Saturday, 23 September 2023
REGION

หนองคาย-ตรวจยึดยาบ้า ยาอี ล็อตใหญ่ 2.3ล้านกว่าเม็ด มูลค่า 100 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 พันเอก มงคล หอทอง  รองผู้บัญชาการกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี เป็นผู้แทน ผู้บัญชาการกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี ร่วมแถลงข่าวการจับกุมตรวจยึดยาเสพติด (ยาบ้า-ยาอี) 2.3 ล้านกว่าเม็ด โดยมีนายมนตร์สิทธิ์  ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานในการแถลงข่าวฯ ณ หอประชุมประจักษ์ศิลปาคม ศาลากลางจังหวัดหนองคาย 

สตูล-ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ลงพื้นที่อำเภอควนกาหลง และอำเภอมะนัง เยี่ยมช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุวาตภัย

วันนี้ 3 มี.ค. 2565 นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล พร้อมด้วยนาวาตรีหญิงโนสมา หลีเส็น นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสตูล และส่วนราชการลงพื้นที่อำเภอควนกาหลง และอำเภอมะนัง จังหวัดสตูล เยี่ยมและให้กำลังใจประชาชนที่บ้านเรือนได้รับผลกระทบจากเหตุวาตภัย 3 หลังคาเรือน หลังจังหวัดสตูลมีฝนตกลงมาอย่างหนักและมีลมพายุส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนของพี่น้องประชาชนหลายหลังคาเรือน 

โดยหลังแรกเป็นบ้านของนางสุรภา ชัยโรจน์ บ้านเลขที่ 183 ที่หมู่ที่ 3 บ้านควนล่อน ตำบลควนกาหลง ซึ่งบ้านเรือนได้รับความเสียหายหลังจากพายุฝนพัดหลังคาบ้านเรือนหลุดออกจากตัวบ้าน เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2565 ส่งผลให้หลังคาบริเวณชั้น 2 ของตัวบ้านได้รับความเสียหาย ส่วนบ้านหลังที่ 2 ร้านอาหารตามสั่งป้าแดง บ้านเลขที่ 157 หมู่ที่ 3 บ้านควนล่อน ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านหลังแรกประมาณ 150 เมตร ได้รับความเสียหายจากพายุฝนพัดหลังคาสังกะสีหลุดออกจากบ้านเช่นกัน โดยองค์การบริหารส่วนตำบลควนกาหลง ได้มอบหลังคากระเบื้องและเงินเพื่อเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่เจ้าของบ้านทั้ง 2 หลังแล้ว ในโอกาสนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล และนายกเหล่ากาชาดจังหวัดสตูล ร่วมมอบสิ่งของอุปโภค บริโภค หน้ากากอนามัย และเจลแอลกอฮอล์ พร้อมเงินช่วยเหลือให้แก่เจ้าของบ้านทั้ง 2 หลัง และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสตูล ร่วมมอบเงินช่วยเหลือเช่นกัน

ลำปาง-มทบ.32​  ดูแลห่วงใย นำสิ่งของจำเป็นมอบให้ เพื่อมีกำลังใจก้าวผ่านไปด้วยกัน 

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2565 เวลา​ 09.30​ น.​ พลตรีอโณทัย​ ชัยมงคล​ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 32  มอบหมายให้ พันเอกกวิน ยาวิชัย รองเสนาธิการมณฑลทหารบกที่ 32 / ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์มณฑลทหารบกที่ 32 ลงพื้นที่พร้อมด้วยจิตอาสาพระราชทาน หลักสูตรพื้นฐานภาค 3 รุ่นที่ 1/65

