Friday, 9 May 2025
LITE TEAM

‘กบร่อน’ ชวน ‘น้องมุก’ โปรดิวเซอร์สุดน่ารัก เผา !! เบื้องหลังการทำงานร่วมกันครั้งแรก | กบร่อน EP.18

‘กบร่อน’ มูฟออนจากสัตหีบแล้ว มาครั้งนี้จะไม่โดดเดี่ยว...แต่หัวใจยังเดียวดายอยู่หรือเปล่าไม่รู้ คิคิ วันนี้ กบร่อนจะพาไปรู้จักกับ ‘น้องมุก’ โปรดิวเซอร์สุดน่ารัก ที่จะมาเล่าเรื่องราวการทำงาน เผยมุมลับ ทั้งเบื้องหลังและเบื้องหน้า ตั้งแต่วันที่ร่วมงานกันครั้งแรกของทั้งคู่ บอกเลยว่าต่างคนต่างเผากันแบบไม่มีใครยอมใคร !! แต่ทั้งคู่ ก็มีมุมน่ารัก ๆ ด้วยน้า...ไปรู้จักกันให้มากขึ้นดีกว่า กับกบร่อน EP.18 ลุยยย 

"กบร่อน" รายการที่ "กบ" จะพาคุณไป ร่อน ตามที่ต่าง ๆ พร้อม Guest สนุก ๆ ให้เราได้รู้จักกันมากขึ้น ในสไตล์กบร่อน

กบ IG : @kobjr007
มุก IG : @m.mmookkk
.

.

วันนี้เป็นวันครบรอบการสถาปนาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีอายุมากว่า 88 ปี

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2476 โดยแรกเริ่มเดิมที การศึกษาวิชาด้านสถาปัตยกรรมของประเทศไทยนั้น เริ่มขึ้นที่โรงเรียนเพาะช่าง โดยมีอาจารย์นารถ โพธิประสาท ผู้ซึ่งได้ทุนรัฐบาลไปศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เป็นคนแรก ๆ รวมทั้งยังเป็นผู้วางหลักสูตรสถาปัตยกรรมขั้นทดลองเมื่อปี พ.ศ.2473 โดยรับนักเรียนเพาะช่างที่เรียนวิชาวาดเขียน มาเข้าเรียนหลักสูตรดังกล่าวนี้ จำนวน 30 คน

ผลปรากฎว่า การทดลองสอนเป็นที่น่าพอใจ ต่อมากระทรวงธรรมการ (ชื่อกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น) มีคำสั่งให้โอนแผนกสถาปัตยกรรมของโรงเรียนเพาะช่าง ไปขึ้นกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กระทั่งเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2476 ได้มีการจัดตั้งแผนกสถาปัตยกรรมศาสตร์ ขึ้นเป็นแผนกหนึ่งในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงถือเอาวันดังกล่าวนี้ เป็นวันแรกของการสถาปนาคณะ

ต่อมาในปี พ.ศ.2482 ทางมหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้ยกแผนกสถาปัตยกรรมศาสตร์ ขึ้นเป็นคณะของตัวเอง พร้อมทั้งกำหนดให้คณะสถาปัตยกรรม ประกอบด้วย แผนกสถาปัตยกรรม แผนกศิลปกรรม และแผนกผังเมือง ทั้งนี้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นโรงเรียนระดับอุดมศึกษาทางสถาปัตยกรรมแห่งแรกของประเทศ ที่ทำหน้าที่ผลิตสถาปนิกออกสู่สังคม

ผ่านมาถึงวันนี้ กว่า 88 ปีที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ผลิตบัณฑิตด้านการออกแบบออกมามากมาย แต่นอกเหนือไปกว่านั้น คณะแห่งนี้ยังกลายเป็นแหล่งเพาะบ่ม ‘เหล่านักสร้างสรรค์’ ที่ก้าวออกไปทำสื่อฯ และผลิตผลงานสร้างสรรค์มากมายหลายแขนง จึงส่งให้ ‘สถาปัตย์ฯ จุฬา’ มีชื่อเสียง และกลายเป็นคณะชั้นนำของเมืองไทยไปในที่สุด

