Sunday, 5 May 2024
สว่าง ทองดี

“อิสตันบูล (Istanbul)” เป็นเมืองที่เปี่ยมไปด้วยเสน่ห์และเปี่ยมไปด้วยความขลัง เพราะนอกจากจะเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นแล้ว ยังเป็นเมืองที่ตั้งตรงรอยต่อระหว่างสองทวีป คือเอเชียและยุโรป

ทั้งที่ยังไม่เคยได้ไปเยือนซานฟรานซิสโก แต่ความคิดแว้บแรกเมื่อไปถึงอิสตันบูล ผมรู้สึกว่าคล้ายเมืองริมทะเลแห่งรัฐแคลิฟอร์เนียนี้มาก อาจจะเพราะเคยดูหนังที่มีฉากเมืองซานฟรานซึ่งมีความคล้ายคลึงกันหลายส่วน เช่นเป็นเมืองใหญ่ติดทะเล บ้านเรือนปลูกสร้างลดหลั่นกันไปตามเนินเขา ถนนหนทางคดเคี้ยวและบางช่วงชัน มองเห็นวิวทะเลได้แต่ไกลจากหลายมุม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม อิสตันบูลก็คืออิสตันบูล (และซานฟรานซิสโก ก็คือซานฟรานซิสโก) ยังคงมีเอกลักษณ์โดดเด่นและแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเมื่อได้สัมผัสใกล้ชิดมากขึ้น

คนจำนวนมากเข้าใจผิด คิดว่าอิสตันบูลคือเมืองหลวงของตุรกี ที่จริงอังการาซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศต่างหากคือศูนย์กลางการเมืองการปกครองของประเทศนี้ แต่ด้วย “ความขลัง” กว่า ในแง่ที่มีประชากรหนาแน่นกว่าสิบห้าล้านคน นับว่าเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังตั้งอยู่ ณ รอยต่อระหว่างสองทวีป คือเอเชียและยุโรป โดยมีช่องแคบบอสพอรัสกั้นไว้ ทำให้วัฒนธรรมและศาสนาของทั้งโลกตะวันออกและตะวันตก คลุกเคล้ากันผ่านช่วงเวลายาวนาน ถ้าสาวประวัติเมืองย้อนกลับไปก็คงตั้งแต่สมัยสองพันกว่าปีก่อนในยุคที่เรียกว่าไบแซนไทน์ อิสตันบูลในยุคนั้นมีชื่อว่ากรุงคอนสแตนติโนเปิล จักรวรรดินี้ยืนยงคงกระพันนับพันปีและถือว่าเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ แต่ในที่สุดก็พ่ายแพ้แก่พวกออตโตมันซึ่งเป็นมุสลิม และอิทธิพลอิสลามก็สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ เมื่อนำภาพในอดีตมาปะติดปะต่อเข้ากับสภาพเมืองในปัจจุบันก็พบว่าประวัติศาสตร์เป็นปัจจัยหลักที่สร้างมนต์เสน่ห์ให้กับเมืองนี้เป็นอย่างมาก ยิ่งเมื่อผนวกเข้ากับภูมิทัศน์สวยงาม สถาปัตยกรรมเก่าแก่ผสมผสานหลายยุคสมัย ยิ่งทำให้ใครก็ตามที่ได้มาเยือนอิสตันบูลตกหลุมรักเมืองนี้อย่างง่ายดายยามแรกพบเลยทีเดียว

อิสตันบูลเป็นเมืองทันสมัย สามารถเดินทางสัญจรภายในเขตต่าง ๆ โดยเลือกใช้ขนส่งมวลชนหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า เรือข้ามฟาก รถราง รถบัส ซึ่งเมื่อซื้อบัตรโดยสารใบเดียวก็สามารถใช้ได้กับทุกระบบขนส่ง หรือถ้าต้องการความสะดวกรวดเร็วและเป็นส่วนตัวมากกว่าก็ใช้บริการแท็กซี่กับ Grab แต่วิธีดีที่สุดที่จะช่วยให้เห็นรายละเอียดของสิ่งละอันพันละน้อย ก็คือการเดินนั่นเอง ยิ่งใครที่ชื่นชอบการถ่ายรูปจะรื่นรมย์เดินชมเมืองมาก จะทอดน่องไปตามตรอกซอยน้อยใหญ่ เดินเล่นบนบาทวิถีริมทะเล เดินข้ามสะพานที่เต็มไปด้วยชายนักหย่อนเบ็ดตกปลา หรือเบียดแทรกตัวเองท่ามกลางฝูงคนในย่านช้อปปิ้งล้วนให้ความเพลิดเพลินทั้งนั้น บรรดาแลนด์มาร์กและสถานที่น่าสนใจกระจายตัวในระยะเดินถึง ถ่ายรูปวิวสลับกับการสังเกตการใช้ชีวิตตามปกติของชาวเมือง หรือนั่งพักแล้วสังเกตอากัปกิริยาผู้คนที่เดินผ่านไปมาทั้งหลายก็เพลินดี

ส่วนใหญ่แล้วนักท่องเที่ยวมักไม่พลาดการไปชมงานสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นอลังการงานสร้างสองแห่งซึ่งอยู่ในเขตเมืองเก่าสุลต่านอาห์เม็ด ได้แก่สุเหร่าสีน้ำเงินและฮาเกียโซเฟีย แม้ศาสนสถานทั้งสองจะสร้างในช่วงเวลาที่แตกต่างกันและเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้ประกอบพิธีทางศาสนาที่แตกต่างกัน แต่มองผิวเผินแต่ไกลกลับให้ความรู้สึกเหมือนอาคารฝาแฝดเพราะมีรูปทรงค่อนข้างคล้ายคลึงกัน

แต่ละช่วงของวันก็ให้ความรู้สึกผ่อนคลายที่แตกต่างกันด้วย ช่วงกลางวันที่แดดจัดจ้าจะเห็นน้ำทะเลใสสีฟ้า ฝูงนกนางนวลโฉบเฉี่ยวร่าเริง แมวจรทั้งหลายต่างย่องขึ้นไปบนหลังคาบ้าน หรือไม่ก็แอบอยู่ตามมุมถนน ส่วนบรรยากาศยามเย็นใกล้ค่ำนั้นโรแมนติกกว่ามาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าใครที่เดินทางคนเดียวจะเกิดอาการเหงาจับใจเวลามองพระอาทิตย์ตกทะเลแต่อย่างใด เพราะแสงเงาบนท้องฟ้าสลับสีตระการตา คล้ายกำลังนั่งมองศิลปินผู้มีฝีมือล้ำเลิศละเลงสีเหลืองแดงชมพูม่วงส้มลงบนผืนผ้าใบชิ้นใหญ่มหาศาล ก็ทำให้หัวใจคับพองและ “อิ่ม” ได้เช่นกัน

ของคาวที่หาทานง่าย มีอยู่แทบทุกมุมเมืองคือเคบับ หิวเมื่อไหร่ก็แวะซื้อแล้วเดินทานไปด้วย เมนูปลาใกล้สะพานกาลาตาก็เด็ดไม่แพ้กัน หรือถ้าต้องการทานอาหารตุรกีที่มีความหลากหลายกว่าก็สามารถเลือกนั่งในร้านอาหารชนิดกินกันเป็นเรื่องเป็นราวเลยก็ได้ ของหวานขึ้นชื่อเห็นจะเป็นไอศกรีมตุรกี จุดเด่นนอกจากจะเป็นความเหนียวหนึบแล้ว พ่อค้าไอศกรีมยังใช้มุกหลอกลูกค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาว ๆ และเด็ก ๆ (มุกเก่าแต่ใช้ได้ตลอด) 

ในขณะที่ของหวานอันเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างคือบักลาวา หาซื้อได้ทั่วไปตามตลาด เปรียบเทียบแล้วน่าจะคล้ายกับใครมาเที่ยวเชียงใหม่ก็มักจะหาซื้อขนมกะละแมไปฝากเพื่อนฝูงญาติมิตรนั่นเอง ในส่วนของเครื่องดื่มยอดนิยมนั้นหนีไม่พ้นชาตุรกีซึ่งเสิร์ฟกันในแก้วทรงคอดตรงกลาง และกาแฟซึ่งต้มในภาชนะโลหะมีด้ามจับที่เรียกว่าอีบริก เสิร์ฟในถ้วยเซรามิกเล็ก เวลาจะจิบชาหรือกาแฟก็มักเติมน้ำตาลลงไปด้วยสักช้อนชาเพื่อตัดความขม และแม้จะเป็นประเทศมุสลิม แต่ก็มีความเป็นเสรีนิยมค่อนข้างสูง ดังนั้น เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทั้งหลายอย่างเหล้าเบียร์หรือไวน์ก็ยังสามารถหาจิบได้โดยไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด 

ที่พักหาไม่ยากและมีทุกระดับตั้งแต่ดาวเดียวถึงทะลุห้าดาว ในสมัยที่อินเตอร์เน็ตยังไม่เฟื่องฟู นักเดินทางโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกทุนต่ำแบกเป้ มักพกโลนลี่แพลเน็ต เสมือนคัมภีร์นำทาง เพราะมีข้อมูลที่จำเป็นแทบทุกอย่าง แต่ปัจจุบันนี้นักท่องเที่ยวแทบทั้งหมดหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ที่พักก็จองผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ จะพักที่ไหนจะกินอะไรก็ดูรีวิวเอา ร้านไหนสถานที่อะไรคนนิยมมาก ๆ ก็ต้องไปเช็คอินเมื่อไปถึง นักท่องเที่ยววัยรุ่นขาโจ๋ผู้นิยมสังสรรค์ปาร์ตี้จนดึกดื่น มักเลือกพักโฮสเทลในย่านทักซิม ซึ่งเต็มไปด้วยร้านรวงสมัยใหม่และผับบาร์อึกทึก มีถนนคนเดินเหมาะสำหรับคนเสพติดการช้อปปิ้งเป็นที่สุด ในขณะที่ย่านสุลต่านอาห์เม็ดนั้นเหมาะสำหรับคนชอบความสงบ พวกผู้ใหญ่ คนสูงวัย นักเดินทางผู้รักความสันโดษ หรือคู่รักฮันนีมูนน่าจะชอบย่านเมืองเก่านี้มากกว่า 

ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นเพียง “น้ำจิ้มชิมลาง” เท่านั้น เพราะยังมีอีกมากมายหลายอย่างที่น่าสนใจ สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็นฉันใด อยากรู้ว่าอิสตันบูลมีเสน่ห์มากแค่ไหนก็ต้องมาให้เห็นด้วยตัวเองนะครับ 


เขียนโดย : คุณสว่าง ทองดี จบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ (ชีววิทยา) ชอบปั่นจักรยานท่องโลกและหลงไหลกาแฟ

“ลาปาซ” คือเมืองหลวงของประเทศโบลิเวียที่เรียกได้ว่าเป็นเมืองหลวงที่สูงที่สุดในโลกเพราะอยู่ห่างจากระดับน้ำทะเลถึง 3,650 เมตร นอกจากความสวยงามของเมืองแห่งนี้แล้วยังมีประเพณีและวัฒนธรรมที่สวยงามอีกด้วย

“ที่สุดในโลก” ต้องยกให้ลาปาซ คือการรั้งตำแหน่งเมืองหลวงที่ตั้งอยู่สูงที่สุดในโลก ด้วยความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 3,650 เมตรจากระดับน้ำทะเล นครบนเทือกเขาแอนดีสแห่งนี้เป็นศูนย์กลางการปกครองและเศรษฐกิจของโบลิเวีย ประเทศหนึ่งในทวีปอเมริกาใต้ซึ่งหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์เคยตกอยู่ภายใต้อาณานิคมสเปนอย่างยาวนานหลายร้อยปี เฉกเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ในโลกซีกนี้ ร่องรอยแห่งยุคล่าเมืองขึ้นยังปรากฏให้เห็นโดยทั่วไปผ่านทางสิ่งก่อสร้าง ศาสนา ภาษา สิ่งตกค้างทางวัฒนธรรมด้านอาหาร ดนตรี การเต้นรำ และเทศกาลต่าง ๆ

“ลาปาซ” (La Paz) เป็นชื่อเรียกภาษาสเปน มีความหมายว่า “สันติภาพ” ฟังแล้วไพเราะ หากมองเมืองนี้แต่ผิวเผินด้วยสายตานักท่องเที่ยวก็คงเห็นด้วย เพราะโดยรวมขณะไปเยือนและอยู่ที่นั่นก็สามารถสัมผัสถึงความสงบสุขมีชีวิตชีวามากทีเดียว ทว่า หากย้อนกลับไปคุ้ยค้นประวัติศาสตร์และสภาพปัญหาที่หยั่งรากลึก ณ ปัจจุบันนี้ก็เริ่มเห็นภาพการพยายามดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของชาวเมืองนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะว่าไปไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดแต่อย่างใดสำหรับประเทศ “กำลังพัฒนา” ทั้งหลาย (รวมเมืองไทยด้วยไหม?)

อาจจะโชคดีที่ผมไม่ได้สิงสถิตนานมากพอ จึงได้แต่บอกเล่าสิ่งละอันพันละน้อยเกี่ยวกับมนต์เสน่ห์ของเมืองหลวงแห่งเทือกเขาแอนดีสนี้ โดยไม่อาจล้วงลึกถึงแก่นปัญหาสังคม ซึ่งมองในแง่หนึ่งก็ทำให้รื่นรมย์ชื่นชมเมืองในขณะเป็นแขกเหรื่อชั่วคราวที่นั่นได้มากทีเดียว เพราะภาพที่เห็นไม่ได้ทำให้ความรู้สึกและอารมณ์ขุ่นมัวนั่นเอง 

เนื่องจากเป็นเมืองที่ขยายตัวออกค่อนข้างกว้าง แถมตึกรามบ้านช่องยังปลูกสร้างกันบนไหล่เขาลดหลั่นเสียขนาดนั้น ในฐานะนักท่องเที่ยว หากจะตั้งต้นทำความรู้จักลาปาซ ก็คงต้องเริ่มกันที่จุดศูนย์กลาง ในที่นี้ คือย่านเมืองเก่าคาสโกเวียโฮซึ่งมีทุกอย่างพร้อมสรรพสำหรับทัวริสต์ เปรียบเทียบก็คงคล้ายพื้นที่โดยรอบคูเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเต็มไปด้วยที่พัก ร้านค้า ร้านอาหาร ผับบาร์ บริษัททัวร์ พิพิธภัณฑ์ และทุกสิ่งทุกอย่างที่นักท่องเที่ยวพึงประสงค์ 

แน่นอน ย่านนี้ได้รับการบูรณะอย่างดี ถนนปูด้วยก้อนหินคนเดินเหยียบย่ำกันทุกวันจนสึกกร่อนมันเลื่อม สินค้าที่ระลึกอาจจะแปลกตาสำหรับคนต่างชาติต่างภาษา ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะ งานถักทอจักสาน แม้กระทั่งเจ้าก้อนหินซากฟอสซิลก็มีจำหน่าย ซึ่งซากหอยโบราณที่พบบนเทือกเขาแอนดีสความสูงตั้งหลายพันเมตรเหล่านั้นก็มีอายุอานามพอ ๆ กับหินเก่าแก่ประเภทเดียวกันที่พบบนเทือกเขาหิมาลัยด้วยเช่นกัน เช่นนี้แล้วก็น่าสนใจมากในแง่ที่ครั้งหนึ่งเมื่อนานมาแล้วน้ำเคยท่วมทั้งโลกตามที่คัมภีร์โบราณตะวันออกกลางได้บันทึกไว้นั้นมีมูลความจริงหรือไม่

ระยะที่ห่างออกจากตัวเมืองเก่าเพียงเล็กน้อยแค่ระยะเดินถึง สามารถสำรวจตลาดใหญ่ขายทุกอย่างชนิดสำเพ็ง เยาวราช ประตูน้ำ บางลำพูรวมกันอาจไม่สามารถเทียบได้ เดินสำรวจตรวจตราและถ่ายรูปไปพลางอาจหอบหายใจถี่เพราะปริมาณออกซิเจนต่ำกว่าค่าปกติที่อยู่บนพื้นที่สูงเกือบสี่พันเมตรเช่นนี้ แต่สนุก เพราะมีสีสันและมีชีวิตชีวา คล้ายตลาดสดของประเทศในแถบเอเชียซึ่งไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย พวกฝรั่งมังค่าอาจจะตื่นตา ทว่าคนไทยอาจจะรู้สึกถึงความคุ้นเคยบางประการแม้จะจากบ้านเมืองตัวเองมาไกลค่อนโลกเช่นนี้ ต้องเรียกว่าเป็นความเหมือนแบบ same same but different ล่ะ เพราะสีสันฉูดฉาดที่แตกต่าง กลิ่นที่จมูกรับสัมผัสก็ไม่ใช่กลิ่นแบบเอเชีย สิ่งที่เหมือนคือความวุ่นวายขวักไขว่และไร้ระเบียบนั่นแหละ 

คนดั้งเดิมอาศัยอยู่กันมาก่อนพวกสเปนจะมารุกรานคือชนเผ่าอินคาหลากหลายชาติพันธุ์ เทียบกับเมืองไทยก็คงเหมือนชนเผ่าบนดอย ไม่ว่าจะเป็นอาข่า ลีซู ปวากะญอ ลาหู่ และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่โบลิเวียนั้นคนท้องถิ่นเชื้อสายหลักคือ คนไอยมารา และเกชัว คนเหล่านี้มีผิวสีน้ำตาล ผมดำ และโครงหน้าคล้ายคนอินเดียนแดงทางอเมริกาเหนือ สันนิษฐานว่าน่าจะมีความเกี่ยวโยงกันทางพันธุกรรม และน่าจะมีบางอย่างเชื่อมโยงกับคนเอเชียด้วย หากพิจารณาเฉพาะในตัวเมืองลาปาซแล้วจะพบว่าประชากรราว 80% เป็นคนท้องถิ่นดั้งเดิม มีคนขาวซึ่งเป็นลูกหลานชาวยุโรปซึ่งตกค้างมาจากสมัยล่าอาณานิคมอยู่เพียงเล็กน้อย นัยหนึ่งก็คือโบลิเวียเป็นประเทศซึ่งมีความเป็นชาตินิยมสูง แม้กระทั่งประธานาธิบดีก็เป็นคนที่ปกครองยาวนานมากที่สุดคนหนึ่ง คือโมราเลส ก็เป็นคนเผ่าไอยมารา แถมยังมีนโยบายแข็งกร้าวต่อท่าทีของสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องพืชโคคา เป็นที่ทราบกันดีว่าใบโคคานั้นนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นร่วมกับการผลิตยาเสพติดร้ายแรงโคเคน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วโคคาเป็นพืชประจำถิ่นบนเทือกเขาแอนดีสและผู้คนก็เคี้ยวใบโคคาแห้งกันมายาวนานหลายศตวรรษ เรียกว่าเป็นวัฒนธรรมอินคาอย่างหนึ่งก็ว่าได้ โบลิเวียเป็นประเทศเดียวในอเมริกาใต้ที่ออกกฎหมายอนุญาตให้มีการขายใบโคคาแห้งในตลาดร้านค้าได้ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาค่อนข้างมาก ทั้งนี้ก็เพราะมองกันคนละมุมนั่นเอง

ในตลาดเต็มไปด้วยพ่อค้าแม่ขาย ส่วนใหญ่ผู้หญิงหลังแต่งงานไปจนถึงวัยกลางคนมักเริ่มกลายสภาพเป็น “ตุ่มเคลื่อนที่” เพราะรูปร่างและน้ำหนักตัวของพวกเธอ ด้วยเอกลักษณ์เครื่องแต่งกายเฉพาะไม่ซ้ำแบบหรือพยายามตามกระแสโลกปัจจุบันที่นิยมหญิงร่างบางสูงโปร่ง ผู้หญิงโบลิเวียปล่อยให้ร่างท้วมฉุเพราะเชื่อว่าคือความอุดมสมบูรณ์ สามารถสืบทอดเผ่าพันธุ์ได้ดีกว่า อีกทั้งแฟชั่นเครื่องแต่งกายก็ยังคงเป็นการนุ่งกะโปรงจับจีบคล้ายสุ่มไก่สีสันฉูดฉาด พร้อมกับสวมหมวกทรงคาวบอยหรือหมวกนักมายากล อันที่จริง ผู้หญิงโบลิเวียแข็งแกร่งกว่าที่คิดมาก เพราะมีกีฬามวยปล้ำที่เรียกว่าโชลิตา ซึ่งนักกีฬาจะต่อสู้กันในสังเวียน อาจจะเป็นผู้หญิงสู้กับผู้หญิงด้วยกันเอง หรือผู้หญิงต่อกรกับผู้ชายอกสามศอกก็ได้ ดังนั้น ถ้าจะให้ดี อย่าได้ริต่อล้อต่อเถียงกับผู้หญิงประเทศนี้จะดีที่สุด  

