Saturday, 12 October 2024
INFO

🔎ส่องราคาน้ำมันเฉลี่ยในประเทศอาเซียน ราคา ณ วันที่ 16 ก.ย. 67

รายงานราคาน้ำมันเฉลี่ยในอาเซียน ประจำวันที่ 16 กันยายน 2567 โดยราคาขายน้ำมันแต่ละประเทศ มีปัจจัยทางด้านราคา ดังนี้

1.แต่ละประเทศมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน

2.ในหลายประเทศเพื่อนบ้านยังมีการอุดหนุนราคากันอยู่

3.ประเทศไทยสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้การอุดหนุนราคาโดยกองทุนน้ำมันฯ จึงทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ถูกกว่าเบนซิน

หมายเหตุ : ราคา ณ วันที่ 16 กันยายน 2567 อัตราแลกเปลี่ยน (อัตรากลาง) ณ วันที่ 13 กันยายน 2567 *ประเทศไทย อ้างอิงราคาจาก ปตท. และ บางจาก และเป็นราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95E10 ซึ่งมีสัดส่วนการใช้มากที่สุด

'กลุ่ม ปตท.' ระดมแรงกาย-หนุนงบร่วม 10 ล้านบาท ช่วยเหตุอุทกภัยใน 'ภาคเหนือ-อีสาน'

(17 ก.ย. 67) ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่เกิดเหตุอุทกภัยในภาคเหนือช่วงปลายเดือนสิงหาคมเป็นต้นมา กลุ่ม ปตท. ได้เร่งส่งถุงยังชีพและความช่วยเหลือให้แก่ผู้ประสบภัยในจังหวัดแพร่ น่าน สุโขทัย พะเยา พิษณุโลก และเชียงราย อย่างต่อเนื่อง 

โดยเมื่อวานนี้ (16 ก.ย.) ผู้บริหารและพนักงาน กลุ่ม ปตท. ได้ร่วมกันบรรจุถุงยังชีพเพิ่มเติมอีก 2,000 ชุด เพื่อส่งมอบความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ หนองคาย และจังหวัดอื่น ๆ ที่ประสบอุทกภัย ประกอบด้วย ถุงยังชีพ น้ำดื่ม ยารักษาโรค และของใช้จำเป็น อาทิ ผ้าเปียกทำความสะอาดผิว จากสถาบันนวัตกรรม ปตท. เนื่องจากหลายพื้นที่ขาดน้ำสะอาดใช้งาน รวมยอดความช่วยเหลือ ถุงยังชีพ จำนวน 20,000 ถุง น้ำดื่ม 70,000 ขวด ก๊าซหุงต้มเพื่อใช้ในการประกอบอาหาร และของใช้จำเป็นต่าง ๆ รวมมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท 

นอกจากนี้ ยังได้ส่ง PTT Group SEALs ซึ่งได้รวมพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในการกู้ชีพจากบริษัทใน กลุ่ม ปตท. ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) / บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำกัด (มหาชน) / บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) / บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) / บริษัท พีทีที โกลบอล เคมีคอล จำกัด (มหาชน) / บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) / บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) / บริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย จำกัด และ บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จำกัด ได้ปฏิบัติภารกิจร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ อาทิ ทีม SEAL กองทัพเรือ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองทัพไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 

โดยมุ่งเน้นการลงพื้นที่ที่ยากแก่การเข้าถึง ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วย คนชรา เด็ก และร่วมบรรเทาทุกข์ประชาชนตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งขณะนี้ปฏิบัติภารกิจอยู่ที่ จ.เชียงราย จนถึงวันที่ 20 กันยายน 2567 โดยทีมได้นำเรือเข้าไปส่งมอบถุงยังชีพ อพยพประชาชน ซ่อมแซมคันกั้นน้ำในพื้นที่ชุมชน และช่วยทำความสะอาดบ้านเรือนหลังน้ำลด เป็นกำลังกายให้กับผู้ประสบภัย เพื่อช่วยฟื้นฟูสภาพบ้านเรือน และเป็นกำลังใจต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้น โดยเป็นหนึ่งในพันธกิจที่สำคัญของ กลุ่ม ปตท. ในการร่วมส่งมอบความช่วยเหลือในสถานการณ์วิกฤตต่าง ๆ ของประเทศ และบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้ประสบภัยจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายสู่ภาวะปกติ