 

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์_จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


.แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit
LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c3

วันนี้เป็นอีกหนึ่งวันที่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของชาติ โดยเป็นวันที่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 เสด็จสวรรคต

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัฒน์ ประสูติเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2447 อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิ์เดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ซึ่งต่อมาได้เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเป็น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และสถาปนาหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณีเป็น สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงมีพระสิริโฉมงดงาม และทรงมีพระจริยวัตรอันนุ่มนวล พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเคียงคู่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะพระบรมราชินี ในการเสด็จพระราชดำเนินไปยังหัวเมืองต่าง ๆ รวมทั้งต่างประเทศ เพื่อเป็นการเชื่อมพระราชไมตรีระหว่างประเทศอยู่เสมอ

ภายหลังจากที่คณะราษฎรทำการอภิวัตน์เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปประเทศอังกฤษ ต่อมาหลังจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สละราชสมบัติเมื่อปี พ.ศ.2478 สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ จึงประทับอยู่ประเทศอังกฤษจวบจนพระราชสวามีเสด็จสวรรคต กระทั่งในปี พ.ศ.2492 พระองค์ได้เสด็จนิวัตกรุงเทพมหานครอีกครั้ง ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาลในขณะนั้น

หลังเสด็จพระราชดำเนินกลับเมืองไทย สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงมีพระราชกรณียกิจเพื่อบ้านเมืองหลายประการ อาทิ การพัฒนาการสาธารณสุขและการศึกษาของชาวจันทบุรี ทรงปรับปรุงโรงพยาบาลพระปกเกล้า รวมทั้งทรงตั้งมูลนิธิพระปกเกล้าเพื่อสนับสนุนกิจการต่าง ๆ ของโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังทรงมีส่วนร่วมในการก่อตั้งวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงมีพระอาการประชวรด้วยพระโรคความดันพระโลหิตสูง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 และวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2527 พระองค์เสด็จสวรรคตด้วยพระหทัยวายโดยพระอาการสงบ สิริพระชนมพรรษา 79 พรรษา

 

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี_พระบรมราชินี


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit
LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

States TOON EP.14

เก็บตกการประกวดนางงามจักรวาล

‘ปราสาทหินพนมรุ้ง’ ถือเป็นหนึ่งในโบราณสำคัญของประเทศไทย โดยวันนี้เมื่อกว่า 33 ปีก่อน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเป็นองค์ประธานเปิด ‘อุทยานประวัติศาสตร์พรมรุ้ง’ อย่างเป็นทางการ

ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นหนึ่งในปราสาทหินขอมของไทยที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ตั้งอยู่ที่ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ แต่หากสืบย้อนกลับไป ปราสาทหินพนมรุ้งแห่งนี้ เดิมทีเป็นโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไศวะ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15-18 โดยใช้หินทรายสีชมพูในการก่อสร้างเป็นหลัก ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง ความสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ที่มาของชื่อพนมรุ้ง แปลว่า ภูเขาใหญ่

ในเวลาต่อมา ปราสาทหินพนมรุ้ง ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อปี พ.ศ.2475 และได้รับการบูรณะซ่อมแซมอยู่หลายหน โดยกรมศิลปากรใช้วิธีที่เรียกว่า Anastylosis ซึ่งเป็นวิธีการรื้อของเดิมลงมาโดยทำรหัสไว้ จากนั้นจึงทำฐานใหม่ให้แข็งแรง แล้วนำชิ้นส่วนที่รื้อรวมทั้งที่พังลงมา กลับไปก่อใหม่ที่เดิม โดยใช้วิธีการสมัยใหม่เข้าช่วย ซึ่งการบูรณะซ่อมแซมนี้เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2514 

