Saturday, 14 December 2024
INFO & TOON

การบริโภคของคนเเต่ละเจเนอเรชัน

(9 ธ.ค. 67) อำนาจการใช้จ่ายทั่วโลกในแต่ละเจเนอเรชัน (คนยุคไหนที่กำหนดทิศทางเศรษฐกิจโลก)

เมื่อพูดถึงอำนาจการใช้จ่ายทั่วโลก สิ่งที่น่าสนใจคือการแบ่งปันทรัพยากรทางเศรษฐกิจในคนแต่ละเจเนอเรชัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการบริโภคและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก เจเนอเรชันต่าง ๆ ไม่ได้เพียงแค่มีอำนาจการใช้จ่ายที่แตกต่างกันเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวกำหนดทิศทางของตลาดและแนวโน้มทางสังคมอีกด้วย

เบบี้บูมเมอร์ : ความมั่งคั่งที่สั่งสม

เจเนอเรชันเบบี้บูมเมอร์ (เกิดระหว่างปี 1946–1964) เป็นอีกกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญ ด้วยสัดส่วนการใช้จ่ายทั่วโลกที่ 20.8% แม้ว่าพวกเขาจะมีสัดส่วนประชากรเพียง 12.1% เจเนอเรชันนี้ได้สะสมความมั่งคั่งจากการทำงานหนักและการลงทุนในช่วงที่เศรษฐกิจโลกเติบโตอย่างรวดเร็ว พวกเขามักมองหาความมั่นคงทางการเงินและการใช้จ่ายที่เกี่ยวกับสุขภาพและการเดินทาง

เจเนอเรชัน X : ผู้นำการใช้จ่ายของโลก

เจเนอเรชัน X (เกิดระหว่างปี 1965–1980) กำลังครองตำแหน่งเจเนอเรชันที่มีอำนาจการใช้จ่ายสูงสุดในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีจำนวนประชากรเพียง 18.3% ของโลก การใช้จ่ายเฉลี่ยของเขาในปี 2024 สูงถึง 23.5% ของสัดส่วนการใช้จ่ายทั่วโลก ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในทุกเจเนอเรชัน

เจเนอเรชันนี้เป็นกลุ่มคนที่เติบโตมากับการเปลี่ยนผ่านของโลกจากยุคอุตสาหกรรมสู่ยุคดิจิทัล พวกเขามีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่งคั่งให้กับครอบครัว และยังคงเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของสินค้าและบริการที่มุ่งเน้นคุณภาพและการลงทุนระยะยาว

มิลเลนเนียล: ผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่

เจเนอเรชันมิลเลนเนียล (เกิดระหว่างปี 1981–1996) เป็นกลุ่มที่มีทั้งจำนวนประชากรและอำนาจการใช้จ่ายที่ใกล้เคียงกัน โดยพวกเขามีสัดส่วนประชากร 22.9% และมีสัดส่วนการใช้จ่ายทั่วโลก 22.5% มิลเลนเนียลเป็นกลุ่มที่ปรับตัวกับเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว และเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เน้นการใช้จ่ายไปกับสินค้าและบริการดิจิทัล เช่น การช็อปปิ้งออนไลน์ การท่องเที่ยว และการลงทุนในประสบการณ์ชีวิต

เจเนอเรชัน Z : พลังแห่งอนาคต

แม้ว่าเจเนอเรชัน Z (เกิดระหว่างปี 1997–2012) จะมีสัดส่วนประชากรมากที่สุดที่ 24.6% แต่ปัจจุบันพวกเขามีสัดส่วนการใช้จ่ายเพียง 17.1% เนื่องจากส่วนใหญ่ยังอยู่ในวัยศึกษาและเริ่มต้นการทำงาน อย่างไรก็ตาม เจเนอเรชัน Z มีแนวโน้มที่จะเติบโตในด้านอำนาจการใช้จ่ายเร็วที่สุด โดยคาดว่าภายในปี 2034 พวกเขาจะเพิ่มมูลค่าการใช้จ่ายทั่วโลกเกือบ 9 ล้านล้านดอลลาร์

เจเนอเรชันนี้ถือเป็น “Digital Natives” ที่เติบโตมาในยุคเทคโนโลยีเต็มรูปแบบ การใช้จ่ายของพวกเขามักเน้นไปที่สินค้าและบริการที่มีความยั่งยืนและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ เช่น แพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง การสมัครสมาชิกบริการต่าง ๆ และการบริโภคสินค้าทางออนไลน์

