Friday, 13 December 2024
INFO & TOON

4 ข้อดีของสกุลเงินดิจิทัล ที่ทุกธนาคารกลางต้องให้ความสำคัญ

นอกจากคริปโตแล้ว ในอนาคต สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง(central bank digital currency : CBDC) ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับประชาชน เพราะสามารถใช้เป็นสื่อการชำระเงินชีวิตประจำวัน(retail CBDC) ได้ แต่ยังเป็นเทคโนโลยีที่ธนาคารกลางทั่วโลกกำลังศึกษาและเร่งพัฒนาความเป็นไปได้

retail CBDC มีข้อได้เปรียบกว่าสื่อการชำระเงินอื่น ๆ คือมีความรวดเร็วในการทำธุรกรรมและมีการรองรับมูลค่าการชำระเงินต่อครั้งสูง มีความปลอดภัยสูง และหากกล่าวถึงประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและประชาชนแล้ว retail CBDC ก็มีประโยชน์ 4 ข้อดังนี้

1. ช่วยลดพฤติกรรมการผูกขาดของธุรกิจการเงินภาคเอกชนรายใดรายหนึ่ง (monopolistic behaviors) เนื่องจากโดยส่วนใหญ่ ระบบการเงินมีแนวโน้มที่จะมีผู้เล่นภาคเอกชนไม่กี่ราย นำมาซึ่งการคิดต้นทุนค่าธรรมเนียมที่ไม่จำเป็น บริการที่ไม่ได้คุณภาพ หรือการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการในทางที่ไม่ถูกต้อง แต่ retail CBDC ซึ่งเป็นสกุลเงินภาครัฐที่ไม่ได้แสวงหากำไรและเป็นกลาง น่าจะช่วยลดผลกระทบของการครอบครองตลาดและการผูกขาดของภาคเอกชนได้ 

2. สร้างอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรมในเศรษฐกิจนอกระบบ (grey economy) และเศรษฐกิจผิดกฎหมาย (black economy) เนื่องจากกิจกรรมส่วนใหญ่มักอาศัยเงินสดในการทำกิจกรรม การใช้ retail CBDC จะสามารถติดตามการทำธุรกรรมที่มีบทบาทในการลดกิจกรรมเหล่านี้ได้ (data trail for transactions) งานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า เศรษฐกิจนอกระบบและเศรษฐกิจผิดกฎหมายของไทยรวมกันมีมูลค่าสูงถึงร้อยละ 60–70 ของ GDP ซึ่งประกอบไปด้วยธุรกิจประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพนัน การค้ามนุษย์ และยาเสพติด การมี retail CBDC จะสร้างอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรมเหล่านี้ได้

'มติ ครม.' สาระต้องรู้!! 8 พ.ย. 65

สาระ ต้องรู้! มติ ครม.  8 พฤศจิกายน 2565 ที่น่าสนใจ

1. คณะรัฐมนตรี อนุมัติปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนระดับชั้นเด็กเล็กถึงระดับชั้น ป.6 เป็น 4 ระดับ ดังนี้

– โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 1-40 คน ใช้เงินค่าอาหารกลางวัน  36 บาท/คน/วัน
– โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 41-100 คน ใช้เงินค่าอาหารกลางวัน  27 บาท/คน/วัน
– โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 101-120 คน  ใช้เงินค่าอาหารกลางวัน  24 บาท/คน/วัน
– โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 121 คนขึ้นไป ใช้เงินค่าอาหารกลางวัน  22 บาท/คน/วัน

ทั้งนี้ ครม. ยังอนุมัติหลักการในการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พร้อมทั้งอนุมัติหลักการในการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี รายการค่าใช้จ่ายค่าอาหารกลางวันของนักเรียนเป็นอัตราดังกล่าว ตั้งแต่ปีงบประมาณ  2567 เป็นต้นไปด้วย

