Saturday, 10 May 2025
LITE TEAM

ฝรั่งเศสและสยาม ลงนามใน ‘สนธิสัญญาสงบศึก' ในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436

“การรบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา” จุดเริ่มต้นของ “วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112″ หรือ “กรณีพิพาทไทย-ฝรั่งเศส ร.ศ. 112″ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เกิดขึ้นเมื่อกองทัพฝรั่งเศสส่งเรือรบ 2 ลำ คือ เรือแองกองสตองต์ และ เรือโกแมต์โดยมีเรือสินค้า “เจ. เบ. เซย์” เป็นเรือนำร่อง รุกล้ำฝ่าสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามา 

โดยหมู่ปืนใหญ่ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าและหมู่เรือรบซึ่งเป็นแนวป้องกันของไทยได้ยิงสกัดถูกเรือสินค้าเสียหาย เรือรบของฝรั่งเศสจึงยิงตอบโต้ โดนเรือมกุฎราชกุมารของไทยเสียหาย และทหารไทยเสียชีวิต 8 นาย บาดเจ็บ 40 นาย ส่วนทหารฝรั่งเศสเสียชีวิต 3 นายและบาดเจ็บอีก 3 นาย จากนั้นเรือรบฝรั่งเศสทั้งสองก็แล่นฝ่าเข้ามาที่สถานกงสุลฝรั่งเศส ถนนเจริญกรุง 

โดยผลจากการปะทะกันครั้งนี้ ฝรั่งเศสได้บังคับให้สยามลงนามใน “สนธิสัญญาสันติภาพ” ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 ซึ่งเป็นการทำสัญญาสงบศึกระหว่างรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส

โดยสาระสำคัญเป็นข้อกำหนดที่ฝรั่งเศสตั้งขึ้นเอง เช่น ให้สยามยอมสละข้ออ้างทั้งปวงว่า มีกรรมสิทธิ์อยู่เหนือดินแดนทั่วไปทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และบรรดาเกาะทั้งหลายในแม่น้ำนั้น ห้ามมิให้มีเรือติดอาวุธไว้ใช้ หรือเดินไปมาในน่านน้ำของทะเลสาบ และของแม่น้ำโขง และลำน้ำที่แยกจากแม่น้ำโขง ไม่สร้างค่ายหรือที่ตั้งกองทหารไว้ในเมืองพระตะบอง และเมืองนครเสียมราฐ รวมทั้งบนฝั่งขวาแม่น้ำโขงในรัศมี 25 กิโลเมตร 

“วันแห่งรอยยิ้มสากล” ร่วมฉลองวันแห่งรอยยิ้ม 2 ตุลาคม โดยไอเดียของ ฮาร์วีย์ บอลล์ ผู้สร้าง “สไมลีย์” เจ้าหน้ายิ้มสีเหลืองอันโด่งดัง เครื่องหมายแทนความปรารถนาดี และกำลังใจแก่โลก

วันแห่งรอยยิ้มสากล เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 โดยไอเดียของ ฮาร์วีย์ บอลล์ ศิลปินนักสร้างสรรค์โฆษณา จากเมืองวอร์เซสเตอร์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้สร้าง สไมลี่ย์ เฟซ (Smiley Face) เจ้าหน้ายิ้มสีเหลืองอันโด่งดัง ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นเครื่องหมายแทนความปรารถนาดีและกำลังใจแก่โลก

โดยหลังจากที่พบว่าสัญลักษณ์หน้ายิ้มสีเหลืองของเขาเป็นที่นิยมขนาดไหน รวมถึงอยากให้ทุก ๆ คนได้ร่วมกันอุทิศวันหนึ่งในรอบปีเพื่อส่งรอยยิ้มแก่กันไปทั่วโลก ดังนั้นเขาจึงได้ประกาศให้วันศุกร์แรกของเดือนตุลาคม ในแต่ละปี กลายเป็น วันแห่งรอยยิ้มสากล โดยจะมีการจัดงานที่บ้านเกิดของเขาในทุก ๆ ปี เพื่อคืนความสุขให้แก่ชาวบ้านที่เครียดจากงาน

เมื่อฮาร์วีย์จากไปในปี พ.ศ. 2544 ได้มีการก่อตั้งองค์กร Harvey Ball World Smile ขึ้น และเพื่อเป็นการรำลึกถึงเขา ทางองค์กรยังได้นำเอา สไมลี่ย์ เฟซ มาใช้เป็นสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของวันแห่งรอยยิ้มสากล ซึ่งจากวันเฉลิมฉลองประจำเมืองเล็ก ๆ ได้มีความสำคัญมากขึ้นจนกลายมาเป็นวันสำคัญของโลกในปัจจุบัน

