เปิด 20 อันดับ 'ชาติเอเชีย' ที่มีรายได้น้อยที่สุด
📍 เช็กลิสต์ 20 อันดับประเทศในเอเชียที่มีรายได้ต่ำที่สุด โดยอ้างอิงตามรายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI) ต่อหัว PPP (ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ)

📍 เช็กลิสต์ 20 อันดับประเทศในเอเชียที่มีรายได้ต่ำที่สุด โดยอ้างอิงตามรายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI) ต่อหัว PPP (ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ)
รายงานราคาน้ำมันเฉลี่ยในอาเซียน เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 67 โดยราคาขายน้ำมันแต่ละประเทศ มีปัจจัยทางด้านราคา ดังนี้
1.แต่ละประเทศมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน
2.ในหลายประเทศเพื่อนบ้านยังมีการอุดหนุนราคากันอยู่
3.ประเทศไทยสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้การอุดหนุนราคาโดยกองทุนน้ำมันฯ จึงทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ถูกกว่าเบนซิน
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน (อัตรากลาง) ณ วันที่ 8 มี.ค. 67 และประเทศไทย อ้างอิงราคาจาก ปตท. และ บางจาก และเป็นราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95E10 ซึ่งมีสัดส่วนการใช้มากที่สุด
ทั้งนี้สามารถดูราคาย้อนหลังได้ที่ EPPO - Energy Data Visualization หรือคลิกที่ https://public.tableau.com/app/profile/epposite/viz/EPPO_Inter_OilPrice/SUMMARYOILPRICING
สิงคโปร์มี GNI (Gross National Income) หรือ รายได้ประชาชาติ โดยมีรายได้ประชากรต่อหัวสูงที่สุด และมีรายได้สูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้!!
ทั้งนี้ ธนาคารโลก ได้จัดหมวดหมู่เศรษฐกิจโลกออกเป็นสี่กลุ่มรายได้ ได้แก่ ต่ำ, กลางล่าง, กลางบน และสูง ซึ่งอัปเดตทุกปีในวันที่ 1 กรกฎาคม โดยอิงตาม GNI ต่อหัวของปีก่อน คิดเป็นดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับการจัดประเภทรายได้ของธนาคารโลกมีจุดมุ่งหมายเพื่อสะท้อนระดับการพัฒนาของประเทศ โดยอาศัย GNI ต่อหัวเป็นตัวบ่งชี้ความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ
จากผลการจัดประเภทรอบนี้ สิงคโปร์ และ บรูไน เป็นสองประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีรายได้สูงที่สุด ในขณะที่มาเลเซีย, ไทย และอินโดนีเซียอยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เหลืออยู่จะถูกจัดในกลุ่มรายได้ปานกลางตอนล่าง
สิงคโปร์ ครองแชมป์ ตามมาด้วย กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของประชาชน และเป็นต้นทุนหลักของภาคธุรกิจในการประกอบกิจการ หากน้ำมันเชื้อเพลิงที่จำหน่ายภายในประเทศมีการค้ากำไรเกินสมควร มีปริมาณการจัดจำหน่ายไม่เพียงพอ หรือไม่ได้คุณภาพแล้ว จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งต่อประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศ
รัฐจึงจำเป็นต้องกำหนดนโยบายด้านการพลังงานให้เหมาะสมเพื่อเป็นหลักประกันให้น้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศมีราคาจำหน่ายที่ยุติธรรม มีปริมาณเพียงพอ และได้คุณภาพ แต่การที่รัฐจะสามารถกำหนดและดำเนินนโยบายด้านการพลังงานได้อย่างเหมาะสมนั้น จำเป็นที่รัฐจะต้องได้มาซึ่งข้อมูลราคาและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง
กระทรวงพลังงานจึงจำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการกำหนดนโยบายด้านการพลังงานของประเทศ อันจะเป็นประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของประเทศด้านเศรษฐกิจและความผาสุกของประชาชน
วันนี้ THE STATES TIMES ได้สรุปสาระสำคัญ ประกาศกระทรวงพลังงาน ‘การแจ้งข้อมูลการนำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง’ เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 67 หวังสะท้อนต้นทุนแท้จริง และ ราคาที่ยุติธรรม จะมีข้อกำหนดอะไรบ้าง มาดูกัน…
ในขณะที่ทองคำโลกราคาสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สถานะการคลังของประเทศไทยก็ใช่ย่อย เพราะมีทองตุนไว้ มากกว่า 200 ตัน เพื่อเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ
รมว.ท็อป วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จากพรรคชาติไทยพัฒนา ตลอดการเข้ารับตำแหน่งเจ้ากระทรวง พม. ภายใต้รัฐบาล ‘เศรษฐา 1’ ได้สร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนคนไทย ได้แก่
✨โครงการ 'ปฏิบัติการคนไทยไม่ไร้ที่พึ่ง' ช่วยเหลือคนไร้บ้าน พัฒนาครัวเรือนเปราะบางในภาวะวิกฤต เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต โดยดำเนินงานเชิงรุกผ่านศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) ตลอด 24 ชม.
