Tuesday, 14 January 2025
INFO & TOON

10 ประเทศพันธมิตรสหรัฐที่กำลังจะเผชิญความเสี่ยงจากทรัมป์มากที่สุด

(17 ธ.ค. 67) ในขณะที่ทั่วโลกกำลังหวาดหวั่นกับการขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐของโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ที่เตรียมเดินหน้านโยบาย “America First” ที่ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งอาจนำไปสู่การเก็บภาษีนำเข้าจากประเทศพันธมิตรที่ทรัมป์มองว่าเอาเปรียบสหรัฐฯ ในด้านการค้าและความมั่นคงทางการทหาร

ไทยเองเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเสี่ยงสูงเป็นอันดับ 2 ในบรรดาประเทศที่ถูกจัดว่าเป็นพันธมิตรของสหรัฐ เพราะจากข้อมูลล่าสุดเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม (Information Technology & Innovation Foundation : ITIF) ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยนโยบายสาธารณะที่ไม่แสวงหากำไรของสหรัฐ ที่เผยแพร่รายงานออกมาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมาได้จัดทำดัชนีประเมินความเสี่ยงดัชนีต่อภาษีนำเข้า (Trump Risk Index) ของประเทศพันธมิตรที่อาจเผชิญกับมาตรการภาษีของสหรัฐฯ โดยพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้

1. งบประมาณกลาโหม: ประเทศที่จัดสรรงบประมาณด้านกลาโหมต่ำกว่า 2% ของ GDP อาจถูกมองว่าไม่ให้ความร่วมมือในด้านความมั่นคงร่วมกัน
2. ดุลการค้า: ประเทศที่มียอดเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ สูงมาก อาจถูกกล่าวหาว่ามีการค้าที่ไม่เป็นธรรม
3. อุปสรรคทางการค้า: ประเทศที่ตั้งกำแพงภาษีหรือนโยบายที่กีดกันสินค้าสหรัฐฯ อาจตกเป็นเป้าหมาย
4. ท่าทีต่อจีน: พันธมิตรที่มีนโยบายอ่อนข้อหรือไม่สนับสนุนท่าทีของสหรัฐฯ ต่อจีน อาจถูกเพ่งเล็ง 

โดยถ้าผลการประเมินวิเคราะห์ถูกจัดเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง “ดัชนีความเสี่ยงจากทรัมป์ของ ITIF” (ITIF’s Trump Risk Index) ซึ่งจะสะท้อนออกมาในรูปผลคะแนนรวมที่ต่ำหรือติดลบมาก โดยทั้ง 10 ประเทศประกอบไปด้วย

ในทางกลับกัน ประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ ได้แก่ ลิทัวเนีย เอสโตเนีย โปแลนด์ ลัตเวีย และ ออสเตรเลีย ซึ่งมีการใช้จ่ายด้านกลาโหมสูง ดุลการค้าที่สมดุล และนโยบายที่สนับสนุนสหรัฐฯ อย่างชัดเจน ซึ่งถ้าแต่ละประเทศที่มีความเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนนโยบายให้สอดคล้องก็อาจช่วยให้พันธมิตรเหล่านี้สามารถรักษาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงกับสหรัฐฯ ได้อย่างยั่งยืน พร้อมหลีกเลี่ยงความเสียหายจากมาตรการภาษีนำเข้าในอนาคตได้ค่ะ

20 บริษัทที่ถูกจัดอันดับว่าน่าทำงานด้วยมากที่สุดในโลก ประจำปี 2024

ในยุคที่การทำงานเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้คนผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกจากงานทั้งการเปลี่ยนแบบสมัครใจและการเปลี่ยนขององค์กรเอง โดยในปีนี้ Forbes เองก็ได้จัดทำ 20 บริษัทที่ดีที่สุดในโลกเป็นผู้นำในด้านการพัฒนาและดูแลพนักงาน โดยพิจารณาจากความพึงพอใจของพนักงาน การรักษาสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน และการมีส่วนร่วมของพนักงาน 
โดยใน 20 บริษัทนี้มีการจ้างงานทั่วโลกรวมกันมากกว่า 3 ล้านคน และข้อมูลยังแสดงให้เห็นว่าบริษัทที่มีความพึงพอใจของพนักงานสูงมักมีประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าค่าเฉลี่ยถึง 20% แถมในบางบริษัทอย่าง Delta และ Apple ก็ยังมีการให้ผลตอบแทนแก่พนักงานด้วยการแบ่งปันผลกำไรและมอบหุ้นให้กับพนักงานด้วย

โดยบรรดาบริษัทที่ดีที่สุดในโลกกำลังนิยามใหม่ของการทำงานในยุคปัจจุบัน ด้วยโปรแกรมที่สร้างสรรค์ นโยบายที่สนับสนุน และความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงาน บริษัทเหล่านี้ยังคงเป็นผู้นำในด้านความเป็นเลิศในการจัดการแรงงานอีกด้วยค่ะ

VAT 7% ของไทย: เพียงพอจริงหรือ? หรือถึงเวลาปรับเพิ่มให้ตอบโจทย์เศรษฐกิจ?

