Friday, 19 April 2024
PRESS

‘สี จิ้นผิง’ พบ ‘คิชิดะ’ ประชุมทวิภาคีครั้งสำคัญ ในวาระครบรอบ 50 ปีการทูต ‘จีน-ญี่ปุ่น’

นับว่ามีประเด็นมากมายที่ต้องจับตามอง สำหรับการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ระหว่างวันที่ 14 - 19 พ.ย. 65 ทั้งในประความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ประเด็นความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งประเด็นทางการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 

โดยอีกหนึ่งไฮไลต์ที่ต้องจับตามอง คือการประชุมทวิภาคีครั้งสำคัญระหว่างประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ผู้นำสูงสุดแห่งจีน และนายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ซึ่งจะเป็นการประชุมนอกรอบระหว่างการจัดการประชุมเอเปค ซึ่งเป็นการประชุมแบบพบหน้ากันเป็นครั้งแรกของผู้นำทั้งสองในรอบ 3 ปี ด้วยเป้าหมายด้านความสัมพันธ์ในเชิงสร้างสรรค์และมีเสถียรภาพ เนื่องจากปีนี้ ถือเป็นวาระครบรอบ 50 ปีของการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศทั้งสอง ซึ่งผู้นำทั้งสองได้ให้สำคัญของการมีความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ดี ซึ่งจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากกันและกัน

ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศในช่วงที่ผ่านมา เต็มไปด้วยความตึงเครียด ด้วยความบาดหมางในอดีตในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นทุนเดิม ท่ามกลางความขัดแย้งเกี่ยวกับการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะในทะเลจีนตะวันออก, การทดลองยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ รวมทั้งการที่กองทัพจีนยิงขีปนาวุธตกในน่านน้ำของญี่ปุ่นในการซ้อมรบเพื่อตอบโต้ต่อการเดินทางเยือนไต้หวันของแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ และการแข่งขันแย่งชิงบทบาทการเป็นผู้นำในภูมิภาค

โดยทั้งผู้นำจากทั้งสองฝั่ง ต่างแสดงเจตจำนงในการการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศทั้งสอง

‘สี จิ้นผิง’ เยือนไทยครั้งแรกในหมวกผู้นำสูงสุดของจีน ด้าน ‘บิ๊กตู่’ ร่วมต้อนรับประชุม APEC สมเกียรติ

(17 พ.ย. 65) สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมศาสตราจารย์ เผิง ลี่หยวน ภริยา เดินทางมาถึงประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในเวลา 14.20 น. โดยมี  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และภริยาให้การต้อนรับ ก่อนจะเดินทางไปยังเข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค โดยกำหนดการเดินทางเยือนประเทศไทยของ สี จิ้นผิง มีขึ้นระหว่างวันที่ 17 - 19  พ.ย. 65 ซึ่งเป็นกำหนดการต่อเนื่องภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจประชุมสุดยอดผู้นำ G20 ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย 

นับว่าเป็นการเดินทางเยือนราชอาณาจักรไทยครั้งแรกของประธานสี ตั้งแต่ดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดของจีนมาเป็นระยะเวลา 10 ปี และนับเป็นครั้งที่ 2 ของการเดินทางมายังประเทศไทย โดยครั้งแรกของประธานสี เคยเดินทางมาเยือนไทยในฐานะรองประธานาธิบดีจีนเมื่อ 22 - 24 ธันวาคม 2554

รู้จัก ‘มาครง’ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส 2 สมัย ชีวิต - ความรัก - การงาน - การเมือง

Bonjour … comment allez-vous? สวัสดี...สบายดีมั้ย นี่เป็นคำทักทายในภาษาฝรั่งเศส ที่ใครมีโอกาสได้พบกับผู้นำสุดหล่อแห่งฝรั่งเศสสามารถเตรียมไว้ทักทายกันได้ หลังจากในการประชุม APEC 2022 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพนั้น ประเทศฝรั่งเศสได้ถูกรับเชิญเป็นแขกพิเศษในการประชุมครั้งนี้ และผู้ที่มาร่วมประชุม ก็คือ แอมานุแอล ฌ็อง-มีแชล เฟรเดริก มาครง (Emmanuel Jean-Michel Frédéric Macron) ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และนางกาเตอรีน โกลอนนา (Catherine Colonna) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการยุโรปและการต่างประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส 

ทว่าก่อนที่จะได้ทราบกันว่าสาระสำคัญของไทย-ฝรั่งเศสใน APEC 2022 นี้ จะมีมิติใดอัปเดตบ้างนั้น THE STATES TIMES ก็ขออนุญาตพาทุกท่านไปรู้จักกับประธานาธิบดีท่านนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ 