ร่วมกับ อสม.บ้านหนอง ตำบลน้ำโจ้  นำสิ่งของอุปโภค-บริโภคจำเป็น  หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ และผ้าห่ม มอบให้ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด – 19 ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง ณ ชุมชนบ้านหนอง หมู่ที่ 4 ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง จำนวน 3 ราย ดังนี้ 
1.น.ส นฤมล สายปะละ อายุ 41 ปี   บ้านเลขที่ 51 หมู่ที่ 4 ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง   ผู้พิการ - ออทิสติก
2.นาย เทียน สงสาร อายุ 80 ปี  บ้านเลขที่ 31 หมู่ที่ 4 ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง     ผู้สูงอายุ - ทุพพลภาพ 
3.นาง ทุม วงศ์เป็ง  อาย 72 ปี   บ้านเลขที่ 75 หมู่ที่ 4 ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง  เป็นผู้ป่วยทางการเคลื่อนไหว

หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด 19 ให้กับกำลังพลในสังกัด

กองทัพเรือโดย หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ได้ดำเนินการตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) แบบ Antigen Test Kit (ATK) ให้กับกำลังพลของหน่วย ประกอบด้วย ข้าราชการ และทหารกองประจำการ ณ อาคารอเนกประสงค์ ศูนย์การฝึกหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

สืบเนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ในปัจจุบันทวีความรุนแรงมากขึ้น ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ได้มีความห่วงใยกำลังพล และได้ตระหนักถึงความจำเป็น ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว

ชาวสวนอยากขาย!! มะม่วงมะยงชิดของดีเมืองพิจิตรคุณภาพดี ราคาถูก พร้อมส่งตรงถึงบ้าน

พิจิตร -โอกาสทองของผู้ชื่นชอบบริโภคผลไม้ ขณะนี้มะม่วง-มะยงชิด ของดีเมืองพิจิตร ผลผลิตกำลังออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากส่งผลราคาถูกเหมาะแก่การซื้อกินหรือซื้อเป็นของฝากแบบไทยช่วยไทย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงพื้นที่แนะนำชาวสวนไม้ผลควรหาวิธีไลฟ์สดขายตรงส่งถึงมือผู้ซื้อ เน้นย้ำสินค้าดีมีคุณภาพราคายุติธรรม เกษตรผลิตพาณิชย์ขายไปรษณีย์ส่ง เกษตรกรขายตรง

(3 มี..65) นายชาตรี บุญนาค ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 18 ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าของเกษตรกรชาวสวนผู้ปลูกมะม่วง-มะยงชิด ของ ต.วังทับไทร อ.สากเหล็ก จ.พิจิตรโดยมี นายธรรมนูญ แจ่มศรี เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพิจิตร พร้อมด้วย หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ร่วมกันลงพื้นที่ โดยได้พบกับนายสายันต์ บุญยิ่ง นายกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ซึ่งเป็นตัวแทนของเกษตรกรได้พาดูผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ซึ่งมีพื้นที่การปลูกในเขต จ.พิจิตร ประมาณ 15,000 ไร่ และ มะยงชิด ซึ่งมีพื้นที่การปลูกในเขต จ.พิจิตร ประมาณ 2,000 ไร่ โดยขณะนี้ผลผลิตต่างออกลูกออกผลพร้อมๆกันทำให้มีปริมาณล้นตลาดภายในประเทศ อีกทั้งตลาดส่งออกก็ประสบภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดทำให้ตลาดส่งออกซบเซา โดยราคามะม่วงน้ำดอกไม้สีทองซึ่งขนาดผล 2-3 ผล/1 กก. ขายส่งที่หน้าสวนราคา กก.ละ 35 บาท จากที่เคยขายส่งออกได้ถึง กก.ละ 60-70 บาท ก็ลดเหลือ 35 บาทดังกล่าว

ส่วนมะยงชิดผลเท่าไข่ไก่ขนาด 12-15 ผล /กก.เมื่อช่วงต้นฤดูคือปลายเดือน ก.. 65 เปิดราคาที่ กก.ละ 180-250 บาท แต่พอถึงวันนี้ราคาลดลงเหลือแค่ กก.ละ 100-150 บาท ส่วนที่มีขนาดเล็กลงกว่านี้หรือเป็นแบบคละรวมราคาขายส่งที่หน้าสวนก็เหลือเพียง กก.ละ 35 บาท หรือ 3 กก. 100 บาท ซึ่งถือว่าราคาถูกมากเหมาะแก่การบริโภคหรือซื้อเป็นของฝากของขวัญให้กับญาติสนิทมิตรสหาย สำหรับราคามะม่วง-มะยงชิด มีการปรับขึ้น-ลง แบบวันต่อวัน