หนึ่งในประเด็นร้อนที่กำลังถูกพูดถึงทั่วทั้งประเทศในช่วงนี้ คือการเสนอปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 7% เป็น 15% โดยนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อ้างอิงข้อมูลที่ว่า อัตรา VAT ทั่วโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 15%-25% แล้วคำถามคือ... ไทยเราพร้อมหรือยัง?

แล้วรู้หรือไม่ว่าไทยเก็บ VAT ในอัตราที่ ต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน อย่างในโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอง
• เวียดนาม, กัมพูชา, ลาว: 10%
• ฟิลิปปินส์: 12%
• อินโดนีเซีย: 11% (และกำลังจะเพิ่มเป็น 12% ในปี 2568)
• สิงคโปร์: 9%

ถ้าขยับสายตาไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว อัตรา VAT ยิ่งพุ่งสูงอย่างเห็นได้ชัด โดย
• สหราชอาณาจักร: 20%
• เยอรมนี: 19%
• ญี่ปุ่น: 10%

จากตัวเลขนี้จะเห็นได้ชัดเลยว่าไทยเก็บ VAT ต่ำสุดทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก แต่... การเพิ่ม VAT จะนำมาซึ่งอะไร? เรามาเจาะลึกถึงข้อดี-ข้อเสียของเรื่องนี้กันค่ะ โดยข้อดีของการปรับเพิ่มอัตรา VAT คือ
ข้อดีของการเพิ่ม VAT
1. เงินเข้ารัฐมากขึ้น เพราะการเพิ่ม VAT ทุก 1% = รายได้รัฐเพิ่ม 70,000-80,000 ล้านบาท/ปี
โดยเงินก้อนนี้สามารถเอาไป ยกระดับสวัสดิการ ด้วยการช่วยคนจน, เพิ่มเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และยังนำไปพัฒนาประเทศ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน, โรงพยาบาล
2. ลดความเหลื่อมล้ำ เพราะเงินจาก VAT สามารถเปลี่ยนเป็นโครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยโดยตรง เช่น ลดค่าเทอม หรือสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ

ข้อที่ควรต้องพิจารณา
1. ค่าครองชีพพุ่ง การเพิ่ม VAT จะส่งผลให้ราคาสินค้าแพงขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งเรื่องนี้จะกระทบทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มรายได้น้อยที่ต้องจ่ายมากขึ้นแต่รายได้เท่าเดิม
2. เศรษฐกิจชะลอตัวลง เพราะการเพิ่ม VAT 1% อาจทำให้เศรษฐกิจโตช้าลง 0.25%-0.35% ต่อปี

แม้การปรับ VAT อาจฟังดูเหมือนคำตอบที่ดีในการเพิ่มรายได้รัฐ แต่ความเสี่ยงและผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนและเศรษฐกิจในภาพรวมยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึง อีกทั้งนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ได้ยืนยันว่า ไม่มีการปรับขึ้น VAT เป็น 15% และกระทรวงการคลังกำลังศึกษาการปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบเพื่อความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ หากมีการพิจารณาปรับ VAT ในอนาคต สิ่งสำคัญคือต้องมีมาตรการรองรับ เช่น การช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง และการปรับลดภาษีในสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นด้วยค่ะ

การบริโภคของคนเเต่ละเจเนอเรชัน

(9 ธ.ค. 67) อำนาจการใช้จ่ายทั่วโลกในแต่ละเจเนอเรชัน (คนยุคไหนที่กำหนดทิศทางเศรษฐกิจโลก)

เมื่อพูดถึงอำนาจการใช้จ่ายทั่วโลก สิ่งที่น่าสนใจคือการแบ่งปันทรัพยากรทางเศรษฐกิจในคนแต่ละเจเนอเรชัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการบริโภคและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก เจเนอเรชันต่าง ๆ ไม่ได้เพียงแค่มีอำนาจการใช้จ่ายที่แตกต่างกันเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวกำหนดทิศทางของตลาดและแนวโน้มทางสังคมอีกด้วย

เบบี้บูมเมอร์ : ความมั่งคั่งที่สั่งสม

เจเนอเรชันเบบี้บูมเมอร์ (เกิดระหว่างปี 1946–1964) เป็นอีกกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญ ด้วยสัดส่วนการใช้จ่ายทั่วโลกที่ 20.8% แม้ว่าพวกเขาจะมีสัดส่วนประชากรเพียง 12.1% เจเนอเรชันนี้ได้สะสมความมั่งคั่งจากการทำงานหนักและการลงทุนในช่วงที่เศรษฐกิจโลกเติบโตอย่างรวดเร็ว พวกเขามักมองหาความมั่นคงทางการเงินและการใช้จ่ายที่เกี่ยวกับสุขภาพและการเดินทาง