🔍ส่อง 4 บริษัทยาในตลาดหุ้นไทย

ในช่วงปีที่ผ่านมา เราจะเห็นกระแสการรักสุขภาพ และการตระหนักรู้ด้านสุขภาพที่มากขึ้น ทั้งในหมู่คนไทยและต่างชาติ ที่สะท้อนออกมาให้เห็นผ่านเทรนด์การออกกำลังกาย อาหารเสริม รวมถึงยังมีการคิดค้นยาตัวใหม่ ๆ ที่ออกมา เพื่อรับมือโรคต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 

อย่างในประเทศไทย มูลค่าการใช้จ่ายด้านสุขภาพของคนไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องที่ 6.0% ในปี 2567 จากการเป็นสังคมสูงอายุและความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนผู้ผลิตยาในไทยจะแบ่งออกเป็นองค์กรภาครัฐ และบริษัทยาภาคเอกชน ซึ่งการผลิตยาในไทย 90% จะถูกใช้ในประเทศ และอีก 10% จะเป็นการผลิตเพื่อส่งออก

และมูลค่าของตลาดยาทั่วโลกของปี 2024 อยู่ที่ราว ๆ 1,267 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 5.6% แบ่งสัดส่วนรายได้จากการผลิตยา แบ่งเป็นในอเมริกาเหนือ 40% ยุโรป 30% และเอเชียแปซิฟิก 23% 

วันนี้จะพาไปรู้จัก 4 บริษัทขายยาของไทยที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ไทย และอีก 1 บริษัทยาที่ใหญ่ที่สุดในโลกกัน จะมีบริษัทไหนบ้าง ไปดูกัน!!

💜3 ภารกิจ รมต.ขิง เดินหน้าทำทันที ก้าวสู่ยุค ‘ปฏิรูปอุตสาหกรรม’

วันแรกในกระทรวงอุตสาหกรรมของรัฐมนตรีหน้าใหม่อย่าง ‘ขิง เอกนัฏ พร้อมพันธุ์’ ได้ประกาศเป้าหมายของการนั่งเก้าอี้นี้อย่างชัดเจนว่าจะเข้าสู่ยุค ‘ปฏิรูปอุตสาหกรรม’ (Industry Reform) 

โดยการเข้าสู่ยุคปฏิรูปอุตสาหกรรม ‘ขิง เอกนัฏ’ จะได้ใช้ 3 ยุทธศาสตร์ย่อย มุ่งเน้นแก้ Pain Point ของอุตสาหกรรมไทย ได้แก่ 

1. จัดการกากอุตสาหกรรมตกค้างทั้งระบบอย่างเข้มงวด

2. ปกป้องอุตสาหกรรมไทยจากการทุ่มตลาด: ช่วยผู้ประกอบการรายย่อย ที่รับผลกระทบจากการทะลักเข้าของสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน และยกระดับขีดความสามารถSMEไทย

3. สร้างอุตสาหกรรมแห่งอนาคต สร้าง new S-Curve กับประเทศผ่านหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ สินค้าเกษตรเทคโนโลยีสูง พลาสติกชีวภาพ โอลีโอเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง ยานยนต์ EV เซมิคอนดักเตอร์ อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ

นอกจากเป็นการแก้ Pain Point ของอุตสาหกรรมไทยแล้ว ยังเป็นการปรับให้องค์กรพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกและของไทย ไม่ว่าจะเป็น SDG, การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอีกด้วย 

📌เปลี่ยน ปรับ เปิด ในกฎหมายปฏิรูปโครงสร้างราคาพลังงาน ฉบับ 'พีระพันธุ์'