Emmanuel Jean-Michel Frédéric Macron เกิดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ 2520 ที่เมืองเอเมียงส์ ประเทศฝรั่งเศส โดยครอบครัวทำงานอยู่ใวงการวิทยาศาสตร์และการแพทย์ มาครงได้ศึกษาระดับประถม-มัธยมศึกษาที่โรงเรียนในเมืองเอเตียง ก่อนย้ายไปศึกษามัธยมปลายที่โรงเรียน อองรีที่ 4 (Lyeeé Henri-IV) เป็นโรงเรียนมัธยมชั้นสูงเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในปารีส เมื่อเขาจบมัธยมปลาย เขาได้ศึกษาต่อด้านปรัชญาที่มหาวิทยาลัยปารีส น็องแตร์ (Université Paris Ouest Nanterre La Dèfense) และศึกษาต่อในด้านการบริหารกิจการสาธารณะ สถาบันซีอองซ์ โป (Science Po - The Institut d études politiques de Paris) มาครงมีความชื่นชอบและสนใจด้านประวัติศาสตร์ ปรัชญา และ ศิลปะ 

มาครง เข้าทำงานในแวดวงการเงิน การธนาคาร โดยทำงานให้กับบริษัท Rothschild บริษัททรงอิทธิพลที่เป็นเจ้าของเครือข่ายธนาคารหลายแห่งในยุโรป ตั้งแต่ปี 2551 และเคยทำหน้าที่ในกระทรวงการคลัง โดยเป็นผู้ช่วยในทีมของ ฌากส์ อัตตาลี นักการเมืองผู้ทรงคุณวุฒิที่เคยเป็นที่ปรึกษาของอดีตประธานาธิบดี มิต เตร็อง และได้ลาออกไปทำงานให้กับบริษัท ร็อธส์ไซลด์ ในปี 2551 และได้เข้ามาทำงานการเมืองอย่างจริงจัง โดยเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจให้กับประธานาธิบดี ฟรองซัวส์ ออลลองด์ ได้เสนอชื่อเขาขึ้นไปเป็นรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ ในปี 2557 

ด้านความรัก: ความรักของมาครง เมื่อเขาอายุ 17 ปี เขาเปิดเผยกับคุณครูผู้เป็นที่รักว่า เขาอยากแต่งงานกับเธอ ถึงแม้ว่าเขาจะมีอุปสรรคมากมายก็ตาม แต่มาครงบอกกับเธอว่า "ผมจะกลับมาหาคุณ ไม่ว่าคุณจะทำอะไร ผมก็จะแต่งงานกับคุณให้ได้" หลังจากเวลาผ่านไปนานหลายปี ความรักที่มาครงมีให้คุณครูก็ไม่เคยจืดจางลงไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2550 ขณะที่มาครงอายุได้ 29 ปี บริจิตต์ก็หย่าขาดจากสามี และมาครงก็ได้แต่งงานกับเธอดังที่เขาปรารถนามาตลอด โดยไม่สนคำวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ จากสังคม 

ด้านการเมือง: เขาได้ก้าวทำงานด้านการเมืองแบบจริงจัง โดยเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจให้กับประธานาธิบดี ฟรองซัวส์ ออลลองด์ ได้เสนอชื่อเขาขึ้นไปเป็นรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจในปี 2557 โดยเขาได้ร่างกฎหมายที่มุ่งเน้นผลักดันให้รัฐบาลมีความเป็นมิตรกับภาคเศรษฐกิจมากขึ้น แต่ร่างกฎหมายดังกล่าวได้ตกเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในสภา และถูกตัดลงไป ไม่ผ่านการอนุมัติ