เจเนอเรชัน X : ผู้นำการใช้จ่ายของโลก

เจเนอเรชัน X (เกิดระหว่างปี 1965–1980) กำลังครองตำแหน่งเจเนอเรชันที่มีอำนาจการใช้จ่ายสูงสุดในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีจำนวนประชากรเพียง 18.3% ของโลก การใช้จ่ายเฉลี่ยของเขาในปี 2024 สูงถึง 23.5% ของสัดส่วนการใช้จ่ายทั่วโลก ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในทุกเจเนอเรชัน

เจเนอเรชันนี้เป็นกลุ่มคนที่เติบโตมากับการเปลี่ยนผ่านของโลกจากยุคอุตสาหกรรมสู่ยุคดิจิทัล พวกเขามีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่งคั่งให้กับครอบครัว และยังคงเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของสินค้าและบริการที่มุ่งเน้นคุณภาพและการลงทุนระยะยาว

มิลเลนเนียล: ผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่

เจเนอเรชันมิลเลนเนียล (เกิดระหว่างปี 1981–1996) เป็นกลุ่มที่มีทั้งจำนวนประชากรและอำนาจการใช้จ่ายที่ใกล้เคียงกัน โดยพวกเขามีสัดส่วนประชากร 22.9% และมีสัดส่วนการใช้จ่ายทั่วโลก 22.5% มิลเลนเนียลเป็นกลุ่มที่ปรับตัวกับเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว และเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เน้นการใช้จ่ายไปกับสินค้าและบริการดิจิทัล เช่น การช็อปปิ้งออนไลน์ การท่องเที่ยว และการลงทุนในประสบการณ์ชีวิต

เจเนอเรชัน Z : พลังแห่งอนาคต

แม้ว่าเจเนอเรชัน Z (เกิดระหว่างปี 1997–2012) จะมีสัดส่วนประชากรมากที่สุดที่ 24.6% แต่ปัจจุบันพวกเขามีสัดส่วนการใช้จ่ายเพียง 17.1% เนื่องจากส่วนใหญ่ยังอยู่ในวัยศึกษาและเริ่มต้นการทำงาน อย่างไรก็ตาม เจเนอเรชัน Z มีแนวโน้มที่จะเติบโตในด้านอำนาจการใช้จ่ายเร็วที่สุด โดยคาดว่าภายในปี 2034 พวกเขาจะเพิ่มมูลค่าการใช้จ่ายทั่วโลกเกือบ 9 ล้านล้านดอลลาร์

เจเนอเรชันนี้ถือเป็น “Digital Natives” ที่เติบโตมาในยุคเทคโนโลยีเต็มรูปแบบ การใช้จ่ายของพวกเขามักเน้นไปที่สินค้าและบริการที่มีความยั่งยืนและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ เช่น แพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง การสมัครสมาชิกบริการต่าง ๆ และการบริโภคสินค้าทางออนไลน์

เจเนอเรชันอัลฟ่า : ผู้บริโภคแห่งวันพรุ่งนี้

เจเนอเรชันอัลฟ่า (เกิดระหว่างปี 2013–2025) กำลังจะกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญในอนาคต พวกเขามีสัดส่วนประชากร 19.5% และมีส่วนร่วมในอำนาจการใช้จ่ายทั่วโลก 10.6% ซึ่งสะท้อนถึงการพึ่งพาผู้ปกครองในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ด้วยการเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี AI และโลกดิจิทัล พวกเขามีแนวโน้มที่จะเป็นผู้บริโภคที่มีอิทธิพลอย่างมากในอนาคต

จริงอยู่ที่ในด้านภูมิภาค อำนาจการใช้จ่ายมีความแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่นในแอฟริกาตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา เจเนอเรชัน Z คาดว่าจะมีสัดส่วนการใช้จ่ายถึง 30% ภายในปี 2030 ซึ่งใกล้เคียงกับเจเนอเรชันมิลเลนเนียล ในขณะที่ในยุโรปและอเมริกาเหนือ เจเนอเรชัน Z คาดว่าจะมีสัดส่วนการใช้จ่ายประมาณ 15% ภายในปี 2030 โดยเจเนอเรชัน X และเบบี้บูมเมอร์ยังคงครองสัดส่วนการใช้จ่ายเกินครึ่งของการบริโภคทั้งหมด

แต่โดยรวมแล้ว แม้ว่าเจเนอเรชันที่มีอายุมากจะยังคงครองอำนาจการใช้จ่ายในปัจจุบัน แต่เจเนอเรชันที่อายุน้อยกว่า โดยเฉพาะเจเนอเรชัน Z ก็มีการคาดว่าจะขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจอย่างมากในอนาคต ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตลาดผู้บริโภคทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญในปีต่อ ๆ ไปค่ะ