🔴เปลี่ยน ให้ราคาน้ำมันปรับได้เพียงเดือนละ 1 ครั้ง 

🔴ปรับ จากราคาน้ำมันที่อิงตลาดต่างประเทศเป็นระบบ Cost Plus แทนการอ้างอิงราคาน้ำมันต่างประเทศ 

🔴เปิด โอกาสให้ผู้ประกอบการขนส่ง ผู้ให้บริการสาธารณะกุศล รวมไปถึงสหกรณ์การเกษตร การประมง สามารถจัดหาน้ำมันมาใช้ได้เอง 

🔍เช็กผลงาน ‘กระทรวงพาณิชย์’ ในรอบ 1 ปี มุ่ง ‘เพิ่มรายได้ - ลดรายจ่าย - สร้างโอกาส’ แก่ ‘เกษตรกร-ผู้ประกอบการไทย’ แก่ ‘ประชาชน-เกษตรกร-ผู้ประกอบการไทย’

1 ปี บนเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของ ‘นายภูมิธรรม เวชยชัย’ ก่อนจะลุกไปครองเก้าอี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายภูมิธรรม ได้สร้างภาพจำไว้ให้คนไทยไม่น้อย โดยได้กำหนดนโยบายในการทำงานกับกระทรวงพาณิชย์ไว้ 7 ด้าน ได้แก่ 

1.ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส 
2.บริหารให้เกิดความสมดุลระหว่างผู้บริโภค เกษตรกร ผู้ประกอบการ 
3.ทำงานเชิงรุกระหว่างพาณิชย์จังหวัดและทูตพาณิชย์ 
4.แก้ไขข้อจำกัดของกฎหมายหรือปรับปรุงกฎหมายที่เก่าล้าสมัย 
5.ร่วมขับเคลื่อนนโยบายดิจิทัล วอลเล็ต 
6.เร่งผลักดันส่งออกจากติดลบให้เป็นบวก 
7.ผลักดันการใช้ประโยชน์จาก FTA 

ซึ่งปรากฏผลการทำงานประสบความสำเร็จในทุกด้าน สามารถดูแลตั้งแต่เกษตรกร ที่เป็นคนฐานรากของประเทศ ดูแลประชาชนผู้บริโภคให้มีภาระค่าครองชีพลดลง และดูแลผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SME ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันและช่วยเพิ่มรายได้

นอกจากนี้ ยังได้ตั้งคณะอนุกรรมการ ‘ทีมพาณิชย์’ เพื่อบูรณาการการทำงานของกระทรวงพาณิชย์ 9 คณะ ได้แก่ 

1. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเกษตรกรเพื่อการพาณิชย์ 
2.ส่งเสริมและยกระดับ SMEs ไทย 
3.ส่งเสริมและขับเคลื่อนการค้าและเศรษฐกิจเชิงรุกไทย-จีน-อาเซียน 
4.ขับเคลื่อนการทำงานเพื่อบูรณาการตามยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์  
5.ขับเคลื่อนนโยบายโลจิสติกส์ทางการค้า 
6.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Big data และอินฟลูเอนเซอร์เพื่อการค้า 
7.พัฒนากฎหมายกระทรวงพาณิชย์ 
8.พัฒนาการค้าตามระเบียบการค้าโลกใหม่ 
9.สร้างการรับรู้และภาพลักษณ์กระทรวงพาณิชย์ 

นอกจากนี้ยังเน้นการทำงานเชิงรุก โดยพาณิชย์จังหวัดและทูตพาณิชย์ต้องรู้จักสินค้า เข้าใจความต้องการตลาด เข้าถึงช่องทางการค้ายุคใหม่ บริหารจัดการประโยชน์ของทุกกลุ่มทุกภาคส่วนให้มีความสมดุล ทั้งเกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ประกอบการรายเล็ก รายกลาง รายใหญ่ และ ผู้บริโภค 