'อลังการอาหารไทย' บนโต๊ะกาลาดินเนอร์ เอเปค 2022

ส่อง ‘อาหารไทย’ ในคอนเซปต์ ‘ความยั่งยืน’ Sustainable Thai Gastronomy เตรียมขึ้นโต๊ะเสิร์ฟ ในงานกาลาดินเนอร์ ‘APEC 2022’ ที่หอประชุมกองทัพเรือ ช่วงค่ำวันที่ 17 พ.ย.นี้

เชฟชุมพล แจ้งไพร ซึ่งรับหน้าที่เชฟดูแล อาหารไทยราว 21 รายการ ที่จะเสิร์ฟสำหรับผู้นำประเทศราว 50 ท่าน ในงานประชุม 21 เขตเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APEC 2022  ในคอนเซปต์ Sustainable Thai Gastronomy หรือ 'ความยั่งยืน' เพื่อแสดงถึงศักยภาพของอาหารไทย และประเทศไทยที่เป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบอาหารสำคัญของโลก สะท้อนภาพเมืองไทยไม่เคยขาดแคลนเรื่องอาหาร 

เชฟชุมพล  ระบุว่า เวทีระดับผู้นำประเทศครั้งนี้ เรานำเสนออาหารไทยไฟน์ไดนิ่ง 4 คอร์ส รวมไวน์แพร์ริ่งจากกรานมอนเต้ เขาใหญ่ และวิลเลจฟาร์ม วังน้ำเขียว ทุกอย่างเป็นผลผลิตในประเทศไทยทั้งหมด

การนำเสนอเรื่อง ความยั่งยืน ซึ่งเป็นมากกว่า soft power ด้านอาหารแล้ว เพราะหมายถึง คนปลูกยั่งยืน คนทำยั่งยืน คนกินยั่งยืน ประเทศยั่งยืน โลกยั่งยืน สอดคล้องกับแนวคิดหลักที่ไทยเป็นเจ้าภาพ APEC 2022

รู้จัก BCG Economy โมเดลเศรษฐกิจใหม่ ที่จะนำพาประเทศไทยสู่ความยั่งยืน

B >> Bio Economy 
ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่าควบคู่ไปกับการรักษาสมดุลทางสิ่งแวดล้อม

C >> Circular Economy 
การวางแผนให้ทรัพยากรในระบบการผลิตสามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 

States TOON EP.95

เต็มคาราเบล!! (นี่แค่ส่วนนึงนะจ๊ะ!!)

รู้จัก 'Plant-based' อาหารแห่งอนาคต เพื่อสุขภาพและรักษ์โลก

ใครที่กำลังสงสัยว่า ‘Plant-based’ คืออะไร? ทำไมถึงเป็นเทรนด์อาหารที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน อยากบอกเลยว่ามีรายละเอียดที่น่าสนใจมาฝากกัน สามารถติดตามได้จาก info นี้เลย

3 บทวิเคราะห์ผลกระทบ เมื่อเงินบาทอ่อนค่า

ผลกระทบของเงินบาทที่อ่อนค่าต่อราคาสินค้านำเข้า ทำให้เราเริ่มเห็นสัญญาณการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของอัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศ โดยเฉพาะราคาสินค้าโภคภัณฑ์และวัตถุดิบต่าง ๆ ซึ่งได้รับผลกระทบจาก supply disruption ที่เกิดขึ้นในช่วงการระบาดของ COVID-19 เงินบาทที่อ่อนค่าลงทำให้ต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้นอีก และทำให้อัตราเงินเฟ้อของประเทศเพิ่มขึ้นได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในช่วงที่ผ่านมาคือการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันขายปลีก ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการที่ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นมาก ผนวกกับการอ่อนค่าของเงินบาท

นี่คือบทวิเคราะห์ 3 ประการ สำหรับสถานการณ์เงินบาทอ่อนค่าที่เกิดขึ้น

>> ผลกระทบของค่าเงินบาทต่อราคาสินค้านำเข้า ขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้า และอำนาจตลาดของผู้นำเข้าเป็นสำคัญ