‘เจนเซน หวง’ ซีอีโอ Nvidia กับหมุดหมายที่แท้จริงคือ 'เวียดนาม'

รู้หรือไม่? เหตุใด ‘เจนเซน หวง’ ซีอีโอ Nvidia จึงปักหมุดลงทุนในเวียดนาม และลงทุนอะไรบ้างไปหาคำตอบกับ รองศาสตราจารย์ ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ที่จะมาไขความจริงให้เรากระจ่าง

4 แนวทาง 'ขึ้น VAT ปรับโครงสร้างภาษี' ข้อเสนอจาก ‘สมชัย จิตสุชน’

‘สมชัย จิตสุชน’ จาก TDRI เสนอ 4 แนวทางปรับภาษี ปรับ VAT ขึ้นทีละขั้น ลดสิทธิประโยชน์ BOI เก็บภาษีทรัพย์สิน และปรับลดค่าลดหย่อนภาษีเพื่อความเป็นธรรมต่อรายได้ทุกกลุ่ม 

จากกรณีที่ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุก่อนหน้านี้ว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างศึกษาการปรับโครงสร้างภาษี โดยหนึ่งในนั้นคือการพิจารณาขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 7% หลังจากกระทรวงการคลังพบว่าของไทยยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 15-25% เพื่อเพิ่มรายได้เข้ากองกลาง นำไปช่วยเหลือกลุ่มรายได้น้อยผ่านมาตรการด้านสาธารณสุข การศึกษา และที่อยู่อาศัย

ล่าสุดเมื่อวันที่ (6 ธ.ค. 67) ดร. สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Somchai Jitsuchon ถึงข้อเสนอปรับรายละเอียดมาตรการภาษีจำนวน 4 ข้อว่า 

1. ภาษี VAT ควรขึ้น แต่ค่อยเป็นค่อยไป เช่นขึ้น 1% ก่อนแล้วหาจังหวะในอนาคตขึ้นทีละ 1% แต่ไม่ประกาศล่วงหน้า เพราะอาจทำให้เกิดการคาดการณ์เงินเฟ้อ (inflation expectation) ได้ แล้วไปจบที่ 10% ภายใน 5 ปี

2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ควรเป็น flat rate อย่างที่เสนอ แม้จะมีข้อดีบางข้อ เช่นคำนวณง่าย ทำให้คนอยากทำงานมีรายได้สูง ๆ โดยไม่ต้องกลัวอัตราภาษีสูงตามไปด้วย แต่ข้อเสียมากกว่าคือไม่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ
2.1 ควรพิจารณาปรับลดพวกค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ให้ประโยชน์กับคนรายได้สูง 
2.2 ถ้าจะใช้ flat rate ควรใช้กับเงินได้จากดอกเบี้ยและปันผลที่ปัจจุบันแยกคำนวณมากกว่า 

3. ภาษีเงินนิติบุคคล ถ้าจะลดเหลือ 15% ก็ควรยกเลิกสิทธิประโยชน์ BOI ไปด้วย จะได้แฟร์และดึงดูดการลงทุนอย่างทั่วถึงแทนที่จะเป็นบางอุตสาหกรรมที่ก็ไม่รู้ว่าให้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยเท่าไรกันแน่ ใช้มาตรการอื่นดึงดูดแทนดีกว่า เช่นพัฒนาทักษะแรงงานไทย ปรับเลิกกฎระเบียบที่ไม่จำเป็น ป้องกันการเรียกใต้โต๊ะของ ขรก. สารพัดสี

4. สำคัญคืออย่าลืมเก็บภาษีบนฐานทรัพย์สิน เช่น capital gain, windfall tax ด้วยนะจ๊ะ (กินยาไรไปถึงลืมได้อ่ะ)

"ข้อเสนอเรื่องภาษีของ รมต. คลัง ในภาพรวมนั้นจำเป็นเพราะรายได้ภาษีไทยต่ำไปมาก แต่ในรายละเอียดต้องปรับอีกเยอะ ที่สำคัญเหมือนท่านจะลืมแหล่งรายได้ภาษีที่สำคัญและควรจัดเก็บเพิ่มขึ้นอย่างมากคือภาษีจากฐานทรัพย์สิน ไม่ทราบทำไมถึง 'ลืม' ได้นะครับ"

ทรัมป์โนมิกส์: เศรษฐกิจของโดนัลด์ ทรัมป์ที่กำลังจะกลับมาเขย่าโลก

ทรัมป์โนมิกส์ (Trumponomics) หมายถึงนโยบายเศรษฐกิจที่ดำเนินการในช่วงที่โดนัลด์ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ (ปี 2017–2021) ซึ่งเน้นไปที่การลดภาษี การลดกฎระเบียบ การคุ้มครองทางการค้า และนโยบาย “America First” โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการเติบโตภายในประเทศ ลดการขาดดุลการค้า และฟื้นฟูภาคการผลิตและการจ้างงานของสหรัฐฯ 