เจเนอเรชันอัลฟ่า : ผู้บริโภคแห่งวันพรุ่งนี้

เจเนอเรชันอัลฟ่า (เกิดระหว่างปี 2013–2025) กำลังจะกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญในอนาคต พวกเขามีสัดส่วนประชากร 19.5% และมีส่วนร่วมในอำนาจการใช้จ่ายทั่วโลก 10.6% ซึ่งสะท้อนถึงการพึ่งพาผู้ปกครองในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ด้วยการเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี AI และโลกดิจิทัล พวกเขามีแนวโน้มที่จะเป็นผู้บริโภคที่มีอิทธิพลอย่างมากในอนาคต

จริงอยู่ที่ในด้านภูมิภาค อำนาจการใช้จ่ายมีความแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่นในแอฟริกาตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา เจเนอเรชัน Z คาดว่าจะมีสัดส่วนการใช้จ่ายถึง 30% ภายในปี 2030 ซึ่งใกล้เคียงกับเจเนอเรชันมิลเลนเนียล ในขณะที่ในยุโรปและอเมริกาเหนือ เจเนอเรชัน Z คาดว่าจะมีสัดส่วนการใช้จ่ายประมาณ 15% ภายในปี 2030 โดยเจเนอเรชัน X และเบบี้บูมเมอร์ยังคงครองสัดส่วนการใช้จ่ายเกินครึ่งของการบริโภคทั้งหมด

แต่โดยรวมแล้ว แม้ว่าเจเนอเรชันที่มีอายุมากจะยังคงครองอำนาจการใช้จ่ายในปัจจุบัน แต่เจเนอเรชันที่อายุน้อยกว่า โดยเฉพาะเจเนอเรชัน Z ก็มีการคาดว่าจะขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจอย่างมากในอนาคต ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตลาดผู้บริโภคทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญในปีต่อ ๆ ไปค่ะ

‘เจนเซน หวง’ ซีอีโอ Nvidia กับหมุดหมายที่แท้จริงคือ 'เวียดนาม'

รู้หรือไม่? เหตุใด ‘เจนเซน หวง’ ซีอีโอ Nvidia จึงปักหมุดลงทุนในเวียดนาม และลงทุนอะไรบ้างไปหาคำตอบกับ รองศาสตราจารย์ ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ที่จะมาไขความจริงให้เรากระจ่าง

4 แนวทาง 'ขึ้น VAT ปรับโครงสร้างภาษี' ข้อเสนอจาก ‘สมชัย จิตสุชน’

‘สมชัย จิตสุชน’ จาก TDRI เสนอ 4 แนวทางปรับภาษี ปรับ VAT ขึ้นทีละขั้น ลดสิทธิประโยชน์ BOI เก็บภาษีทรัพย์สิน และปรับลดค่าลดหย่อนภาษีเพื่อความเป็นธรรมต่อรายได้ทุกกลุ่ม 

จากกรณีที่ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุก่อนหน้านี้ว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างศึกษาการปรับโครงสร้างภาษี โดยหนึ่งในนั้นคือการพิจารณาขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 7% หลังจากกระทรวงการคลังพบว่าของไทยยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 15-25% เพื่อเพิ่มรายได้เข้ากองกลาง นำไปช่วยเหลือกลุ่มรายได้น้อยผ่านมาตรการด้านสาธารณสุข การศึกษา และที่อยู่อาศัย

ล่าสุดเมื่อวันที่ (6 ธ.ค. 67) ดร. สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Somchai Jitsuchon ถึงข้อเสนอปรับรายละเอียดมาตรการภาษีจำนวน 4 ข้อว่า 

1. ภาษี VAT ควรขึ้น แต่ค่อยเป็นค่อยไป เช่นขึ้น 1% ก่อนแล้วหาจังหวะในอนาคตขึ้นทีละ 1% แต่ไม่ประกาศล่วงหน้า เพราะอาจทำให้เกิดการคาดการณ์เงินเฟ้อ (inflation expectation) ได้ แล้วไปจบที่ 10% ภายใน 5 ปี