กระทั่งในปี พ.ศ.2531 จึงได้มีพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งขึ้น เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2531 การณ์นี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ

กล่าวสำหรับอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนเป็นสถานที่ที่มีความงดงามทางศิลปะ และมีความมหัศจรรย์เป็นอย่างมาก โดยในวันที่ 2-4 เมษายน และ 8-10 กันยายน ของทุกปี ดวงอาทิตย์จะขึ้นส่องแสงลอดช่องประตูทั้ง 15 บาน และในวันที่ 5-7 มีนาคม และ 5-7 ตุลาคม ของทุกปี ดวงอาทิตย์จะตก และส่องแสงลอดช่องประตูทั้ง 15 บานเช่นกัน

ด้วยความอลังการที่ผสมผสานระหว่างธรรมชาติและสิ่งก่อสร้างของบรรพชนเหล่านี้ จึงทำให้ในแต่ละปี มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาชื่นชมความงดงามนี้อยู่เสมอ

ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
 


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit
LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32
 

รีวิวลุคคนดังฉีดวัคซีน...เสื้อผ้าหน้าผม ใครเป๊ะ ใครปัง!

แม้จะเก็บในที่เย็น อุณหภูมิต่ำ ๆ แต่วัคซีนป้องกันโควิด-19 ก็ทำเอาร้อนระอุ เมื่อเริ่มต้นฉีดไม่ทันไร ก็ดราม่าล่ะจ้า!! กลายเป็น Hot Topic กันไปในตอนนี้ เมื่อเหล่าคนดัง ตบเท้าเข้าฉีดวัคซีนกันตรึม ประเด็นดราม่าก็มากันตรึมเช่นกัน แต่เอาเถอะ ใครใคร่ฉีดก็ฉีดกันเนอะ แขนก็แขนของเรา ร่างกายก็ร่างกายเรา ถ้าไม่ฉีดแล้วตาย ก็เรื่องของเรา ตามบายยยย!!

แต่ก่อนตาย มาดูการรีวิวของเรากันหน่อย เห็นเหล่าคนดังไปฉีดวัควีนกันเยอะ เลยไปส่องลุคการแต่งตัว เสื้อผ้าหน้าผมของหลายคนซะหน่อย ผลการรีวิวออกมาดังนี้จ้ะ...


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit
LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

วันนี้เมื่อ 29 ปีก่อน ถือเป็นวันที่มีความสำคัญ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ ให้บุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ความรุนแรง ‘พฤษภาทมิฬ’ เข้าเฝ้าฯ เพื่อรับพระราชดำรัส จนนำไปสู่การยุติเหตุการณ์ลงในที่สุด

เหตุการณ์ ‘พฤษภาทมิฬ’ เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนออกมาเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลที่มี พลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากมีความเข้าใจว่า การขึ้นดำรงตำแหน่งของพลเอกสุจินดา เป็นการสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) โดยหนึ่งในแกนนำของประชาชนที่ออกมาเรียกร้อง นั่นคือ พลตรีจำลอง ศรีเมือง

เหตุการณ์ค่อย ๆ ทวีความรุนแรงมากขึ้น ในช่วงระหว่างวันที่ 17-19 พฤษภาคม พ.ศ.2535 จนเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2535 พลเอกสุจินดา คราประยูร ประกาศห้ามมิให้บุคคลใดในกรุงเทพมหานครออกนอกเคหสถาน แต่ในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีรับสั่งให้ผู้นำทั้งสองฝ่าย คือพลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้าฯ โดยมีบุคคลที่นำเข้าเฝ้าฯ คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรี และนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี ในขณะนั้น

ในการณ์นั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระราชดำรัสต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีใจความบางท่อนบางตอนว่า...