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี นำเครือข่าย เข้ารับโล่รางวัลคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔

ปทุมธานี-นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีมอบโล่รางวัลคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น ประจำปีงบประมาณ พ.. ๒๕๖๔ ณ ห้อง G5 ชั้น ๑ อาคารหอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรมโดยจังหวัดปทุมธานี มีชุมชน หน่วยงาน ได้รับรางวัล ดังนี้…

. ชุมชนคุณธรรมวัดชินวราราม ได้รับรางวัล ชุมชนคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น

. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รับรางวัล องค์กรคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น

สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานปราจีนบุรี ร่วมน้อมรำลึก "พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย"

สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานปราจีนบุรี กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน จัดพิธีถวายเครื่องราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร "พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย" พร้อมนิทรรศการเทิดพระเกียรติ และกิจกรรมวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 2 มีนาคม 2565 เพื่อสร้างความเข้าใจและเห็นความสำคัญของมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ

วันที่ 2 มีนาคม 2565 นายวรพันธุ์ สุวัณณุสส์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี เป็นประธานจัดงาน "วันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ" ประจำปี พ.ศ.2565 ณ อาคารอเนกประสงค์ วิทยาลัยการอาชีพปราจีนบุรี โดยมีพิธีถวายราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” มีหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน เข้าร่วมพิธี เพื่อน้อมรำลึกในพระปรีชาสามารถและพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

นายวรพันธุ์ เปิดเผยหลังจากเป็นประธานว่า วันที่ 2 มีนาคมของทุกปีเป็นวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ซึ่งวันนี้เมื่อปี พ.ศ. 2513 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงานแนะแนวอาชีพและแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ณ ลุมพินีสถาน และพระราชทานพระราชเกี่ยวกับการช่างของไทย ความตอนหนึ่งว่า "...ช่างทุกประเภท เป็นกลไกสำคัญ อย่างยิ่งในชีวิตของบ้านเมืองและของทุกคน เพราะตลอดชีวิตของเรา เราต้องอาศัยและใช้บริการหรือสิ่งต่างๆที่มาจากฝีมือของช่างอยู่ทุกวี่ทุกวัน ผู้เป็นช่างจึงสมควรได้รับความเอาใจใส่สนับสนุนจากทุกๆฝ่าย ยิ่งในสมัยปัจจุบันวิทยาการทุกอย่างเจริญก้าวหน้า ยิ่งจำเป็นต้องส่งเสริมมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้ช่างที่มีความสามารถสูงให้มีสิ่งใช้สอยที่มีคุณภาพดีและเพียงพอกับความต้องการ ในการส่งเสริมนั้น มีปัญหาอันควรจะได้พิจารณาช่วยเหลืออยู่สามประการ ประการแรกได้แก่ ปัญหาเรื่องการให้ความรู้ทางหลักวิทยาการ และความรู้ทางการออกแบบ ประการที่สอง ได้แก่ ปัญหาเรื่องฝีมือ ซึ่งจะต้องปรับปรุงให้มีความประณีตและประสิทธิภาพได้ มาตรฐานจริงๆ ประการที่สาม ได้แก่ ปัญหาเรื่องการจัดหางานและหาตลาด เพื่อช่วยให้ช่างได้มีงานทำ มีตลาดที่จะส่งสินค้าที่ผลิตได้ไปจำหน่าย การช่วยเหลือทั้งสามประการ จะต้องกระทำให้สอดคล้องกันไป เพื่อให้ช่างมีรายได้และผลกำไร สำหรับนำมาเป็นทุนรอนสร้างฐานะและความก้าวหน้า ข้าพเจ้าใคร่ขอฝากความคิดทั้งนี้ไว้ เป็นแนวทางปฏิบัติของท่านทั้งหลายต่อไป" จากกระแสพระราชดำรัสดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงสายพระเนตรอันยาวไกลที่มีพระราชดำรัสถึงความสำคัญของช่างฝีมือที่มีบทบาทสำคัญต่อทุกคนในสังคม จึงจำเป็นต้องพัฒนาให้มีฝีมือตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพราะนั่นหมายถึงคุณภาพของสินค้าและบริการ ตลอดจนความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อประเทศไทย แม้จะผ่านมากว่า 50 ปีแล้ว ยังคงทันสมัยและนับวันจะทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น
    

