Sunday, 6 October 2024
THE STATES TIMES STORY

เมนู ‘เกาเหลา’ วาระใหญ่แห่งสยาม ถึงขั้นตั้ง ‘เจ้ากรมเกาเหลาจีน’ ดูแลเฉพาะ | THE STATES TIMES Story EP.154 

หากพูดคำว่า 'เกาเหลา' เชื่อว่าหลายคนจะนึกถึงอาหารเป็นอย่างแรก เพราะเกาเหลาเป็นอาหารที่อยู่คู่คนไทยมานาน อาหารชนิดนี้มีผักและเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบหลัก และไม่มีเส้น (ไม่มีก๋วยเตี๋ยว) ด้วยเหตุนี้ทำให้ถูกหยิบไปใช้ในเชิงเปรียบเปรยถึงการไม่ลงรอย และมีความขัดแย้งระหว่างคนสองคนนั่นเอง

แต่จริง ๆ แล้วคำว่า 'เกาเหลา' มีที่มาและประวัติที่น่าทึ่ง เรียกได้ว่า ต้องก่อตั้ง 'กรม' ขึ้นมาดูแลโดยเฉพาะเลยทีเดียว

วันนี้ THE STATES TIMES STORY ขออาสาเล่าประวัติที่มา ที่ไปของ 'เกาเหลา' ให้ทุกท่านได้รับฟัง หากพร้อมแล้ว ไปเริ่มฟังกันเลย

บทเพลง ‘แผ่นดินของเรา’ โอบอุ้มหัวใจคนไทยให้รัก-โอบกอดประเทศ | THE STATES TIMES Story EP.153

เพลง 'แผ่นดินของเรา' หรือ 'Alexandra' เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 34 ของในหลวงรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เนื่องในโอกาสที่เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเคนต์ สหราชอาณาจักร เสด็จเยือนประเทศไทยในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ในปี พ.ศ. 2502 

วันนี้ THE STATES TIMES Story ได้หยิบยกเรื่องราวของเพลง 'แผ่นดินของเรา' มาเล่าสู่กันฟัง รับรองเลยว่าท่านผู้ฟังจะรู้สึกอบอุ่นหัวใจ และอยากโอบกอดประเทศไทยไปพร้อม ๆ กันแน่นอน

‘ฟุตบอล’ กีฬาโบราณนับพันปี ต้นกำเนิดจากแดนมังกร | THE STATES TIMES Story EP.152

เชื่อว่าไม่มีใครไม่รู้จักกีฬา 'ฟุตบอล' เพราะกีฬาชนิดนี้เป็นกีฬาที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจ นิยมเล่นกันในทุก ๆ ระดับ เช่น แข่งขันในโรงเรียน ระหว่างสโมสร ระดับประเทศ รวมไปถึงระดับโลก นอกจากนี้ยังเป็นกีฬาเก่าแก่ชนิดหนึ่งของโลกอีกด้วย

วันนี้ THE STATES TIMES STORY ขออาสามาเล่าประวัติของกีฬาฟุตบอลว่ามีต้นกำเนิดจากไหน? แล้วเข้ามาเป็นที่นิยมในแผ่นดินสยามได้อย่างไร? หากพร้อมแล้ว ไปรับฟังกันได้เลย...

‘เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ฯ’ เจ้าฟ้านักดนตรี ต้นสำเนาตำนาน ‘โหมโรง’ | THE STATES TIMES Story EP.151

หากใครได้รับชมภาพยนตร์อนิเมชันเรื่อง ‘2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ ที่เล่าเรื่องราวในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยาม ก็คงจะคุ้นเคย คุ้นหูชื่อ ‘เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ฯ’ กันมาบ้าง และจะจดจำได้ในบทบาทของเจ้าฟ้าผู้มีพระอัจฉริยภาพทางการด้านการทหาร แต่ในความเป็นจริงแล้ว ‘เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ฯ’ มีพระอัจฉริยภาพทางด้านอื่น ๆ ที่โดดเด่นด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ด้านภาษาไทย-อังกฤษ ศิลปวิทยาในด้านต่าง ๆ เช่น การละคร การดนตรีไทย โดยเฉพาะดนตรีไทย

วันนี้ THE STATES TIMES Story จะพาท่านผู้ชมไปรู้จักเรื่องราวของ ‘เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ฯ’ ให้มากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว เชิญรับฟังได้เลย...