แม้ศาสนาตะวันตกจะมีบทบาทในสังคม แต่คนโบลิเวียจำนวนมากยังคงเหนียวแน่นในจารีตและความเชื่อดั้งเดิมแห่งบรรพบุรุษ ยังคงเชื่อถือโชคลางและผีสาง ยังมีการบนบานสานกล่าว สังเกตได้ง่ายจากย่านหนึ่งใกล้คาสโกเวียโฮที่เต็มไปด้วยร้านขายเครื่องเซ่นไหว้ รวมถึงของบวงสรวงอย่างเช่นรกและตัวอ่อนสัตว์ประเภทลามาขายเป็นสินค้าปกติ นั่นก็อีกหนึ่งความน่าสนใจในลาปาซ 

หากอยากเห็นเมืองในมุมกว้างและสูง ชนิดตื่นตาตื่นใจ ด้วยสนนราคาถูก ก็ต้องนั่งกระเช้าไฟฟ้าอันเป็นขนส่งสาธารณะชั้นเยี่ยม เพราะมีเครือข่ายครอบคลุมแทบทั่วทั้งเมือง และยังคงมีการขยายมากขึ้นไปอีก เทียบแล้วก็คงคล้ายกับระบบรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดินในเมืองใหญ่ทั้งหลาย รวมทั้งกรุงเทพมหานครที่พยายามเชื่อมทั้งเมืองเข้าด้วยกัน แต่ลาปาซไม่สามารถใช้ระบบรถไฟฟ้า เพราะเมืองตั้งอยู่บนไหล่เขาลาดชันมาก กระเช้าไฟฟ้าจึงเป็นวิธีที่สมเหตุสมผลมากกว่าโดยประการทั้งปวงนั่นเอง นอกจากจะได้ชมทั้งเมืองแล้ว ในวันฟ้าเปิดยังมองเห็นภูเขาหิมะในระยะไกลออกไปอีกด้วย

จะได้ “สัมผัส” สิ่งละอันพันละน้อยในเมืองใหญ่ลาปาซมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณเวลาที่มี กับความกว้างของใจของผู้ไปเยือนที่เปิดออก ...ไหน ๆ ก็ยากเย็นกว่าจะไปถึงแล้ว ก็อยู่ให้นานหน่อย เปิดใจให้กว้าง ๆ เพื่อรับทราบเรียนรู้ และซึมซับความประทับใจที่เมืองนี้สามารถหยิบยื่นให้ได้ ดีไหม?    


เขียนโดย : คุณสว่าง ทองดี จบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ (ชีววิทยา) ชอบปั่นจักรยานท่องโลกและหลงไหลกาแฟ

สถานที่ ๆ ขึ้นชื่อทั้งในเรื่องของความสวยงามของทิวทัศน์และรวมสัตว์แปลก ๆ ที่หาชมได้ยากไว้ที่นี้ สัมผัสบรรยากาศที่ไม่เคยพบเจอที่ไหนมาก่อนได้ที่ หมู่เกาะกาลาปากอส (Galapagos)

กาลาปากอสเป็นหมุดหมายการท่องเที่ยวที่ต้องจ่ายแพงกว่าปกติ ค่าที่ขึ้นชื่อระดับโลกเรื่องสัตว์แปลก ๆ รวมถึงความงดงามมหัศจรรย์ของภูมิทัศน์ ผนวกเข้ากับเรื่องราวของ ชาลส์ ดาร์วิน ผู้เคยร่วมโดยสารเรือหลวงอังกฤษเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว เขาได้ผ่านไปเยือนหมู่เกาะแห่งแปซิฟิกซึ่งห่างจากฝั่งราวพันกิโลเมตรเหล่านี้ แล้วเขียนหนังสือท้าทายความเชื่อของคริสตศาสนจักรว่าด้วยทฤษฎีวิวัฒนาการ นี่ยิ่งกระพือความอยากของใครต่อใครให้ไปเยือนกาลาปากอส

คนมีเงินเป็นถุงเป็นถังคงไม่กระไร แต่สำหรับผมผู้ซึ่งเป็นนักเดินทางทุนต่ำจำเป็นต้องคิดแล้วคิดอีกหลายตลบกว่าจะตัดสินใจจัดทริปนี้ให้กับตัวเอง เริ่มตั้งแต่ตั๋วเครื่องบิน ซึ่งคนต่างชาติต้องจ่ายแพงกว่าคนเอกวาดอร์ราวสองเท่า ไหนจะค่าเข้าเขตพิเศษ ค่าเข้าอุทยานแห่งชาติ ค่าที่พักอาหารและจิปาถะต่าง ๆ ระหว่างที่อยู่บนเกาะ รวม ๆ แล้วเพียงสิบวันผมต้องควักเงินจ่ายไปเท่ากับค่าใช้จ่ายในการเดินทางปกติสองเดือน ถือว่าโหดมาก

ผมตั้งต้นที่เมืองวายากิล ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศเอกวาดอร์ (หรือจะขึ้นเครื่องที่สนามบินเมืองหลวงกีโตก็ได้เช่นกัน) เครื่องบินเทคออฟจากรันเวย์ ใช้เวลาราวชั่วโมงก็ลดระดับความสูงลงเพื่อจะร่อนลงรันเวย์ของสนามบินเซย์มอร์บนเกาะบัลตราอันเป็นหน้าด่านแรก น้ำทะเลสีครามน้ำเงินปรากฎขึ้น เห็นผืนแผ่นดินสีน้ำตาลเห็นจากมุมสูงก็รู้ทันทีว่านั่นต้องเป็นหมู่เกาะกาลาปากอสแน่นอน ผู้โดยสารส่วนใหญ่ออกอาการตื่นเต้นกันอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเครื่องจอดสนิทแล้วผู้คนก็ออกมาสู่อาคารผู้โดยสาร เดินตาม ๆ กันไป เจ้าหน้าที่ประทับตราการเข้าสู่เกาะลงในพาสปอร์ตเสร็จก็ไปขึ้นรถบัสซึ่งอยู่ด้านนอกอาคาร นักท่องเที่ยวบางส่วนที่มากับทัวร์ก็มีไกด์คอยอำนวยความสะดวกให้ ส่วนคนที่มาเองก็ต้องช่วยเหลือตัวเองเพื่อจะไปยังเกาะซานตาครูซ รถบัสพามาถึงท่าเรือ เกาะบัลตราและซานตาครูซอยู่ใกล้กันมาก นั่งเรือเล็กไม่ถึงห้านาทีก็ข้ามมาอีกฝั่งแล้ว จากนั้นก็ต้องนั่งรถบัสอีกหนึ่งต่อเพื่อไปยังปวยร์โตอโยราอันเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของเกาะ 

เนื่องจากผมไม่ได้จองที่พักล่วงหน้า จึงต้องใช้เวลาเดินหาเกสต์เฮาส์ที่ราคาไม่โหดเกินไปนัก เสียเวลาราวสองชั่วโมงก็ได้ห้องเดี่ยวในราคา 15 เหรียญต่อวัน (ประเทศเอกวาดอร์ใช้เงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐ) อาจจะถูกสุดในเมืองแล้ว ภารกิจต่อไปคือการหาร้านเช่าจักรยาน เมืองนี้เล็กเท่าปาย เดินเที่ยวก็ได้ แต่จะสะดวกกว่าหากอยากออกนอกเมืองไปยังจุดท่องเที่ยวอื่น ๆ เสร็จจากการเช่าจักรยานก็มาจัดการเรื่องปากท้องบ้าง ร้านอาหารทั้งหลายเน้นขายนักท่องเที่ยว ซึ่งราคาแพงกว่า วิธีลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็คือการจับจ่ายในร้านชำหรือซูเปอร์มาร์เก็ตหรือกินอาหารที่ตลาดสดแทน

ตัวเมืองปวยร์โตอโยราไม่ได้ต่างจากเมืองท่องเที่ยวอื่น ๆ ในแง่ที่เต็มไปด้วยร้านขายของที่ระลึก ร้านอาหาร บริษัททัวร์ และอะไรต่อมิอะไรพรักพร้อมรองรับคนจับจ่ายซื้อหาในสิ่งที่ตนต้องการ แต่สิ่งที่แตกต่าง ก็คือสัตว์เชื่อง ๆ ทั้งหลายที่ไม่ค่อยกลัวมนุษย์ บริเวณตลาดปลามีแมวน้ำกระดึ๊บตามแม่ค้าต้อย ๆ ชายชาวประมงต่างทำการแล่ปลาบนเรือเล็กก็มีนกพิลิแกนมะรุมมะตุ้มอ้าปากกว้างคอยรับเศษอาหาร นกหน้าตาประหลาดก็บินเล่นแถวนั้น ตามโขดหินมีปูแดงขี้ตกใจมากมาย นกฟินช์ตัวเล็กเท่านกกระจอกก็เชื่องมากพอที่จะเข้าไปใกล้เพื่อทักทายและถ่ายรูปพวกเขา ในวันแดดดีเจ้าอิกัวน่าทะเลทั้งหลายต่างพากันขึ้นมาผึ่งแดด พวกมันชื่นชอบการดำน้ำและเป็นนักดำน้ำที่เก่งกาจ เมื่อขึ้นฝั่งมาอาบแดดก็พ่นน้ำออกทางจมูก หน้าตาพวกมันคล้ายกับก๊อตซิลล่ามาก พื้นที่บนหาดเล็กใกล้ท่าเรืออีกแห่งก็มีสิงโตทะเลพากันนอนขี้เกียจขึ้นอืดอย่างไม่แคร์สายตานักท่องเที่ยว เข้าใกล้มากอาจจะโดนขู่บ้าง แต่พวกมันก็ไม่น่าเข้าใกล้เท่าไหร่เพราะกลิ่นตัวแรงมาก เวลาบ่ายแก่ เด็ก ๆ ชาวเกาะพากันปั่นจักรยานมาท่าน้ำเพื่อกระโดดน้ำเล่น