จุดเปลี่ยนในการจัดตั้งพรรคการเมือง … เขาเล็งเห็นว่า แนวคิดของการปฏิรูปเศรษฐกิจ ไม่สามารถไปกันได้กับนโยบายของพรรคสังคมนิยม ภายใต้รัฐบาลประธานาธิบดี ออลลองด์ มาครงจึงลาออกจากการเป็นรัฐมนตรี และออกมาตั้งพรรคการเมืองของตัวเอง ในปี 2559 ในชื่อ ‘ออง มาร์ช (En Marche)’ มีชื่อทางการว่า สมาคมเพื่อการฟื้นฟูชีวิตการเมือง (Association pour le renouvellement de la vie politique) ซึ่งมีความหมายตรงตัวถึงการเคลื่อนไหว เป็นพรรคการเมืองที่มีแนวคิดเสรีนิยมสายกลาง ที่มีเป้าหมายปฏิรูปการเมืองของฝรั่งเศสให้ก้าวไปข้างหน้า และให้ความเคารพกับสิทธิมนุษยชนของประชาชนทุกคนในประเทศ ซึ่งการจัดตั้งพรรคการเมืองของมาครง เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของฝรั่งเศส และเขาคือ 1 ในผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสในการเลือกตั้ง ในปี 2560 โดยผลการเลือกตั้งฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2560 (อย่างไม่เป็นทางการ) รอบแรก พบว่า แอมานุแอล มาครง มีคะแนนเสียงอันดับ 1 คิดเป็น 24.01% แซงมารีน เลอ แปน จากพรรคแนวร่วมสร้างชาติ 21.30% ต่อมาเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2560 มีการเลือกตั้งรอบที่ 2 ระหว่าง แอมานุแอล มาครง จากพรรคอ็องมาร์ช และ มารีน เลอแปน จากพรรคแนวร่วมสร้างชาติ ผลการเลือกตั้งรอบที่ 2 ปรากฎว่า แอมานุแอล มาครง มีคะแนนคิดเป็น 66.10% ในขณะที่มารีน เลอ แปน มีคะแนนคิดเป็น 33.90% ทำให้มาครงกลายเป็นประธานาธิบดีของประเทศฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ และเป็นประธานาธิบดีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส และเป็นประมุขแห่งรัฐฝรั่งเศสที่อายุน้อยที่สุดนับตั้งแต่สมัยโบเลียน

เปิด 7 วิธี ปรับธุรกิจรอรับ ‘นทท.แดนมังกร’ หลังทางการจีน จ่อปลดล็อกนโยบาย Zero Covid

การจัดประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ปี 2565 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม มีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ ‘สี จิ้นผิง’ ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ด้วย เพราะอย่าลืมว่า ก่อนที่จะมีโควิดระบาด คนจีน คือ นักท่องเที่ยวหลักที่เดินทางมาท่องเที่ยวในไทย

แม้ขณะนี้ ยังไม่มีทีท่าว่าประเทศจีนจะผ่อนคลายให้คนเดินทางออกนอกประเทศ ตามนโยบาย ‘โควิดเป็นศูนย์’ (Zero Covid ) ซึ่งก่อนหน้านี้ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ออกมายอมรับว่า จากการประเมินในสถานการณ์ปัจจุบันยังไม่เห็นแนวโน้มที่นักท่องเที่ยวจีนจะเดินทางมายังประเทศไทยเป็นจำนวนมาก  

แต่ทว่า การที่ไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำเอเปคในครั้งนี้ จึงคาดหวังว่าจะมีการหารือแบบทวิภาคี ระหว่าง สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน กับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ของไทย โดยการเจรจาคาดว่าจะเน้นไปในทิศทางให้ทางการจีนพิจารณาผ่อนคลายมาตรการเข้าออกพรมแดนในบางมณฑล เพื่อเปิดทางให้นักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางเข้ามายังประเทศไทยอีกครั้ง

ซึ่งหากจีนมีการผ่อนคลายมาตรการเข้าออกพรมแดน ธุรกิจไทยควรเตรียมตัวอย่างไรบ้างตั้งแต่เนิ่น ๆ วันนี้ทีมข่าว The States Times จะสรุปให้อ่านกัน

จากผลสำรวจล่าสุดจาก Hotels.com™ ได้ศึกษาถึงพฤติกรรมที่มีผลต่อการท่องเที่ยวชาวจีนยุคใหม่ได้น่าสนใจ ดังนี้

- นักท่องเที่ยวชาวจีนยุคใหม่ หรือยุคมิลเลนเนียม (ผู้ที่เกิดหลังปี 2533 เป็นต้นไป) ใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสูงอย่างเห็นได้ชัดระหว่างเดินทางท่องเที่ยว ซึ่งเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

- ประเทศไทยต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวจีนดีที่สุดเป็นอันดับสอง เป็นรองแค่ประเทศญี่ปุ่น เนื่องมาจากความคล่องตัวในการใช้จ่ายผ่านแพลตฟอร์มการชำระเงินที่ครอบคลุมสำหรับนักท่องเที่ยวจีนและความสะดวกสบายในการติดต่อสื่อสารที่รองรับภาษาจีน เช่น ป้ายข้อมูลบอกทางต่าง ๆ เป็นต้น