'โพธิ์เงิน กระตุฤกษ์' ยอดนักกินจอมชักดาบ | THE STATES TIMES Story EP.150

ในประวัติศาสตร์ไทย มียอดนักกินจอมชักดาบอยู่ท่านหนึ่ง นามว่า 'โพธิ์เงิน กระตุฤกษ์' ตามประวัติแล้วถือว่าเป็นคนที่เกิดมาในครอบครัวมีฐานะ และมีชีวิตที่ดีกว่าผู้คนมากมายหลายคน แต่ด้วยปัจจัยบางอย่าง ทำให้เขากลายเป็น 'นักกินจอมชักดาบ' และสร้างวีรกรรมมากมายจนร้านอาหารมากมายระอา 

วันนี้ THE STATES TIMES ได้รวบรวมเรื่องราวของผู้ชายคนนี้มาเล่าสู่กันฟัง จะเป็นอย่างไร เชิญรับฟัง

‘พโยม โรจนวิภาต’ หรือ ‘พ.๒๗’ สายลับผู้ภักดีต่อ ‘ในหลวง ร.๗’ | THE STATES TIMES Story EP.149

หากใครได้ดู ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง '๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ' หรือ '2475 Dawn of Revolution' ก็จะได้รู้จักกับตัวละครที่ชื่อ 'ลุงดอน' ซึ่งเป็นบุคคลที่มีอยู่จริงในทางประวัติศาสตร์ และถือเป็นบุคคลสำคัญและใกล้ชิดในหลวง ร.๗ ด้วย 

วันนี้ THE STATES TIMES ได้หยิบยกเรื่องของ 'ลุงดอน' มาเล่าสู่กันฟัง จะเป็นอย่างไร ติดตามชมได้เลย

‘ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ’ เมื่อกฎหมายสูงสุดกลายเป็น ‘ของขลัง’ แห่งยุคสมัย | THE STATES TIMES Story EP.148

ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ' เกิดขึ้นโดยการรังสรรค์ของคณะราษฎร ด้วยการทำให้รัฐธรรมนูญกลายเป็น 'ของขลัง' มีพิธีกรรมประกอบเฉพาะ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ควรบูชา มีสถานะที่สูงส่งกว่ากษัตริย์ เพื่อรองรับฐานอำนาจของระบอบใหม่ ทำทุก ๆ อย่าง เพื่อให้ประชาชนได้รู้จักรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ทำอย่างเดียวคือ ทำให้ประชาชนได้รู้ว่ารัฐธรรมนูญคือ 'กฎหมาย'

จนกระทั่ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้นำบ้านเมืองของเราเข้าสู่ยุค 'เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย' การยึดเอา 'รัฐธรรมนูญ' เป็นของขลัง ของสำคัญจึงค่อย ๆ มลายหายไป

‘พระพุทธรูป-พระบูชา’ ตัวแทนคำสอน จาก ‘พ่อหลวง ร.9’ | THE STATES TIMES Story EP.147

ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างพระพุทธรูปบูชา พร้อมพระพิมพ์ เพื่อบรรจุที่ฐานบัวหงายของพระพุทธรูป เพื่อมอบให้กับจังหวัดและหน่วยงานราชการต่าง ๆ ทั่วประเทศ เป็นขวัญและกำลังใจให้กับ ข้าราชบริพาร ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ที่ได้สร้างความดี ความชอบและสร้างคุณประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง อย่างไม่ย่อท้อ ท่ามกลางสถานการณ์ของสงครามเย็นที่มีแต่ความหมิ่นเหม่ต่อความมั่นคงของชาติ ในช่วงปี พ.ศ. 2508 - 2513

ทั้งนี้ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร เข้ามาปั้นหุ่นพระพุทธรูปสำคัญและเป็นผู้แกะแม่พิมพ์พระพุทธรูปพิมพ์นี้ โดยพระองค์ทรงตรวจพระพุทธศิลป์ด้วยพระองค์เอง

‘พระองค์เจ้าขุนเณร’ ผู้นำหน่วยทะลวงฟันแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ | THE STATES TIMES Story EP.146

เรื่องราวของ ‘พระองค์เจ้าขุนเณร’ มีการจดบันทึกไว้ไม่มากนัก แต่ที่มีให้ได้อ่าน ได้เห็นก็ระบุไว้ว่า เป็นพระโอรสของ ‘พระเจ้าขุนรามณรงค์’ แต่มีชาติกำเนิดเป็นสามัญชน เนื่องจากเกิดจากอนุภรรยา นับว่าเป็นเจ้านายนอกราชวงศ์จักรี แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นเจ้านายในพระราชวงศ์จักรีในชั้นพระองค์เจ้า เนื่องจากทรงพระเมตตาและทรงเล็งเห็นว่าเจ้านายพระองค์นี้จะเป็นกำลังสำคัญต่อกองทัพของกรุงรัตนโกสินทร์

‘หลวงพ่อกบ’ พระอภิญญา ณ วัดเขาสาริกา ลพบุรี | THE STATES TIMES Story EP.145

'หลวงพ่อกบ' วัดเขาสาริกา หรือ 'สมเด็จพระบรมครู' ตามประวัติของท่านนั้น ไม่มีใครรู้ว่าท่านเป็นใคร มาจากไหน เกิดเมื่อไหร่ บวชเมื่อไหร่ ใครเป็นพระอุปัชฌาย์ ไม่มีใครรู้แน่ชัด เพราะท่านไม่เคยเล่าเรื่องส่วนตัวให้ใครฟังแม้แต่คนเดียว 

แต่หากใครถาม 'หลวงพ่อกบ' ก็มักตอบเพียงว่า "กูไม่มีอดีต กูมีแต่ปัจจุบันและอนาคต" และหากใครถามถึงอายุท่านจะว่า "กูจำไม่ได้" แล้วท่านก็ไม่ยอมพูดอะไรอีกเลย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top