สำหรับนโยบายเพิ่มรายได้ สามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มขึ้นเกือบ 2 แสนล้านบาท จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาพืชผลทางการเกษตร โดยพืชหลัก ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มัน ปาล์ม ยางพารา ช่วยเหลือเกษตรกรเกือบ 8 ล้านครัวเรือน ดูแลปริมาณผลผลิตเกือบ 90 ล้านตัน สร้างสถิติราคาซื้อขายข้าวเปลือกเจ้าได้สูงสุดในรอบ 20 ปี พืชรอง ได้แก่ ผลไม้ พืช 3 หัว และผัก ช่วยเหลือเกษตรกรเกือบ 1.5 ล้านครัวเรือน ดูแลปริมาณผลผลิตกว่า 8 ล้านตัน สร้างสถิติราคาซื้อขายสับปะรด กระเทียม หอมแดง สูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ 

ขณะเดียวกัน ยังช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร ผู้ประกอบการชุมชน และ SME โดยผลักดันการค้า E-Commerce ทั้งในและต่างประเทศ เกิดมูลค่าการซื้อขาย 2,347.70 ล้านบาท อาทิ ทำ MOU กับ Rakuten ญี่ปุ่น เพื่อจำหน่ายสินค้าไทย ร่วมมือกับ Amazon ขายออนไลน์ นำสินค้าไทยขายบน Shopee มียอดขาย 71.44 ล้านบาท เชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับตลาดต้องชม 251 แห่ง เพิ่มรายได้ 1,987 ล้านบาท พัฒนาหมู่บ้านทำมาค้าขาย เพิ่มรายได้ 185 ล้านบาท ผลักดันเพิ่มมูลค่าสินค้า GI สร้างรายได้ 71,000 ล้านบาทต่อปี ใช้ร้านอาหาร Thai SELECT ในต่างประเทศเป็นโชว์รูม เพื่อเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการและผลักดัน Soft Power ทั้งอาหาร ดนตรี เชื่อมโยงร้านอาหาร Thai SELECT กับการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มรายได้ และเพิ่มรายได้ให้ร้านธงฟ้า จัดไปรษณีย์@ธงฟ้า อำนวยความสะดวกผู้ค้าออนไลน์ และประชาชน ให้บริการ Drop Off ให้บริการรับพัสดุแล้วกว่า 1 แสนชิ้น 

จัดกิจกรรมฟื้นฟูเศรษฐกิจ ผ่านการจัดตลาดพาณิชย์ทั่วประเทศ โดยประสานพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้ผู้ประกอบการรายเล็ก ในช่วง 1 ส.ค.-30 ส.ค. จำนวน 318 ครั้ง มีผู้ประกอบการเข้าร่วม 4,683 ราย สร้างรายได้ 373 ล้านบาท ตั้งเป้าจัดตลาดพาณิชย์ 935 ครั้ง ในช่วง ส.ค.-พ.ย.67 คาดว่าจะช่วยเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการรายย่อยได้เป็นจำนวนมาก และยังเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า อาทิ HoReCa 2024, THAIFEX - Anuga Asia 2024 และ STYLE Bangkok 2024 สร้างมูลค่าซื้อขายกว่า 1 แสนล้านบาท จัด Thailand SME Synergy Expo 2024 สร้างมูลค่าการค้ากว่า 200 ล้านบาท 

ส่วนนโยบายลดรายจ่าย ได้จัดโครงการ ‘พาณิชย์สั่งลุย...ลดราคา’ ลดราคาสินค้าจำเป็น ช่วงเทศกาลสำคัญ ปีใหม่ ตรุษจีน กินเจ ก่อนเปิดภาคเรียน ลดสูงสุด 60-85% รวม 8 กิจกรรม ลดค่าครองชีพได้ 8,060 ล้านบาท และกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 13,400 ล้านบาท จัด ‘โครงการธงฟ้าราคาประหยัด ลดค่าครองชีพประชาชน’ จำหน่ายสินค้าจำเป็นราคาต่ำกว่าท้องตลาด 20-40% รวม 1,134 ครั้ง ลดค่าครองชีพ 130 ล้านบาท 

