เราอยู่ในระบบที่ถูกกดขี่ให้มีความรู้ แต่กลับสร้างกรอบทางความคิดโดยไม่ได้ตั้งใจ

ปรากฎการณ์สังคมปัจจุบันสะท้อนว่าเราไม่ได้คาดหวังให้เด็กได้แค่ความรู้จากการศึกษา แต่อยากให้เด็กได้มีความคิดด้วย แต่ โรงเรียน ครอบครัว สังคม ต้องร่วมกัน มาบอกให้แต่โรงเรียนสร้าง แล้วที่บ้านไม่สร้าง สังคมไม่สร้าง สุดท้ายก็ติดกรอบเดิม

แล้วถ้าที่บอกว่า ดูดีมีความคิด หรือ ดูดีมีเหตุผล มันคือมีความคิดหรือมีความเหตุผลจริง หรือว่า แค่เราคิดในแบบที่สังคมคิดและมีเหตุผลตามที่สังคมบอกว่าอะไรมีเหตุผล เราอยู่ในโลกที่ให้ความสำคัญกับการกระทำซึ่งเป็นผลของความคิด แต่เราไม่ได้ให้คุณค่ากับกระบวนการทางความคิด #เหยื่อของโลกความรู้ เพราะโลกไม่มีอะไรถูกหมด และไม่มีอะไรผิด อยู่ที่ definition ของคำว่า ถูก ผิด สมควร หรือ ไม่สมควร ของสังคมนั้นๆ ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลง อะไรที่บอกว่าถูกตอนนั้น อาจจะผิดในอีก 10 ปีข้างหน้า

เราส่งเสริมให้คนมีกระบวนทัศน์ หรือความคิดที่มี dynamic ที่สามารถเปลี่ยนแปลงตามกรอบเวลาและสถานที่ให้ได้ เพื่อให้รับมือกับปัญหาทุกรูปแบบที่จะเกิดขึ้นได้ ทั้งก็ aware ว่าคิดง่าย ทำยาก ดังนั้น stakeholder ของการศึกษาต้องมีส่วนร่วมในการสร้างระบบ และต้องเป็นระบบมีโครงสร้างที่สามารถคงสถานะได้ แต่ก็ต้องปรับเปลี่ยนได้ อันนี้แหละความยาก อารมณ์เหมือนสร้างตึกยังไง ที่สามารถยังคงเป็นตึกได้ แม้กระทั้งเจอลม เจอแรงสั่นจากแผ่นดินไหว อันนี้เป็น metaphor เฉยๆ

การศึกษาไทยตอนนี้ ปัญหาที่สามารถโทษมากกว่า mental model 

การศึกษาที่มุ่งแต่ให้ผู้เรียนมีความรู้ โดยไม่ได้ให้ผู้เรียนให้ความสำคัญกับกระบวนการคิด ดังนั้นจึงส่งผลในการประเมินด้วยเช่นกัน เพราะมันง่าย และชัดเจน สามารถวัดว่าใครมีความรู้ผ่านข้อสอบที่วัดความรู้ แต่ไม่ได้มีข้อสอบที่ดูว่า ทำไมถึงคิดแบบนั้น แล้วในการสอนให้คิด ไม่ใช่การเอาความคิดของผู้สอนไปใส่แล้วให้ผู้เรียนคิดแบบที่ผู้สอนเข้าใจ เพราะคนเราอาจจะมีวิธีการในการเข้าใจเรื่องต่างๆ ในมุมหรือด้านที่ไม่เหมือนกัน 

เช่น ทำไมคนนึงเรียนเลขเก่ง เพราะเค้าสามารถเข้าใจตรรกะผ่านคำอธิบายและทฤษฏีของตัวเอง ทำไมภาษาเก่งเพราะสามารถทำความเข้าใจผ่านตรรกะผ่านภาษาได้มากกว่า เราอยู่ในระบบที่ถูกกดขี่ให้มีความรู้ แต่กลับสร้างกรอบทางความคิดโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่ก็ไม่ใช่โรงเรียนที่ส่งผลต่อกรอบทางความคิด แต่ยังมีปัจจัยของครอบครัว และสังคมที่คอยสุมสร้าง mental model ของตัวบุคคลอยู่

