ปักกิ่งประกาศต่อสาธารณะต่อสหรัฐอเมริกา และแคนาดาในวันเสาร์ (27 มีนาคม) ต่อการที่ชาติตะวันตกเข้ามาวิพากษ์วิจารณ์ต่อการที่ปักกิ่งปฏิบัติต่อมุสลิมอุยกูร์ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอย่างไร้มนุษยธรรม

ด้าน วอชิงตันชี้ ยิ่งจีนตอบโต้ยิ่งทำให้เพิ่มความสนใจต่อปัญหาซินเจียงจากทั่วโลกมากขึ้น

ก่อนหน้านี้เอเอฟพีรายงานว่า รัฐบาลปักกิ่งสั่งจับชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ไม่ต่ำกว่าล้านคนให้อยู่ภายในค่ายกักกัน อ้างอิงจากกลุ่มสิทธิมนุษยชน และยังมีการใช้กำลังบังคับจับหญิงชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ทำหมันโดยไม่สมัครใจ รวมไปถึงการใช้แรงงานบังคับ และส่งผลให้สหภาพยุโรป, อังกฤษ, แคนาดา และสหรัฐฯ ออกคำสั่งคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่จำนวนไม่กี่คนของซินเจียงที่อยู่ในระดับทางการเมือง และเศรษฐกิจต่อปัญหานี้

ทันทีที่เหตุการณ์ล่วงล้ำเรื่องราวอุยกูร์ในซินเจียงขยายวง ทำให้จีนได้ออกแถลงการณ์ประณามอังกฤษโดยชี้ว่า ลอนดอนได้ออกมาตรการลงโทษคว่ำบาตรต่อจีนแต่ฝ่ายเดียว เพื่อลงโทษบุคคลต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนซินเจียง โดยระบุว่า ความเคลื่อนไหวนี้ไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานใด นอกจากคำโกหก และข้อมูลเท็จ และขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ และประเพณีพื้นฐานการกำกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ยุ่งเกี่ยวกิจการภายในของจีนอย่างเลวร้าย รวมไปถึงบั่นทอนความสัมพันธ์จีน-อังกฤษ

โดยกลุ่มในอังกฤษที่ตกเป็นเป้าหมายการคว่ำบาตรของจีนในครั้งนี้ ได้ครอบคลุมไปถึงสมาชิกรัฐสภาสามัญชนผู้ดี 5 คน และสภาขุนนางอังกฤษอีก 2 คน และรวมไปถึงนักกฎหมาย และนักวิชาการ

นอกจากนี้ยังมีอีก 4 องค์กรที่ถูกคว่ำบาตรได้แก่ กลุ่มวิจัยจีน (China Research Group) คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนพรรคคอนเซอร์เวตีฟ (Party Human Rights Commission) องค์กรตรวจสอบอุยกูร์ อุยกูร์ ทริบูนอล (Uyghur Tribunal) และองค์กรทางกฎหมาย Essex Court Chambers

ขณะเดียวกันยังมีการคว่ำบาตรของจีนต่อสหรัฐฯ และแคนาดา โดยทางปักกิ่งให้เหตุผลว่า ต้องการตอบโต้เนื่องมาจากวอชิงตัน และออตตาวาใช้สิทธิ์คว่ำบาตรบนพื้นฐานของข่าวลือ และข้อมูลที่เป็นเท็จ

โดยกระทรวงต่างประเทศจีนระบุว่า สมาชิก 2 คนของคณะกรรมาธิการด้านเสรีภาพทางศาสนาระหว่างประเทศประจำสภาคองเกรสสหรัฐฯ 2 คนและสมาชิกรัฐสภาแคนาดา 1 คน รวมไปถึงสมาชิกคณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชนประจำรัฐสภาแคนดา 1 คนถูกห้ามเดินทางเข้าจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง และมาเก๊า

การตอบโต้ทางการทูตระหว่างปักกิ่ง และชาติตะวันตกเกิดขึ้นหลังจากก่อนหน้าปัญหาฝ้ายซินเจียงปะทุจนเป็นประเด็นหลังเสื้อผ้าแบรนด์ดังชาติตะวันตกเข้าร่วมขบวน เป็นต้นว่า ร้านเสื้อผ้าชื่อดังสวีเดน H&M ออกมาปฏิเสธที่จะไม่ซื้อฝ้ายจากซินเจียงที่เชื่อว่ามีการใช้แรงงานบังคับของมุสลิมอุยกูร์ ซึ่งในแถลงการณ์ของ H&M ปีที่แล้วทางบริษัทยืนยันว่า ไม่มีความร่วมมือกับบริษัททอผ้าตั้งอยู่ในเขตปกครองตนเองซินเจียงสำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัท อ้างอิงจากหนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์รายงาน

เอเอฟพีรายงานว่า ผลจากปัญหาฝ้ายซินเจียงทำให้ดาราชื่อดังของจีน และบริษัทไฮเทคต่างแห่ถอนตัวจากการเป็นพันธมิตรทางการค้ากับไนกี้ H&M อดิดาส เบอร์บิวรี และแคลวิน ไคลน์

.

ที่มา: https://mgronline.com/around/detail/9640000029511?fbclid=IwAR0DnHsmKBd2nzgwXocbRJ5x8aNuM8uBfeBnrUagA2ObgTLnnq8oier6xkk


สนับสนุนข่าวโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