1 ตุลาคม วันคล้ายวันสวรรคต “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ที่ 4

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทวาวงศ์พงษ์อิศรกษัตริย์" เสด็จพระราชสมภพวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในสมัยรัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานในพระราชนิเวศน์เดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวราราม เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 43 และเป็นลำดับที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

เมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ทรงประกอบพระราชพิธีโสกัณฑ์ จากนั้นทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่ 7 เดือน จึงลาผนวชเจ้าฟ้ามงกุฎ ทรงศึกษาเล่าเรียนอักษรสยาม ตั้งแต่เมื่อครั้งประทับ ณ พระราชวังเดิมในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) วัดโมลีโลกยาราม เมื่อพระชนมายุ 20 พรรษา ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ระยะแรกทรงจำพรรษา ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) ต่อมาได้เสด็จมาประทับ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เพื่อทรงศึกษาพระปริยัติธรรม ทรงสอบได้ เปรียญ 5 ประโยค ทรงเชี่ยวชาญรอบรู้ในพระไตรปิฎก จากนั้นได้เสด็จไปประทับ ณ วัดสมอราย

ในขณะที่ทรงผนวชอยู่นั้น รัชกาลที่ 2 ได้เสด็จสวรรคต ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ได้ทูลเชิญ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ขึ้นเป็นรัชกาลที่ 3 ทั้ง ๆ ที่พระองค์มีสิทธิ์ในราชบัลลังก์อย่างพร้อมบูรณ์ ตามโบราณราชประเพณี พระองค์จึงตัดสินพระทัยผนวชเป็นภิกษุในผ้ากาสาวพัสตร์ต่อไป ขณะที่ทรงผนวชอยู่ได้ศึกษาภาษาอังกฤษจนสามารถพูดและเขียนได้เป็นอย่างดี นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์แรกในทวีปเอเชียที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ นอกจากนี้ยังทรงศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมืองและศาสนา ที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษได้ด้วยพระองค์เอง ทรงปรับปรุงแก้ไขวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ให้เคร่งครัดขึ้น ทำให้เกิดพระสงฆ์คณะใหม่ขึ้น เรียกว่า ธรรมยุติกนิกาย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เชิญเสด็จมาประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ามงกุฎ จึงได้ลาผนวช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ วิสุทธสมมติเทพยพงศ์วงษาดิศวรกระษัตริย์ วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันบรมมหาจักรพรรดิราชสังกายบรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตรพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 ขณะที่มีพระชนมายุได้ 47 พรรษา ทรงมีพระนามย่อว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พร้อมกันนี้ พระองค์ทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมีพระราชพิธีบวรราชาภิเษกและทรงรับพระบวรราชโองการ ให้พระเกียรติยศเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 2 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนในฝ่ายสมณศักดิ์นั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส โดยมหาสมณุตมาภิเษกขึ้นเป็น กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราช เป็นต้น

States TOON EP.29

ว่าด้วยเรื่องน้ำท่วม

ติดตามการ์ตูนขำๆ ได้ทุกสัปดาห์

วันนี้เมื่อ 12 ปีที่แล้ว “เพชรา เชาวราษฎร์” ตำนาน "ราชินีจอเงิน" นางเอกนัยน์ตาหยาดน้ำผึ้ง...ได้ปรากฏตัวครั้งแรกในรอบกว่า 30 ปี ผ่านโฆษณามิสทีน

อี๊ด เพชรา ชื่อเดิมว่า เอก เชาวราษฎร์ เป็นชาวระยอง ในปี พ.ศ. 2504 เพชรา เชาวราษฎร์คว้าตำแหน่งชนะเลิศ "เทพธิดาเมษาฮาวาย" ซึ่งจัดโดยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ณ เวทีลีลาศสวนลุมพินี ผู้ส่งเธอเข้าประกวดเป็น น้องสาวของพี่เขย และใช้ชื่อในการประกวดว่า "ปัทมา เชาวราษฎร์" จากนั้น ศิริ ศิริจินดาและดอกดิน กัญญามาลย์ทาบทามมาแสดงหนังเรื่องแรกคือ "บันทึกรักพิมพ์ฉวี" (พ.ศ. 2505) คู่กับมิตร ชัยบัญชา ขณะนั้นมิตรมีชื่อเสียงในวงการภาพยนตร์อยู่ก่อนแล้ว โดยดอกดินเป็นคนตั้งชื่อ "เพชรา" ให้กับเธอเพื่อใช้ในวงการภาพยนตร์