กรอบหนึ่งในหลายๆ กรอบที่มองเห็นได้ชัด คือ กรอบความถูก ผิด ตั้งแต่เรียนอนุบาล เราถูกสอนแล้วว่าอะไรถูก ผิด แต่ไม่ได้ถูกทำให้ว่าอะไรถูก ผิด

หากโรงเรียนทำหน้าที่เป็นเครื่องเตรียมเด็กสู่สังคม โรงเรียนในแง่ของการสร้างคน

ชั้น ป. 1 อนุบาลวังบาดาล เปิดเทอมวันแรก โรงเรียนมีนโยบายให้นักเรียนถอดรองเท้าก่อนเข้าห้องเรียน โดยให้เหตุผลว่า อยากให้ห้องเรียนสะอาด ดังนั้นครูเลยบอกให้นักเรียนถอดรองเท้าไว้ที่ชั้นวางรองเท้าที่โรงเรียนจัดไว้ให้ วันหนึ่ง มีนักเรียนคนนึง ด.ช. ปอนด์ ถามว่า ทำไมเราต้องถอดรองเท้าด้วยครับ เพราะยังไงก็ต้องทำความสะอาดอยู่ดี คุณครูก็จะหาเหตุผลที่เด็กอนุบาล 1 สามารถเข้าใจได้มาตอบต่างๆ วันถัดไป นักเรียนปอนด์ ถามอีกว่า ทำไมคุณครูไม่ถอดรองเท้าครับ คุณครูก็จะหาเหตุผลต่างๆ มาบอก หรืออาจจะถอดรองเท้าให้เป็นตัวอย่าง 

วันถัดไป ดญ. ฟ้า บ่นว่าในห้องมีกลิ่นเหม็น ซึ่งมากจากถุงเท้าเพื่อน เลยถามคุณครูว่า จะทำยังไงดี คำตอบที่เป็นไปได้ก็มีหลายอย่าง ให้ไปล้างเท้า เอาสเปรย์ฉีดห้อง หรือให้ทั้งห้องใส่รองเท้าในวันนั้น วันต่อมาสมมุติครูทำตามทั้งหมด แล้วครูโดนครูใหญ่เรียกไปด่า เพราะสร้างตัวอย่างให้นักเรียนห้องข้างๆ ว่าทำไมห้องนี้ใส่รองเท้าเข้าไปในห้องเรียน วันต่อมาเพื่อตัดปัญหาคุณครูก็เลยตัดสินใจให้นักเรียนถอดรองเท้าเข้าห้องเรียน ผลลัพธ์เพื่อให้ห้องสะอาด เพื่อมีความเป็นระเบียบของสังคมในการต้องถอดรองเท้าเข้าห้องเรียน แต่ผลลัพธ์อีกอย่างคือ นักเรียนต้องนั่งรมกลิ่นทีนเพื่อนทุกวันจนเสียประสาทในการเรียน 

หากเรามองจากเรื่องนี้ ปัญหาของเรื่องนี้คืออะไร กฎระเบียบ กลิ่นเท้า การเป็นตัวอย่าง ลองตั้งคำถามว่า ถ้าคุณเป็นคุณครู คุณจะสร้างกระบวนทัศน์หรือกระบวนควาามคิดด้วยวิธีไหนให้เด็ก ที่ไม่ใช่บอกว่า กฎคือกฎ เพราะถ้าแบบนั้น นักเรียนก็ต้องนั่งรมเท้าเพื่อนทุกวัน แต่สมมุติให้เพื่อนหาว่าใครเท้าเหม็นแล้วแก้ไขปัญหาให้คนที่เท้าเหม็น เด็กคนนั้นอาจจะโดนเพื่อนล้อ หรือว่าคุณครูจะเดินไปหา ผอ. สับๆ แล้วบอกว่าชั้นจะไม่ทนให้เด็กชั้น ต้องนั่งรมเท้า ดังนั้นชั้นจะให้เด็กใส่รองเท้า 