2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ควรเป็น flat rate อย่างที่เสนอ แม้จะมีข้อดีบางข้อ เช่นคำนวณง่าย ทำให้คนอยากทำงานมีรายได้สูง ๆ โดยไม่ต้องกลัวอัตราภาษีสูงตามไปด้วย แต่ข้อเสียมากกว่าคือไม่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ
2.1 ควรพิจารณาปรับลดพวกค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ให้ประโยชน์กับคนรายได้สูง 
2.2 ถ้าจะใช้ flat rate ควรใช้กับเงินได้จากดอกเบี้ยและปันผลที่ปัจจุบันแยกคำนวณมากกว่า 

3. ภาษีเงินนิติบุคคล ถ้าจะลดเหลือ 15% ก็ควรยกเลิกสิทธิประโยชน์ BOI ไปด้วย จะได้แฟร์และดึงดูดการลงทุนอย่างทั่วถึงแทนที่จะเป็นบางอุตสาหกรรมที่ก็ไม่รู้ว่าให้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยเท่าไรกันแน่ ใช้มาตรการอื่นดึงดูดแทนดีกว่า เช่นพัฒนาทักษะแรงงานไทย ปรับเลิกกฎระเบียบที่ไม่จำเป็น ป้องกันการเรียกใต้โต๊ะของ ขรก. สารพัดสี

4. สำคัญคืออย่าลืมเก็บภาษีบนฐานทรัพย์สิน เช่น capital gain, windfall tax ด้วยนะจ๊ะ (กินยาไรไปถึงลืมได้อ่ะ)

"ข้อเสนอเรื่องภาษีของ รมต. คลัง ในภาพรวมนั้นจำเป็นเพราะรายได้ภาษีไทยต่ำไปมาก แต่ในรายละเอียดต้องปรับอีกเยอะ ที่สำคัญเหมือนท่านจะลืมแหล่งรายได้ภาษีที่สำคัญและควรจัดเก็บเพิ่มขึ้นอย่างมากคือภาษีจากฐานทรัพย์สิน ไม่ทราบทำไมถึง 'ลืม' ได้นะครับ"

ทรัมป์โนมิกส์: เศรษฐกิจของโดนัลด์ ทรัมป์ที่กำลังจะกลับมาเขย่าโลก

ทรัมป์โนมิกส์ (Trumponomics) หมายถึงนโยบายเศรษฐกิจที่ดำเนินการในช่วงที่โดนัลด์ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ (ปี 2017–2021) ซึ่งเน้นไปที่การลดภาษี การลดกฎระเบียบ การคุ้มครองทางการค้า และนโยบาย “America First” โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการเติบโตภายในประเทศ ลดการขาดดุลการค้า และฟื้นฟูภาคการผลิตและการจ้างงานของสหรัฐฯ 

ในตอนนั้นเองการดำเนินนโยบายทรัมป์โนมิกส์เป็นกรอบนโยบายเศรษฐกิจที่สร้างความแตกแยก เพราะในมุมของผู้สนับสนุนต่างพากันชื่นชมที่นโยบายนี้ที่เน้นความสำคัญของผลประโยชน์ภายในประเทศ ความสามารถในการแข่งขันของบริษัท และการลดกฎระเบียบ ในขณะที่นักวิจารณ์ชี้ให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้น หนี้ที่สูงขึ้น และความตึงเครียดทางการค้า ส่งผลกระทบระยะยาวต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันรวมไปถึงก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่วโลกอีกด้วย

10 บริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก

นับตั้งแต่ต้นปี 2024 มาภาพรวมของมูลค่าบริษัทระดับโลกยังคงมีการสลับผลัดเปลี่ยนตำแหน่งผู้นำอย่างต่อเนื่อง แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ยังไม่มีบริษัทไหนสามารถแซงบริษัทเทคโนโลยีขึ้นมาเป็นผู้นำได้เลย แต่บริษัทผู้นำทั้ง 10 บริษัทนี้ไม่ได้เป็นเพียงผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกเท่านั้น แต่ยังสร้างแนวโน้มใหม่ ๆ สำหรับอนาคตด้วยการลงทุนใน AI, พลังงานสะอาด, และเทคโนโลยีที่ยั่งยืน 