ในตอนนั้นเองการดำเนินนโยบายทรัมป์โนมิกส์เป็นกรอบนโยบายเศรษฐกิจที่สร้างความแตกแยก เพราะในมุมของผู้สนับสนุนต่างพากันชื่นชมที่นโยบายนี้ที่เน้นความสำคัญของผลประโยชน์ภายในประเทศ ความสามารถในการแข่งขันของบริษัท และการลดกฎระเบียบ ในขณะที่นักวิจารณ์ชี้ให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้น หนี้ที่สูงขึ้น และความตึงเครียดทางการค้า ส่งผลกระทบระยะยาวต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันรวมไปถึงก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่วโลกอีกด้วย

10 บริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก

นับตั้งแต่ต้นปี 2024 มาภาพรวมของมูลค่าบริษัทระดับโลกยังคงมีการสลับผลัดเปลี่ยนตำแหน่งผู้นำอย่างต่อเนื่อง แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ยังไม่มีบริษัทไหนสามารถแซงบริษัทเทคโนโลยีขึ้นมาเป็นผู้นำได้เลย แต่บริษัทผู้นำทั้ง 10 บริษัทนี้ไม่ได้เป็นเพียงผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกเท่านั้น แต่ยังสร้างแนวโน้มใหม่ ๆ สำหรับอนาคตด้วยการลงทุนใน AI, พลังงานสะอาด, และเทคโนโลยีที่ยั่งยืน 

ยิ่งในเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน บริษัทเทคโนโลยีครองตลาดถึง 7 ใน 10 อันดับแรก ยิ่งตอกย้ำถึงบทบาทสำคัญของเทคโนโลยีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ NVIDIA และ Microsoft ที่เติบโตจากการลงทุนในปัญญาประดิษฐ์ ขณะที่ภาคพลังงานยังคงมีความสำคัญ โดย Saudi Aramco ยังคงเป็นผู้นำท่ามกลางกระแสพลังงานสะอาด ด้านบริษัทที่เน้นผู้บริโภคอย่าง Apple และ Amazon ยังคงเป็นตัวอย่างเด่นของการสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับผู้ใช้งาน ทำให้พวกเขารักษาความได้เปรียบในตลาดโลกได้อย่างต่อเนื่อง

โดย 10 อันดับบริษัทในหลายอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าตลาดสูงสุดตั้งแต่ต้นปีประกอบไปด้วย 
1. NVIDIA - 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• NVIDIA เป็นผู้นำระดับโลกในด้านการผลิตหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้วยมูลค่าตลาด 3.6 ล้านล้านดอลลาร์ ความต้องการเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงและ AI ที่เพิ่มขึ้นในหลากหลายอุตสาหกรรมทำให้บริษัทนี้ครองอันดับ 1 ได้อย่างต่อเนื่อง

2. Apple - 3.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• Apple ยังคงเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก ด้วยมูลค่า 3.4 ล้านล้านดอลลาร์ ความสำเร็จของบริษัทมาจากผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น เช่น iPhone, Mac และ Apple Watch รวมถึงรายได้จากบริการต่าง ๆ เช่น Apple Music และ iCloud

3. Microsoft - 3.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• Microsoft ยังคงเป็นผู้นำในด้านซอฟต์แวร์องค์กร, คลาวด์คอมพิวติ้ง และ AI ด้วยมูลค่า 3.1 ล้านล้านดอลลาร์ โดยผลิตภัณฑ์ Azure และการผสาน AI ใน Office 365 และ Teams เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการเติบโต

4. Amazon - 2.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• Amazon ครองอันดับ 4 ด้วยมูลค่า 2.2 ล้านล้านดอลลาร์ ความสำเร็จมาจากอีคอมเมิร์ซและการเติบโตของ Amazon Web Services (AWS) ซึ่งเป็นผู้นำในบริการคลาวด์

5. Alphabet (Google) - 2.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• Alphabet หรือบริษัทแม่ของ Google มีมูลค่า 2.2 ล้านล้านดอลลาร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการครองตลาดโฆษณาออนไลน์ และการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น รถยนต์ไร้คนขับ (Waymo) และ AI (DeepMind)

6. Saudi Aramco - 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• Saudi Aramco เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของโลก ด้วยมูลค่า 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ แม้ว่าโลกกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด แต่ Aramco ยังคงเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก

7. Meta (Facebook) - 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• Meta Platforms มีมูลค่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ โดยเน้นการขยายแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram และ WhatsApp รวมถึงการลงทุนในโลกเสมือน (Metaverse)