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ จัดพิธีอัญเชิญ และเฉลิมฉลองสถานศึกษารางวัลพระราชทาน และนักเรียนนักศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2563

(2 มี..65) เชียงใหม่-วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ จัดพิธีอัญเชิญรางวัลพระราชทานและเฉลิมฉลองสถานศึกษารางวัลพระราชทาน และนักเรียน นักศึกษา ที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2563 นายณัฐพล คุณยศยิ่ง โดยมีนายวีระพันธ์ ดีอ่อน รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประธานกล่าวแสดงความรู้สึก ชื่นชม รางวัลสถานศึกษารางวัลพระราชทาน และนักเรียน นักศึกษา รางวัลพระราชทาน นายสมบัติ นาหลวง ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ กล่าวพระโอวาท สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสารณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ที่ดำรัสให้กับสถานศึกษา และนักเรียน นักศึกษารางวัลพระราชทาน ผู้มีเกียรติร่วมมอบดอกไม้ ของที่ระลึกแสดงความยินดี ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ร่วมให้การต้อนรับ

นายวีระพันธ์ ดีอ่อน รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่าวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ได้รับโล่สถานศึกษารางวัลพระราชทาน จากพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทร รามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้า เจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิรา เทพยวดี กรมหลวงราชสาริณี สิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานรางวัลในปีนี้ ผมมีความชื่นชม และยินดีเป็นอย่างยิ่ง

เพราะการที่จะได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ได้ ต้องเกิดจากความมุ่งมั่น ร่วมมือร่วมใจกัน พัฒนาการศึกษา มาอย่างต่อเนื่องและยาวนานของผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา และได้ทราบมาว่า วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ บริหารงาน ภายใต้โมเดล CMVC Smart team Smart college และค่านิยม ดูแลห่วงใย หัวใจแบ่งปัน ทำงานเป็นทีม Care - Share - Team ได้สร้างกระบวนทัศน์ทางการศึกษาใหม่อย่างหลากหลาย สร้างพลังการเรียนรู้เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก จนประสบความสำเร็จ และเป็นสถาบันแห่งการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ที่มีคุณธรรม สร้างสรรค์นวัตกรรมสู่สากล มาเป็นเวลากว่า 88 ปีแล้วและจากปรัชญาของวิทยาลัย คือ มีคุณธรรม นำวิชาการ ชำนาญวิชาชีพ เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นได้ว่า

‘บิ๊กป้อม’ เอาใจชาวตลาดมูโนะ โยนงบกลาง44 ล้าน สร้างพนังกั้นน้ำ

นราธิวาส-ที่ห้องประชุมพระนราภิบาล ศาลากลาง จ.นราธิวาส พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ จ.นราธิวาส พร้อมรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ ซึ่งโดยรวม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยะลา ปัตตานีและนราธิวาส สภาวะน้ำท่วมขังเริ่มลดลงเหลือเพียง 19 อำเภอ ที่คาดว่าไม่เกิน 1 สัปดาห์สภาวะน้ำท่วมขังจะกลับคืนสู่สภาวะปกติ และในช่วงวันที่ 5 มี.. 65 ที่จะถึงนี้จะมีสภาวะฝนตกลงมาอีกละลอก แต่ไม่หนักเหมือนครั้งนี้ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการเตรียมพร้อมในการรับมือแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดประวัติซ้ำรอย โดยเฉพาะพื้นที่ตลาดมูโนะ ม.1 .มูโนะ อ.สุไหงโก-ลก ที่มีน้ำท่วมขังหนักในรอบ 60 ปี