ในระยะเดินทอดน่องสามารถไปเที่ยวสถานีวิจัยดาร์วิน เป็นสถานที่เรียนรู้ระบบนิเวศกาลาปากอส รวมถึงการพยายามสอดแทรกจิตสำนึกด้านการใส่ใจสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันทรงคุณค่าทว่าเปราะบางเหล่านี้ เมื่อเข้าไปในศูนย์ จะมีฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ นักท่องเที่ยวเดินเป็นวงกลม นับว่าเป็นห้องเรียนที่ดีเยี่ยมทั้งสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก ๆ ด้วย นอกจากสิ่งที่จัดแสดงแล้ว ทางศูนย์ยังทำงานวิจัยหลายอย่างด้วย เช่นการขยายพันธุ์เต่าบกยักษ์ เป็นต้น

อีกด้านของปวยร์โตอโยรามีหาดตอร์ตูกาทรายขาวน้ำใส เหมาะสำหรับเดินเล่น อาบแดด ว่ายน้ำ และพักผ่อนเป็นอย่างยิ่ง ดูเหมือนอิกัวน่าทะเลจะมีปริมาณมากกว่านักท่องเที่ยวเสียอีก นกบู๊บบี้ตีนฟ้าน่าจะเป็นอีกไฮไลต์ พวกมันก็เชื่องมากเช่นกัน ท้ายหาดมีเวิ้งอ่าว นักท่องเที่ยวบางส่วนเช่าคายักพายเล่นกัน บ้างหลบใต้ต้นไม้นอนอ่านหนังสือ คนที่มากันเป็นครอบครัวก็จัดปิกนิคกัน สังเกตว่าไม่มีขยะเกลื่อน น่าจะเพราะทุกคนรู้ว่าจะต้องช่วยกันอนุรักษ์เพื่อให้ความงดงามคงอยู่นานเท่านาน

ยังมีอีกหาดทรายงามซึ่งอยู่ห่างจากย่านชุมชนค่อนข้างมาก คือการ์ราปาเตโร นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ใช้วิธีเช่าแท็กซี่ให้ไปส่ง แต่ผมปั่นจักรยานไป ระหว่างทางผ่านบ้านเรือนเรือกสวน กาลาปากอสมีประชากรอยู่ราวสามหมื่นคน ประกอบอาชีพเกษตรและด้านการท่องเที่ยว เมื่อปั่นผ่านหมู่บ้านเบยาวิสตา รู้ว่ามีถ้ำลาวาจึงแวะชมเสียหน่อย ผมไม่ได้สนใจการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา จึงไปแค่ให้ได้เห็นและเป็นประสบการณ์เท่านั้น ออกจากถ้ำก็ปั่นต่อไปจนถึงหาดการ์ราปาเตโร ซึ่งพบว่าสงบเงียบมาก ทางเดินลงสู่หาดสร้างไว้เพื่อป้องกันไม่ให้นักท่องเที่ยวออกนอกเส้นทาง ลมพักโบกโกรกเย็นเกือบหนาวในวันที่เมฆห่มคลุมท้องฟ้า บรรยากาศแบบนี้ไม่ได้ชวนให้ลงไปแหวกว่ายเล่นน้ำ แต่เหมาะสำหรับเดินทอดน่องเล่นตามชายหาด โดยมีเจ้านกนางนวลโฉบดิ่งลงสู่ทะเลเพื่อจับปลาเป็นอาหาร เป็นภาพเพลินตาเพลินใจดี ความพิเศษของหาดโดดเดี่ยวแห่งนี้ คือสามารถพักแรมได้ โดยจะต้องนำเต็นท์มากางนอนได้ในจุดที่บริการไว้ให้ เสียดายที่ผมไม่ได้นำเต็นท์มาด้วย เพราะก่อนมาที่นี่หาข้อมูลเรื่องแคมป์ปิ้งจากอินเตอร์เน็ตไม่ได้เลย

ไฮไลท์ตื่นตาตื่นใจอีกแห่งบนเกาะซานตาครูซคือศูนย์อนุรักษ์เต่าบกยักษ์เอลชาโต นี่ก็ต้องอาศัยแรงขาในการปั่นจักรยานไป เพราะอยู่ห่างจากตัวเมืองร่วมสิบกิโลเมตร ดีที่การจราจรบนเกาะไม่คับคั่ง จึงปั่นช้า ๆ อย่างเพลิดเพลินทั้งไปและกลับ นักท่องเที่ยวต้องเปลี่ยนใส่รองเท้าบู๊ตเมื่อจะเข้าไปในศูนย์ และต้องเว้นระยะห่าง ไม่เข้าไปใกล้เต่ายักษ์ทั้งหลายมากจนเกินไป จากข้อมูลบอกว่าเมื่อร้อยกว่าปีก่อนยังมีประชากรเต่าบกยักษ์นับแสน ปัจจุบันลดจำนวนลงไปมาก สาเหตุหนึ่งคือฝีมือการล่าของมนุษย์นั่นเอง 


เขียนโดย : คุณสว่าง ทองดี จบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ (ชีววิทยา) ชอบปั่นจักรยานท่องโลกและหลงไหลกาแฟ

เปิดใจ ไป “ลาปาซ” (La Paz) เมืองหลวงที่สูงที่สุดในโลก !! บนความแตกต่างของโบลิเวีย

“ที่สุดในโลก” ต้องยกให้ลาปาซ คือการรั้งตำแหน่งเมืองหลวงที่ตั้งอยู่สูงที่สุดในโลก ด้วยความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 3,650 เมตรจากระดับน้ำทะเล นครบนเทือกเขาแอนดีสแห่งนี้เป็นศูนย์กลางการปกครองและเศรษฐกิจของโบลิเวีย ประเทศหนึ่งในทวีปอเมริกาใต้ซึ่งหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์เคยตกอยู่ภายใต้อาณานิคมสเปนอย่างยาวนานหลายร้อยปี เฉกเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ในโลกซีกนี้ ร่องรอยแห่งยุคล่าเมืองขึ้นยังปรากฏให้เห็นโดยทั่วไปผ่านทางสิ่งก่อสร้าง ศาสนา ภาษา สิ่งตกค้างทางวัฒนธรรมด้านอาหาร ดนตรี การเต้นรำ และเทศกาลต่าง ๆ

“ลาปาซ” (La Paz) เป็นชื่อเรียกภาษาสเปน มีความหมายว่า “สันติภาพ” ฟังแล้วไพเราะ หากมองเมืองนี้แต่ผิวเผินด้วยสายตานักท่องเที่ยวก็คงเห็นด้วย เพราะโดยรวมขณะไปเยือนและอยู่ที่นั่นก็สามารถสัมผัสถึงความสงบสุขมีชีวิตชีวามากทีเดียว ทว่า หากย้อนกลับไปคุ้ยค้นประวัติศาสตร์และสภาพปัญหาที่หยั่งรากลึก ณ ปัจจุบันนี้ก็เริ่มเห็นภาพการพยายามดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของชาวเมืองนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะว่าไปไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดแต่อย่างใดสำหรับประเทศ “กำลังพัฒนา” ทั้งหลาย (รวมเมืองไทยด้วยไหม?)

อาจจะโชคดีที่ผมไม่ได้สิงสถิตนานมากพอ จึงได้แต่บอกเล่าสิ่งละอันพันละน้อยเกี่ยวกับมนต์เสน่ห์ของเมืองหลวงแห่งเทือกเขาแอนดีสนี้ โดยไม่อาจล้วงลึกถึงแก่นปัญหาสังคม ซึ่งมองในแง่หนึ่งก็ทำให้รื่นรมย์ชื่นชมเมืองในขณะเป็นแขกเหรื่อชั่วคราวที่นั่นได้มากทีเดียว เพราะภาพที่เห็นไม่ได้ทำให้ความรู้สึกและอารมณ์ขุ่นมัวนั่นเอง 

เนื่องจากเป็นเมืองที่ขยายตัวออกค่อนข้างกว้าง แถมตึกรามบ้านช่องยังปลูกสร้างกันบนไหล่เขาลดหลั่นเสียขนาดนั้น ในฐานะนักท่องเที่ยว หากจะตั้งต้นทำความรู้จักลาปาซ ก็คงต้องเริ่มกันที่จุดศูนย์กลาง ในที่นี้ คือย่านเมืองเก่าคาสโกเวียโฮซึ่งมีทุกอย่างพร้อมสรรพสำหรับทัวริสต์ เปรียบเทียบก็คงคล้ายพื้นที่โดยรอบคูเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเต็มไปด้วยที่พัก ร้านค้า ร้านอาหาร ผับบาร์ บริษัททัวร์ พิพิธภัณฑ์ และทุกสิ่งทุกอย่างที่นักท่องเที่ยวพึงประสงค์ 

แน่นอน ย่านนี้ได้รับการบูรณะอย่างดี ถนนปูด้วยก้อนหินคนเดินเหยียบย่ำกันทุกวันจนสึกกร่อนมันเลื่อม สินค้าที่ระลึกอาจจะแปลกตาสำหรับคนต่างชาติต่างภาษา ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะ งานถักทอจักสาน แม้กระทั่งเจ้าก้อนหินซากฟอสซิลก็มีจำหน่าย ซึ่งซากหอยโบราณที่พบบนเทือกเขาแอนดีสความสูงตั้งหลายพันเมตรเหล่านั้นก็มีอายุอานามพอ ๆ กับหินเก่าแก่ประเภทเดียวกันที่พบบนเทือกเขาหิมาลัยด้วยเช่นกัน เช่นนี้แล้วก็น่าสนใจมากในแง่ที่ครั้งหนึ่งเมื่อนานมาแล้วน้ำเคยท่วมทั้งโลกตามที่คัมภีร์โบราณตะวันออกกลางได้บันทึกไว้นั้นมีมูลความจริงหรือไม่