- นักท่องเที่ยวชาวจีนรุ่นใหม่คำนึงถึงเรื่องความปลอดภัย (ร้อยละ 61) ในขณะที่อาหารท้องถิ่นก็มีความสำคัญไม่แตกต่างกัน 

- สิ่งที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจออกเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวจีน ได้แก่ ทีวี ภาพยนตร์ และโซเชียลมีเดีย 

- นักท่องเที่ยวจีนชอบการเข้าพักในที่พักไฮเทค และชอบการลองทำกิจกรรมสุดแปลกแหวกแนว ชื่นชอบการสัมผัสประสบการณ์จริง 

- นักท่องเที่ยวชาวจีนรุ่นใหม่นิยมใช้จ่ายเงินไปกับการรับประทานอาหารเป็นส่วนใหญ่ โดยเลือกชิมอาหาร
ท้องถิ่นที่ไม่สามารถหารับประทานที่ไหนได้ (ร้อยละ 69) และเลือกเดินตามท้องถนนเพื่อชิมอาหารท้องถิ่นแท้ ๆ (ร้อยละ 43) มากกว่าการเลือกซื้อสินค้าราคาแพง (ร้อยละ 38) 

- นักท่องเที่ยวชาวจีนชื่นชอบผลิตภัณฑ์ และงานฝีมือที่มีชื่อเสียง (ร้อยละ 56) ส่วนมากจะซื้อไปเป็นของฝาก

นี่ชี้ให้เห็นแล้วว่าพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวจีนเป็นแบบไหน แล้วธุรกิจไทยควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

1. ผู้ประกอบการ SME ไทยในด้านโรงแรมและที่พัก และธุรกิจร้านค้าต่าง ๆ ควรจัดหาสิ่ง
อำนวยความสะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจ่ายเงินที่สะดวกรวดเร็วด้วยมือถือ หรือแอปพลิเคชัน WeChat เช่น ปริ้นต์ QR Code การจ่ายเงินผ่านการสแกนติดไว้หน้าร้าน หรือเคาน์เตอร์จ่ายเงิน

2. ติดป้ายบอกข้อมูลบอกทาง หรือข้อมูลสินค้าต่าง ๆ สินค้านั้นควรมีเรื่องราวดึงดูดหรือน่าสนใจ ให้นักท่องเที่ยวจีนเห็นแล้วอยากซื้อ

'กะลามะพร้าว' วัสดุธรรมชาติใช้ผลิตกระทงสาย ช่วยลดปัญหาขยะ ควบคู่สืบสานประเพณีวัฒนธรรม

กระทงสายจาก ‘กะลามะพร้าว’ ทางเลือกใหม่ที่สามารถรักษาวัฒนธรรมอันดีและรักษ์โลกไปด้วยได้พ
ร้อมๆ กัน

‘ชัชชาติ’ เร่งหาทางแก้ปัญหาราคา รฟฟ. สายสีเขียว หลังประชาชนโอดหนัก ‘ค่าโดยสารแพง’

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (รถไฟฟ้าสายสีเขียว) หรือที่พวกเราเรียกสั้น ๆ ว่า รถไฟฟ้า BTS เป็นระบบรถไฟฟ้ายกระดับแห่งแรกของประเทศไทยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จ.สมุทรปราการ และ จ.ปทุมธานี โดยเปิดใช้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ในช่วงแรกได้เปิดให้บริการช่วงสถานีอ่อนนุช - สถานีหมอชิต และช่วงสถานีสะพานตากสิน - สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ 

ต่อมารถไฟฟ้า BTS มีการก่อสร้างส่วนต่อขยายออกไปเพิ่มเติมอีก 5 ระยะ แบ่งเป็น
ระยะที่ 1 จากสถานีสะพานตากสิน - สถานีวงเวียนใหญ่
ระยะที่ 2 จากสถานีวงเวียนใหญ่ - สถานีบางหว้า
ระยะที่ 3 จากสถานีแบริ่ง - สถานีเคหะฯ
ระยะที่ 4 จากสถานีหมอชิต - สถานีคูคต
ระยะที่ 5 จากสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

โดยการหาเสียงเลือกตั้งของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครผู้ว่าราชการ กทม. รอบที่ผ่านมา ได้มีการหาเสียงในประเด็นเรื่องรถไฟฟ้า BTS โดยมี Key message คือ ‘ไม่ต่อสัญญา BTS เปิดเผยสัญญา เข้า พ.ร.บ ร่วมทุน ค่าโดยสาร 25-30 บาท’ 

