น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Chalermchai Boonyaleepun เกี่ยวกับสัดส่วนการส่งออกวัคซีนของไทย เพื่อให้เพียงพอที่จะใช้ภายในประเทศว่า...

น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Chalermchai Boonyaleepun เกี่ยวกับสัดส่วนการส่งออกวัคซีนของไทย เพื่อให้เพียงพอที่จะใช้ภายในประเทศว่า...

ไทยเตรียมกำหนดสัดส่วนการส่งออกวัคซีน เพื่อให้มีวัคซีนเพียงพอที่จะใช้ภายในประเทศ

จากกรณีที่ประเทศไทย มีข้อตกลงเบื้องต้นที่จะได้รับวัคซีนจากบริษัทแอสตร้า (ประเทศไทย) จำนวน 61 ล้านโดส จากกำลังการผลิตทั้งสิ้น 180 ล้านโดสต่อปี คิดเป็น 1/3 ของกำลังการผลิต ที่เหลืออีก 2/3 จัดส่งให้กับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน

โดยมีการวางแผนที่จะได้รับวัคซีน...

- มิ.ย. 6 ล้านโดส

- ก.ค.-พ.ย. เดือนละ 10 ล้านโดส

- ธ.ค. 5 ล้านโดส

ซึ่งเมื่อรวมกับวัคซีน Sinovac / Pfizer / Moderna / Sinopharm ก็จะทำให้ไทยมีปริมาณวัคซีน 105 ล้านโดสภายในสิ้นปีนี้

แต่เมื่อทาง บริษัทแอสตร้า (ประเทศไทย) เดินเครื่องการผลิตภายในประเทศ

เริ่มเดือนมิถุนายน ก็มีเหตุขลุกขลักเล็กน้อย แต่ในที่สุดไทย ก็ได้รับวัคซีนมาจำนวน 6 ล้านโดส

โดยที่ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนถูกเลื่อนการส่งวัคซีนออกไป

และในขณะนี้ มีข่าวว่า บริษัทแอสตร้า (ประเทศไทย) กำหนดจะส่งวัคซีนให้กับประเทศไทยเฉลี่ยเดือนละ 5-6 ล้านโดส ซึ่งเป็นสัดส่วนหนึ่งในสามของกำลังการผลิต ที่ได้เดือนละ 15 ล้านโดส

นั่นก็หมายความว่าวัคซีนที่ไทยจะได้รับในหกเดือนแรกจำนวน 61 ล้านโดส จะถูกกระจายออกไปเป็นได้รับเดือนละ 5 ล้านโดสเป็นเวลา 12 เดือนแทน

ซึ่งก็จะไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ ทางรัฐบาล จึงได้เตรียมการแก้ปัญหาดังกล่าวสองแนวทางด้วยกัน

>> แนวทางที่หนึ่ง การเจรจา โดยความเข้าอกเข้าใจ และชี้แจงถึงเหตุผลความจำเป็นที่ไทยจะต้องได้รับวัคซีนในสิ้นปีนี้จำนวน 61 ล้านโดส แทนที่จะเป็นเฉลี่ย 12 เดือน

>> แนวทางที่สอง ถ้าการเจรจานั้นไม่สามารถตกลงกันได้ ก็จะเป็นการดำเนินการเหมือนที่สหภาพยุโรปและประเทศอินเดีย ได้ดำเนินการแล้ว คือ ใช้กฎหมายในสถานการณ์ที่มีโรคระบาด

ประเทศไทยเอง ก็ได้มีการเตรียมการกฎหมายดังกล่าวไว้ตั้งแต่ปี 2561 คือ พระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2561

โดยในมาตรา 18 ระบุว่า…

ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อป้องกัน ควบคุม รักษา หรือลดความรุนแรงของโรค หรือเพื่อความมั่นคงของประเทศ

ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ มีอำนาจประกาศกำหนดเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังต่อไปนี้

>> (2) สัดส่วนการส่งออกวัคซีนไปนอกราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ซึ่งต้องเหมาะสมกับสัดส่วนการใช้วัคซีนภายในประเทศ เมื่อเหตุฉุกเฉินหรือเหตุจำเป็นสิ้นสุดลงแล้ว ให้รัฐมนตรีประกาศยกเลิกประกาศนั้น

ทั้งนี้รัฐมนตรีในพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

และคณะกรรมการ หมายถึงคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นรองประธาน และมีผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนเป็นกรรมการและเลขานุการ

มติของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติวันนี้ ได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติร่วมกับอธิบดีกรมควบคุมโรค ไปทำการพิจารณาทบทวนเนื้อหาร่างประกาศดังกล่าว โดยให้พิจารณา…

1.) ผลกระทบซึ่งจะเกิดขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้านและบริษัทแอสตร้า (ประเทศไทย)

2.) ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับประเทศชาติและประชาชน

โดยขอให้เน้นการเจรจากับบริษัทผู้ผลิตอย่างเต็มที่เป็นลำดับแรก แล้วกลับมารายงานถึงผลการเจรจา รวมทั้งร่างประกาศที่จะพิจารณาต่อไป

หวังว่าบริษัทผู้ผลิตคงจะเข้าใจและพยายามยืดหยุ่นการส่งวัคซีนให้ เช่นเดียวกับกรณีของสหภาพยุโรปและอินเดีย ก็ได้ใช้มาตรการเดียวกันนี้ เพื่อควบคุมสถานการณ์โรคระบาดของประเทศเอาไว้ให้ได้


ที่มา :

https://www.facebook.com/237959479586026/posts/4017685858280017/

https://www.blockdit.com/posts/60eee08194f99a0c8365034f

อ้างอิง:

https://www.prachachat.net/marketing/news-713812

https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2140230

http://www.nvi.go.th/index.php/files/large/ad4b0a607855cf0


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9