ยิ่งในเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน บริษัทเทคโนโลยีครองตลาดถึง 7 ใน 10 อันดับแรก ยิ่งตอกย้ำถึงบทบาทสำคัญของเทคโนโลยีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ NVIDIA และ Microsoft ที่เติบโตจากการลงทุนในปัญญาประดิษฐ์ ขณะที่ภาคพลังงานยังคงมีความสำคัญ โดย Saudi Aramco ยังคงเป็นผู้นำท่ามกลางกระแสพลังงานสะอาด ด้านบริษัทที่เน้นผู้บริโภคอย่าง Apple และ Amazon ยังคงเป็นตัวอย่างเด่นของการสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับผู้ใช้งาน ทำให้พวกเขารักษาความได้เปรียบในตลาดโลกได้อย่างต่อเนื่อง

โดย 10 อันดับบริษัทในหลายอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าตลาดสูงสุดตั้งแต่ต้นปีประกอบไปด้วย 
1. NVIDIA - 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• NVIDIA เป็นผู้นำระดับโลกในด้านการผลิตหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้วยมูลค่าตลาด 3.6 ล้านล้านดอลลาร์ ความต้องการเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงและ AI ที่เพิ่มขึ้นในหลากหลายอุตสาหกรรมทำให้บริษัทนี้ครองอันดับ 1 ได้อย่างต่อเนื่อง

2. Apple - 3.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• Apple ยังคงเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก ด้วยมูลค่า 3.4 ล้านล้านดอลลาร์ ความสำเร็จของบริษัทมาจากผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น เช่น iPhone, Mac และ Apple Watch รวมถึงรายได้จากบริการต่าง ๆ เช่น Apple Music และ iCloud

3. Microsoft - 3.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• Microsoft ยังคงเป็นผู้นำในด้านซอฟต์แวร์องค์กร, คลาวด์คอมพิวติ้ง และ AI ด้วยมูลค่า 3.1 ล้านล้านดอลลาร์ โดยผลิตภัณฑ์ Azure และการผสาน AI ใน Office 365 และ Teams เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการเติบโต

4. Amazon - 2.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• Amazon ครองอันดับ 4 ด้วยมูลค่า 2.2 ล้านล้านดอลลาร์ ความสำเร็จมาจากอีคอมเมิร์ซและการเติบโตของ Amazon Web Services (AWS) ซึ่งเป็นผู้นำในบริการคลาวด์

5. Alphabet (Google) - 2.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• Alphabet หรือบริษัทแม่ของ Google มีมูลค่า 2.2 ล้านล้านดอลลาร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการครองตลาดโฆษณาออนไลน์ และการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น รถยนต์ไร้คนขับ (Waymo) และ AI (DeepMind)

6. Saudi Aramco - 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• Saudi Aramco เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของโลก ด้วยมูลค่า 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ แม้ว่าโลกกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด แต่ Aramco ยังคงเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก

7. Meta (Facebook) - 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• Meta Platforms มีมูลค่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ โดยเน้นการขยายแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram และ WhatsApp รวมถึงการลงทุนในโลกเสมือน (Metaverse)

8. Tesla - 1.0 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• Tesla กลับเข้าสู่กลุ่มบริษัทที่มีมูลค่ามากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์อีกครั้ง ด้วยการนำของ Elon Musk และความมั่นใจจากนักลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากความสัมพันธ์ของ Musk กับประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ได้รับเลือกตั้งใหม่

9. TSMC (Taiwan Semiconductor Manufacturing Company) - 1.0 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• TSMC เป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยมูลค่า 1.0 ล้านล้านดอลลาร์ บริษัทนี้มีความสำคัญต่อการผลิตชิปที่ใช้ใน AI และเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูง

10. Berkshire Hathaway - 999 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
• Berkshire Hathaway ซึ่งนำโดย Warren Buffett ปิดท้ายรายการด้วยมูลค่า 999 พันล้านดอลลาร์ บริษัทมีการลงทุนที่หลากหลาย ทั้งในอุตสาหกรรมประกันภัย พลังงาน และการถือหุ้นในบริษัทชั้นนำ
และทั้งหมดนี้คือ 10 บริษัทผู้นำระดับโลกที่คอยสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับโลกเราค่ะ

5 ประเทศที่ลงทุนในไทยเยอะที่สุดใน 10 เดือนเเรกของปี 2567

(28 พ.ย. 67) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เผย 10 เดือน ปี ‘67 ต่างชาติลงทุนในไทย 161,169 ล้านบาท ญี่ปุ่นอันดับหนึ่ง 211 ราย เม็ดเงินลงทุน 91,700 ล้านบาท ส่วน 5 อันดับแรก มีประเทศใดบ้าง ไปส่องกันได้เลย