ระยะที่ห่างออกจากตัวเมืองเก่าเพียงเล็กน้อยแค่ระยะเดินถึง สามารถสำรวจตลาดใหญ่ขายทุกอย่างชนิดสำเพ็ง เยาวราช ประตูน้ำ บางลำพูรวมกันอาจไม่สามารถเทียบได้ เดินสำรวจตรวจตราและถ่ายรูปไปพลางอาจหอบหายใจถี่เพราะปริมาณออกซิเจนต่ำกว่าค่าปกติที่อยู่บนพื้นที่สูงเกือบสี่พันเมตรเช่นนี้ แต่สนุก เพราะมีสีสันและมีชีวิตชีวา คล้ายตลาดสดของประเทศในแถบเอเชียซึ่งไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย พวกฝรั่งมังค่าอาจจะตื่นตา ทว่าคนไทยอาจจะรู้สึกถึงความคุ้นเคยบางประการแม้จะจากบ้านเมืองตัวเองมาไกลค่อนโลกเช่นนี้ ต้องเรียกว่าเป็นความเหมือนแบบ same same but different ล่ะ เพราะสีสันฉูดฉาดที่แตกต่าง กลิ่นที่จมูกรับสัมผัสก็ไม่ใช่กลิ่นแบบเอเชีย สิ่งที่เหมือนคือความวุ่นวายขวักไขว่และไร้ระเบียบนั่นแหละ 

คนดั้งเดิมอาศัยอยู่กันมาก่อนพวกสเปนจะมารุกรานคือชนเผ่าอินคาหลากหลายชาติพันธุ์ เทียบกับเมืองไทยก็คงเหมือนชนเผ่าบนดอย ไม่ว่าจะเป็นอาข่า ลีซู ปวากะญอ ลาหู่ และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่โบลิเวียนั้นคนท้องถิ่นเชื้อสายหลักคือ คนไอยมารา และเกชัว คนเหล่านี้มีผิวสีน้ำตาล ผมดำ และโครงหน้าคล้ายคนอินเดียนแดงทางอเมริกาเหนือ สันนิษฐานว่าน่าจะมีความเกี่ยวโยงกันทางพันธุกรรม และน่าจะมีบางอย่างเชื่อมโยงกับคนเอเชียด้วย หากพิจารณาเฉพาะในตัวเมืองลาปาซแล้วจะพบว่าประชากรราว 80% เป็นคนท้องถิ่นดั้งเดิม มีคนขาวซึ่งเป็นลูกหลานชาวยุโรปซึ่งตกค้างมาจากสมัยล่าอาณานิคมอยู่เพียงเล็กน้อย นัยหนึ่งก็คือโบลิเวียเป็นประเทศซึ่งมีความเป็นชาตินิยมสูง แม้กระทั่งประธานาธิบดีก็เป็นคนที่ปกครองยาวนานมากที่สุดคนหนึ่ง คือโมราเลส ก็เป็นคนเผ่าไอยมารา แถมยังมีนโยบายแข็งกร้าวต่อท่าทีของสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องพืชโคคา เป็นที่ทราบกันดีว่าใบโคคานั้นนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นร่วมกับการผลิตยาเสพติดร้ายแรงโคเคน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วโคคาเป็นพืชประจำถิ่นบนเทือกเขาแอนดีสและผู้คนก็เคี้ยวใบโคคาแห้งกันมายาวนานหลายศตวรรษ เรียกว่าเป็นวัฒนธรรมอินคาอย่างหนึ่งก็ว่าได้ โบลิเวียเป็นประเทศเดียวในอเมริกาใต้ที่ออกกฎหมายอนุญาตให้มีการขายใบโคคาแห้งในตลาดร้านค้าได้ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาค่อนข้างมาก ทั้งนี้ก็เพราะมองกันคนละมุมนั่นเอง

ในตลาดเต็มไปด้วยพ่อค้าแม่ขาย ส่วนใหญ่ผู้หญิงหลังแต่งงานไปจนถึงวัยกลางคนมักเริ่มกลายสภาพเป็น “ตุ่มเคลื่อนที่” เพราะรูปร่างและน้ำหนักตัวของพวกเธอ ด้วยเอกลักษณ์เครื่องแต่งกายเฉพาะไม่ซ้ำแบบหรือพยายามตามกระแสโลกปัจจุบันที่นิยมหญิงร่างบางสูงโปร่ง ผู้หญิงโบลิเวียปล่อยให้ร่างท้วมฉุเพราะเชื่อว่าคือความอุดมสมบูรณ์ สามารถสืบทอดเผ่าพันธุ์ได้ดีกว่า อีกทั้งแฟชั่นเครื่องแต่งกายก็ยังคงเป็นการนุ่งกะโปรงจับจีบคล้ายสุ่มไก่สีสันฉูดฉาด พร้อมกับสวมหมวกทรงคาวบอยหรือหมวกนักมายากล อันที่จริง ผู้หญิงโบลิเวียแข็งแกร่งกว่าที่คิดมาก เพราะมีกีฬามวยปล้ำที่เรียกว่าโชลิตา ซึ่งนักกีฬาจะต่อสู้กันในสังเวียน อาจจะเป็นผู้หญิงสู้กับผู้หญิงด้วยกันเอง หรือผู้หญิงต่อกรกับผู้ชายอกสามศอกก็ได้ ดังนั้น ถ้าจะให้ดี อย่าได้ริต่อล้อต่อเถียงกับผู้หญิงประเทศนี้จะดีที่สุด  

แม้ศาสนาตะวันตกจะมีบทบาทในสังคม แต่คนโบลิเวียจำนวนมากยังคงเหนียวแน่นในจารีตและความเชื่อดั้งเดิมแห่งบรรพบุรุษ ยังคงเชื่อถือโชคลางและผีสาง ยังมีการบนบานสานกล่าว สังเกตได้ง่ายจากย่านหนึ่งใกล้คาสโกเวียโฮที่เต็มไปด้วยร้านขายเครื่องเซ่นไหว้ รวมถึงของบวงสรวงอย่างเช่นรกและตัวอ่อนสัตว์ประเภทลามาขายเป็นสินค้าปกติ นั่นก็อีกหนึ่งความน่าสนใจในลาปาซ 

หากอยากเห็นเมืองในมุมกว้างและสูง ชนิดตื่นตาตื่นใจ ด้วยสนนราคาถูก ก็ต้องนั่งกระเช้าไฟฟ้าอันเป็นขนส่งสาธารณะชั้นเยี่ยม เพราะมีเครือข่ายครอบคลุมแทบทั่วทั้งเมือง และยังคงมีการขยายมากขึ้นไปอีก เทียบแล้วก็คงคล้ายกับระบบรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดินในเมืองใหญ่ทั้งหลาย รวมทั้งกรุงเทพมหานครที่พยายามเชื่อมทั้งเมืองเข้าด้วยกัน แต่ลาปาซไม่สามารถใช้ระบบรถไฟฟ้า เพราะเมืองตั้งอยู่บนไหล่เขาลาดชันมาก กระเช้าไฟฟ้าจึงเป็นวิธีที่สมเหตุสมผลมากกว่าโดยประการทั้งปวงนั่นเอง นอกจากจะได้ชมทั้งเมืองแล้ว ในวันฟ้าเปิดยังมองเห็นภูเขาหิมะในระยะไกลออกไปอีกด้วย

จะได้ “สัมผัส” สิ่งละอันพันละน้อยในเมืองใหญ่ลาปาซมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณเวลาที่มี กับความกว้างของใจของผู้ไปเยือนที่เปิดออก ...ไหน ๆ ก็ยากเย็นกว่าจะไปถึงแล้ว ก็อยู่ให้นานหน่อย เปิดใจให้กว้าง ๆ เพื่อรับทราบเรียนรู้ และซึมซับความประทับใจที่เมืองนี้สามารถหยิบยื่นให้ได้ ดีไหม?    


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

หมู่เกาะกาลาปากอส (Galapagos) ดินแดนสัตว์หายากที่ต้องมาเยือนสักครั้ง

กาลาปากอสเป็นหมุดหมายการท่องเที่ยวที่ต้องจ่ายแพงกว่าปกติ ค่าที่ขึ้นชื่อระดับโลกเรื่องสัตว์แปลก ๆ รวมถึงความงดงามมหัศจรรย์ของภูมิทัศน์ ผนวกเข้ากับเรื่องราวของ ชาลส์ ดาร์วิน ผู้เคยร่วมโดยสารเรือหลวงอังกฤษเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว เขาได้ผ่านไปเยือนหมู่เกาะแห่งแปซิฟิกซึ่งห่างจากฝั่งราวพันกิโลเมตรเหล่านี้ แล้วเขียนหนังสือท้าทายความเชื่อของคริสตศาสนจักรว่าด้วยทฤษฎีวิวัฒนาการ นี่ยิ่งกระพือความอยากของใครต่อใครให้ไปเยือนกาลาปากอส

คนมีเงินเป็นถุงเป็นถังคงไม่กระไร แต่สำหรับผมผู้ซึ่งเป็นนักเดินทางทุนต่ำจำเป็นต้องคิดแล้วคิดอีกหลายตลบกว่าจะตัดสินใจจัดทริปนี้ให้กับตัวเอง เริ่มตั้งแต่ตั๋วเครื่องบิน ซึ่งคนต่างชาติต้องจ่ายแพงกว่าคนเอกวาดอร์ราวสองเท่า ไหนจะค่าเข้าเขตพิเศษ ค่าเข้าอุทยานแห่งชาติ ค่าที่พักอาหารและจิปาถะต่าง ๆ ระหว่างที่อยู่บนเกาะ รวม ๆ แล้วเพียงสิบวันผมต้องควักเงินจ่ายไปเท่ากับค่าใช้จ่ายในการเดินทางปกติสองเดือน ถือว่าโหดมาก

ผมตั้งต้นที่เมืองวายากิล ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศเอกวาดอร์ (หรือจะขึ้นเครื่องที่สนามบินเมืองหลวงกีโตก็ได้เช่นกัน) เครื่องบินเทคออฟจากรันเวย์ ใช้เวลาราวชั่วโมงก็ลดระดับความสูงลงเพื่อจะร่อนลงรันเวย์ของสนามบินเซย์มอร์บนเกาะบัลตราอันเป็นหน้าด่านแรก น้ำทะเลสีครามน้ำเงินปรากฎขึ้น เห็นผืนแผ่นดินสีน้ำตาลเห็นจากมุมสูงก็รู้ทันทีว่านั่นต้องเป็นหมู่เกาะกาลาปากอสแน่นอน ผู้โดยสารส่วนใหญ่ออกอาการตื่นเต้นกันอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเครื่องจอดสนิทแล้วผู้คนก็ออกมาสู่อาคารผู้โดยสาร เดินตาม ๆ กันไป เจ้าหน้าที่ประทับตราการเข้าสู่เกาะลงในพาสปอร์ตเสร็จก็ไปขึ้นรถบัสซึ่งอยู่ด้านนอกอาคาร นักท่องเที่ยวบางส่วนที่มากับทัวร์ก็มีไกด์คอยอำนวยความสะดวกให้ ส่วนคนที่มาเองก็ต้องช่วยเหลือตัวเองเพื่อจะไปยังเกาะซานตาครูซ รถบัสพามาถึงท่าเรือ เกาะบัลตราและซานตาครูซอยู่ใกล้กันมาก นั่งเรือเล็กไม่ถึงห้านาทีก็ข้ามมาอีกฝั่งแล้ว จากนั้นก็ต้องนั่งรถบัสอีกหนึ่งต่อเพื่อไปยังปวยร์โตอโยราอันเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของเกาะ 

