Second class citizen (พลเมืองชั้นสอง) ส่องด้านมืด จากโลกสวยในต่างแดน

ด้วยระยะนี้มีกระแสจากคนกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยากย้ายประเทศ เลยต้อง Search หาข้อมูลสำหรับเขียนบทความสักเรื่อง ก็เจอะเจอกับเรื่องของ Second Class Citizen ซึ่งเป็นนวนิยายเขียนโดยนักเขียนชาวไนจีเรีย Buchi Emecheta ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) โดย สำนักพิมพ์ Allison และ Busby ในกรุงลอนดอน ต่อมาสำนักพิมพ์ George Braziller ได้รับลิขสิทธิ์การตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2518 Second Class Citizen เป็นเรื่องราวที่น่าปวดหัวของหญิงชาวไนจีเรียผู้มีไหวพริบ สามารถเอาชนะการครอบงำของผู้หญิงในชนเผ่าที่เข้มงวด และเอาชนะความพ่ายแพ้นับไม่ถ้วน เพื่อให้มีชีวิตที่เป็นอิสระสำหรับตัวเธอเองและลูก ๆ ของเธอ นวนิยายเรื่องนี้มักอธิบายว่า เป็นอัตชีวประวัติของการเดินทางจากไนจีเรียไปยังลอนดอนตามวิถีของผู้เขียน Buchi Emecheta

Adah เกิดเป็นหญิง เมื่ออยู่ไนจีเรีย เป็นหญิงผิวสี จึงกลายเป็นพลเมืองชั้นสองของอังกฤษ เมื่อเธอแต่งงานก็กลายเป็นทาสของสามี ชะตากรรมของพลเมืองชั้นสอง ผู้ฉลาด และเข้มแข็ง ภายใต้การนำของสามีผู้โง่เขลาและอ่อนแอ 

Second Class Citizen ถือได้ว่าเป็นหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวของการเอาชนะการต่อสู้ และการใช้ชีวิตร่วมสมัยของสตรีแอฟริกันผิวสี ด้วยการตีพิมพ์เป็นนวนิยาย ซึ่ง Hermione Harris เขียนไว้ใน Race & Class ว่า "จากคะแนนของหนังสือเกี่ยวกับเชื้อชาติและชุมชนคนผิวสีในสหราชอาณาจักรที่ปรากฏในช่วงทศวรรษที่ 1960 และต้นปี 1970 ส่วนใหญ่เขียนโดยนักวิชาการผิวขาว ซึ่งท้ายที่สุดมักเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างสังคมสีขาว และ 'ผู้อพยพ' ผิวสี และมักจะจบลงด้วยการเหยียดเชื้อชาติ ซึ่ง Second Class Citizen เป็นเรื่องราวของการเปิดเผยเรื่องราวของเชื้อชาติและชุมชนคนผิวสีในสหราชอาณาจักรในแง่มุมตรงกันข้ามจากประสบการณ์จริงของผู้เขียน

นิยายเรื่องนี้เป็นเรื่องราวของ Adah เป็นบุตรสาวของ Ibo จากเมือง Ibuza ประเทศไนจีเรีย อาศัยอยู่ในเมืองหลวงคือกรุงลากอส ด้วยความใฝ่ฝันที่จะเป็นเด็กสาว ที่สามารถจะย้ายไปอยู่ในสหราชอาณาจักรได้ หลังจากบิดาของเธอเสียชีวิต Adah ถูกส่งไปอยู่กับครอบครัวของลุง เธอเรียนโรงเรียนในไนจีเรีย และต่อมาเธอก็ได้งานทำในสถานทูตอังกฤษในตำแหน่งเสมียนห้องสมุด ค่าตอบแทนจากงานนี้เพียงพอที่จะทำให้เธอเป็นเจ้าสาวตามที่ปรารถนาของ Francis (สามีของเธอในปัจจุบัน) 

ต่อมา Francis ต้องเดินทางไปสหราชอาณาจักรเพื่อศึกษากฎหมายเป็นเวลาหลายปี Adah ปลอบโยนครอบครัวของสามีว่า เธอและลูก ๆ ก็อยู่ในสหราชอาณาจักรเช่นกัน แต่ Francis สามีของเธอเชื่อว่า พวกเขาเป็นเพียงพลเมืองชั้นสองในสหราชอาณาจักรเท่านั้น เนื่องจากพวกเขาไม่ใช่พลเมืองของประเทศ ทำให้ต่อมา Francis มีปัญหากับ Adah มากขึ้นเรื่อย ๆ และในที่สุดชีวิตคู่ของทั้งสองก็จบลงด้วยการหย่าร้าง

 