ทำความเข้าใจเรื่องการปรับค่าไฟ งวด ม.ค. - เม.ย. 68

(28 พ.ย. 67) ทำความเข้าใจ เรื่องการปรับค่าไฟ งวด ม.ค.- เม.ย. 68 (อีกครั้ง) หลัง ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.อุตสาหกรรม ขอให้คิดแค่ 4.15 บาท/หน่วย จากที่ กกพ. เสนอแนวทางแรก คิดในอัตรา 5.49 บาท/หน่วย เพื่อนำเงินไปคืนหนี้ กฟผ.และปตท.ทั้งหมด แต่ ‘พีระพันธุ์’ เสนอยืดหนี้แล้วจ่ายบางส่วน เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน 

แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งแข่งขันกันดุเดือดขนาดไหน?

อุตสาหกรรมสตรีมมิ่งที่เป็นหนึ่งในช่องทางที่ให้ความบันเทิงกำลังแข่งขันกันอย่างดุเดือด และจากการเก็บรวบรวมข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2024 อุตสาหกรรมนี้มีเจ้าที่ครองตลาดอย่าง Netflix, Viu และ Disney+ ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มนำเสนอคอนเทนต์และกลยุทธ์ราคาที่แตกต่างกันเพื่อพยายามที่จะเข้าไปแย่งส่วนแบ่งทางการตลาด รวมถึงครองใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เป็นตลาดของตัวเอง

เรามาดูความเหมือนและความต่างของทั้ง 3 แพลตฟอร์มนี้กันค่ะ

ส่องพลังเศรษฐกิจโลก ใครคือมหาอำนาจตัวจริง!!

(19 พ.ย. 67) GDP ที่อาศัยการดูข้อมูลจากความเสมอภาคของอำนาจซื้อ (Purchasing Power Parity หรือ PPP) เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราเข้าใจศักยภาพเศรษฐกิจที่แท้จริงของแต่ละประเทศ โดยปรับตัวเลข GDP ให้คำนึงถึงค่าครองชีพและราคาสินค้าท้องถิ่น ช่วยให้เปรียบเทียบเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้อย่างสมจริงมากขึ้น ทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจสะท้อนความเป็นจริงมากกว่าการใช้ GDP แบบ Nominal (มูลค่าตลาด)

โดย Purchasing Power Parity หรือ PPP เป็นทฤษฎีที่มีมาอย่างเนิ่นนานทางเศรษฐศาสตร์ โดยได้มีการเสนอมุมมองว่าราคาสินค้าของแต่ละประเทศควรจะต้องมีราคาเท่าเทียมกัน หลายคนเรียกกันเป็นภาษาไทยว่า ทฤษฎีความเสมอภาคของอำนาจซื้อ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น PPP จะแปลงค่าเงินของแต่ละประเทศให้อยู่ในหน่วยเดียวกัน โดยใช้ “ตะกร้าสินค้า” ที่คล้ายกันเพื่อเปรียบเทียบราคา เช่น หากกาแฟแก้วหนึ่งในสหรัฐฯ ราคา $3 และในอินเดียราคา ₹75 PPP จะเปรียบเทียบว่า ₹75 มีมูลค่าเทียบเท่ากับ $3 ในแง่กำลังซื้อ

แล้วทำไมเราต้องสนใจ GDP (PPP) ก็เพราะ GDP (PPP) ช่วยสะท้อนถึง “ความมั่งคั่งที่แท้จริง” โดยดูว่าประชาชนในแต่ละประเทศมีกำลังซื้ออย่างไร ตัวเลขนี้มีความสำคัญต่อการตัดสินใจในด้านการลงทุน การกำหนดนโยบาย และรวมถึงการขยายธุรกิจไปยังตลาดใหม่ ๆ

และจากข้อมูลที่อัปเดตล่าสุดในปี 2024 จาก Country Cassette และ CIA World Factbook แม้จะมีตัวเลขที่คำนวณออกมาต่างกัน แต่นั่นก็ช่วยทำให้เราเห็นภาพรวมของเศรษฐกิจโลกที่ชัดเจนยิ่งขึ้นได้ค่ะ