นอกจากนี้ นายชัชชาติ ยังให้คำมั่นว่าจะขอใช้เวลา 1 เดือน ตรวจสอบรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยจะขอดูสัญญาที่เกี่ยวข้องทุกฉบับแล้วจะให้ความยุติธรรมกับทุกฝ่าย เบื้องต้นมีเรื่องต้องสะสาง 3 ส่วน ประกอบด้วย หนี้ที่รัฐบาลโอนให้กทม. กระบวนการรับหนี้ถูกต้องหรือไม่ ใครจะรับผิดชอบ เบื้องต้นเห็นว่ารัฐบาลควรต้องรับผิดชอบเพราะได้ประโยชน์หลายอย่าง เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าทุกสาย

ซึ่งนโยบายของนายชัชชาติกับรถไฟฟ้า BTS มี 5 ข้อ ได้แก่
1. ไม่เห็นด้วยกับการต่อสัญญาสัมปทานถึงปี 2602 อย่างแน่นอน และไม่ผ่านกระบวนการตาม พ.ร.บ ร่วมทุน ที่มีกระบวนการเรื่องความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูล การขอต่อสัญญาสัมปทานถึงปี 2602 เป็นเรื่องของ ม.44 ที่เห็นว่ากรรมการพิจารณาไม่กี่คน ประชุมกัน 10 ครั้ง สามารถชี้ชีวิตของคนกทม. 1 รุ่นเลย ถ้ามีคนจบใหม่วันนี้ ต้องทนกับค่าโดยสาร BTS ไปจนถึงเกษียณอายุ 60 ปี เปลี่ยนอะไรไม่ได้ โดยหากจะทำ ต้องทำตาม พรบ. ร่วมทุน

2. กทม. ต้องเจรจากับเรื่องนี้ เพราะมีส่วนขยาย 2 ที่ ทางรฟม. โยนหนี้มาให้ กทม. ราว 60,000 ล้านบาท และมีค่าอื่น ๆ รวมหนี้เป็น 100,000 ล้านบาท ซึ่งเรื่องหนี้ผมคิดว่า เป็นการใช้เงื่อนไขในการขยายสัมปทานให้ โดยอ้างว่า กทม. ไม่มีเงินจ่ายหนี้ ดังนั้นต้องเจรจาเรื่องหนี้ไปก่อนเลย โดยให้รัฐรับผิดชอบในเรื่องการโยธาไป

3. ปัจจุบันเราให้วิ่งส่วนต่อขยายฟรีมาเกือบ 3 ปี ทำให้หนี้มันยิ่งพอกพูนขึ้นมาก มันเหมือนเป็นหนี้ที่รัดเราให้แน่นขึ้น ดังนั้นต้องรีบคุยเรื่องการเก็บค่าโดยสารส่วนนี้ เพราะสุดท้าย ผู้โดยสารส่วนขยาย 2 มันช่วยไปเติมให้ผู้โดยสารส่วนกลาง ซึ่งเป็นรายได้หลักของ BTS อยู่ จึงต้องอาศัยตรงนี้เป็นตัวต่อรอง และคิดราคาที่เหมาะสม แล้วเก็บค่าโดยสารเพิ่ม เพื่อลดหนี้ให้น้อยลง

4. ต้องเปิดเผยสัญญาจ้างเดินรถจนถึง 2585 ว่าต้นทุนเป็นเท่าไหร่ โดยหลังปี 2572 เป็นต้นไป กทม. จะคิดค่าโดยสารเท่าไหร่ก็ได้ เพราะถ้ายังไม่ต่อสัญญาสัมปทาน รายได้ทั้งหมดเป็นของ กทม. อยู่แล้ว แต่ต้องรู้ว่า ต้นทุนที่ต้องจ่ายให้ BTS เป็นเท่าไหร่ เนื่องจาก กทม. ไม่สามารถแบกรับการขาดทุนได้ และยังมีเรื่องที่ไปร้องเรียน ป.ป.ช. อยู่ด้วย

5. ต้องหา ‘รายได้อื่น’ มาประกอบ คือระบบการเดินทาง จะมีรายได้ 2 ส่วน คือรายได้จากค่าโดยสารที่ปัจจุบันอยู่ที่ 44+15 = 59 และตัวใหม่จะอยู่ที่ราคา 65 บาท สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียว มีการโฆษณา มีพื้นที่ให้เช่าที่เป็นรายได้ทั้งนั้น และหลังปี 2572 ไปแล้ว รายได้ส่วนนี้ทั้งหมด ควรจะเข้ารัฐด้วย ซึ่งหลังปี 2572 รายได้จากค่าโฆษณา ค่าเช่าที่ต่างๆ ควรจะเข้า กทม. เต็มเม็ดเต็มหน่วย หากดูงบประมาณทางเอกชน รายได้ส่วนนี้อยู่ที่ปีละ 2,000 ล้านบาท ซึ่งนำมาจุนเจือค่าโดยสารได้