โดยพล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวมอบนโยบายแก่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ในการช่วยเหลือประชาชนและเร่งลดผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย โดยได้สั่งการให้กรมชลประทาน วางแผนการบริหารจัดการน้ำร่วมกับกระทรวงมหาดไทย เพื่อเร่งระบายน้ำให้คลี่คลายโดยเร็ว พร้อมทั้งให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกันบูรณาการสำรวจและช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย รวมถึงมอบหมายให้กรมชลประทานกรมโยธาธิการและผังเมือง เร่งรัดและวางแผนการก่อสร้างพนังกั้นน้ำในจุดเสี่ยงอุทกภัยทั้ง 3 จังหวัด ให้สามารถป้องกันอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งพล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้มีการอนุมัติงบกลาง จำนวน 44 ล้านบาท ให้กรมชลประทานและกรมโยธาธิการและผังเมือง ทำการก่อสร้างผนังกั้นน้ำในระยะทาง 10 เมตร ที่ยังหลงเหลือให้สามารถแล้วเสร็จก่อนที่จะถึงฤดูน้ำหลากที่จะมาถึงนี้ รวมทั้งการซ่อมแซมพนังกั้นน้ำที่ชำรุดเสียหายที่ด้านหลบังตลาดมูโนะให้แล้วเสร็จ เพื่อไม้ให้เกิดประวัติซ้ำรอยเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากของแต่ละปี และยังได้มอบหมาให้ สทนช. และ ศอ.บต. ประสานและบูรณาการ แก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง ให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ที่วางไว้โดยให้ จังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างการรับรู้ เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีความเข้าใจและยอมรับในการดำเนินการก่อสร้างโครงการต่างๆ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม

จากนั้นในช่วงบ่าย พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ พร้อมคณะได้เดินทางต่อไปยังตลาดมูโนะ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขังสูง โดยเฉลี่ย 50 ถึง 70 ..เพื่อพบปะให้กำลังใจประชาชน พร้อมแจกถุงยังชีพให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ ต.มูโนะ 5 หมู่บ้าน จำนวน 300 ชุด พร้อมเน้นย้ำว่ารัฐบาลจะเร่งช่วยเหลือประชาชนอย่างสุดกำลัง และกำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปรับปรุงพนังกั้นน้ำมูโนะ ในส่วนที่ชำรุดและเสริมความมั่นคง แข็งแรงของพนังกั้นน้ำมูโนะ เพื่อป้องกันอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง กรมชลประทาน จะเร่งรัดดำเนินการสำรวจ ออกแบบและก่อสร้างระบบพนังกั้นน้ำส่วนที่เหลือยังไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงาน พร้อมติดตามเร่งรัดกับหน่วยงานให้การก่อสร้างพนังกั้นน้ำที่ชำรุด เสียหายแล้วเสร็จเพื่อสามารถป้องกันอุทกภัยหากเกิดขึ้นในปีหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

‘วุฒิสภา’ เดินหน้าพบประชาชนและส่วนราชการจังหวัดชลบุรี ติดตามรับฟังการดำเนินงาน

ชลบุรี-วุฒิสภา โดยคณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกลงพื้นที่ พบประชาชนและส่วนราชการจังหวัดชลบุรี ในวันอังคารที่ 1 มีนาคม 2565 เพื่อติดตามรับฟังการดำเนินงาน“ โครงการ ตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” พร้อมทั้งรับฟังแนวทางการบริหารจัดการน้ำของจังหวัดปราจีนบุรี ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน โดยมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน พร้อมทั้งติดตามรับฟังเรื่องร้องเรียนจากประชาชน ประเด็น แนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อเตรียมรับมือปัญหาภัยแล้ง

