดมการณ์ “ไซออนนิสต์” นั่นเอง

เมื่อปี ค.ศ. 1897 การประชุมใหญ่ผู้นำยิวคนสำคัญ ๆ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ที่เมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

เฮิร์ซล์ ได้จัดประชุมใหญ่ผู้นำยิวคนสำคัญ ๆ ขึ้นเป็นครั้งแรก ที่เมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีผู้เข้าร่วมมากกว่าสามร้อยคน และที่ประชุมครั้งนั้นได้มีมติให้จัดตั้งองค์การหนึ่งขึ้นมาเรียกว่า “องค์การไซออนิสต์สากล” (The world Zionist Organization) การประชุมสภาคองเกรสไซออนิสต์จัดขึ้นทุกปีจนถึงปี ค.ศ. 1901 และหลังจากนั้นเป็นทุก ๆ สองปี (หลังจากก่อตั้งประเทศอิสราเอลแล้ว การประชุมสภาคองเกรสไซออนิสต์จัดขึ้นที่นครเยรูซาเล็ม ทุก 4 หรือ 5 ปี ครั้งล่าสุดจัดขึ้นในปี ค.ศ. 2020 โดยในปี ค.ศ. 1960 เปลี่ยนชื่อเป็น “World Zionist Congress”)

ปฏิญญาสากลของปราชญ์อาวุโสแห่งไซออน” (The Protocol of The Elder of Zion)

ภายหลังการประชุมของผู้นำขบวนการไซออนิสต์ มีเอกสารที่รู้จักกันว่า “ปฏิญญาสากลของปราชญ์อาวุโสแห่งไซออน” (The Protocol of The Elder of Zion) เผยแพร่ออกมา ปฏิญญาดังกล่าวแสดงถึงอุดมการณ์บางอย่างที่ต้องการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษยชาติให้เป็นไปในเชิงการรับใช้วัตถุประสงค์ของผู้นำขบวนการ เป็นอุดมการณ์ซึ่งครอบคลุมทั้งมิติทางความเชื่อ สังคม-การเมือง และเศรษฐกิจ

แม้การมีประเทศ (รัฐชาติ) ของตนเองนับเป็นความฝันของชาวยิวมาตลอด แต่ก็มีบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย เพราะชาวยิวนั้นบางส่วนก็ต้องการที่จะผสมกลมกลืนอาศัยอยู่ร่วมกับสังคมที่ตนอยู่ หรือบางส่วนก็เชื่อว่า การกลับอิสราเอลเป็นการฝ่าฝืนพระเจ้า แต่อย่างไรก็ตาม เฮิร์ซล์ก็ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากนายทุนใหญ่ต่าง ๆ ทำให้เขาตัดสินใจจัดตั้ง “องค์กรไซออนนิสต์ (Zionist Organization หรือ ZO)” อย่างเป็นทางการขึ้นในปี ค.ศ.1897 ขบวนการไซออนิสต์ได้ให้ความหวังให้ชาวยิวรุ่นใหม่ เพื่อที่จะนำพาไปสู่การตั้งรัฐยิวในพื้นที่ดินแดนที่พวกเขาเชื่อว่า พระเจ้าทรงประทานให้กับพวกเขา คือ ดินแดนปาเลสไตน์ ซึ่งขณะนั้นเป็นดินแดนภายใต้จักรวรรดิออตโตมัน อันถือเป็นดินแดนแห่งพันธสัญญาโบราณ และขบวนการดังกล่าวจึงส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวยิวอพยพไปยังดินแดนปาเลสไตน์

องค์กรไซออนนิสต์ ได้ทำการกำหนดยุทธศาสตร์ขององค์กร เพื่อนำไปสู่เป้าหมายเอาไว้อย่างชัดเจน 
อันประกอบไปด้วย แผน 3 ขั้น คือ
1. ก่อนตั้งรัฐอิสราเอลในดินแดนปาเลสไตน์
2. ระหว่างตั้งรัฐอิสราเอลในดินแดนปาเลสไตน์
3. หลังตั้งรัฐอิสราเอลในดินแดนปาเลสไตน์ 