โดย 10 ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก (ข้อมูลจากทั้งสองแหล่ง) ประกอบไปด้วย จีน, สหรัฐ อเมริกา, อินเดีย, รัสเซีย, ญี่ปุ่น, เยอรมนี, อินโดนีเซีย, บราซิล, สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส

ทั้งนี้ ยังมี 3 ประเด็นที่น่าสนใจจากทั้งสองแหล่งว่า

1.จีนและอินเดีย
•ทั้งสองแหล่งข้อมูลยืนยันว่า จีนยังคงเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจอันดับ 1 ด้วย GDP (PPP) ที่มากกว่า 30 ล้านล้านดอลลาร์ ขณะที่อินเดียกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยทั้งสองประเทศแสดงศักยภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจโลกในอนาคต

2.สหรัฐอเมริกา
•ยังคงครองอันดับ 2 อย่างต่อเนื่อง แต่ GDP (PPP) ของสหรัฐฯ ตามรายงานของ Country Cassette และ CIA World Factbook นั้นใกล้เคียงกัน โดยยังคงมีความสำคัญในฐานะผู้นำเศรษฐกิจโลกแบบดั้งเดิม

3.อินโดนีเซียและบราซิล
•อินโดนีเซียกำลังกลายเป็นเศรษฐกิจที่โดดเด่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบราซิลยังคงเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของลาตินอเมริกา ทั้งสองประเทศแสดงให้เห็นศักยภาพการเติบโตที่น่าสนใจ

และแม้ PPP เองจะสะท้อนภาพได้ดีกว่าก็จริง แต่ PPP เองก็มีข้อจำกัดเช่นเดียวกัน นั่นคือ

•สินค้าบางประเภทไม่ได้ถูกผลิตหรือบริโภคในทุกประเทศ ทำให้การคำนวณ PPP อาจไม่สะท้อนทุกมิติ

•การเก็บข้อมูลในบางประเทศ เช่น ประเทศที่มีเศรษฐกิจปิด อาจทำให้การเปรียบเทียบขาดความแม่นยำค่ะ

เปิด 10 อันดับ ประเทศที่มีความรักชาติมากที่สุด

รู้หรือไม่? ประเทศไหนที่มีความรักชาติมากที่สุด!! แล้วประเทศไทยอยู่อันดับที่เท่าไหร่

ประเทศไหนบนโลกที่มีผลิตภาพด้านแรงงานสูงสุด

จากข้อมูลขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศได้ออกบทความชี้ให้เห็นว่าปัจจุบันยุโรปเป็นภูมิภาคที่ได้รับการยอมรับในด้านผลิตภาพแรงงาน (worker productivity) ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพและความสามารถในการผลิตของแรงงาน โดยเฉพาะประเทศลักเซมเบิร์กที่ขึ้นมาเป็นผู้นำอย่างชัดเจน ประเทศเล็ก ๆ ที่มีประชากรเพียงเล็กน้อยนี้ กลับสร้างรายได้เฉลี่ยต่อแรงงานที่สูงกว่าประเทศใหญ่ ๆ หลายเท่า โดย 10 ประเทศที่มีผลผลิตด้านแรงงานสูงสุดในโลกประกอบไปด้วย

โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยุโรปและลักเซมเบิร์กมีผลิตภาพแรงงานสูงกว่าชาติอื่นๆคือ 
1. อุตสาหกรรมการเงินที่แข็งแกร่งและการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน: หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ลักเซมเบิร์กมีผลิตภาพแรงงานสูงกว่าประเทศอื่น ๆ คืออุตสาหกรรมการเงินที่มีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ ลักเซมเบิร์กเป็นที่ตั้งของบริษัทการเงินระดับโลกหลายแห่ง และได้กลายเป็นศูนย์กลางการเงินในยุโรปที่แข็งแกร่ง 

2. แรงงานข้ามแดนที่ช่วยเพิ่มมูลค่า GDP: ลักเซมเบิร์กเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์จากแรงงานข้ามแดนที่เดินทางมาทำงานจากประเทศเพื่อนบ้านอย่าง เบลเยียม ฝรั่งเศส และเยอรมนี แรงงานเหล่านี้เข้ามาทำงานในลักเซมเบิร์กทุกวัน และมีส่วนช่วยในการสร้างมูลค่าให้แก่เศรษฐกิจได้