(1มี..65) โรงเรียนชุมชนบ้านบางเสร่ ตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรีคณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกโดยมี พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง ในฐานะประธานคณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน พร้อมด้วย พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร รองประธานกรรมการ คนที่หนึ่งและคณะสมาชิกวุฒิสภา ลงพื้นที่ติดตามและรับฟังการดำเนินงานโครงการ “ตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”ตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นตำบลต้นแบบในการสร้างความมั่นคงด้านอาชีพและรายได้ และการสร้างความยั่งยืนด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมท้องถิ่น พร้อมร่วมพูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และประชาชน โอกาสนี้ คณะกรรมการฯ จะมอบข้าวสารให้กับประชาชนในพื้นที่ด้วย

จังหวัดนครพนม มอบหนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทย ฉบับสมบูรณ์ ปี 2564 ให้หน่วยงานเร่งขยายผลสู่เยาวชนและประชาชนในพื้นที่

(2 มี..65) นครพนม-ที่ห้องประชุมพระธาตุพนม ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดนครพนม นายชาธิป รุจนเสรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานการมอบหนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทย ฉบับสมบูรณ์ ปี 2564 ให้กับตัวแทนส่วนราชการ จำนวน 29 หน่วยงาน เพื่อนำไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้แก่ข้าราชการ พนักงานของรัฐ เด็กและเยาวชน ตลอดจนประชาชนในจังหวัดนครพนม ให้ได้เรียนรู้เพื่อสร้างความภาคภูมิใจและสำนึกในความเป็นไทย

โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้เป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เกิดความรักชาติและมีความกตัญญูต่อบรรพบุรุษไทย ตามยุทธศาสตร์ชาติ (.. 2561-2580) ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยในยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงได้กำหนดประเด็นการพัฒนาและเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติ เพื่อให้คนในชาติมีจิตสำนึกรักและหวงแหน มุ่งจงรักภักดี พร้อมธำรงรักษาไว้ซึ่ง สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้เป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยว และเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนทั้งชาติ โดยปลูกฝังและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสถาบันหลักของชาติ รณรงค์เสริมสร้างความรักความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทยและชาติไทย ผ่านกลไกต่างๆ รวมถึงการศึกษาประวัติศาสตร์ในเชิงสร้างสรรค์

‘นิพนธ์’ ร่วมเป็นสักขีพยานท้องถิ่น เพิ่มประสิทธิภาพเร่งรัดจัดเก็บภาษีรถยนต์ค้างจ่าย นำรายได้กระจายการพัฒนาท้องถิ่นไปสู่การพัฒนาประเทศ

(2 มี..65) ที่อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือเพื่อการดำเนินการเร่งรัดจัดเก็บภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกระหว่าง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมการขนส่งทางบก อบจ.กระบี่ และ อบจ.สงขลา โดยมี นายประยูร รัตนเสนีย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก นายก อบจ.กระบี่ นายก อบจ.สงขลา ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงฯ และมีรองศาสตราจารย์ วีระศักดิ์ เครือเทพ ประธานอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อการพัฒนาการจัดเก็บภาษีรายได้ให้แก่ อปท. ร่วมเป็นสักขีพยานในครั้งนี้ด้วย

สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.. ๒๕๔๒ กำหนดการจัดสรรรายได้จากภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ให้แก่ อปท. ซึ่งคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. ได้พิจารณาเห็นชอบหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ให้แก่ อปท. และประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่ปี พ.. 2543 มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพัฒนาการจัดเก็บรายได้ของ อปท. ได้พิจารณาเรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ที่ค้างชำระให้แก่ อปท. ตามที่สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย ได้ขอหารือแนวทางในการแก้ไขปัญหาภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ที่ค้างชำระเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาท้องถิ่น เพราะต้องใช้งบประมาณในการดำเนินงาน จึงจัดการประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมการขนส่งทางบก สมาคมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ที่ค้างชำระให้แก่ อปท. และเพื่อให้การดำเนินการเร่งรัดจัดเก็บภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่จดทะเบียนใน จ.กระบี่ และ จ.สงขลา ที่ค้างชำระได้มากขึ้นและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เจ้าของรถได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้ง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรมการขนส่งทางบก กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อบจ.กระบี่ และ อบจ.สงขลา สามารถปฏิบัติงานสนับสนุนการจัดเก็บภาษีประจำปีสำหรับรถที่จดทะเบียน ในจังหวัดดังกล่าว ที่ค้างชำระภาษีประจำปีสำหรับรถของกรมการขนส่งทางบก และสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ เชิญชวน และอำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าของรถยนต์สามารถชำระภาษีประจำปีสำหรับรถและค่าธรรมเนียมต่างๆ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