จัดจำหน่ายสินค้าผ่านรถโมบายในแหล่งชุมชน 450 จุด ลดค่าครองชีพ 122.09 ล้านบาท จัดโครงการร้านอาหารธงฟ้า มีจำนวน 5,607 ร้าน ลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชนประมาณวันละ 2.63 ล้านบาท หรือ 960 ล้านบาท จัดพาณิชย์สั่งลุยราคาปุ๋ย ลดต้นทุนให้เกษตรกร 102 ล้านบาท ลดต้นทุนให้ร้านค้า ผู้ประกอบการ 14,000 ราย มูลค่า 53 ล้านบาท ด้วยการงดจัดเก็บค่าเช่าพื้นที่ในกระทรวง และขอความร่วมมือตลาดในสังกัด กทม.ไม่เก็บด้วย งดการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ให้ผู้ประกอบการใช้เพลงที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ฟรี 3 เดือน ตั้งแต่ ธ.ค.66-มี.ค.67 และมอบส่วนลดค่าลิขสิทธิ์เพลง 50–55% ต่อเนื่องอีก 1 ปี ลดต้นทุนผู้ประกอบการ SME ที่ใช้งานเพลง 400,000 ราย มูลค่า 3,300 ล้านบาท และขอฝากกรมการค้ารวบรวมร้านค้า เพื่อเข้าสู่โครงการดิจิทัลวอลเล็ต 

สำหรับการขยายโอกาสทางการค้า ได้เดินหน้าเจาะตลาดหลัก โดยจีน นำเข้าผู้ประกอบการเข้าร่วมงาน CAEXPO สหรัฐฯ นำเอกชนลงนาม MOU ซื้อขายข้าวและอาหาร ญี่ปุ่น ผลักดันอาหาร ผลไม้ ผ้าไทย ซีรีส์วายในงาน Thai Festival Tokyo ฝรั่งเศส นำเอกชนเข้าร่วมงาน Cannes Film Festival 2024 คาดมูลค่าเจรจาการค้ากว่า 11,000 ล้านบาท ใช้แคมเปญ Think Thailand Next Leve ในการบุกตลาดอินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เกาหลีใต้ ซาอุดีอาระเบีย และแอฟริกาใต้ รวมทั้งผลักดันการค้าชายแดน และแก้ไขอุปสรรคทางการค้า โดยเฉพาะการเจรจาเปิดด่าน เพื่อรองรับฤดูกาลผลไม้ไทย 

การลงนาม FTA ไทย-ศรีลังกา ผลักดันการเจรจา FTA ไทย-EFTA ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2567 เปิดเจรจา FTA ใหม่ อาทิ ไทย-เกาหลีใต้ ไทย-ภูฏาน และไทย-บังกลาเทศ การรุกตลาดเมืองรอง โดยต่อยอด MOU ที่ลงนามไปแล้ว สร้างมูลค่าการค้ากว่า 5,500 ล้านบาท อาทิ ความร่วมมือกับมณฑลกานซู่ ปูซาน โคฟุ โดยนายภูมิธรรม ได้ฝากให้ รมช.พาณิชย์ทั้งสองท่าน และปลัดกระทรวงพาณิชย์ สานงานต่อด้วย 

และยังได้เพิ่มโอกาสทางการค้าผ่านกลยุทธ์ตลาดแนวใหม่ โดยใช้ซีรีส์วาย ซีรีส์ยูริ ดึงมาย-อาโป ฟรีน-เบ็คกี้ ยกระดับสินค้าชุมชน อาทิ สมุนไพร สุราชุมชน ขนมขบเคี้ยว Tie-in เข้าสู่ตลาดโลกผ่านซีรีส์ และนำเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่ฮ่องกง เวียดนาม ฝรั่งเศส เกิดการจับคู่ธุรกิจ 756 คู่ มูลค่า 4,102 ล้านบาท ใช้เครือข่าย KOL จีนไลฟ์สดขายสินค้าและบริการไทย เพื่อสร้างรายได้ให้คนตัวเล็ก กำหนดจัดวันที่ 25-29 ก.ย.67 คาดการณ์มูลค่า 1,500 ล้านบาท 