เนื่องจากผมไม่ได้จองที่พักล่วงหน้า จึงต้องใช้เวลาเดินหาเกสต์เฮาส์ที่ราคาไม่โหดเกินไปนัก เสียเวลาราวสองชั่วโมงก็ได้ห้องเดี่ยวในราคา 15 เหรียญต่อวัน (ประเทศเอกวาดอร์ใช้เงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐ) อาจจะถูกสุดในเมืองแล้ว ภารกิจต่อไปคือการหาร้านเช่าจักรยาน เมืองนี้เล็กเท่าปาย เดินเที่ยวก็ได้ แต่จะสะดวกกว่าหากอยากออกนอกเมืองไปยังจุดท่องเที่ยวอื่น ๆ เสร็จจากการเช่าจักรยานก็มาจัดการเรื่องปากท้องบ้าง ร้านอาหารทั้งหลายเน้นขายนักท่องเที่ยว ซึ่งราคาแพงกว่า วิธีลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็คือการจับจ่ายในร้านชำหรือซูเปอร์มาร์เก็ตหรือกินอาหารที่ตลาดสดแทน

ตัวเมืองปวยร์โตอโยราไม่ได้ต่างจากเมืองท่องเที่ยวอื่น ๆ ในแง่ที่เต็มไปด้วยร้านขายของที่ระลึก ร้านอาหาร บริษัททัวร์ และอะไรต่อมิอะไรพรักพร้อมรองรับคนจับจ่ายซื้อหาในสิ่งที่ตนต้องการ แต่สิ่งที่แตกต่าง ก็คือสัตว์เชื่อง ๆ ทั้งหลายที่ไม่ค่อยกลัวมนุษย์ บริเวณตลาดปลามีแมวน้ำกระดึ๊บตามแม่ค้าต้อย ๆ ชายชาวประมงต่างทำการแล่ปลาบนเรือเล็กก็มีนกพิลิแกนมะรุมมะตุ้มอ้าปากกว้างคอยรับเศษอาหาร นกหน้าตาประหลาดก็บินเล่นแถวนั้น ตามโขดหินมีปูแดงขี้ตกใจมากมาย นกฟินช์ตัวเล็กเท่านกกระจอกก็เชื่องมากพอที่จะเข้าไปใกล้เพื่อทักทายและถ่ายรูปพวกเขา ในวันแดดดีเจ้าอิกัวน่าทะเลทั้งหลายต่างพากันขึ้นมาผึ่งแดด พวกมันชื่นชอบการดำน้ำและเป็นนักดำน้ำที่เก่งกาจ เมื่อขึ้นฝั่งมาอาบแดดก็พ่นน้ำออกทางจมูก หน้าตาพวกมันคล้ายกับก๊อตซิลล่ามาก พื้นที่บนหาดเล็กใกล้ท่าเรืออีกแห่งก็มีสิงโตทะเลพากันนอนขี้เกียจขึ้นอืดอย่างไม่แคร์สายตานักท่องเที่ยว เข้าใกล้มากอาจจะโดนขู่บ้าง แต่พวกมันก็ไม่น่าเข้าใกล้เท่าไหร่เพราะกลิ่นตัวแรงมาก เวลาบ่ายแก่ เด็ก ๆ ชาวเกาะพากันปั่นจักรยานมาท่าน้ำเพื่อกระโดดน้ำเล่น

ในระยะเดินทอดน่องสามารถไปเที่ยวสถานีวิจัยดาร์วิน เป็นสถานที่เรียนรู้ระบบนิเวศกาลาปากอส รวมถึงการพยายามสอดแทรกจิตสำนึกด้านการใส่ใจสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันทรงคุณค่าทว่าเปราะบางเหล่านี้ เมื่อเข้าไปในศูนย์ จะมีฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ นักท่องเที่ยวเดินเป็นวงกลม นับว่าเป็นห้องเรียนที่ดีเยี่ยมทั้งสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก ๆ ด้วย นอกจากสิ่งที่จัดแสดงแล้ว ทางศูนย์ยังทำงานวิจัยหลายอย่างด้วย เช่นการขยายพันธุ์เต่าบกยักษ์ เป็นต้น

อีกด้านของปวยร์โตอโยรามีหาดตอร์ตูกาทรายขาวน้ำใส เหมาะสำหรับเดินเล่น อาบแดด ว่ายน้ำ และพักผ่อนเป็นอย่างยิ่ง ดูเหมือนอิกัวน่าทะเลจะมีปริมาณมากกว่านักท่องเที่ยวเสียอีก นกบู๊บบี้ตีนฟ้าน่าจะเป็นอีกไฮไลต์ พวกมันก็เชื่องมากเช่นกัน ท้ายหาดมีเวิ้งอ่าว นักท่องเที่ยวบางส่วนเช่าคายักพายเล่นกัน บ้างหลบใต้ต้นไม้นอนอ่านหนังสือ คนที่มากันเป็นครอบครัวก็จัดปิกนิคกัน สังเกตว่าไม่มีขยะเกลื่อน น่าจะเพราะทุกคนรู้ว่าจะต้องช่วยกันอนุรักษ์เพื่อให้ความงดงามคงอยู่นานเท่านาน

ยังมีอีกหาดทรายงามซึ่งอยู่ห่างจากย่านชุมชนค่อนข้างมาก คือการ์ราปาเตโร นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ใช้วิธีเช่าแท็กซี่ให้ไปส่ง แต่ผมปั่นจักรยานไป ระหว่างทางผ่านบ้านเรือนเรือกสวน กาลาปากอสมีประชากรอยู่ราวสามหมื่นคน ประกอบอาชีพเกษตรและด้านการท่องเที่ยว เมื่อปั่นผ่านหมู่บ้านเบยาวิสตา รู้ว่ามีถ้ำลาวาจึงแวะชมเสียหน่อย ผมไม่ได้สนใจการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา จึงไปแค่ให้ได้เห็นและเป็นประสบการณ์เท่านั้น ออกจากถ้ำก็ปั่นต่อไปจนถึงหาดการ์ราปาเตโร ซึ่งพบว่าสงบเงียบมาก ทางเดินลงสู่หาดสร้างไว้เพื่อป้องกันไม่ให้นักท่องเที่ยวออกนอกเส้นทาง ลมพักโบกโกรกเย็นเกือบหนาวในวันที่เมฆห่มคลุมท้องฟ้า บรรยากาศแบบนี้ไม่ได้ชวนให้ลงไปแหวกว่ายเล่นน้ำ แต่เหมาะสำหรับเดินทอดน่องเล่นตามชายหาด โดยมีเจ้านกนางนวลโฉบดิ่งลงสู่ทะเลเพื่อจับปลาเป็นอาหาร เป็นภาพเพลินตาเพลินใจดี ความพิเศษของหาดโดดเดี่ยวแห่งนี้ คือสามารถพักแรมได้ โดยจะต้องนำเต็นท์มากางนอนได้ในจุดที่บริการไว้ให้ เสียดายที่ผมไม่ได้นำเต็นท์มาด้วย เพราะก่อนมาที่นี่หาข้อมูลเรื่องแคมป์ปิ้งจากอินเตอร์เน็ตไม่ได้เลย

ไฮไลท์ตื่นตาตื่นใจอีกแห่งบนเกาะซานตาครูซคือศูนย์อนุรักษ์เต่าบกยักษ์เอลชาโต นี่ก็ต้องอาศัยแรงขาในการปั่นจักรยานไป เพราะอยู่ห่างจากตัวเมืองร่วมสิบกิโลเมตร ดีที่การจราจรบนเกาะไม่คับคั่ง จึงปั่นช้า ๆ อย่างเพลิดเพลินทั้งไปและกลับ นักท่องเที่ยวต้องเปลี่ยนใส่รองเท้าบู๊ตเมื่อจะเข้าไปในศูนย์ และต้องเว้นระยะห่าง ไม่เข้าไปใกล้เต่ายักษ์ทั้งหลายมากจนเกินไป จากข้อมูลบอกว่าเมื่อร้อยกว่าปีก่อนยังมีประชากรเต่าบกยักษ์นับแสน ปัจจุบันลดจำนวนลงไปมาก สาเหตุหนึ่งคือฝีมือการล่าของมนุษย์นั่นเอง 

ที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยและเป็นเหตุผลหลักอย่างหนึ่งของการลงทุนมาเยือนกาลาปากอส ก็คือกาแฟ ซึ่งนับเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างหนึ่งของที่นี่ การได้มาเยือนเพื่อเรียนรู้เข้าใจเกี่ยวกับกาแฟมากขึ้นจึงมีความหมายกับผมมากทีเดียว ผมใช้เวลาเกือบครึ่งหนึ่งไปกับการสืบเสาะแหล่งปลูกกาแฟ พูดคุยกับทั้งบาริสต้าและเจ้าของโรงคั่ว ชิมรสชาติกาแฟที่ปลูกในพื้นที่แล้วเปรียบเทียบกับกาแฟที่มาจากแหล่งอื่น ๆ สำหรับผม ถ้ากาลาปากอสไม่มีสัตว์ประหลาด แต่มีแค่กาแฟแล้วผมมาเยือนที่นี่ด้วยเหตุผลเดียวผมก็เห็นว่าคุ้มค่ามากแล้ว 

ขึ้นชื่อว่าหมู่เกาะย่อมไม่ได้มีแค่ซานตาครูซ แต่ยังมีเกาะน้อยใหญ่กระจุกกันอยู่อีกนับสิบ แต่ผมไม่มีโอกาสไปเยือน แค่สิบวันกระเป๋าสะตังก็จะฉีกอยู่แล้ว แต่เมื่อเทียบกับสิ่งที่ได้รับ ก็นับว่าคุ้มค่ามาก เพราะไม่แน่ใจว่าชีวิตนี้จะยังมีโอกาสได้กลับมาเยือนเกาะห่างไกลในมหาสมุทรแปซิฟิกนี้อีกหรือไม่ 