ภาพยนตร์ของเพชราเริ่มต้น เมื่อ พ.ศ. 2505 - 2521 หลังจากนั้นเพชราได้ร่วมแสดงกับพระเอกคนอื่น ๆ อีกหลายคน เช่น สมบัติ เมทะนี, ไชยา สุริยัน, ลือชัย นฤนาท, นาท ภูวนัย, กรุง ศรีวิไล, ครรชิต ขวัญประชา, ยอดชาย เมฆสุวรรณ เป็นต้น จนเมื่อปี 2521 ภาพยนตร์เรื่องสุดท้าย เธอรับบทเป็นแม่ของสรพงศ์ ชาตรีในภาพยนตร์เรื่อง "ไอ้ขุนทอง" และเมื่อใดที่เรากล่าวถึงอมตะหนังไทยและดาราคู่ขวัญ มิตร-เพชรา คือ พระ-นางคู่แรกที่ฉายชัดขึ้นมาทันที

เพชรา เชาวราษฎร์ มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 ซึ่งเป็นช่วงปลายของการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง "ไทยใหญ่" ปัญหาเรื่องสายตา เริ่มจากอาการแสบตา เนื่องจากเธอต้องอยู่กับไฟที่สว่างจ้าในโรงถ่าย การทำงานของเพชรา เชาวราษฎร์แทบไม่มีเวลาได้พักผ่อน และไม่ได้พบแพทย์เป็นประจำสม่ำเสมอ เนื่องจากงานถ่ายทำภาพยนตร์รัดตัวทั้งวัน ทั้งคืน

เพชรา เชาวราษฏร์ เป็นเจ้าของผลงานแสดงภาพยนตร์ราว 300 เรื่อง และครึ่งหนึ่งในจำนวนนี้ เล่นคู่กับมิตร ชัยบัญชา
- ปี 2508 รางวัลพระสรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) จากภาพยนตร์เรื่อง นกน้อย ปี พ.ศ. 2508
- ปี 2508 รางวัลคู่ขวัญดาราทองจากภาพยนตร์เรื่อง เงิน เงิน เงิน
- ปี 2544 รางวัลสรรพศาสตร์ศุภกิจ

29 กันยายน พ.ศ. 2548 ‘พต.ท. ทักษิณ ชินวัตร’ เป็นประธานเปิดทดลองใช้สนามบินสุวรรณภูมิเป็นครั้งแรก! จากสนามบินอาถรรพ์ สู่ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดอันดับต้นๆ ของโลก

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ชื่อเดิมสนามบินหนองงูเห่า) เป็นสนามบินที่มีแนวคิดจากการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่สองในกรุงเทพมหานคร เริ่มมีขึ้นในปี พ.ศ. 2503 ในสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดตั้ง "สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ" ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม รัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร ให้สัมปทานแก่บริษัทนอร์ททรอปแห่งสหรัฐอเมริกา แต่ยังไม่ทันก่อสร้าง ก็เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ จนสัมปทานถูกยกเลิก

กระทั่งถึงรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มีความคืบหน้าของการก่อสร้างท่าอากาศยานมากที่สุด เพราะการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพิ่งจะสามารถเริ่มขึ้นได้ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 สืบเนื่องมาจากการขาดเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ วิกฤติการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 โดยก่อนหน้านั้น มีการปรับปรุงพื้นที่เป็นเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2540-2544) และต่อมาในปี พ.ศ. 2548 มีการโอนหน้าที่อำนวยการก่อสร้างและการจัดการให้แก่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) พร้อมทั้งปิดกิจการบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด

เมื่อ 27 กันยายน พ.ศ. 2547 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ยืนยันอีกครั้งว่า การก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิจะแล้วเสร็จทันกำหนดแน่นอน โดยคาดว่าจะเปิดให้มีการทดสอบการบินได้ในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2548 

โดยสนามบินสุวรรณภูมิเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ 2548 และในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2548 คณะรัฐมนตรีโดยสารเที่ยวบินปฐมฤกษ์จากท่าอากาศยานกรุงเทพสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่ฝั่งรันเวย์ตะวันออก เที่ยวบินแอร์บัส 340-600 โดยที่ผิวรันเวย์ ระบบสื่อสารจราจรทางอากาศ รวมถึงระบบนำร่องอากาศยานมีความพร้อมสมบูรณ์เต็มที่

วันนี้เมื่อ 104 ปีที่แล้ว รัชกาลที่ 6 ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการประกาศให้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการประกาศให้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2460 โดย ทรงพระราชทานนามว่า “ธงไตรรงค์”