จริงๆ ผลลัพธ์แบบไหนก็มีผลกระทบเหมือนกัน ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือ ทำให้เด็กคิดว่า ถ้าใส่แล้วดียังไงไม่ดียังไง ไม่ไส่แล้วดีไม่ดียังไง ถ้าคนนึงใส่อีกคนไม่ใส่มีดีมีเสียยังไง ส่วนตัวอยากให้ครูมีความ directive ให้น้อยที่สุด แต่อยากให้สร้าง simulation ให้มากกว่า แล้วให้เด็กสร้าง agreement ร่วมกันว่าจะใส่ไม่ใส่หรืออย่างไร 

ในแง่ของความรู้

ชั้น ป. 1 วิชาคณิตศาสตร์ ครูพี่ลูกปลาจบคณิตศาสตร์เกียรตินิยมอันดับ 1 Ph.d. จาก Oxford และมี ครุศาสตร์ดุษฎีมา  ดังนั้นตัดปัจจัยเรื่องความรู้ของครู ในกรณีนี้คุณครูอยากให้เด็กเข้าใจว่า 1+1 = 2 แล้ว 2+2=4 

วิธีการสอน อาจจะเป็น 1 +  _ = 2 และ _ + 2 = 4 จงเติมคำในช่องว่าง (คำถามแรกคุณจะสอนก่อนว่า 1+1=2 หรือจะให้โจทย์ก่อนแล้วค่อย) สมมุติครูให้เป็นการบ้าน

ดช. ดร๊อะ ที่มีพ่อจบ Ph.d. Cambridge ด้าน cognitive psychology ให้พ่อช่วยสอนการบ้าน 1 + _ = 2 และ _ + 2 = 4 พ่อเลยสอนว่า 1+1 = 2 และ 2 + 2 = 4 เป็นคำตอบที่สมควรเขียนตอบ แต่พ่อสอนต่ออีกว่า 1 + 1 = 1 + 1 และ 2 + 2 = 2 + 2 หรืออาจะ -2 + 3 = 1 และ   -22 + √4 = 4 เหมือนกัน พ่อเลยบอกว่า เลขอะไรไม่สำคัญ ควาสำคัญของสมการ คือ สองฝั่งต้องเท่ากัน ซึ่งมีวิธีมากมายที่ทำให้สมการเท่ากันทั้งสองฝั่ง 

แต่ด้วยธรรมชาติของ ด.ช. ดร๊อะ ที่ชอบท้าท้ายสนุกสนาน เลยเอาสิ่งที่พ่อสอนมาทำความเข้าใจเอง แล้วเอาไปเขียนทำการบ้านส่งครู เลยตอบคุณครูในการบ้านว่า 1 + -12 =2 และ sqr 4 + 2 = 4 ซึ่งจริงๆ ด.ช. ดร๊อะไม่ได้รู้หรอกว่า - ที่ - ไม่ใช้ representation ของวิธีการ แต่เป็น Negative value ของเลข  1 ซึ่งก็มีกำลังสองติดอยู่ 

ด.ช. ดร๊อะเอาที่พ่อสอนมารวมๆ กันมั่วๆ โดยที่ไม่ได้เข้าใจอะไรแล้วทำการบ้านส่งครู ในวันที่เด็กเอาการบ้านไปส่ง คุณครูเห็นคำตอบ คุณคิดอะไรเป็นอันดับแรกกับคำตอบ 1. ให้คนอื่น พ่อ แม่ พี่น้อง ทำให้ 2. ไปดูยูทูปมาแล้วมาตอบ หรือ 3 4 5 หน้าที่ครูตอนนั้นคือ ต้องให้คะแนน  คุณครูจะกาถูก หรือจะกาผิด คุณครูจะเรียกเด็กมาถามมั้ยว่าทำไมตอบแบบนี้ แล้วสุดท้าย คุณครูจะให้คะแนนยังไง ถ้าเด็กเข้าใจหลักการของสมการ เด็กสามารถรวมของสองกองในจำนวนที่เท่ากันได้ แต่ไม่สามารถคิดแล้วเขียนเป็นตัวเลขได้ เราจะตัดสินเด็กคนนั้นจากความรู้ หรือเราจะตัดสินเด็กคนนั้นจากความคิด 