“การเผชิญหน้าตอนแรก ก็จะเห็นจุดประสงค์ของทั้งสองฝ่ายได้ชัดเจนพอสมควร แต่ต่อมาภายหลัง 10 กว่าวัน ก็เห็นแล้วว่า การเผชิญหน้านั้น เปลี่ยนโฉมไปอย่างมาก จนกระทั่งออกมาอย่างไรก็ตาม เสียทั้งนั้น เพราะว่าทำให้มีความเสียหาย...”

“...ฉะนั้น การที่จะเป็นไปอย่างนี้ต่อไป จะเป็นเหตุผลหรือต้นตออย่างไรก็ช่าง เพราะเดี๋ยวนี้เหตุผลเปลี่ยนไป ถ้าหากว่าเผชิญหน้ากันแบบนี้ต่อไป เมืองไทยมีแต่ล่มจมลงไป แล้วก็จะทำให้ประเทศไทย ที่เราสร้างเสริมขึ้นมาอย่างดี เป็นเวลานาน จะกลายเป็นประเทศที่ไม่มีความหมาย หรือมีความหมายในทางลบเป็นอย่างมาก...”

ภายหลังการเข้าเฝ้าฯ ต่อมาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2535 พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบหมายให้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รักษาการแทนเป็นการชั่วคราว พร้อมกับประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ทั้งหมด จนนำมาซึ่งการคลี่คลายความขัดแย้ง และความรุนแรงลงนับจากนั้น

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/พฤษภาทมิฬ 

https://siamrath.co.th/n/188944


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit
LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32
 

อิงกระแสซีรีส์ ‘เด็กใหม่’ ซีซั่น 2...ถ้าเหล่าคนดังจะมีชื่อคล้าย ‘แนนโน๊ะ’ พวกเขาจะมีชื่อว่าอะไร?

แรงจริงจังมาก กับซีรีส์ ‘เด็กใหม่’ หรือ Girl From Nowhere ซีซั่น 2 ชั่วโมงนี้หลายคนอินกับบทบาท ‘แนนโน๊ะ’ สาวผมบ็อบหน้าม้า หน้าตาสวย แต่ช่างร้ายกาจนัก ใครยังไม่ได้ดู ลองไปตามดูกันนะ มันจี๊ดมาก แต่ไหน ๆ ก่อนจะไปดู เราขออิงกระแสความแรงของ ‘แนนโน๊ะ’ สมมตินะจ๊ะสมมติ ถ้าเหล่าคนดังทั้งหลาย เขาจะมีนิกเนมคล้าย ๆ ‘แนนโน๊ะ’ น่าคิดอยู่นะ ว่าเขาจะมีชื่อว่าอะไรกัน ลองไปดู!


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit
LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

วันนี้ถือเป็นวันที่ต้องถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย โดยเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือ ‘เสด็จเตี่ย’ ซึ่งทรงได้รับสมัญญานามว่า ‘องค์บิดาของทหารเรือไทย’

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เป็นพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับลำดับราชสกุลวงศ์เป็นองค์ที่ 28 มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2423

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ถือเป็นเจ้านายพระองค์แรก ที่สำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือ จากประเทศอังกฤษ โดยพระองค์ทรงมีจุดประสงค์อันแรงกล้าที่จะฝึกให้ทหารเรือไทย เดินเรือทะเลได้อย่างชาวต่างประเทศ เมื่อทรงเข้ารับราชการ พระองค์ได้แก้ไข ปรับปรุงระเบียบการ และทรงเป็นครูสอนนักเรียนนายเรือ โดยทรงจัดเพิ่มวิชาสำคัญสำหรับชาวเรือ เพื่อให้สามารถเดินเรือทางไกลในทะเลได้ อาทิ วิชาดาราศาสตร์ ตรีโกณมิติ อุทกศาสตร์ การเดินเรือเรขาคณิต พีชคณิต ฯลฯ