‘อิแทวอน’ จากแหล่งท่องเที่ยวชื่อดัง สู่โศกนาฏกรรมสะเทือนใจ

เหตุการณ์น่าสลดใจที่ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อคืนวันฮาโลวีน 29 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งเกิดเหตุประชาชนเรือนแสนหลั่งไหลเข้าไปท่องเที่ยวย่านอิแทวอน เนื่องในเทศกาลฮาโลวีน จนเกิดการเบียดเสียด ทำให้ผู้คนจำนวนมากเกิดภาวะขาดอากาศหายใจ เหยียบกันจนบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก จนกลายเป็น ‘โศกนาฏกรรมอิแทวอน’ ที่สร้างความรู้สึกเศร้าสลด หดหู่และสะเทือนใจให้กับผู้คนทั้งโลกกับเหตุการณ์อุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน


ภาพโพสแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ที่มา : https://www.facebook.com/KoreanEmbassyThailand/photos/a.1481238955314530/5490548854383500

ล่าสุดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2565 เฟซบุ๊ก เพจ KoreanEmbassyThailand สถานเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย ได้โพสแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และแจ้งว่ารัฐบาลเกาหลีใต้กำหนดให้ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม ถึง 5 พฤศจิกายน เป็นช่วงไว้ทุกข์ของชาติ และพยายามอย่างเต็มที่เพื่อแก้ไขอุบัติเหตุในครั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ จะลดธงครึ่งเสาในช่วงไว้ทุกข์ของชาติเพื่อรำลึกถึงผู้เคราะห์ร้ายในเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย 

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ผู้คนมีความสนใจย่านอิแทวอนมากขึ้น วันนี้ THE STATES TIMES จึงจะพามาทำความรู้จักย่านอิแทวอน แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังในกรุงโซลว่าน่าสนใจอย่างไร
 

ภาพซีรีส์ Itaewon Class ถ่ายทำย่านอิแทวอน
ที่มา : https://bestreview.asia/tv/itaewon-class-series-review/

ย่านอิแทวอน อยู่ในเขตยงซาน ทิศเหนือของแม่น้ำฮัน ย่านท่องเที่ยวชื่อดังในกรุงโซล โด่งดังเป็นที่รู้จักทั่วโลกจากซีรีส์เรื่อง ‘Itaewon Class ธุรกิจปิดเกมแค้น’ ที่นำแสดงโดย พัคซอจุน และคิมดามี โดยตอนจบซีรีส์เรื่อง Itaewon Class ได้รับเรตติ้งทั่วประเทศเกาหลี 16.5 % และสำหรับในประเทศไทย Itaewon Class เป็นซีรีส์อันดับหนึ่งที่มีคน นิยมดูมากที่สุดใน Netflix อีกด้วย ส่งผลให้สถานที่ถ่ายทำอย่างย่านอิแทวอนได้รับความสนใจตามไปด้วย 

ส่วนที่มาของย่านอิแทวอน ในอดีตเคยถูกปกครองภายใต้อาณานิคมของญี่ปุ่นและถูกใช้เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการทหาร เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945 สหรัฐอเมริกาเข้ามายึดพื้นที่ดังกล่าวต่อ และใช้เป็นพื้นที่จัดตั้งกองทัพ ย่านอิแทวอนอยู่ติดกับกองทหารรักษาการของสหรัฐอเมริกา และกลายมาเป็นพื้นที่เมืองเพื่อรองรับธุรกิจและบริการด้านต่างๆ ธุรกิจส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การพักผ่อนและความบันเทิง ร้านอาหารและคลับบาร์ ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า รวมไปถึงขายสินค้าต่างประเทศ 

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมารัฐบาลเกาหลีใต้ได้เข้ามาพัฒนาย่านอิแทวอนและสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของพื้นที่ให้เป็นย่านสำหรับผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม ทำให้ย่านอิแทวอนเป็นพื้นที่ในการพักผ่อนและทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น