8. Tesla - 1.0 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• Tesla กลับเข้าสู่กลุ่มบริษัทที่มีมูลค่ามากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์อีกครั้ง ด้วยการนำของ Elon Musk และความมั่นใจจากนักลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากความสัมพันธ์ของ Musk กับประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ได้รับเลือกตั้งใหม่

9. TSMC (Taiwan Semiconductor Manufacturing Company) - 1.0 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• TSMC เป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยมูลค่า 1.0 ล้านล้านดอลลาร์ บริษัทนี้มีความสำคัญต่อการผลิตชิปที่ใช้ใน AI และเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูง

10. Berkshire Hathaway - 999 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
• Berkshire Hathaway ซึ่งนำโดย Warren Buffett ปิดท้ายรายการด้วยมูลค่า 999 พันล้านดอลลาร์ บริษัทมีการลงทุนที่หลากหลาย ทั้งในอุตสาหกรรมประกันภัย พลังงาน และการถือหุ้นในบริษัทชั้นนำ
และทั้งหมดนี้คือ 10 บริษัทผู้นำระดับโลกที่คอยสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับโลกเราค่ะ

5 ประเทศที่ลงทุนในไทยเยอะที่สุดใน 10 เดือนเเรกของปี 2567

(28 พ.ย. 67) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เผย 10 เดือน ปี ‘67 ต่างชาติลงทุนในไทย 161,169 ล้านบาท ญี่ปุ่นอันดับหนึ่ง 211 ราย เม็ดเงินลงทุน 91,700 ล้านบาท ส่วน 5 อันดับแรก มีประเทศใดบ้าง ไปส่องกันได้เลย

ทำความเข้าใจเรื่องการปรับค่าไฟ งวด ม.ค. - เม.ย. 68

(28 พ.ย. 67) ทำความเข้าใจ เรื่องการปรับค่าไฟ งวด ม.ค.- เม.ย. 68 (อีกครั้ง) หลัง ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.อุตสาหกรรม ขอให้คิดแค่ 4.15 บาท/หน่วย จากที่ กกพ. เสนอแนวทางแรก คิดในอัตรา 5.49 บาท/หน่วย เพื่อนำเงินไปคืนหนี้ กฟผ.และปตท.ทั้งหมด แต่ ‘พีระพันธุ์’ เสนอยืดหนี้แล้วจ่ายบางส่วน เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน 

แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งแข่งขันกันดุเดือดขนาดไหน?

อุตสาหกรรมสตรีมมิ่งที่เป็นหนึ่งในช่องทางที่ให้ความบันเทิงกำลังแข่งขันกันอย่างดุเดือด และจากการเก็บรวบรวมข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2024 อุตสาหกรรมนี้มีเจ้าที่ครองตลาดอย่าง Netflix, Viu และ Disney+ ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มนำเสนอคอนเทนต์และกลยุทธ์ราคาที่แตกต่างกันเพื่อพยายามที่จะเข้าไปแย่งส่วนแบ่งทางการตลาด รวมถึงครองใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เป็นตลาดของตัวเอง

เรามาดูความเหมือนและความต่างของทั้ง 3 แพลตฟอร์มนี้กันค่ะ

ส่องพลังเศรษฐกิจโลก ใครคือมหาอำนาจตัวจริง!!

(19 พ.ย. 67) GDP ที่อาศัยการดูข้อมูลจากความเสมอภาคของอำนาจซื้อ (Purchasing Power Parity หรือ PPP) เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราเข้าใจศักยภาพเศรษฐกิจที่แท้จริงของแต่ละประเทศ โดยปรับตัวเลข GDP ให้คำนึงถึงค่าครองชีพและราคาสินค้าท้องถิ่น ช่วยให้เปรียบเทียบเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้อย่างสมจริงมากขึ้น ทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจสะท้อนความเป็นจริงมากกว่าการใช้ GDP แบบ Nominal (มูลค่าตลาด)

โดย Purchasing Power Parity หรือ PPP เป็นทฤษฎีที่มีมาอย่างเนิ่นนานทางเศรษฐศาสตร์ โดยได้มีการเสนอมุมมองว่าราคาสินค้าของแต่ละประเทศควรจะต้องมีราคาเท่าเทียมกัน หลายคนเรียกกันเป็นภาษาไทยว่า ทฤษฎีความเสมอภาคของอำนาจซื้อ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น PPP จะแปลงค่าเงินของแต่ละประเทศให้อยู่ในหน่วยเดียวกัน โดยใช้ “ตะกร้าสินค้า” ที่คล้ายกันเพื่อเปรียบเทียบราคา เช่น หากกาแฟแก้วหนึ่งในสหรัฐฯ ราคา $3 และในอินเดียราคา ₹75 PPP จะเปรียบเทียบว่า ₹75 มีมูลค่าเทียบเท่ากับ $3 ในแง่กำลังซื้อ