>> 1. ก่อนตั้งรัฐอิสราเอลในปาเลสไตน์ ด้วยความที่ในปาเลสไตน์เองก็มีประชากรชาวยิวอาศัยอยู่บ้าง ซึ่งในยุคนั้นปาเลสไตน์อยู่ใต้การปกครองของชาวเติร์ก ชาวยิวจึงเริ่มต้นด้วยการ "ซื้อที่ดิน" จากชาวอาหรับ โดยไม่เกี่ยงว่าที่ตรงนั้นจะเป็นทะเลทรายเพาะปลูกอะไรไม่ขึ้นก็ตาม จุดมุ่งหมายมีเพียงการเพิ่มพื้นที่ให้ชาวยิวให้ได้มากที่สุด อันที่จริงรัฐบาลเติร์กเองก็รู้ว่าชาวยิวกำลังเข้ามากว้านซื้อที่ดินประเทศตัวเอง แต่ด้วยความที่ต้องรับศึกหลายทาง เกิดการรัฐประหารในประเทศบ่อยครั้ง จึงไม่ได้มีเวลามาใส่ใจกับชาวยิวแต่อย่างใด

จุดเปลี่ยนสำคัญจริง ๆ อยู่ในช่วงสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 ดินแดนปาเลสไตน์ตกอยู่ในอาณัติของประเทศอังกฤษ โดยที่อังกฤษได้ทำข้อตกลงกับไซออนนิสต์ไว้ก่อนหน้านั้น ว่าจะช่วยสร้างถิ่นอาศัยของชาวยิวในดินแดนปาเลสไตน์ เพื่อจูงใจให้ไซออนนิสต์เข้ามาช่วยทำสงคราม แน่นอนว่าเมื่ออังกฤษชนะสงคราม จึงตั้งยิวไซออนนิสต์คนหนึ่งขึ้นเป็นข้าหลวงใหญ่ปกครองแดนปาเลสไตน์ทันที อังกฤษได้ประกาศให้ปาเลสไตน์เป็น "บ้านแห่งชาติของคนยิว" (a national home for the Jewish people) โดยกำหนดไว้ว่าจะต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อสิทธิทางศาสนาและพลเมืองของชุมชนที่ไม่ใช่ชาวยิวที่อยู่ที่นั่น

หลังจบสงครามปาเลสไตน์ต่างเป็นหนี้ท่วมหัว จนสุดท้ายต้องยอมขายที่ดินให้กลุ่มทุนชาวยิวเพื่อยังชีพ ชาวยิวก็กว้านซื้อที่ดินเพิ่มขึ้นได้อีกมากมาย บ่มเพาะความเกลียดชังของชาวอาหรับที่มีต่อยิวมากขึ้น ซึ่งสำหรับอังกฤษแล้วนี่เป็นสิ่งที่ดี เพราะยิ่งอาหรับเกลียดยิวมากเท่าไร ก็ยิ่งปกครองง่ายขึ้นเท่านั้น

การอพยพชาวยิวจากที่ต่าง ๆ ทั่วโลกไปสู่ปาเลสไตน์ ภายใต้การอำนวยการช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยได้เริ่มมีการอพยพชาวยิวระลอกแรกตั้งแต่ปี ค.ศ.1897-1902 และระลอกล่าสุดคือเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนการประกาศสถาปนารัฐอิสราเอลในปี ค.ศ.1948

นอกจากเหตุผลหลัก ๆ สองข้อที่กล่าวแล้ว สถานการณ์ที่ผลักดันให้ชาวยิวจากที่ต่าง ๆ อพยพสู่ปาเลสไตน์มากขึ้นคือ ลัทธิเกลียดชังยิว (Anti-Semitic) ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปในยุโรปและการทารุณกรรมชาวยิวของนาซีเยอรมันระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งได้ทำให้เกิดภาวะตื่นตระหนกในหมู่ชาวยิวและนำไปสู่จำนวนผู้อพยพที่เพิ่มมากขึ้น ลัทธิไซออนนิสต์จึงกลายเป็นแนวคิดกระแสหลักของสังคมชาวยิวไปในที่สุด