ในปี พ.ศ.2462 พระองค์ทรงเป็นผู้บังคับการเรือ โดยนำเรือหลวงพระร่วงจากประเทศอังกฤษ เข้ามายังกรุงเทพมหานคร นับเป็นครั้งแรกที่นายทหารเรือไทย เดินเรือไกลข้ามทวีป ต่อมา พระองค์ยังทรงผลักดันให้มีการก่อตั้งโรงเรียนนายเรือ โดยเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชวังเดิม ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ ทำให้กิจการทหารเรือ มีรากฐานอันมั่นคงนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงดำรงตำแหน่งสูงสุดทางราชการ เป็นเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ก่อนที่ช่วงบั้นปลายพระชนมชีพ จะทรงลาออกจากตำแหน่ง เพื่อไปรักษาพระองค์จากอาการประชวรเรื้อรังจากพระโรคประจำตัว โดยประทับพักรักษาพระองค์อยู่ที่ตำบลหาดทรายรี จังหวัดชุมพร ระหว่างนั้นทรงถูกฝนและประชวรด้วยพระโรคไข้หวัดใหญ่ พระอาการได้ทรุดลงอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2466 สิริพระชันษา 42 ปี 

ต่อมา ในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ ได้ถูกยกให้เป็น ‘วันอาภากร’ เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ในการณ์ที่ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบริหารงานของกองทัพเรือ ให้มีความเจริญก้าวหน้ามาจนถึงทุกวันนี้ โดยพระองค์ยังทรงได้รับสมัญญานามว่า ‘องค์บิดาของทหารเรือไทย’


ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/พระเจ้าบรมวงศ์เธอ_กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit
LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

 

วันนี้มีความพิเศษต่อผู้คนทั่วโลก เนื่องจากถูกยกให้เป็น ‘วันพิพิธภัณฑ์สากล’ โดยเป็นวันที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อให้ผู้คนได้ตระหนักถึงความสำคัญของพิพิธภัณฑ์ในหลากหลายมิติ

วันพิพิธภัณฑ์สากลถูกตั้งขึ้นมาตั้งแต่ราวปี ค.ศ.1977 โดยสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ (International Council of Museum หรือ ICOM) สาระสำคัญของการมีวันพิเศษวันนี้ เพื่อให้ผู้คนได้ตระหนักถึงความสำคัญ ตลอดจนสร้างความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงสร้างเครือข่าย/ชุมชนพิพิธภัณฑ์นานาชาติ โดยให้คนต่างชาติ ต่างภาษา ต่างประเภทพิพิธภัณฑ์ ได้มาแลกเปลี่ยนสัมพันธ์กันในเวทีโลก

นอกจากนี้ในแต่ละปี ทาง ICOM จะกำหนดประเด็นร่วม หรือธีมประจำปี เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มาแลกเปลี่ยนหารือ รวมทั้งกำหนดจุดยืนของการทำหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ ตลอดจนส่งเสริมให้พิพิธภัณฑ์ทั่วโลกมีการพัฒนาต่อไปยิ่งขึ้น

กล่าวถึง พิพิธภัณฑ์ คือสถาบันถาวรที่ไม่แสวงผลกำไรในการบริการต่อสังคมและการพัฒนาสังคม โดยเป็นสถานที่ที่นำผลงานผ่านการอนุรักษ์ การวิจัย การสื่อสารต่าง ๆ หรือเป็นมรดกของมนุษยชาติ ทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ มาจัดแสดงไว้เพื่อการศึกษา ค้นคว้า หรือแม้แต่เพื่อความบันเทิง

กลับมาที่ประเทศไทย เรามีพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ แห่งแรกของประเทศไทย แต่ถ้ารวมพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยไทยทุกแขนง ปัจจุบันมีอยู่กว่า 1,580 แห่งทั่วประเทศ สนใจไปเที่ยวชม หรือศึกษา สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ https://db.sac.or.th/museum/ กันได้เลย


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/พิพิธภัณฑสถาน

https://th.wikipedia.org/wiki/วันพิพิธภัณฑ์สากล

https://www.facebook.com/340609796616268/posts/537418320268747/


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top