3. การสนับสนุนทางเทคโนโลยีและนโยบายภาครัฐ: ประเทศในยุโรปให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีและการลงทุนในนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เทคโนโลยีช่วยลดภาระงานที่ใช้แรงงานคน ลดความผิดพลาด และเพิ่มความแม่นยำของการผลิต รวมถึงการสร้างโอกาสให้เกิดการพัฒนาทักษะแรงงานที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของตลาด 

4. การลงทุนในสุขภาพและสวัสดิการของแรงงาน: ยุโรปเองมีมาตรฐานสวัสดิการแรงงานที่ดี ครอบคลุมถึงการดูแลสุขภาพ สวัสดิการการลาเพื่อรักษาตัว และสวัสดิการทางครอบครัวที่เข้มแข็ง การมีสุขภาพที่ดีและได้รับการดูแลด้านสวัสดิการอย่างเพียงพอช่วยให้แรงงานมีสภาพจิตใจและร่างกายที่พร้อมในการทำงาน ส่งผลให้พวกเขาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนการศึกษาและการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แรงงานมีความสามารถที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบันค่ะ

รู้หรือไม่!! สื่อใดที่ครองตลาดมากที่สุดของปี 2024

(14 พ.ย. 67) ในปี 2024 การแย่งสัดส่วนการครองตลาดของพื้นที่สื่อของแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยังคงมีอยู่อย่างดุเดือด และยังคงเป็นยุคที่ผู้ชมต่างให้ความสนใจแพลตฟอร์มที่นำเสนอเนื้อหาที่สามารถปรับให้เป็นส่วนตัวและหลากหลายมากยิ่งขึ้น 

ตามข้อมูลจาก Brand Finance พบว่า Google ยังคงเป็นผู้นำของกลุ่ม ด้วยมูลค่าแบรนด์ที่สูงถึง 333 พันล้านเหรียญ ซึ่งโตจากปี 2023 ที่อยู่ที่ระดับ 281 พันล้านเหรียญ ซึ่งเป็นการยืนยันสถานะของ Google ในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมสื่อ ด้วยระบบการใช้งานของผลิตภัณฑ์และบริการที่ครอบคลุมทั่วโลก

ตามมาด้วย TikTok แพลตปอร์มสัญชาติจีนซึ่งมีมูลค่าที่ 84.2 พันล้านดอลลาร์ ความนิยมและความสามารถในการสร้างความผูกพันกับผู้ใช้ทั่วโลกช่วยให้ TikTok เป็นแบรนด์สื่อที่มีมูลค่าสูงสุดเป็นอันดับสอง แสดงให้เห็นถึงความนิยมที่เพิ่มขึ้นของเนื้อหาวิดีโอสั้น ส่วนอันดับสามยังคงเป็นของ Facebook ที่โตจากปี 2023 มาอยู่ที่ระดับ 76 พันล้านเหรียญ

ในขณะเดียวกัน Instagram ก็เป็นหนึ่งในแบรนด์สื่อที่มีอันดับสูง และได้ก้าวเข้ามาอยู่อันดับที่ 4 จากปีที่แล้วที่อยู่ที่อันดับ 6 โดย Instagram มีการเติบโตของมูลค่าแบรนด์อย่างน่าทึ่งที่ 49% จนมีมูลค่าถึง 70 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งการเติบโตนี้สะท้อนถึงบทบาทการพัฒนาของ Instagram ในฐานะผู้เล่นหลักในสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะการดึงดูดผู้ชมกลุ่มวัยรุ่นและการเน้นที่เนื้อหาภาพ

การเพิ่มขึ้นของมูลค่าแบรนด์ในกลุ่มนี้แสดงให้เห็นถึงความหมายของคำว่า “สื่อ” ที่เปลี่ยนไปในยุคดิจิทัล แพลตฟอร์มเนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้น เช่น Google, TikTok และ Instagram ยังคงปรับโฉมอุตสาหกรรมสื่อด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถสร้างและแบ่งปันเนื้อหา ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคสื่อในปัจจุบันได้อย่างลึกซึ้ง การเปลี่ยนแปลงนี้สะท้อนแนวโน้มกว้างขึ้น เมื่อผู้บริโภคสื่อมองหาแพลตฟอร์มที่มอบการโต้ตอบ การปรับแต่งส่วนตัว และเนื้อหาที่หลากหลายค่ะ โดยทั้ง 10 อันดับของปี 2024 เป็นไปตามนี้ค่ะ 