>> 2. ระหว่างตั้งรัฐอิสราเอลในปาเลสไตน์ การจัดตั้ง “รัฐอิสราเอล” หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการตั้งองค์การสหประชาชาติ หรือ UN ขึ้นมา โดยมีเจตนาให้เป็นองค์กรที่ชาติทั้งหลายมาประชุมกัน เพื่อออกประชามติตัดสินเรื่องราวต่าง ๆ ในโลก แน่นอนว่าปัญหาการแบ่งแยกดินแดนของยิวกับอาหรับในปาเลสไตน์ก็เป็นหนึ่งในปัญหานั้น ฝ่ายอาหรับไม่เห็นด้วยกับการแบ่งแยกดินแดน เพราะคิดว่าผู้อพยพใหม่อย่างชาวยิวไม่ควรมีสิทธิใด ๆ ด้านยิวนั้นมุ่งมั่นสนับสนุนให้มีการแบ่งแยก เพราะนี่เป็นโอกาสที่จะได้จัดตั้งประเทศที่เป็นของตนเองจริง ๆ เสียที 

ในที่สุด คณะกรรมการของสหประชาชาติแบ่งดินแดนออกมา ให้ยิวได้แผ่นดิน 54% ของทั้งหมด ส่วนอาหรับได้ 46% โดยในดินแดนส่วนของยิวนั้นมีชาวอาหรับอาศัยอยู่เกือบครึ่ง และทำการโหวตกันในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 ได้ผลออกมาคือ สนับสนุนแผนการแบ่งแยกดินแดน 33 เสียง โหวตค้าน 13 เสียง ไม่ออกเสียง 10 เสียง และไม่โหวต 1 เสียง ส่งผลให้ชาวยิวได้รับแผ่นดินแห่งพันธสัญญาในที่สุด (สำหรับประเทศที่ไม่โหวต 1 เสียง คือ ประเทศไทย) 

ชาวปาเลสไตน์ราว 750,000 คนถูกขับไล่ออกจากถิ่นฐานบ้านเกิด

เมื่อฝ่ายอาหรับเป็นผู้เสียประโยชน์โดยตรงจากการแบ่งแยกดินแดนในครั้งนี้ จึงเกิดเป็นสงครามกลางเมืองขึ้นในทันที ชาวอาหรับปาเลสไตน์นับแสนพากันหนีออกนอกประเทศ ขณะที่ไซออนนิสต์ก็ลำเลียงชาวยิวพลัดถิ่น รวมถึงชาวยิวที่รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในยุโรปอีกนับแสนเข้ามาอยู่แทนที่ หลังจากการสถาปนาอิสราเอลขึ้นเป็นรัฐในปี ค.ศ. 1948 ก็เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ขึ้น โดยขบวนการชาตินิยมยิวไซออนิสต์ได้ขับไล่ชาวปาเลสไตน์ราว 750,000 คนออกจากถิ่นฐานบ้านเกิด และทำลายบ้านเรือน จนในที่สุดกลุ่มชาติอาหรับที่อยู่รายล้อม ไม่ว่าจะอียิปต์ จอร์แดน ซีเรีย ก็เข้ามาร่วมวงโจมตียิวจากทุกทิศ ขยายกลายเป็นสงครามระหว่างประเทศในที่สุด

แต่สุดท้ายสงครามจบลงด้วยชัยชนะของชาวยิว และยึดดินแดนได้มากกว่าที่ UN ให้มาตอนแรกที่ 54% ส่วนอาหรับปาเลสไตน์ถูกแบ่งเป็นสองส่วน คือส่วน ฉนวนกาซา ที่อียิปต์ยึดครองทางตะวันตก และส่วน เวสต์แบงก์ ที่จอร์แดนยึดครองทางตะวันออก ทางด้านองค์กรไซออนนิสต์จึงประกาศการตั้งรัฐของยิวขึ้นอย่างเป็นทางการ เป็นประเทศ “อิสราเอล”และเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติด้วยคะแนนเสียงข้างมากในวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1949

หลังการสู้รบสิ้นสุดในปี 1949 มีการตกลงแบ่งพรมแดนระหว่างอิสราเอลกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีการสร้างพรมแดนของพื้นที่ที่รู้จักกันในชื่อ ฉนวนกาซา (อียิปต์ยึดครอง) เยรูซาเลมตะวันออกและเขตเวสต์แบงก์ (จอร์แดนยึดครอง) เท่ากับว่าอิสราเอลครอบครองพื้นที่ 78% ของปาเลสไตน์ ส่วนที่เหลือ 22% อยู่ภายใต้การปกครองของอียิปต์และจอร์แดน

นอกจากนี้ ในปี ค.ศ. 1953 อิสราเอลยังลงมือสังหารหมู่ที่อ้างว่าเป็นการแก้แค้นครั้งใหญ่ในหมู่บ้าน Qibya ในเขตเวสต์แบงก์ ส่งผลให้ชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตอย่างน้อย 69 ราย บ้านเรือน 45 หลังพังเสียหาย