ในปัจจุบันย่านอิแทวอนเป็นแหล่งท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ แหล่งช็อปปิ้ง ร้านอาหารนานาชาติ สถานบันเทิงมากมาย ส่งผลให้มีกิจกรรมที่หลากหลายผสมผสานทั้งวัฒนธรรมเกาหลีและวัฒนธรรมต่างชาติซึ่งสร้างความสนุกสนานและเพลิดเพลินให้กับนักท่องเที่ยวในย่านนี้ และยังเป็นแหล่งรวมวัยรุ่นหนุ่มสาวชาวเกาหลีที่มารวมตัว Hangout ในร้านอาหาร คลับบาร์ยามค่ำคืนที่แต่ละร้านสร้างความดึงดูดใจด้วยการตกแต่งร้านอย่างสวยงาม ซึ่งย่านอิแทวอนมีกิจกรรมดึงดูดใจนักท่องเที่ยวมากมาย 

>> แหล่งช็อปปิ้งที่น่าสนใจในอิแทวอน เช่น 
  

ภาพ Itaewon Shopping Street
ที่มา https://www.koreatodo.com/itaewon-street

- Itaewon Shopping Street ถนนช็อปปิงมีความยาวถึง 1.4 กิโลเมตร ซึ่งสองฝั่งของถนนเต็มไปด้วยร้านค้า เสื้อผ้าแบรนด์ชั้นนำ แผงขายสินค้าประเภทต่างๆ สถานบันเทิง และร้านอาหารนานาชาติ เช่น อาหารอิตาเลียน อาหารอินเดีย อาหารเยอรมัน อาหารอเมริกัน และอาหารไทย เป็นต้น

- Hamilton Shopping Center ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรงแรม Hamilton Hotel Seoul เป็นแหล่งจำหน่ายเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับและของฝากมากมาย

>> เทศกาลและกิจกรรมที่น่าสนใจในอิแทวอน เช่น 
 

ภาพ เทศกาล Itaewon Global Village Festival  
ที่มา https://english.visitseoul.net/events/2015-Itaewon-Global-Village-Festival_/9330

- เทศกาล Itaewon Global Village Festival เทศกาลที่จัดขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วงเดือนตุลาคม เป็นงานที่จัดแสดงเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเกาหลีและวัฒนธรรมต่างชาติ ซึ่งเป็นงานเฉลิมฉลองที่ได้รวมความหลากหลายไว้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการแสดงการเต้นรำแบบดั้งเดิมของเกาหลี และของประเทศอื่น ๆ และไฮไลต์ของงานนี้ก็คือขบวน พาเหรดแฟชั่นโชว์ชุดประจำชาติ การแสดงคอนเสิร์ตจากนักร้องยอดนิยม การจัดซุ้มอาหารนานาชาติ เช่น World Food Fair, Korean Food Fair และ Craft Beer Zone เป็นต้น
 

ภาพ เทศกาล Itaewon Halloween Festival
ที่มา: seoulcafe2013
- Itaewon Halloween Festival เทศกาลเฉลิมฉลองวันฮาโลวีนที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลี จัดขึ้นช่วงเดือนตุลาคม มีผู้คนจำนวนมากแต่งตัวแฟนซีเป็นผีต่าง ๆ มาฉลองเทศกาลที่ถนนอิแทวอน นอกจากนี้คลับบาร์ที่อิแทวอนก็จัดงานฮาโลวีนเช่นเดียวกัน เป็นกิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการเฉลิมฉลองในยามกลางคืน 

ภาพ สถานบันเทิงยามค่ำคืน Soap Seoul 
ที่มา https://www.facebook.com/soapseoul/photos

- กิจกรรมกลางคืน (Night Life) กิจกรรมกลางคืนเป็นหนึ่งกิจกรรมยอดนิยมที่นักท่องเที่ยวเลือกเป็นจุดหมายปลายทาง ซึ่งอิแทวอนเป็นย่านหนึ่งในโซลที่มีสีสันเป็นอย่างมาก และมีคลับบาร์เปิดให้บริการมากมาย จึงทำให้กลายเป็นศูนย์กลางการสังสรรค์ในยามกลางคืน โดยเฉพาะคลับที่มีชื่อเสียงของอิแทวอนที่นักท่องเที่ยวนิยมไปก็คือ Soap Seoul 

จากเหตุการณ์ดังกล่าว THE STATES TIMES ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณนารี งามวงศ์สุวรรณ นักธุรกิจชาวไทย ซึ่งมีประสบการณ์ท่องเที่ยวในย่านอิแทวอนบ่อยครั้ง 

'รถไฟฟ้า' มาแน่!! หลัง รฟม.เปิดรับฟังความคิดเห็น เตรียมสร้างรถไฟฟ้านครราชสีมา สายสีเขียว

รฟม. จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสม สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน - สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์)