Blackrock คือใคร และถือหุ้นอะไรบ้าง

BlackRock ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1988 โดยกลุ่มผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในแวดวงการเงิน 8 คน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ Larry Fink ซึ่งปัจจุบันเขายังคงดำรงตำแหน่ง CEO ของบริษัท BlackRock และเขาได้มีบทบาทสำคัญในการทำให้บริษัทเติบโตจนกลายเป็นบริษัทจัดการสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการหรือ AUM ณ ปี ค.ศ. 2024 มากกว่า 11.5 ล้านล้านดอลลาร์ โดยสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครนิวยอร์ก และมีการดำเนินงานทั่วโลกด้วยเครือข่ายสำนักงานกว่า 70 แห่งใน 30 ประเทศ

ในปี 1999 BlackRock ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) ภายใต้สัญลักษณ์ “BLK” โดยผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดในปัจจุบันคือ The Vanguard Group ที่ถือหุ้นเป็นสัดส่วน 9.08%  นอกจากนี้ Blackrock เองยังได้ไล่ซื้อกิจการของอีกหลายบริษัททั้ง SSRM Holdings, Inc. จาก MetLife ด้วยมูลค่า 325 ล้านดอลลาร์สหรัฐในรูปของเงินสด และ 50 ล้านดอลลาร์ในรูปของหุ้น ควบรวมกับแผนกบริหารการลงทุนของ Merrill Lynch (MLIM) และอีกหลายต่อหลายดีลค่ะ

โดย Blackrock เองได้เข้าถือหุ้นหลายบริษัทชั้นนำทั้งในสหรัฐและนอกสหรัฐ และ 10 บริษัทแรกที่ BlackRock เข้าไปถือหุ้นเยอะสุด ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2024 จะประกอบไปด้วย
1. Microsoft Corporation โดยถือเป็นสัดส่วน 5.6%
2. Nvidia Corporation โดยถือเป็นสัดส่วน 5.2%
3. Apple Inc. โดยถือเป็นสัดส่วน 5.0%
4. Alphabet Inc. (Google) โดยถือเป็นสัดส่วน 3.2%
5. Amazon.com Inc. โดยถือเป็นสัดส่วน 2.9%
6. Meta Platforms, Inc. (Facebook)โดยถือเป็นสัดส่วน 1.8%
7. iShares (BlackRock's own ETF products) โดยถือเป็นสัดส่วน 1.5%
8. Eli Lilly and Co. โดยถือเป็นสัดส่วน 1.4%
9. Broadcom Inc. โดยถือเป็นสัดส่วน 1.2%
10. Berkshire Hathaway Inc. โดยถือเป็นสัดส่วน 1.2%

ด้วยกลยุทธ์การเข้าซื้อกิจการและการลงทุนในบริษัทชั้นนำ BlackRock ไม่ได้มุ่งเน้นแค่ผลตอบแทน แต่ยังให้ความสำคัญกับความยั่งยืนในระยะยาว ทั้งการลงทุนในพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม จึงไม่แปลกเลยค่ะที่บริษัทนี้จะเติบโตขึ้นยิ่งใหญ่และมั่นคงค่ะ

ย้อนมอง GDP สหรัฐฯ ภายใต้ 10 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ

ใกล้ถึงกำหนดวันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เข้าไปทุกขณะ ซึ่งในครั้งนี้เป็นการแข่งกันระหว่าง ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ จากรีพับลิกัน และ ‘กมลา แฮร์ริส’ จากเดโมแครต ใครจะเป็นฝ่ายได้ชัยชนะอีกไม่กี่วันคงได้รู้กัน แต่วันนี้ลองไปย้อนดูผลงานของอดีตผู้นำสหรัฐฯ 10 คน ก่อนหน้านี้ ว่าเศรษฐกิจแต่ช่วงของสหรัฐฯ นั้นเติบโตหรือถดถอยอย่างไรบ้าง

Condé Nast Traveller จัดอันดับ 10 ประเทศน่าเที่ยว ปี 2024

Condé Nast Traveller จัดอันดับ 10 ประเทศน่าเที่ยว ปี 2024 มีประเทศอะไรบ้าง ไปติตามกันเลย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top