กลายเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อผู้แลผู้กักตัวที่เสี่ยงติดเชื้อจากโควิด19 และดูท่าจะไปได้สวย
จากผู้ใช้เฟซบุ๊ก 'ศิริลักษณ์ สุดใจ' ได้แชร์ประสบการณ์ในฐานะของเจ้าหน้าที่ที่คอยอำนวยความสะดวก 'เถียงนาโมเดล' ไว้อย่างน่าสนใจว่า...
????บรรลุเป้าหมายไป 1 หลัง สำหรับ "เถียงนาโมเดล" ของ #โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีบุญเรือง ผ่านการดำเนินงาน มา 14 วัน ผู้ป่วย 6 ราย
อาการสีเขียว ที่เลือกอยู่ เถียงนาแห่งนี้ ไม่สมัครไปรพ.สนาม จากการสอบถาม ทุกคนชอบบรรยากาศ
ความอบอุ่น มีการติดตามอาการใกล้ชิด ตลอด
มีน้ำไฟ ห้องน้ำพร้อมใช้ อยู่ใกล้ชุมชน
ทุกคน ดูแลตนเองได้ดี
วันนี้ครบ 14 วัน สามารถไปกักตัวต่อที่บ้านได้ แต่ทุกคนเลือกที่จะอยู่เถียงนาแห่งนี้ ต่อไปอีก 14 วัน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับชุมชน น่าชื่นชมจริงๆๆ ขอบคุณนะคะ
เป็นเพียง 1 ความสำเร็จเล็กๆ ที่พวกเราจะช่วยกันทำให้สำเร็จไปอีก เรื่อยๆ ในที่สุดจะรวมกันเป็นความสำเร็จในระดับตำบล ระดับอำเภอ และประเทศต่อไป
ขอเพียงทุกคนรวมแรงรวมใจกันสู่ต่อ
เป็นกำลังใจ ให้ทีมในกทม.สู่ต่อนะคะ ทางนี้ก็ช่วยทุกอย่าง ทำทุกอย่างที่ทำได้
ขอบคุณทีม IC เข้าเคลียร์ขยะติดเชื้อ ส่งทำลายตามหลักมาตรฐาน สร้างความมั่นใจต่อชุมชน...
สำหรับ 'เถียงนา' ถือเป็นอีกหนึ่งในภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สะท้อนวิถีชีวิตภาคเกษตรของชาวบ้านถิ่นอีสาน โดยเป็นสิ่งปลูกสร้างขนาดเล็กที่สร้างไว้ตามท้องนา ที่ไว้พักชั่วคราวสำหรับใช้หลบแดด หลบฝน และพักผ่อนในฤดูเก็บเกี่ยว เหมาะเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนระหว่างทำนา ไม่ต้องเดินทางไป-กลับบ้าน
มักสร้างบนพื้นที่ราบลุ่ม น้ำท่วมไม่ถึง มีลักษณะเป็นพื้นที่ยกเสาสูง 4 เสา มุงหลังคาทรงจั่วระบายน้ำฝน กั้นฝาเพียงบางด้านเพื่อเปิดโล่งให้อากาศถ่ายเท นิยมใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาสร้าง
ทั้งนี้ 'เถียงนา' กลายเป็นประเด็นที่กำลังได้รับความสนใจจากสังคม หลังจากนายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. เสนอให้มีการใช้ 'เถียงนาโมเดล' เป็นสถานที่กักตัวชั่วคราวสำหรับผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานจากกรุงเทพฯ ที่เดินทางกลับภูมิลำเนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ที่มา: https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=4658900094124570&id=100000138758960