ถึงแม้คุณครูอาจจะเห็นว่าสิ่งที่พ่อสอนมาอาจจะถูกในหลักการ แต่จริงๆ 1 + -12  = 2 จริงๆ ต้องเขียนว่า 1 + (-1)2  = 2 เพื่อให้ถูกหลักการ คุณครูจะให้คะแนนเด็กยังไง และจะอธิบายเด็กว่ายังไง เราต้องสร้างไม่ใช่ให้เด็กเข้าใจความรู้ แต่ให้เข้าใจหลักการและกระบวนการของความรู้นั้น (ความเป็นไปได้ของเหตุการอาจจะน้อยมาก แต่ก็อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะปัจจุบันพ่อแม่รุ่นใหม่มีการศึกษากัน) 

ทั้งนี้ก็ มี factor อื่นๆ เช่นประสบการณ์ของครู วัยของเด็ก mental model ของครู และของเด็ก ครอบครัว สังคม

ที่อยากให้โฟกัสคือ ครูและระบบการศึกษาอยากให้เด็กรู้อะไร อยากให้เด็กรู้ว่า บวกยังไงจึงทำให้สมการเท่ากัน หรือหลักการการเท่ากันของสมการ หรือทั้งสอง หรือทั้งสองบวกการรู้ว่ารู้แล้วเอาไปทำใช้ทำอะไร 

ปัญหาการศึกษา ไม่ได้มีปัญหาคือจุดใดจุดหนึ่ง ขนาดประเทศโลกที่ 1 หรือประเทศแถวสแกนที่บอกว่ามีการศึกษาดีที่สุด ยังทำได้มากสุดแค่ทำให้ผู้เรียนรู้ แต่ทำให้ผู้เรียนคิดและให้เหตุผลของความคิด ยังคงกลายเป็นความท้าทาย เพราะคนเราคิดไม่เหมือนกัน การสำเร็จการศึกษานอกจากจะให้ได้มาซึ่ง collective/common knowledge และ social แล้วนั้น เราจะสร้างให้ผู้เรียนคิดได้อย่างอิสระได้อย่างไร 

ทั้งนี้ภายใต้ความอิสระ ต้องรวมตัวแปรทางด้านสังคม วัฒนธรรมเข้าไปด้วย เพราะตราบใดที่มนุษย์ยังต้องมีปฏิสัมพันธ์กันทั้งระหว่างคน และระหว่างธรรมชาติ จะคิดโดยไม่ดูตัวประกอบเหล่านี้ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่เอาสิ่งเหล่านี้มาปิดกั้นความคิด 

สุดท้ายเราต้องการอะไรจากการศึกษา เราจะเป็น ไม่เป็นทาสความรู้ หากเรามีความคิด แต่ถ้าเราไม่มีความรู้ในการเอามาคิด ก็ไม่มีทั้งความรู้ ความคิด ทั้งนี้ ความรู้ควรวัดจากสิ่งที่อยู่ในหนังสือหรือจากใบปริญญา แต่จะวัดคนที่มีความรู้และความคิดยังไง ตอนนี้ทั้งสอบข้อเขียน ทั้งสอบสัมภาษณ์ ทั้งทดลองงาน มีหมด จะวัดประเมินกันยังไง


เขียนโดย คุณปอนด์ สุทธินันท์ ดวงภุมเมศร์ 

นักเรียนทุนรัฐบาล UIS ปริญญาโท Master of Public Administration , Cornell University, สหรัฐอเมริกา