‘กาฬสินธุ์’ ยุติธรรม!! เร่งช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมในคดีอาญา

คณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา 6 ราย จำนวนกว่า 290,000 บาท พร้อมมอบนโยบายจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนให้ทั่วถึง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ลดค่าใช้จ่าย และสร้างความสุขความสมานฉันท์ ป้องกันปัญหาความขัดแย้งด้านคดีความอย่างได้ผล

ที่ห้องประชุมผาเสวย ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ รอง ผวจ.กาฬสินธุ์ เป็นประธานประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา ครั้งที่ 2/2565 โดยมีนายดาระใน ยี่ภู่ ปลัด จ.กาฬสินธุ์ นายประหยัด ไม้แพ ยุติธรรม จ.กาฬสินธุ์ พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการฯ ร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง

นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ รอง ผวจ.กาฬสินธุ์ ในการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาดังกล่าว สำนักงานยุติธรรม จ.กาฬสินธุ์ ร่วมกับคณะอนุกรรมการ ได้พิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา โดยมีสำนวนเข้าพิจารณา 15 เรื่อง/ราย ผู้เสียหาย 15 ราย โดยผลการพิจารณางดจ่าย 3 ราย ยกคำขอ 6 ราย และจ่ายค่าตอบแทน 6 ราย โดยเป็นผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร 1 ราย ทุพพลภาพ 1 ราย ถูกทำร้ายร่างกาย 3 ราย และฆาตกรรม 1 ราย รวมเป็นเงิน 294,474 บาท

‘บิ๊กป้อม’ บินด่วน!! ลุยน้ำท่วมนราธิวาส พร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ - ประชาชน 3 จังหวัดชายแดนใต้

ณ ศาลากลาง จ.นราธิวาส พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ จ.นราธิวาส พร้อมรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ โดยมี นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส กล่าวต้อนรับ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) รายงานสถานการณ์น้ำและการคาดการณ์ในพื้นที่ภาคใต้

โดยเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ ได้รายงานการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ ส่วนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รายงานการช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยในพื้นที่ภาคใต้ ขณะที่กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้รายงานสรุปแผนการดำเนินการโครงการพนังกั้นน้ำริมแม่น้ำโก-ลก และกรมชลประทาน ได้รายงานสรุปแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ แผนการระบายน้ำและโครงการซ่อมแซมและก่อสร้างพนังกั้นน้ำริมแม่น้ำโก-ลก บริเวณตำบลมูโนะ รวมถึงผู้ว่าราชการ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จ.นราธิวาส, ยะลา และปัตตานี รายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่และการช่วยเหลือ และรับมอบถุงยังชีพจากรองนายกรัฐมนตรี เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนผู้ประสบภัยในแต่ละพื้นที่ต่อไป

ทั้งนี้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายแก่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องพร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ในการช่วยเหลือประชาชนและเร่งลดผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย โดยได้สั่งการให้กรมชลประทาน วางแผนการบริหารจัดการน้ำร่วมกับกระทรวงมหาดไทย เพื่อเร่งระบายน้ำให้คลี่คลายโดยเร็ว พร้อมทั้งให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) บูรณาการสำรวจและช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย รวมถึงมอบหมายให้กรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง เร่งรัดและวางแผนการก่อสร้างพนังกั้นน้ำในจุดเสี่ยงอุทกภัยทั้ง 3 จังหวัด ให้สามารถป้องกันอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมอบหมายให้ สทนช. และ ศอ.บต. ประสานและบูรณาการ แก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง ให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปีที่วางไว้ โดยให้ จังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างการรับรู้ เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีความเข้าใจและยอมรับในการดำเนินการก่อสร้างโครงการต่างๆ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม

จากนั้นในช่วงบ่าย รองนายกฯ พร้อมคณะได้เดินทางต่อไปยังห้องประชุมเทศบาลสวนรื่นอรุณ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เพื่อพบปะให้กำลังใจประชาชน พร้อมแจกถุงยังชีพให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ ต.มูโนะ พร้อมเน้นย้ำว่ารัฐบาลจะเร่งช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างสุดกำลัง และกำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปรับปรุงพนังกั้นน้ำมูโนะในส่วนที่ชำรุดและเสริมความมั่นคง แข็งแรงของพนังกั้นน้ำมูโนะ เพื่อป้องกันอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่ กรมโยธาธิการและผังเมือง, กรมชลประทาน เร่งรัดดำเนินการสำรวจ ออกแบบ และก่อสร้างระบบพนังกั้นน้ำที่ยังไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานจังหวัดนราธิวาส ประสานและสร้างการรับรู้ให้ภาคประชาชนในการก่อสร้างพนังกั้นน้ำในเเนวเขตแม่น้ำโก-ลก ให้สามารถก่อสร้างได้ตามแผนงาน และมอบหมายให้ สทนช.กำกับติดตามเร่งรัดกับหน่วยงานให้การก่อสร้างพนังกั้นน้ำที่ชำรุด เสียหายแล้วเสร็จตามแผนงาน เพื่อสามารถป้องกันอุทกภัยหากเกิดขึ้นในปีหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เมือง จ.นราธิวาส เร่งช่วยเหลือ “เปิดครัว” ช่วยผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่

นราธิวาส-จากสถานการณ์คลื่นลมแรง และฝนตกหนัก เมื่อวันที่ 24 – 26 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ทำให้ในหลายพื้นที่จังหวัดนราธิวาส มีน้ำไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนของประชาชนในหลายอำเภอของ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งได้ส่งผลกระทบให้ประชาชน ได้รับความเดือดร้อนและเสียชีวิต ตลอดจนบ้านเรือนได้รับความเสียหายอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอสุไหงปาดีอำเภอระแงะ อำเภอสุคิริน อำเภอสุไหงโก-ลก

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จึงได้เตรียมความพร้อมในการสนับสนุนศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยได้ดำเนินการเปิดครัวมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ประกอบอาหาร ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในที่พื้นอย่างเร่งด่วน ซึ่งภารกิจครั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้จัดทำอาหารกล่องเพื่อแจกจ่ายวันละ 500 กล่อง พร้อมทั้งจัดคาราวานนำสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค อาหาร น้ำดื่มราชนครินทร์ จึงได้เตรียมความพร้อมในการสนับสนุนศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยได้ดำเนินการเปิดครัวมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ประกอบอาหาร ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในที่พื้นอย่างเร่งด่วน ซึ่งภารกิจครั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้จัดทำอาหารกล่องเพื่อแจกจ่ายวันละ 500 กล่อง พร้อมทั้งจัดคาราวานนำสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค อาหาร น้ำดื่ม ออกช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยครั้งนี้ โดยมุ่งช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนพร้อมทั้งให้กำลังใจแก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสอีกด้วย

ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จงรัก พลาศัย นายกสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ครั้งนี้ถือว่าสร้างความเสียหายแก่พี่น้องประชาชนในหลายพื้นที่เป็นอย่างมาก มีผู้ประสบภัยและเดือดร้อนหลายครัวเรือน ในฐานะมหาวิทยาลัยแห่งความเดือดร้อนพร้อมทั้งให้กำลังใจแก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสอีกด้วย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top