ซึ่ง “ธงไตรรงค์” กำเนิดขึ้นหลังเหตุการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองอุทัยธานี เมื่อ พ.ศ. 2459 ครั้งนั้นราษฎรแสดงความจงรักภักดีและปลื้มปีติในการเสด็จฯ ด้วยการพยายามจะหาธงทิวซึ่งขณะนั้นเป็นธงรูปช้างเผือกอยู่ตรงกลางธงมาประดับประดาเพื่อรับเสด็จ 

แต่ด้วยธงชาติมีราคาแพงและหาได้ยาก จึงได้นำผ้าทอสีแดงขาวมาห้อยหรือจีบเป็นรูปสวยงามประดับอยู่ตามทางเสด็จฯ ผ่านพระราชปรารภนี้เป็นส่วนหนึ่งประกอบกับเหตุการณ์ที่ทำให้ทรงสะเทือนพระราชหฤทัยเป็นอย่างมากระหว่างเสด็จประพาส ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะธงชาติไทยครั้งสำคัญ 

หลังจากเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครุ่นคิดถึงเรื่องราวและภาพที่ทรงผ่านพบอยู่ตลอดเวลา จึงทรงปรึกษากับเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ในพระราชสำนักถึงการที่จะแก้ไขธงไทยเสียใหม่ โดยทรงใช้หลักการสำคัญคือ คำนึงถึงเศรษฐกิจของราษฎรเป็นข้อแรก 

โดยพระองค์ทรงตระหนักพระทัยว่า ธงช้างนั้นเป็นภาพพิมพ์ที่ต้องส่งมาจากต่างประเทศจึงมีราคาแพง ราษฎรไม่สามารถจะซื้อหามาไว้ใช้ประจำบ้านได้ ข้อต่อไปคือต้องมีความหมายและความสง่างาม เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจรวมใจผู้คนให้ยึดมั่นร่วมกัน

26 กันยายน พ.ศ. 2527 สหราชอาณาจักรและสาธารณรัฐประชาชนจีน บรรลุข้อตกลงในแผนการส่งมอบฮ่องกงคืนให้จีนในปี 2540

“ฮ่องกง” เดิมเป็นหมู่บ้านประมงเล็กๆ แห่งหนึ่ง ในเขตอำเภอซินอัน เมืองเซินเจิ้นภูมิประเทศเป็นเมืองท่าน้ำลึก เหมาะแก่การจอดเรือสินค้าขนาดใหญ่ จึงทำให้ฮ่องกงกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญของโลก

ด้วยเหตุนี้เองประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งปกครองโดยพระนางวิกตอเรีย กำลังต้องการอาณานิคมในแถบทะเลจีนใต้ เพื่อใช้เป็นที่จัดส่งสินค้า หรือฝิ่นพอดี ประจวบเหมาะกับที่ฝ่ายสหราชอาณาจักร และจีนกำลังมีปัญหาเรื่องการค้าฝิ่นในแถบกวางตุ้งของจีน จนทำให้เกิดสงครามฝิ่นครั้งที่ 1 ขึ้น ในปี ค.ศ. 1839

อังกฤษจึงเข้ายึดดินแดนแถบฮ่องกงเป็นของสหราชอาณาจักร ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2384 จนเมื่อจีนแพ้สงครามฝิ่น ปลายศตวรรษที่ 19 เกาะฮ่องกง และดินแดนตอนปลายคาบสมุทรเกาลูน จึงตกเป็นอาณานิคมในปี พ.ศ. 2385 และ พ.ศ. 2403 (ค.ศ. 1860) ตามลำดับ

วันนี้ในอดีต “สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า” เริ่มเปิดการจราจรเป็นวันแรกในปี พ.ศ. 2516 โดยสะพานแห่งนี้สร้างข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา - เชื่อมต่อเขตพระนคร - เขตบางพลัด ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท

“สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า” (Somdet Phra Pinklao Bridge) หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานปิ่นเกล้า เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าระหว่างเขตพระนคร (ฝั่งพระนคร) กับเขตบางกอกน้อย (ฝั่งธนบุรี) กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท

สะพานพระปิ่นเกล้าเป็นสะพานแบบคอนกรีตอัดแรงชนิดต่อเนื่อง มีจำนวนช่องทางรถวิ่ง 6 ช่องทางจราจร ความกว้างของสะพาน 26.60 เมตร ความยาว 622 เมตร สร้างขึ้นเพื่อผ่อนคลายความคับคั่งของการจราจร โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ในการสำรวจออกแบบสะพาน และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่รัฐบาลไทย 
 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top