และได้จัดทำ MOU กับ Sinopec นำสินค้าไทยจำหน่ายใน Easy Joy ร้านสะดวกซื้อในปั๊มน้ำมัน คาดการณ์มูลค่า 1,000 ล้านบาท ภายใน 3 ปี การเจรจาธุรกิจออนไลน์ (OBM) เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ฮาลาล สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น คาดการณ์มูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาท และยังทำงานเชิงรุกทูตพาณิชย์และพาณิชย์จังหวัด ขายกล้วยหอมเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น ขายลำไยเข้าสู่ตลาดจีน ขายมังคุดไปจีนและญี่ปุ่น และเปิดตลาดผ้าไทยในญี่ปุ่น เป็นต้น รวมไปถึงการช่วยสร้างโอกาสทางการค้า จากการใช้ประโยชน์จาก Big Data คิดค้า.com เพื่อให้เกษตรกร ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์ มีสินค้าเกษตร 13 ชนิด เศรษฐกิจการค้ารายจังหวัด และเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น มีผู้ใช้งานกว่า 220,000 คน เฉลี่ย 22,000 คนต่อเดือน

🔎ส่อง 10 ประเทศสุดมั่งคั่งและมีความสุขมากที่สุดในโลก

ความสัมพันธ์ระหว่างความมั่งคั่งและความสุขเป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญกันมาโดยตลอด แต่ทั้งสองอย่างนี้มันสัมพันธ์กันจริง ๆ ใช่ไหม วันนี้จะพาไปดูผลสำรวจกันค่ะ     

จากผลการสำรวจ World Happiness Report ซึ่งเป็นผลการสำรวจการเก็บข้อมูลจาก 150 ประเทศทั่วโลก ได้มีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างความมั่งคั่งและความสุขในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งวัดระดับความสุขของคนในแต่ละประเทศ จริงอยู่ที่ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในแต่ละคนแตกต่างกันออกไป แต่โดยรวมสิ่งที่ส่งผลต่อความสุขของมนุษย์เราก็คงหนีไม่พ้น ครอบครัว ความรัก เป้าหมายในชีวิต และความมั่งคั่ง

ซึ่งจากผลสำรวจของ Credit Suisse ชี้ให้เราเห็นว่าแม้ผลการสำรวจจะชี้ไปในทางที่ประเทศที่ร่ำรวยมักจะมีความสุขสูงกว่าประเทศที่ยากจน แต่มันก็มีข้อยกเว้นในหลายประเทศ อย่างเช่นประเทศในละตินอเมริกาที่แม้จะมีความมั่งคั่งต่ำ แต่ก็กลับมีระดับความสุขสูง และในขณะที่ประเทศที่ร่ำรวยบางประเทศอย่างเช่น ฮ่องกง กลับเป็นประเทศที่มีความสุขต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากฮ่องกงเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยความไม่เท่าเทียมและความไม่มั่นคง

และสำหรับ ‘ประเทศไทย’ ของเรานั้นอยู่อันดับที่ 62 จาก 150 ประเทศ มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรวัยทำงานที่ 8,036 เหรียญสหรัฐ และระดับความสุขอยู่ที่ 5.9

🔍ส่อง 10 เมืองที่เหมาะสมกับ ‘นักเรียน-นักศึกษา’ มากที่สุดในโลก

‘QS Best Student Cities 2025’ เปิดเผยผลสำรวจ เมืองที่เหมาะสมกับ ‘นักเรียน-นักศึกษา’ มากที่สุดในโลก โดยวัดจาก ราคาที่เข้าถึงได้, ความสามารถทางวิชาการ, โอกาสในการถูกจ้างงาน, ความพึงพอใจของผู้เรียน และความหลากหลายของเมือง

ซึ่ง ‘ลอนดอน’ ประเทศอังกฤษ ติดอันดับที่ 1 ตามมาด้วย ‘โตเกียว’ ประเทศญี่ปุ่น ส่วน ‘กรุงเทพฯ’ ประเทศไทย อยู่ในลำดับที่ 59 ของโลก


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top