แล้วทำไมเราต้องสนใจ GDP (PPP) ก็เพราะ GDP (PPP) ช่วยสะท้อนถึง “ความมั่งคั่งที่แท้จริง” โดยดูว่าประชาชนในแต่ละประเทศมีกำลังซื้ออย่างไร ตัวเลขนี้มีความสำคัญต่อการตัดสินใจในด้านการลงทุน การกำหนดนโยบาย และรวมถึงการขยายธุรกิจไปยังตลาดใหม่ ๆ

และจากข้อมูลที่อัปเดตล่าสุดในปี 2024 จาก Country Cassette และ CIA World Factbook แม้จะมีตัวเลขที่คำนวณออกมาต่างกัน แต่นั่นก็ช่วยทำให้เราเห็นภาพรวมของเศรษฐกิจโลกที่ชัดเจนยิ่งขึ้นได้ค่ะ

โดย 10 ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก (ข้อมูลจากทั้งสองแหล่ง) ประกอบไปด้วย จีน, สหรัฐ อเมริกา, อินเดีย, รัสเซีย, ญี่ปุ่น, เยอรมนี, อินโดนีเซีย, บราซิล, สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส

ทั้งนี้ ยังมี 3 ประเด็นที่น่าสนใจจากทั้งสองแหล่งว่า

1.จีนและอินเดีย
•ทั้งสองแหล่งข้อมูลยืนยันว่า จีนยังคงเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจอันดับ 1 ด้วย GDP (PPP) ที่มากกว่า 30 ล้านล้านดอลลาร์ ขณะที่อินเดียกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยทั้งสองประเทศแสดงศักยภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจโลกในอนาคต

2.สหรัฐอเมริกา
•ยังคงครองอันดับ 2 อย่างต่อเนื่อง แต่ GDP (PPP) ของสหรัฐฯ ตามรายงานของ Country Cassette และ CIA World Factbook นั้นใกล้เคียงกัน โดยยังคงมีความสำคัญในฐานะผู้นำเศรษฐกิจโลกแบบดั้งเดิม

3.อินโดนีเซียและบราซิล
•อินโดนีเซียกำลังกลายเป็นเศรษฐกิจที่โดดเด่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบราซิลยังคงเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของลาตินอเมริกา ทั้งสองประเทศแสดงให้เห็นศักยภาพการเติบโตที่น่าสนใจ

และแม้ PPP เองจะสะท้อนภาพได้ดีกว่าก็จริง แต่ PPP เองก็มีข้อจำกัดเช่นเดียวกัน นั่นคือ

•สินค้าบางประเภทไม่ได้ถูกผลิตหรือบริโภคในทุกประเทศ ทำให้การคำนวณ PPP อาจไม่สะท้อนทุกมิติ

•การเก็บข้อมูลในบางประเทศ เช่น ประเทศที่มีเศรษฐกิจปิด อาจทำให้การเปรียบเทียบขาดความแม่นยำค่ะ

เปิด 10 อันดับ ประเทศที่มีความรักชาติมากที่สุด

รู้หรือไม่? ประเทศไหนที่มีความรักชาติมากที่สุด!! แล้วประเทศไทยอยู่อันดับที่เท่าไหร่

ประเทศไหนบนโลกที่มีผลิตภาพด้านแรงงานสูงสุด

จากข้อมูลขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศได้ออกบทความชี้ให้เห็นว่าปัจจุบันยุโรปเป็นภูมิภาคที่ได้รับการยอมรับในด้านผลิตภาพแรงงาน (worker productivity) ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพและความสามารถในการผลิตของแรงงาน โดยเฉพาะประเทศลักเซมเบิร์กที่ขึ้นมาเป็นผู้นำอย่างชัดเจน ประเทศเล็ก ๆ ที่มีประชากรเพียงเล็กน้อยนี้ กลับสร้างรายได้เฉลี่ยต่อแรงงานที่สูงกว่าประเทศใหญ่ ๆ หลายเท่า โดย 10 ประเทศที่มีผลผลิตด้านแรงงานสูงสุดในโลกประกอบไปด้วย

โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยุโรปและลักเซมเบิร์กมีผลิตภาพแรงงานสูงกว่าชาติอื่นๆคือ 
1. อุตสาหกรรมการเงินที่แข็งแกร่งและการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน: หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ลักเซมเบิร์กมีผลิตภาพแรงงานสูงกว่าประเทศอื่น ๆ คืออุตสาหกรรมการเงินที่มีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ ลักเซมเบิร์กเป็นที่ตั้งของบริษัทการเงินระดับโลกหลายแห่ง และได้กลายเป็นศูนย์กลางการเงินในยุโรปที่แข็งแกร่ง 