ในการประเมินการส่งผ่านของอัตราแลกเปลี่ยนไปยังราคาสินค้านำเข้า ผลโดยรวมพบว่าราคาสินค้านำเข้าโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 0.6% เมื่อเงินบาทอ่อนค่าลง 1% ซึ่งแม้ว่าจะเป็นการส่งผ่านในลักษณะที่เรียกว่าไม่สมบูรณ์ (incomplete) แต่ก็สะท้อนว่าผู้นำเข้าต้องเป็นฝ่ายรับความเสี่ยงบางส่วนจากความผันผวนของค่าเงินแต่การส่งผ่านของอัตราแลกเปลี่ยนมายังราคาสินค้านำเข้าแตกต่างกันมากในแต่ละกลุ่มสินค้า โดยราคาของสินค้าบางกลุ่มอ่อนไหวมากต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน อาทิ ผลิตภัณฑ์จากแร่และสินค้าจำพวกเคมีภัณฑ์ 

ขณะเดียวกัน สินค้าบางกลุ่มเผชิญกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินที่น้อยกว่า อาทิ สินค้าประเภทยานพาหนะ รวมถึงเครื่องจักรและอิเล็กทรอนิกส์  ผลการศึกษายังพบว่าผู้นำเข้าที่มีอำนาจตลาดสูง กล่าวคือ มีสัดส่วนการนำเข้าจากตลาดสินค้าหนึ่ง ๆ ในปริมาณมาก จะสามารถเจรจาต่อรองราคาได้ง่าย แต่ในกรณีของไทย พบว่า ผู้นำเข้าไทยส่วนใหญ่มีอำนาจตลาดค่อนข้างต่ำ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ส่งออกจากต่างประเทศผลักภาระให้ผู้นำเข้าไทยต้องเป็นฝ่ายแบกรับผลกระทบจากการเคลื่อนไหวของค่าเงินได้

>> สกุลเงินที่ใช้ในการตั้งราคาสินค้านำเข้า มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อขนาดการส่งผ่านของค่าเงิน
ผลการศึกษาพบว่าสินค้านำเข้าส่วนมากมักจะอยู่ในรูปสกุลเงินหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งดอลลาร์ สรอ. ในกรณีของไทยพบว่าสินค้านำเข้าตั้งราคาอยู่ในรูปดอลลาร์ สรอ. เป็นสัดส่วนสูงถึง 75% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด  ขณะที่การตั้งราคาผ่านสกุลเงินของประเทศผู้ส่งออก (เช่น ตั้งราคาสินค้าที่ไทยนำเข้าจากญี่ปุ่นในรูปสกุลเงินเยน) หรือเรียกว่า Producer Currency Pricing (PCP) คิดเป็นสัดส่วน 16% ส่วนการตั้งราคาสินค้านำเข้าในรูปเงินบาทหรือที่เรียกว่า Local Currency Pricing (LCP) มีเพียงแค่ 8% เท่านั้น 

สกุลเงินที่ใช้ในการตั้งราคาสินค้าทำให้การส่งผ่านของค่าเงินมีความแตกต่างกัน โดยหากราคาสินค้านำเข้าอยู่ในรูปดอลลาร์ สรอ. หรือสกุลเงินของผู้ส่งออก ผู้นำเข้าจะต้องเผชิญกับการส่งผ่านของค่าเงินที่ค่อนข้างสูง โดยจากผลการศึกษาพบว่าในระยะสั้น ราคาสินค้านำเข้าจะสูงขึ้นมากกว่า 0.7% เมื่อเงินบาทอ่อนค่าลง 1% เปรียบเทียบกับในกรณีที่ราคาสินค้านำเข้าอยู่ในรูปเงินบาทที่พบว่าราคาสินค้านำเข้าแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเกิดการเคลื่อนไหวของค่าเงิน ซึ่งหมายความว่า ผู้ส่งออกจากต่างประเทศเป็นผู้แบกรับต้นทุนหรือความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนแทนผู้นำเข้า