Florence Onyebuchi "Buchi" Emecheta OBE (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 - 25 มกราคม พ.ศ. 2560) เป็นนักประพันธ์ชาวไนจีเรียโดยกำเนิด ซึ่งตั้งรกรากอยู่ในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 มีงานเขียนบทละครและอัตชีวประวัติรวมทั้งผลงานสำหรับเด็กด้วย เธอเป็นผู้เขียนหนังสือมากกว่า 20 เล่มรวมถึง Second Class Citizen (พ.ศ. 2517), The Bride Price (พ.ศ. 2519), The Slave Girl (พ.ศ. 2520) และ The Joys of Motherhood (พ.ศ. 2522) นวนิยายเล่มแรก ๆ ของเธอส่วนใหญ่ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Allison and Busby โดยเธอมี Margaret Busby เป็นบรรณาธิการ ซึ่งหนึ่งในนั้น Second class citizen เป็นเรื่องราวจากประสบการณ์ในชีวิตจริงของตัวเธอเอง เกี่ยวกับการเป็นทาสของลูก ๆ ความเป็นแม่ ความเป็นอิสระ และเสรีภาพของผู้หญิงที่มีการศึกษา ซึ่งได้รับการยอมรับจากนักวิจารณ์และผู้ทรงคุณวุฒิมากมาย 

บรรดาหนังสือที่ Buchi Emecheta แต่ง

Emecheta เขียนบทความเกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตของเธอใน Black British คอลัมน์ประจำของ New Statesman ผลงานส่วนใหญ่ของเธอมุ่งเน้นไปที่การเลือกปฏิบัติทางเพศและอคติทางเชื้อชาติจากประสบการณ์ของเธอเอง ในฐานะแม่เลี้ยงเดี่ยวและผู้หญิงผิวสีที่อาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักร ด้วยผลงานด้านวรรณกรรม ทำให้เธอได้รับรางวัล Jock Campbell Prize ในปี พ.ศ. 2521 จาก New Statesman สำหรับนวนิยายเรื่อง The Slave Girl ของเธอ และยังอยู่ในรายชื่อ 20 "Best of Young British Novelists" ของนิตยสาร Granta ในปี พ.ศ. 2526 เธอเป็นสมาชิกของ British Home Secretary's Advisory Council on Race ในปี พ.ศ. 2522 และต่อมา Buchi Emecheta ได้รับการยกย่องว่าเป็น "นักประพันธ์หญิงผิวดำที่ประสบความสำเร็จคนแรกที่อาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักรหลังปี พ.ศ. 2491" ทั้งยังเป็นสมาชิกของ British Home Secretary's Advisory Council on Race ในปี พ.ศ. 2522 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 เธอเป็นบุคคลหนึ่งซึ่งปรากฏใน "A Great Day in London" ณ หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ โดยมีนักเขียนผิวสีและเอเชีย 50 คนที่มีส่วนร่วมสำคัญในวรรณคดีอังกฤษร่วมสมัย เธอได้รับปริญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัย Farleigh Dickinson ในปี พ.ศ. 2535 และในปี พ.ศ. 2548 เธอได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ OBE (The Most Excellent Order of the British Empire) จากสมเด็จพระราชินีนาถ Elizabeth II ด้วยผลงานด้านวรรณกรรม Buchi Emecheta ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 98 ในรายชื่อผู้หญิง 100 คนที่ได้รับการยอมรับว่า มีส่วนในการเปลี่ยนโลก เมื่อสิงหาคม พ.ศ. 2561 โดยนิตยสาร BBC History วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นวันเกิดครบรอบ 75 ปีของ Emecheta Google ได้รำลึกถึงชีวิตของเธอด้วยรูป Doodle ของวันนั้น และเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 พื้นที่จัดแสดงใหม่ในห้องสมุดสำหรับนักศึกษาที่ Goldsmiths มหาวิทยาลัยลอนดอนได้ถูกอุทิศให้กับ Buchi Emecheta

วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นวันเกิดครบรอบ 75 ปีของ Emecheta Google ได้รำลึกถึงชีวิตของเธอด้วยรูป Doodle ของวันนั้น

Second class citizen (พลเมืองชั้นสอง) หมายถึง บุคคลที่ถูกเลือกปฏิบัติจากการแบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา สีผิว ฯลฯ และถูกเลือกปฏิบัติอย่างเป็นระบบภายในรัฐหรือเขตอำนาจทางการเมือง หรืออื่น ๆ แม้ว่า พวกเขาจะมีสถานะเป็นพลเมือง หรือผู้อยู่อาศัยตามกฎหมายของรัฐนั้น ๆ แล้วก็ตาม แม้ว่าจะไม่ใช่ ทาส คนนอกกฎหมาย หรืออาชญากร แต่ Second class citizen ก็มีสิทธิทางกฎหมายสิทธิพลเมืองและถูกจำกัดโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม และมักจะถูกกระทำอย่างทารุณโหดร้าย หรือถูกทอดทิ้งละเลย ไม่ได้รับสวัสดิการทางสังคมตามที่ควรจะเป็น อีกทั้งยังถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้มีสถานะทางสังคมสูงกว่า ระบบที่มีพลเมืองชั้นสองโดยพฤตินัยมักถูกมองว่า ละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงมักถูกปฏิเสธในการมีเรื่องราวเหล่านี้ในประเทศเสรีประชาธิปไตย นานาประเทศย่อมไม่อยากให้เกิดขึ้น เนื่องจากเป็นคำที่อยู่ในข่ายเดียวกับการรังเกียจเหยียด สีผิว-ชาติพันธุ์ สะท้อนความไม่เท่าเทียมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ แต่ความเป็นจริงแล้วเรื่องราวเหล่านี้ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ ๆ จนทุกวันนี้