✨เบี้ยเด็กแรกเกิดถ้วนหน้า ดูแลตั้งแต่เกิดจนถึง 6 ปี จำนวน 2,288,337 ราย รับเงินอุดหนุน 600 บาท และขยายจาก 6 เดือน ถึง 3 ปี มาเป็น 3 เดือนจนถึง 3 ปี
✨ปรับเบี้ยผู้สูงอายุโดยจ่ายแบบขั้นบันไดถ้วนหน้า เดือนละ 1,000 บาททุกคน เบี้ยคนพิการ 1,000 บาท (เดิม 800 บาท) ตอบแทน ผู้ช่วยฯ ชม.ละ 50 เป็น 100 บาท
✨สร้างบ้านมั่นคงเฟสใหม่ ได้แก่ 1.ชุมชนเพิ่มทรัพย์พัฒนา 2.น้อมเกล้า 3.ทรัพย์สินเก่าใต้ แนวคิด 'บ้านมั่นคงชุมชนเข้มแข็งใต้ร่มพระบารมี' บนที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
✨แถลงผ่าน Asia Pacific Population Conference (APPC) ครั้งที่ 7 เรื่องประชากรในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกรับมือสู่สังคมสูงวัยและช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง
✨สนับสนุนผู้พิการทางการได้ยิน ให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเท่าเทียม ด้วยการบริการล่ามภาษามือทุกครั้งที่มีการถ่ายทอดข่าวสารจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
‘โรงเรียนกำเนิดวิทย์’ ประกาศรายชื่อนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม.4) ปีการศึกษา 2567 จำนวน 72 คน โดยเป็นนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เช่น แสงทองวิทยา สวนกุหลาบวิทยาลัย ระยองวิทยาคม
วันนี้ THE STATES TIMES ได้รวบรวมรายชื่อโรงเรียนของน้อง ๆ ทั้ง 72 คนมาแล้ว มาดูกันว่า น้อง ๆ จากโรงเรียนใดบ้าง ที่ผ่านคัดเลือกเข้าเรียนที่โรงเรียนกำเนิดวิทย์ได้บ้าง ถ้าพร้อมแล้วมาดูกัน…
‘อนุชา นาคาศัย’ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากพรรครวมไทยสร้างชาติ มุ่ง ‘สาน-สร้าง’ งานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้แนวคิด ‘ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้’ โดยมี 6 โปรเจกต์ใหญ่ ดังนี้
📌ส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคคณิตศาสตร์ บนพื้นที่ต้นแบบจังหวัดสุโขทัย ให้คำแนะนำติดตาม ให้ความช่วยเหลือ ระยะที่ 1 ผ่านกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมือง
📌วางนโยบายขับเคลื่อนงานองค์การสะพานปลา (อสป.) กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมอาชีพประมง และเร่งแก้ไขปัญหาเพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืนในอาชีพ
📌สนับสนุนเกษตรกรให้ประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ นอกจากการเพาะปลูกพืชเพียงอย่างเดียว ตลอดจนการบริหารจัดการทรัพยากรดิน และพัฒนาแหล่งน้ำ
📌ส่งเสริมชาวนาด้วยเทคโนโลยีที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในพื้นที่เขตชลประทานภาคกลาง เพื่อเพิ่มรายได้และปรับตัวจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
📌บริหารจัดการทรัพยากรดิน พัฒนาแหล่งน้ำ เช่น ธนาคารน้ำใต้ดิน เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้าน
การเกษตรมาใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าผลตอบแทนต่อไร่ให้สูงขึ้น ผ่าน 'ชัยนาทโมเดล'
📌แถลงการณ์ "พลิกโฉมระบบเกษตร และอาหารของประเทศไทยให้ยั่งยืน ยืดหยุ่น และเป็นธรรม" ต่อสมัชชาองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชีย และแปซิฟิค ครั้งที่ 37 ณ กรุงโคลัมโบ สารารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา
'รมว.ปุ้ย พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล' จากพรรครวมไทยสร้างชาติ ภายหลังเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อ 7 กันยายน 2566 ได้กำหนดนโยบายเร่งด่วน 3 เพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมไทยให้มีศักยภาพเป็นฟันเฟืองเศรษฐกิจใหม่สำหรับกระตุ้นรายได้ มวลรวมของประเทศ พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนการดำเนินงานใน 3 แกนหลัก คือ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม โดยแบ่งการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
>> กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เน้นบังคับใช้กฎหมาย กำกับดูแล และตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวด รวมถึงพัฒนาระบบการรายงานด้านสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อลดการปล่อยมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในระยะยาว
>>กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จัดงาน 'อุตสาหกรรมแฟร์เมืองใต้ 2023 นครศรีธรรมราช' เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคใต้ และส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจเขตพื้นที่ภาคใต้ (Southern Industrial Fair) ภายใต้แนวคิด 'ช้อป ชิม เที่ยวเพลิน เดินหลาด'
>>สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภค โดยดำเนินการตรวจสอบและยึดอายัดผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานอย่างเข้มงวด รวมทั้งสร้างเครือข่ายร้านจำหน่ายที่มีเครื่องหมายมาตรฐาน มอก. เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค
นอกจากนี้ สมอ. ยังเร่งผลักดันขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยกำหนดมาตรฐาน EV แล้วเสร็จ จำนวน 150 มาตรฐาน และอยู่ระหว่างกำหนดมาตรฐานเพิ่มเติมอีก 29 มาตรฐาน รวมทั้งกำหนดมาตรฐานเครื่องยนต์ เพื่อควบคุมการระบายมลพิษเป็น EURO 5 และ EURO 6
>>กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เร่งผลักดันโครงการเหมืองแร่โพแทช 3 โครงการ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยคาดว่าจะสามารถผลิตแร่โพแทชได้ภายใน 3 ปี โครงการเหมืองแร่โพแทชจะช่วยส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยโปแตสเซียมในประเทศ ช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลิตผลทางการเกษตร นอกจากนี้ โครงการเหมืองแร่โพแทชยังจะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ และกระจายรายได้สู่ชุมชน
>>สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เร่งขับเคลื่อนการดำเนินงานที่สำคัญในช่วง 3 เดือน ที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นช่วยเหลือชาวไร่อ้อย สนับสนุนอุตสาหกรรมน้ำตาล และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เร่งจ่ายเงินตัดอ้อยสดฤดูการผลิตปีที่ผ่านมา กำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้ายฤดูการผลิตปี 2565/2566 โดยมีราคาเฉลี่ยทั่วประเทศที่ 1,197.53 บาทต่อตัน กำหนดราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2566/2567 โดยมีราคาที่ 1,420 บาทต่อตัน และแจกพันธุ์อ้อยพันธุ์ดีให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยไปปลูกและขยายพันธุ์ จำนวน 900,000 ต้น
>>สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) มุ่งเน้นดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่ การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมไปสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจตาม Mega Trend ของโลก การพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา และข้อมูลเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โดยด้านการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมนั้น สศอ. ได้กำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมาย จำนวน 5 สาขา เพื่อเป็น New Growth Engine ในการต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ สศอ. ยังได้จัดทำข้อเสนอการจัดตั้งศูนย์อุตสาหกรรมฮาลาลและคณะกรรมการอุตสาหกรรมฮาลาลแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลให้เติบโตอย่างยั่งยืน
>>การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) มุ่งมั่นพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ โดยเน้นพัฒนานิคมอุตสาหกรรม Smart Park เพื่อเป็นนิคมอุตสาหกรรมต้นแบบในการพัฒนาเชิงนิเวศและนวัตกรรม
นอกจากนี้ กนอ. ยังได้อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมของการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ เพื่อรองรับการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเป้าหมาย New S-Curve ในอนาคต