เมนู Plant-based ยอดนิยมของร้าน alt.Eatery

เมนู Plant-based ยอดนิยมของร้าน alt.Eatery ทั้งโดนัท ผัดไทย ไก่ป๊อป เกี๊ยวซ่า ที่คุณต้องลอง แวะมาชิมที่ร้านได้ หรือจะมาเลือกซื้อสินค้า Plant-based มากกว่า 500 ชนิดก็ได้เช่นกัน 

เช็กเลย!! สิทธิประโยชน์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ประจำเดือน พฤศจิกายน 2565

👉วันที่ 1 พ.ย. 65
✨ซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภค 200/300 บาท/เดือน
✨ค่าโดยสารรถเมล์ รถไฟฟ้า รถโดยสาร บขส. รถไฟ อย่างละ 500 บาท/เดือน
✨ก๊าซหุงต้ม-บุคคล 100 บาท/3 เดือน
✨ก๊าซหุงต้มหาบเร่แผงลอย 100 บาท/เดือน

👉วันที่ 18 พ.ย. 65
✨ค่าไฟฟ้า 315 บาท/เดือน
✨ค่าน้ำประปา 100 บาท/เดือน

4 กลุ่มต่างชาติ ซื้อที่ดินเพื่ออยู่อาศัยในไทยได้

สรุปย่อ ๆ เงื่อนไขให้ต่างด้าวซื้อที่ดิน

- เปิดให้ซื้อที่ดินเป็นที่อยู่อาศัยแต่ห้ามขาย ซื้อได้แค่คนละไม่เกิน 1 ไร่ (ภายใน 5 ปีที่เปิดโครงการ) 
- ถ้ามีการแบ่งขายหรือขายก็จะถูกระงับทันที (ตามสัญญา)
- สามารถโอนให้ลูกหลานได้ แต่ลูกหลานก็ยังห้ามขายอยู่ดี
- เงื่อนไขคือ ต้องมีเงินมาลงทุนในไทยไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท / คน และต้องลงทุนติดต่อกัน 3 ปี (ลงทุนค้างเอาไว้ไม่ต่ำกว่า 3 ปี)

กลุ่มคนที่จะซื้อได้มี 4 กลุ่มคือ... 

กลุ่มที่ 1 กลุ่มประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งร่ำรวยสูง 
กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้เกษียณอายุมาจากต่างประเทศ (รวย)
กลุ่มที่ 3 คือกลุ่มผู้ที่ต้องการทำงานในประเทศไทย (รวย)
และกลุ่มที่ 4 คือกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ (พอจะรวย)

รู้จัก 6 ดิจิทัล เทคโนโลยีสำคัญ ช่วยยกระดับเกษตรกร สู่ Smart Farmer

ภาคเกษตรไทยอยู่ในภาวะเผชิญความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงด้านการผลิต และการเปลี่ยนผ่านของ generation มีงานวิจัยหลายชิ้นที่บ่งชี้ว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเป็นตัวช่วยสำคัญในการเพิ่มผลิตภาพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับเกษตรกรได้ หน่วยงานภาครัฐเองก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยมีส่งเสริมเรื่อง Smart Farmer ให้กับเกษตรกรรุ่นใหม่ ซึ่งไม่เพียงเป็นประโยชน์กับตนเอง และจะช่วยขยายความรู้นี้ไปสู่เกษตรกรคนอื่น ๆ ด้วย นี่คือ 6 ดิจิทัลเทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยยกระดับการผลิตให้ภาคเกษตรได้