เงื่อนไขทั่วไปที่พลเมืองชั้นสองต้องเผชิญ 
- การตัดสิทธิ์ (การขาดหรือสูญเสียสิทธิในการออกเสียง)
- ข้อจำกัด ในการเข้าทำงานภาครัฐทั้งพลเรือนหรือทหาร (ไม่รวมถึงการเกณฑ์ทหารในทุกกรณี)
- ข้อจำกัด ด้านภาษา ศาสนา การศึกษา
- ขาดอิสระ ในการเคลื่อนไหวและการรวมกลุ่ม
- ข้อจำกัด ในการเป็นเจ้าของอาวุธปืน
- ข้อจำกัด ในการสมรส
- ข้อจำกัด เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย และการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์

Second class citizen (พลเมืองชั้นสอง) คำนี้มักใช้ในเชิงการดูถูกเหยียดหยาม และรัฐบาลต่าง ๆ มักจะปฏิเสธการมีอยู่ของ Second class citizen (พลเมืองชั้นสอง) ในหลาย ๆ ประเทศมีการแบ่งแยก เชื้อชาติ ชนพื้นเมือง เช่น 
- ในออสเตรเลียก่อนปี พ.ศ. 2510 
- กลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกเนรเทศซึ่งถูกกำหนดให้เป็น "ผู้ตั้งถิ่นฐานพิเศษ" ในอดีตสหภาพโซเวียต 
- การแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ในอดีต 
- สตรีซาอุดีอาระเบียภายใต้กฎหมายซาอุดีอาระเบีย 
- Dalits (ทลิต) เช่น วรรณะจัณฑาลในอินเดียและเนปาล 
- ชาวโรมันคาทอลิกในไอร์แลนด์เหนือในอดีต 

ล้วนเป็นตัวอย่างของกลุ่มต่าง ๆ ที่ได้ถูกอธิบายในอดีตว่า เป็นพลเมืองชั้นสอง ในอดีตก่อนกลางศตวรรษที่ 20 นโยบายนี้ถูกนำมาใช้โดยจักรวรรดิอาณานิคมในยุโรปบางแห่งกับพลเมืองที่อาศัยอยู่ในดินแดนอาณานิคมในต่างแดน ปัจจุบันจากการระบาดของ Virus COVID-19 ชาวเอเชียในสหรัฐอเมริกามักจะถูกดูถูก เหยียดหยาม จนถึงการทำร้าย ด้วยความเชื่อที่ว่า คนเอเชียเป็นสาเหตุต้นตอในการระบาดของ Virus COVID-19

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงติดตามการทดลองปลูกกาแฟของชาวไทยภูเขา ซึ่งในปีแรกของการปลูกปรากฏเหลือรอดเพียงต้นเดียวเท่านั้น

นับเป็นความโชคดีเป็นอย่างยิ่งที่บ้านเราไม่มีปัญหาความแปลกแยกแตกต่างในเรื่อง เชื้อชาติ ศาสนา และสีผิว ฯลฯ ดังเช่นที่ปรากฏเกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ กระทั่งประเทศเพื่อนบ้านจนทุกวันนี้ ก็ด้วยเพราะพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ได้ทรงดูเอาพระทัยใส่และพัฒนาอาณาประชาราษฎร์โดยถ้วนทั่ว เพื่อไม่ให้มีการแบ่งแยกเป็นชาวเขาหรือชาวเรา พสกนิกรภายใต้ร่มพระบารมีล้วนแล้วแต่เป็นคนไทยโดยเสมอกัน ปัญหาความขัดแย้งแตกแยกในเรื่อง เชื้อชาติ ศาสนา และสีผิว ฯลฯ ดังที่เกิดขึ้นในประเทศอื่น ๆ จึงไม่เกิดขึ้นในบ้านเรา ชนชั้นของความเป็นพลเมืองจึงไม่มีในบ้านเรา 

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ได้ทรงดูเอาพระทัยใส่และพัฒนาอาณาประชาราษฎร์โดยถ้วนทั่ว เพื่อไม่ให้มีการแบ่งแยกเป็นชาวเขาหรือชาวเรา พสกนิกรภายใต้ร่มพระบารมีล้วนแล้วแต่เป็นคนไทยโดยเสมอกัน