>> 3. หลังตั้งรัฐอิสราเอลในปาเลสไตน์ แต่แล้วก็เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อพรมแดนอิสราเอลอีกครั้งในปี ค.ศ. 1967 อิสราเอลสู้รบกับอียิปต์ จอร์แดน และซีเรียในสงครามที่รู้จักกันในชื่อ สงคราม 6 วัน (Six-Day War) อิสราเอลสร้างความช็อกให้ชาวโลกด้วยการเข้ายึดครองเขตเวสต์แบงก์ที่เหลือของปาเลสไตน์ เยรูซาเลมตะวันออก ฉนวนกาซา รวมทั้งที่ราบสูงโกลันของซีเรียและคาบสมุทรไซนายของอียิปต์ภายในเวลาเพียง  6 วัน

ถึงจุดนี้อิสราเอลได้ขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากพื้นที่อีกราว 300,000 คน ส่งผลให้พื้นที่ของดินแดนภายใต้การควบคุมของอิสราเอลเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าตัว และอิสราเอลยังผนวกเยรูซาเลมตะวันออกและอ้างกรรมสิทธิ์เหนือเมืองเยรูซาเลมทั้งเมืองให้เป็นเมืองหลวงของอิสราเอล แต่การกระทำเช่นนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาคมโลก รวมทั้งจากชาวปาเลสไตน์ที่ต้องการใช้เยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของรัฐในอนาคต

อิสราเอลเริ่มก่อตั้งชุมชนชาวยิวในพื้นที่ที่ตัวเองไม่มีกรรมสิทธิ์เหนือซึ่งขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศอย่างชัดเจน โดยหลังจากสงครามในปี ค.ศ. 1967 เพียง 1 ปี อิสราเอลก่อตั้งชุมชนชาวยิวบนที่ราบสูงโกลันของซีเรีย 6 แห่ง ในปี ค.ศ. 1973 ก่อตั้ง 17 ชุมชนชาวยิวในเขตเวสต์แบงก์ และ 7 แห่งในฉนวนกาซา ปี ค.ศ. 1977 อิสราเอลราว 11,000 คนอาศัยอยู่ในเขตเวสต์แบงก์ ฉนวนกาซา ที่ราบสูงโกลัน และคาบสมุทรไซนาย

โครงการก่อสร้างชุมชนชาวยิวในเขตเวสต์แบงก์ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลอิสราเอลดำเนินการโดยฝ่ายการตั้งถิ่นฐานขององค์การไซออนิสต์สากลที่สนับสนุนให้ชาวยิวเข้าไปตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์

ที่น่าสังเกตคือ เมื่ออิสราเอลผนวกรวมเยรูซาเลมตะวันออกแล้วก็กำหนดนโยบายที่แบ่งแยกชนชาติอย่างชัดเจน โดยชาวยิวที่เกิดในเยรูซาเลมตะวันออกถือเป็นพลเมืองของอิสราเอล ขณะที่ชาวปาเลสไตน์ได้สิทธิ์เพียงผู้พำนักถาวรซึ่งจะถูกเพิกถอนหากบุคคลดังกล่าวอาศัยอยู่นอกเยรูซาเลมตะวันออกเกินกำหนด ซึ่งไม่ต่างจากการจำกัดการเดินทางของชาวปาเลสไตน์

จนถึงวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2020 มีชุมชนชาวยิวที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอิสราเอล 130 แห่ง และที่ไม่ได้รับอนุญาตอีก 100 แห่ง ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวอิสราเอลราว 400,000 คนในเขตเวสต์แบงก์ และอีก 200,000 คนในเยรูซาเลมตะวันออก ทำให้ชาวปาเลสไตน์ไม่สามารถขยับขยายชุมชนของตัวเอง และต้องอยู่ในพื้นที่นั้นด้วยความแออัด

กำแพงเวสต์แบงก์ (West Bank barrier)

ความเห็นของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศว่าด้วยกำแพงเวสต์แบงก์ (West Bank barrier) เมื่อปี ค.ศ. 2004 ระบุว่า การตั้งชุมชนชาวยิวของอิสราเอลในปาเลสไตน์ผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับนานาชาติที่มองว่าชุมชนดังกล่าวขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ และองค์การสหประชาชาติที่ย้ำหลายครั้งว่าการก่อสร้างชุมชนชาวยิวของอิสราเอลฝ่าฝืนอนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 4