1. เทคโนโลยีการเก็บข้อมูล 
การเก็บข้อมูลระยะใกล้จาก sensor ที่วัดสภาพดินและค่าต่าง ๆ ในแปลงเพาะปลูก การเก็บข้อมูลระยะกลางจากกล้องที่ติดกับโดรนเพื่อสำรวจแปลงเพาะปลูก และการเก็บข้อมูลระยะไกลจากภาพถ่ายดาวเทียมที่สามารถนำมาใช้ระบุพื้นที่เพาะปลูก ชนิดพืช สถานะการเจริญเติบโต และการเกิดภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม หรือภัยแล้งได้ละเอียดถึงระดับแปลงเพาะปลูกของเกษตรกร

2. ฐานข้อมูลขนาดใหญ่
หรือ big data ที่รวมศูนย์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวเกษตรกรเองและการเพาะปลูกทั้งในปัจจุบันและย้อนหลังไปในอดีต ในรูปแบบดิจิทัลที่นำไปวิเคราะห์ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ความต้องการที่แตกต่างกันของเกษตรกร และการออกแบบแนวทางแก้ไขที่ตรงจุด

3. Internet of Things (IoT) 
การเชื่อมโยงการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน สามารถควบคุมได้ เช่น การสั่งงานรดน้ำและใส่ปุ๋ยแปลงเพาะปลูกตามเวลาและปริมาณที่กำหนด

สำรวจการใช้งาน ‘คอมพิวเตอร์ - มือถือ – อินเตอร์เน็ต’ ประเทศไทยไตรมาส 1 คนไทย ‘มีใช้’ กันมากน้อยแค่ไหน?

ผลการสำรวจจาก 27.4 ล้านครัวเรือน 
- มีคอมพิวเตอร์ 6.3 ล้านครัวเรือน คิดเป็น 25.5%
- มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 22.0 ล้านครัวเรือน คิดเป็น 89.1%
- มีโทรศัพท์มือถือ 23.9 ล้านครัวเรือน คิดเป็น 96.6%

ผลสำรวจประชาชนอายุ 6 ปีขึ้นไป จำนวน 65.4 ล้านคน
- มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 56.7 ล้านคน คิดเป็น 86.6%
- ผู้มีโทรศัพท์มือถือ 57.5 ล้านคน คิดเป็น 87.9% 
- แบ่งเป็นโทรศัพท์มือถือ Smart phone 94.1%
- โทรศัพท์มือถือ Feature phone 6%

States TOON EP.94

อึดอัดโว้ย!!

5 มิติ โครงสร้างสถาบันทางเศรษฐกิจไทย

จากผลงานวิจัยศึกษาของ ADB (2015) พบว่าโครงสร้างของสถาบันทางเศรษฐกิจไม่ได้เอื้อให้ผลิตภาพของแรงงานไทยเติบโตทันกับการพัฒนาของอุตสาหกรรม ซึ่งมักพึ่งพิงเทคโนโลยีและองค์ความรู้จากภาคธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาผ่านการลงทุนทางตรงระหว่างประเทศ สมประวิณ มันประเสริฐ นักการธนาคาร จึงเสนอแนวทางในการปรับโครงสร้างสถาบันทางเศรษฐกิจใน 5 มิติ ได้แก่

1. การพัฒนาเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และการสร้างนวัตกรรม 
โดยยกระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและการสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคเอกชนในการพัฒนานวัตกรรม เพื่อสร้างเงื่อนไขที่เอื้อต่อการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

2. การปรับโครงสร้างการศึกษาเพื่อสร้างบุคลากรที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิต 
แรงงานไทยส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในภาคการผลิตที่มีผลิตภาพต่ำและมีทักษะต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเมื่อเปรียบเทียบกับระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ จากการศึกษาของ World Economic Forum (2014) ยังพบว่าการศึกษาของแรงงานไทยมักไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน แนวนโยบายที่จะช่วยยกระดับการศึกษาของไทยเกี่ยวข้องกับการใช้งบประมาณทางด้านการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การยกระดับคุณภาพบุคลากรทางการศึกษา และสนับสนุนการทำงานร่วมกันระหว่างภาคการศึกษาและภาคการผลิตมากขึ้น


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top