2. แรงงานข้ามแดนที่ช่วยเพิ่มมูลค่า GDP: ลักเซมเบิร์กเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์จากแรงงานข้ามแดนที่เดินทางมาทำงานจากประเทศเพื่อนบ้านอย่าง เบลเยียม ฝรั่งเศส และเยอรมนี แรงงานเหล่านี้เข้ามาทำงานในลักเซมเบิร์กทุกวัน และมีส่วนช่วยในการสร้างมูลค่าให้แก่เศรษฐกิจได้

3. การสนับสนุนทางเทคโนโลยีและนโยบายภาครัฐ: ประเทศในยุโรปให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีและการลงทุนในนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เทคโนโลยีช่วยลดภาระงานที่ใช้แรงงานคน ลดความผิดพลาด และเพิ่มความแม่นยำของการผลิต รวมถึงการสร้างโอกาสให้เกิดการพัฒนาทักษะแรงงานที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของตลาด 

4. การลงทุนในสุขภาพและสวัสดิการของแรงงาน: ยุโรปเองมีมาตรฐานสวัสดิการแรงงานที่ดี ครอบคลุมถึงการดูแลสุขภาพ สวัสดิการการลาเพื่อรักษาตัว และสวัสดิการทางครอบครัวที่เข้มแข็ง การมีสุขภาพที่ดีและได้รับการดูแลด้านสวัสดิการอย่างเพียงพอช่วยให้แรงงานมีสภาพจิตใจและร่างกายที่พร้อมในการทำงาน ส่งผลให้พวกเขาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนการศึกษาและการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แรงงานมีความสามารถที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบันค่ะ

รู้หรือไม่!! สื่อใดที่ครองตลาดมากที่สุดของปี 2024

(14 พ.ย. 67) ในปี 2024 การแย่งสัดส่วนการครองตลาดของพื้นที่สื่อของแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยังคงมีอยู่อย่างดุเดือด และยังคงเป็นยุคที่ผู้ชมต่างให้ความสนใจแพลตฟอร์มที่นำเสนอเนื้อหาที่สามารถปรับให้เป็นส่วนตัวและหลากหลายมากยิ่งขึ้น 

ตามข้อมูลจาก Brand Finance พบว่า Google ยังคงเป็นผู้นำของกลุ่ม ด้วยมูลค่าแบรนด์ที่สูงถึง 333 พันล้านเหรียญ ซึ่งโตจากปี 2023 ที่อยู่ที่ระดับ 281 พันล้านเหรียญ ซึ่งเป็นการยืนยันสถานะของ Google ในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมสื่อ ด้วยระบบการใช้งานของผลิตภัณฑ์และบริการที่ครอบคลุมทั่วโลก

ตามมาด้วย TikTok แพลตปอร์มสัญชาติจีนซึ่งมีมูลค่าที่ 84.2 พันล้านดอลลาร์ ความนิยมและความสามารถในการสร้างความผูกพันกับผู้ใช้ทั่วโลกช่วยให้ TikTok เป็นแบรนด์สื่อที่มีมูลค่าสูงสุดเป็นอันดับสอง แสดงให้เห็นถึงความนิยมที่เพิ่มขึ้นของเนื้อหาวิดีโอสั้น ส่วนอันดับสามยังคงเป็นของ Facebook ที่โตจากปี 2023 มาอยู่ที่ระดับ 76 พันล้านเหรียญ

ในขณะเดียวกัน Instagram ก็เป็นหนึ่งในแบรนด์สื่อที่มีอันดับสูง และได้ก้าวเข้ามาอยู่อันดับที่ 4 จากปีที่แล้วที่อยู่ที่อันดับ 6 โดย Instagram มีการเติบโตของมูลค่าแบรนด์อย่างน่าทึ่งที่ 49% จนมีมูลค่าถึง 70 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งการเติบโตนี้สะท้อนถึงบทบาทการพัฒนาของ Instagram ในฐานะผู้เล่นหลักในสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะการดึงดูดผู้ชมกลุ่มวัยรุ่นและการเน้นที่เนื้อหาภาพ

การเพิ่มขึ้นของมูลค่าแบรนด์ในกลุ่มนี้แสดงให้เห็นถึงความหมายของคำว่า “สื่อ” ที่เปลี่ยนไปในยุคดิจิทัล แพลตฟอร์มเนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้น เช่น Google, TikTok และ Instagram ยังคงปรับโฉมอุตสาหกรรมสื่อด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถสร้างและแบ่งปันเนื้อหา ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคสื่อในปัจจุบันได้อย่างลึกซึ้ง การเปลี่ยนแปลงนี้สะท้อนแนวโน้มกว้างขึ้น เมื่อผู้บริโภคสื่อมองหาแพลตฟอร์มที่มอบการโต้ตอบ การปรับแต่งส่วนตัว และเนื้อหาที่หลากหลายค่ะ โดยทั้ง 10 อันดับของปี 2024 เป็นไปตามนี้ค่ะ 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top