วานนี้ (27 ตุลาคม 2565) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.)ได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน - สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) โดยภายในงานมีผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่, ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ, ภาคเอกชน, องค์กรอิสระ สถาบันการศึกษา และผู้สนใจ รวมถึงสื่อมวลชนที่เข้าร่วมการประชุมกว่า 250 คน ณ ห้องสุรนารีบอลรูม โรงแรม ดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โคราช อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบสรุปผลการเปรียบเทียบรูปแบบที่เหมาะสมในดำเนินงานโครงการฯ พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงผลการศึกษาให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ในลำดับต่อไป

กรมการปกครองพัฒนาแอป D.DOPA ใช้งานง่าย ไม่พกบัตรประชาชน ก็สามารถติดต่อราชการได้

ทุกวันนี้การทำธุรกรรมต่าง ๆ สามารถทำได้ง่ายเปิดบัญชีธนาคารก็สามารถทำได้เองในออนไลน์ แต่ทำไมการที่จะไปทำเอกสารราชการ มันต้องยุ่งยากเหลือเกิน ต้องใช้บัตรประชาชน เอกสารสำเนาต่าง ๆ ยิ่งถ้าเอกสารสำคัญหายบอกเลยว่าเศร้า 

แต่ชีวิตของเราจะง่ายขึ้น เมื่อกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้พัฒนาแอปพลิเคชัน D.DOPA หรือ DOPA Digital ID ขึ้น หากมีแอปนี้แล้วไม่จำเป็นต้องพกบัตรประชาชนและเอกสารสำเนาเวลาติดต่อราชการอีกต่อไป 

วันนี้ทีมข่าว THE STATES TIMES จะพามาทำความรู้จักกับแอปฯ D.DOPA หลังได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประจำปีงบประมาณ 2565 จำนวนเงิน 325,120,120 บาท

อ่านมาถึงตรงนี้คงสงสัยว่าแอปนี้จะใช้งานง่ายจริงหรือไม่? อยากให้ติดตามอ่านไปพร้อมกัน

แอปฯ D.DOPA หรือ DOPA Digital ID ถูกพัฒนาขึ้นโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีนายสัญชัย เตชนิมิตวัช ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบข้อมูล กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าโครงการ 

ซึ่งพัฒนาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานของประชาชนในยุคดิจิทัล โดยฟีเจอร์หลักเป็นการยืนยันตัวตน ซึ่งการยืนยันนี้ทำให้ผู้ใช้งานเหมือนมีบัตรประชาชนออนไลน์ สามารถนำไปใช้โดยไม่ต้องมีบัตรประชาชนตัวจริง และเอกสารสำเนาในการติดต่อราชการ

แอปฯ D.DOPA ใช้งานได้ทั้ง Android และ iOS ซึ่งระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ การลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตน (enrolment and identity proofing) และการยืนยันตัวตน (authentication)

>> มีความน่าเชื่อถือขนาดไหน?
ในส่วนของการลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตน มีระดับความน่าเชื่อถือ (Identity Assurance Level : IAL) เท่ากับ IAL 2 และการยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรม มีระดับความน่าเชื่อถือ (Authenticator Assurance Level : AAL) เท่ากับ AAL2 ตามมาตรฐานของสถาบันมาตรฐานเทคโนโลยีแห่งชาติอเมริกา (National Institute of Standards and Technology : NIST) เปิดนำร่องให้ลงทะเบียนใช้งานตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 63 เป็นต้นมา ดังนั้นใครคนไหนที่ไม่สบายใจเรื่องความปลอดภัย ขอให้สบายใจได้เพราะแอปฯมีความน่าเชื่อถือตามมาตราฐานระดับสากล

>> มีหน่วยงานไหนที่ใช้ไปบ้างแล้ว?
ปัจจุบันมีผู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน D.DOPA จำนวน 179,338 ครั้ง และมีผู้ลงทะเบียนแอปพลิเคชัน D.DOPA จำนวน 23,033 คน (ณ วันที่ 14 ตุลาคม 2565) มีหน่วยงานภายนอกนำระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนผ่านแอปฯ D.DOPA ไปใช้ประโยชน์ในการให้บริการประชาชนแล้ว 11 หน่วยงาน เช่น...

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ใช้ในระบบการเข้าชื่อเสนอกฎหมายทางอิเล็กทรอนิกส์, กรมทรัพย์สินทางปัญญา ใช้ในระบบการยื่นคำขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing),กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ใช้ในระบบสารสนเทศในการให้บริการประชาชน อาทิ การยื่นแบบเพื่อชำระค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากผู้พักในโรงแรม, จากผู้ค้าน้ำมัน เป็นต้น


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top