ขณะที่สหรัฐมีความเห็นเช่นเดียวกันนี้มานานหลายทศวรรษ จนกระทั่งสมัยของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ (ผู้มีบุตรเขยเป็นอเมริกันเชื้อสายยิว)และ ได้ลงนามรับรองนครเยรูซาเล็ม ให้เป็นเมืองหลวงของอิสราเอลในปี ค.ศ. 2017 และเปลี่ยนท่าทีเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2019 ด้วยการประกาศว่า การก่อสร้างชุมชนชาวยิวในเขตเวสต์แบงก์ไม่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ

เมื่อขบวนการไซออนิสต์ สามารถเดินตามแผนที่ได้วางเอาไว้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยใช้คน ที่มีศักยภาพ เพื่อการนำไปสู่เป้าหมายสูงสุด นั่นคือ การนำเอาเยาวชนที่มีศักยภาพ เข้าสู่ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพให้มากที่สุด ส่งเสริมให้เข้าศึกษาในสถาบันชั้นนำของโลก ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หรือว่ามหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เป็นต้น

“จอร์จ โซรอส” พ่อมดทางการเงิน ผู้ก่อหายนะ วิกฤต “ต้มยำกุ้ง”

หลังจบการศึกษา ก็จะผลักดันให้คนเหล่านี้ เข้าทำงานในสถานประกอบการระดับโลก ที่ควบคุมด้านการเมือง เศรษฐกิจ และ สังคม ในทุกภูมิภาคของโลก ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงินของโลก หน่วยงานความมั่นคงอย่าง FBI, CIA หรือแม้แต่องค์การสหประชาชาติ หลังจากนั้นก็จะใช้สายงานที่ตนเองนั้นรับผิดชอบสร้างอิทธิพล ต่อประเทศต่าง ๆ สร้างเครือข่ายมหาอำนาจ อย่างเป็นกระบวนการเป็นระบบ มากยิ่งขึ้น และสิ่งดังกล่าวจะถูกสร้างขึ้นมารุ่นต่อรุ่น จวบจนถึงปัจจุบันนี้นอกจากนั้นแล้วองค์กรแห่งนี้จะเข้าไปจัดการ ควบคุมกระบวนการทางการเงิน การธนาคาร และการคลังของโลก แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการฟื้นฟูบูรณะและการพัฒนา หรือธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ล้วนแล้วแต่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกลุ่ม ไซออนิสต์ สิ่งดังกล่าวไม่ได้เพียงเพื่อการกล่าวอ้างเลื่อนลอย อาทิเช่น “จอร์จ โซรอส” ที่เรียกกันว่า พ่อมดทางการเงิน ก็เป็นยิวโดยแท้ หรือแม้แต่ “อลัน กรีนสแปน” อดีตผู้ว่าธนาคารชาติสหรัฐฯ ก็เป็นชาวยิว เช่นเดียวกัน

“อลัน กรีนสแปน” อดีตผู้ว่าธนาคารชาติสหรัฐฯ อเมริกันเชื้อสายยิว

นอกจากนั้นแล้ว ขบวนการไซออนิสต์ ยังมีองค์กรแบบเปิดเผย และ องค์กรลับในการจัดการทุกอย่างเป็นกระบวนการ มีสื่อที่อยู่ในมือ เพื่อสร้างภาพ สร้างกระบวนการรับรู้ โฆษณาชวนเชื่อ อย่างเป็นกระบวนการ สื่อในตะวันตกมากมายหลายสำนัก อยู่ภายใต้กระบวนการ และ ทุนของชาวยิว แทบทั้งสิ้น ดังนั้นจากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า แท้ที่จริงแล้ว ในทุกยุคทุกสมัยของรัฐบาลสหรัฐฯ นั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของขบวนการไซออนิสต์ (Zionism) 

ตราบใดที่ความขัดแย้งระหว่างปาเลสไตน์และอิสราเอลยังไม่สิ้นสุดด้วยสันติ และการตกลงยินยอมร่วมกัน ตราบนั้นทั้งปาเลสไตน์และอิสราเอลก็จะยังไม่มีความสงบสุข


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก???? https://lin.ee/vfTXud9