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

เยือน ‘อิสตันบูล’ (Istanbul) เมืองคูลๆ ที่ผสมผสานมหานคร ทั้ง 2 ทวีป อย่างมีเสน่ห์

ทั้งที่ยังไม่เคยได้ไปเยือนซานฟรานซิสโก แต่ความคิดแว้บแรกเมื่อไปถึงอิสตันบูล ผมรู้สึกว่าคล้ายเมืองริมทะเลแห่งรัฐแคลิฟอร์เนียนี้มาก อาจจะเพราะเคยดูหนังที่มีฉากเมืองซานฟรานซึ่งมีความคล้ายคลึงกันหลายส่วน เช่นเป็นเมืองใหญ่ติดทะเล บ้านเรือนปลูกสร้างลดหลั่นกันไปตามเนินเขา ถนนหนทางคดเคี้ยวและบางช่วงชัน มองเห็นวิวทะเลได้แต่ไกลจากหลายมุม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม อิสตันบูลก็คืออิสตันบูล (และซานฟรานซิสโก ก็คือซานฟรานซิสโก) ยังคงมีเอกลักษณ์โดดเด่นและแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเมื่อได้สัมผัสใกล้ชิดมากขึ้น

คนจำนวนมากเข้าใจผิด คิดว่าอิสตันบูลคือเมืองหลวงของตุรกี ที่จริงอังการาซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศต่างหากคือศูนย์กลางการเมืองการปกครองของประเทศนี้ แต่ด้วย “ความขลัง” กว่า ในแง่ที่มีประชากรหนาแน่นกว่าสิบห้าล้านคน นับว่าเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังตั้งอยู่ ณ รอยต่อระหว่างสองทวีป คือเอเชียและยุโรป โดยมีช่องแคบบอสพอรัสกั้นไว้ ทำให้วัฒนธรรมและศาสนาของทั้งโลกตะวันออกและตะวันตก คลุกเคล้ากันผ่านช่วงเวลายาวนาน ถ้าสาวประวัติเมืองย้อนกลับไปก็คงตั้งแต่สมัยสองพันกว่าปีก่อนในยุคที่เรียกว่าไบแซนไทน์ อิสตันบูลในยุคนั้นมีชื่อว่ากรุงคอนสแตนติโนเปิล จักรวรรดินี้ยืนยงคงกระพันนับพันปีและถือว่าเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ แต่ในที่สุดก็พ่ายแพ้แก่พวกออตโตมันซึ่งเป็นมุสลิม และอิทธิพลอิสลามก็สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ เมื่อนำภาพในอดีตมาปะติดปะต่อเข้ากับสภาพเมืองในปัจจุบันก็พบว่าประวัติศาสตร์เป็นปัจจัยหลักที่สร้างมนต์เสน่ห์ให้กับเมืองนี้เป็นอย่างมาก ยิ่งเมื่อผนวกเข้ากับภูมิทัศน์สวยงาม สถาปัตยกรรมเก่าแก่ผสมผสานหลายยุคสมัย ยิ่งทำให้ใครก็ตามที่ได้มาเยือนอิสตันบูลตกหลุมรักเมืองนี้อย่างง่ายดายยามแรกพบเลยทีเดียว

อิสตันบูลเป็นเมืองทันสมัย สามารถเดินทางสัญจรภายในเขตต่าง ๆ โดยเลือกใช้ขนส่งมวลชนหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า เรือข้ามฟาก รถราง รถบัส ซึ่งเมื่อซื้อบัตรโดยสารใบเดียวก็สามารถใช้ได้กับทุกระบบขนส่ง หรือถ้าต้องการความสะดวกรวดเร็วและเป็นส่วนตัวมากกว่าก็ใช้บริการแท็กซี่กับ Grab แต่วิธีดีที่สุดที่จะช่วยให้เห็นรายละเอียดของสิ่งละอันพันละน้อย ก็คือการเดินนั่นเอง ยิ่งใครที่ชื่นชอบการถ่ายรูปจะรื่นรมย์เดินชมเมืองมาก จะทอดน่องไปตามตรอกซอยน้อยใหญ่ เดินเล่นบนบาทวิถีริมทะเล เดินข้ามสะพานที่เต็มไปด้วยชายนักหย่อนเบ็ดตกปลา หรือเบียดแทรกตัวเองท่ามกลางฝูงคนในย่านช้อปปิ้งล้วนให้ความเพลิดเพลินทั้งนั้น บรรดาแลนด์มาร์กและสถานที่น่าสนใจกระจายตัวในระยะเดินถึง ถ่ายรูปวิวสลับกับการสังเกตการใช้ชีวิตตามปกติของชาวเมือง หรือนั่งพักแล้วสังเกตอากัปกิริยาผู้คนที่เดินผ่านไปมาทั้งหลายก็เพลินดี

ส่วนใหญ่แล้วนักท่องเที่ยวมักไม่พลาดการไปชมงานสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นอลังการงานสร้างสองแห่งซึ่งอยู่ในเขตเมืองเก่าสุลต่านอาห์เม็ด ได้แก่สุเหร่าสีน้ำเงินและฮาเกียโซเฟีย แม้ศาสนสถานทั้งสองจะสร้างในช่วงเวลาที่แตกต่างกันและเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้ประกอบพิธีทางศาสนาที่แตกต่างกัน แต่มองผิวเผินแต่ไกลกลับให้ความรู้สึกเหมือนอาคารฝาแฝดเพราะมีรูปทรงค่อนข้างคล้ายคลึงกัน

แต่ละช่วงของวันก็ให้ความรู้สึกผ่อนคลายที่แตกต่างกันด้วย ช่วงกลางวันที่แดดจัดจ้าจะเห็นน้ำทะเลใสสีฟ้า ฝูงนกนางนวลโฉบเฉี่ยวร่าเริง แมวจรทั้งหลายต่างย่องขึ้นไปบนหลังคาบ้าน หรือไม่ก็แอบอยู่ตามมุมถนน ส่วนบรรยากาศยามเย็นใกล้ค่ำนั้นโรแมนติกกว่ามาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าใครที่เดินทางคนเดียวจะเกิดอาการเหงาจับใจเวลามองพระอาทิตย์ตกทะเลแต่อย่างใด เพราะแสงเงาบนท้องฟ้าสลับสีตระการตา คล้ายกำลังนั่งมองศิลปินผู้มีฝีมือล้ำเลิศละเลงสีเหลืองแดงชมพูม่วงส้มลงบนผืนผ้าใบชิ้นใหญ่มหาศาล ก็ทำให้หัวใจคับพองและ “อิ่ม” ได้เช่นกัน

ของคาวที่หาทานง่าย มีอยู่แทบทุกมุมเมืองคือเคบับ หิวเมื่อไหร่ก็แวะซื้อแล้วเดินทานไปด้วย เมนูปลาใกล้สะพานกาลาตาก็เด็ดไม่แพ้กัน หรือถ้าต้องการทานอาหารตุรกีที่มีความหลากหลายกว่าก็สามารถเลือกนั่งในร้านอาหารชนิดกินกันเป็นเรื่องเป็นราวเลยก็ได้ ของหวานขึ้นชื่อเห็นจะเป็นไอศกรีมตุรกี จุดเด่นนอกจากจะเป็นความเหนียวหนึบแล้ว พ่อค้าไอศกรีมยังใช้มุกหลอกลูกค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาว ๆ และเด็ก ๆ (มุกเก่าแต่ใช้ได้ตลอด) 

ในขณะที่ของหวานอันเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างคือบักลาวา หาซื้อได้ทั่วไปตามตลาด เปรียบเทียบแล้วน่าจะคล้ายกับใครมาเที่ยวเชียงใหม่ก็มักจะหาซื้อขนมกะละแมไปฝากเพื่อนฝูงญาติมิตรนั่นเอง ในส่วนของเครื่องดื่มยอดนิยมนั้นหนีไม่พ้นชาตุรกีซึ่งเสิร์ฟกันในแก้วทรงคอดตรงกลาง และกาแฟซึ่งต้มในภาชนะโลหะมีด้ามจับที่เรียกว่าอีบริก เสิร์ฟในถ้วยเซรามิกเล็ก เวลาจะจิบชาหรือกาแฟก็มักเติมน้ำตาลลงไปด้วยสักช้อนชาเพื่อตัดความขม และแม้จะเป็นประเทศมุสลิม แต่ก็มีความเป็นเสรีนิยมค่อนข้างสูง ดังนั้น เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทั้งหลายอย่างเหล้าเบียร์หรือไวน์ก็ยังสามารถหาจิบได้โดยไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด 

ที่พักหาไม่ยากและมีทุกระดับตั้งแต่ดาวเดียวถึงทะลุห้าดาว ในสมัยที่อินเตอร์เน็ตยังไม่เฟื่องฟู นักเดินทางโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกทุนต่ำแบกเป้ มักพกโลนลี่แพลเน็ต เสมือนคัมภีร์นำทาง เพราะมีข้อมูลที่จำเป็นแทบทุกอย่าง แต่ปัจจุบันนี้นักท่องเที่ยวแทบทั้งหมดหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ที่พักก็จองผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ จะพักที่ไหนจะกินอะไรก็ดูรีวิวเอา ร้านไหนสถานที่อะไรคนนิยมมาก ๆ ก็ต้องไปเช็คอินเมื่อไปถึง นักท่องเที่ยววัยรุ่นขาโจ๋ผู้นิยมสังสรรค์ปาร์ตี้จนดึกดื่น มักเลือกพักโฮสเทลในย่านทักซิม ซึ่งเต็มไปด้วยร้านรวงสมัยใหม่และผับบาร์อึกทึก มีถนนคนเดินเหมาะสำหรับคนเสพติดการช้อปปิ้งเป็นที่สุด ในขณะที่ย่านสุลต่านอาห์เม็ดนั้นเหมาะสำหรับคนชอบความสงบ พวกผู้ใหญ่ คนสูงวัย นักเดินทางผู้รักความสันโดษ หรือคู่รักฮันนีมูนน่าจะชอบย่านเมืองเก่านี้มากกว่า 

ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นเพียง “น้ำจิ้มชิมลาง” เท่านั้น เพราะยังมีอีกมากมายหลายอย่างที่น่าสนใจ สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็นฉันใด อยากรู้ว่าอิสตันบูลมีเสน่ห์มากแค่ไหนก็ต้องมาให้เห็นด้วยตัวเองนะครับ 


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

โชธะปุระ (Jodhpur) & บุณฑี (Bundi) วิถีชีวิตบนความจัดจ้าน นคร‘สีฟ้า’ที่ตราตึงใจ...ในอินเดีย

เมืองสีฟ้าย่อมถูกโฉลกกับคนบ้าสีฟ้า ผู้ซึ่งเข้าข่ายคลั่งไคล้สีนี้เป็นที่สุด จะเป็นใครเสียอีกล่ะถ้าไม่ใช่ผม การได้ไปเยือนไปอยู่ ณ สถานที่สีฟ้าย่อมทำให้มีความสุขสบายใจอย่างเป็นล้นพ้นสำหรับคนประเภทนี้ ในโลกนี้มีอยู่ไม่กี่แห่งเสียด้วยสิ และบางแห่งในนั้นอยู่ในประเทศอินเดียนั่นเอง หากเจาะจงให้เฉพาะลงไปอีกก็ที่รัฐราชสถาน ที่นั่นมีเมืองสีฟ้าอย่างน้อยสองแห่ง หนึ่งนั้นคือ บุณฑี อีกหนึ่งก็คือ โชธะปุระ หรือจอดห์ปูร์นั่นเอง หากดูตามพิกัดแล้วจะเห็นว่าสองเมืองนี้ตั้งอยู่เกือบสุดขอบด้านตะวันตกของประเทศ ภูมิประเทศกึ่งทะเลทราย ซึ่งแม้จะร้อนจะแห้งแล้งจะอะไรก็ตามแต่ นั่นไม่ใช่ปัญหาเลยแม้แต่น้อย ตราบใดที่สิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์บ้าสีฟ้ายังเป็นสีฟ้าอยู่

บุณฑี เป็นเมืองเล็กกว่า ป้อมวังอะไรต่าง ๆ เป็นฉบับย่อส่วนเมื่อเทียบกับเมืองโชธุปุระ บรรยากาศของสองเมืองมีทั้งคล้ายคลึงและแตกต่าง แน่นอน บุณฑีย่อมให้ความรู้สึกผ่อนคลายและเรื่อยเฉื่อยมากกว่า ไม่ใช่แค่เพราะขนาดเล็กกว่า แต่น่าจะเพราะเมืองนี้ไม่ได้คลาคล่ำไปด้วยฝูงนักท่องเที่ยว ในโชธะปุระนั้นลำพังคนท้องถิ่นก็หนาแน่นพอสมควรอยู่แล้ว ไหนจะยังต้องมามุด ต้องฝ่าดงแบ็คแพ็คเกอร์ซึ่งเป็นกลุ่มคนหลักที่เลือกมาเดินทางท่องเที่ยวยังประเทศนี้ จะถ่ายรูปภาพเก็บเป็นที่ระลึกตามวัดวังอะไรต่าง ๆ ก็มักมีคนมาขวางฉากหรือหลุดเข้ามาในเฟรมภาพก่อนลั่นชัตเตอร์ให้เสียอารมณ์อยู่เนือง ๆ ซึ่งเจ้าความวุ่นวายขวักไขว่เช่นนี้ ก็แลกกันอย่างสมน้ำสมเนื้อกับความอลังการงานสร้างของงานสถาปัตยกรรมของเขาล่ะ 

อย่าเพิ่งด่วนสรุปไปว่าป้อมปราการของเมืองบุณฑีนั้นกระจอกกว่าป้อมแห่งเมืองโชธะปุระนะ ผมไม่ได้ต้องการสื่อความหมายเช่นนั้น เพราะแต่ละเมืองก็มีประวัติศาสตร์ของตัวเองที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันเลยแม้แต่น้อย ที่สำคัญ ตราบใดที่สองเมืองนี้เป็นสีฟ้า ก็ย่อมนับว่าสวยเสมอกัน ...และสวยกว่าเมืองใดก็ตามบนโลกใบนี้ที่ไม่ใช่สีฟ้า (โปรดเข้าใจมนุษย์สีฟ้า)

หากรวบยอดประวัติศาสตร์ของพื้นที่แถบนี้เป็นฉบับย่อที่สุด ก็คงต้องย้อนหลังกลับไปหลายร้อยปี ซึ่งเป็นยุคสมัยที่มีการปกครองระบอบกษัตริย์ ประกอบด้วยอาณาจักรน้อยใหญ่มากมาย โดยมักมีการแผ่อิทธิพลของเจ้าอาณาจักรที่เข้มแข็งกว่า โดยใช้วิธีทั้งการทูตและการทหาร หากอยากเห็นภาพชัดเจนกว่านี้ขอแนะนำให้ดูหนังบอลลีวูด (Bollywood) เรื่อง “โยดา อักบาร์” (Jodhaa Akbar) หนังรักโรแมนติกบอกเล่าช่วงเวลาที่ราชวงศ์โมกุลเรืองอำนาจและแผ่บารมีไปทั่วชมพูทวีป ซึ่งน่าจะเป็นช่วงเวลาเดียวกับสมัยอยุธยา นอกจากเกร็ดประวัติศาสตร์แล้ว ยังมีแง่มุมเกี่ยวกับศาสนาฮินดูกับอิสลาม รวมถึงวัฒนธรรมของดินแดนแถบทะเลทรายแห่งราชสถานด้วย  

ทั้งสองเมืองนี้เปิดรับนักท่องเที่ยวจากทุกสารทิศ ชาวแบ็คแพ็กเกอร์ทั้งหลายถูกอกถูกใจเพราะค่าครองชีพไม่แพง ร้านรวงเกสต์เฮาส์ที่จอดห์ปูร์ดูจะพรักพร้อมกว่า ทั้งปริมาณและคุณภาพ ห้องพักมีให้เลือกทั้งแบบนอนรวมราคาไม่กี่สิบรูปีต่อวัน ไปจนถึงห้องเดี่ยวราคาสูงกว่า ลวดลายสไตล์การตกต่างภายในตามแบบฉบับราชสถาน ในขณะที่บุณฑีนั้นส่วนใหญ่เป็นบ้านพักคล้ายโฮมสเตย์ราคาย่อมเยา บางแห่งมีอาหารเช้าแบบง่ายๆแถมให้ด้วย 

จุดเด่นของสถานที่พักของทั้งสองเมืองนี้ก็คือดาดฟ้าสำหรับขึ้นไปนั่งเล่นกินลมชมวิวยามเช้าหรือซึมซับบรรยากาศโพล้เพล้ยามค่ำ บ้านเรือนแถบนี้สร้างกันแบบไม่ต้องมีหลังคาจั่วมุงสังกะสีหรือกระเบื้องแต่อย่างใด ปล่อยโล่งกันแบบนั้น อาจจะเป็นเพราะฝนไม่ได้ตกชุกเหมือนที่อื่นก็เป็นได้ คนเขาจึงใช้พื้นที่ดาดฟ้าในการตากผ้าหรือเป็นที่หย่อนใจ นอกจากให้ความรู้สึกผ่อนคลายแล้ว ยังสามารถสังเกตอากัปกิริยาผู้คนจากระยะไกลโดยไม่ต้องลงไปเดินไปเบียดกับฝูงชน บางครั้งบริเวณดาดฟ้านี่เองที่เป็นพื้นที่สำหรับเว้นระยะห่างทางสังคมที่ดีที่สุด

กิจกรรมเรื่อยเฉื่อยของการเป็นนักท่องเที่ยว ก็คือการทอดน่องท่องเมือง เดินลัดเลาะตรอกซอยแบบไม่ต้องกางแผนที่ แลนด์มาร์กสำคัญส่วนใหญ่อยู่ในระยะเดินกันถึง ตลาดกลางสีสันจัดจ้านก็มี ร้านค้า แทรกอยู่ทั่วไป กระหายน้ำคอแห้งก็แวะซื้อดื่มน้ำผลไม้คั้นสดหรือลาสซี (โยเกิร์ตปรุงรส) ของกินเล่นกินจริงทั้งคาวหวานก็มากมี คนที่ชอบเครื่องเทศรับรองติดใจ การได้ชิมโน้นกินนี้น่าจะเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของการออกไปท่องโลกล่ะ

มนุษย์เรานี่ชอบงานรื่นเริงกันมาก แต่ดูเหมือนคนบ้านเมืองนี้จะชื่นชอบมากกว่าที่อื่นใด เพราะมักได้ยินเสียงฆ้องกลองตามจุดต่าง ๆ ของเมืองแทบทุกวัน หรือเดินอยู่ดี ๆ ก็เจอขบวนแห่อะไรสักอย่าง หรือเจอเวทีรื่นเริง มีคณะแสดงยิปซีกำลังร่ายรำระบำกัน

แน่นอน ที่พลาดไม่ได้เลย ก็คือวังและป้อมปราการประจำเมือง นอกจากได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์มากขึ้นแล้ว ยังได้เห็นงานสถาปัตยกรรมอลังการงานสร้างด้วย คนสมัยก่อนนี่ก็เก่งไม่แพ้คนยุคนี้เลย เผลอ ๆ อาจเก่งกว่าเพราะสมัยโน้นไม่ได้มีเครื่องทุ่นแรงเหมือนยุคนี้ ที่สำคัญ การขึ้นไปยังป้อม มองลงมาเห็นวิวบ้านเรือนที่พร้อมใจกันทาด้วยสีฟ้า นี่แหละคือไฮไลต์ล่ะ


 

‘ทบิลิซี’ Tbilisi แดนแห่งความงาม ที่หลบเร้นอยู่ในหุบเขาจอเจียร์

เมืองสวยชดช้อยแห่งหนึ่ง อยู่ในหุบเขา ณ เทือกเขาคอเคซัส เปรียบประหนึ่งสาวงามร่างสูงโปร่งระหง โครงหน้ารูปไข่ แววตาเย้า ทั้งร่าเริงและเคร่งขรึมดุดันในที...จะเป็นอื่นใดไปไม่ได้เลยหากไม่ใช่ ‘ทบิลิซี’ เมืองหลวงของประเทศจอร์เจียนั่นเอง

จะเรียกว่าจับพลัดจับผลูได้ไปเยือนประเทศนี้โดยบังเอิญก็เป็นได้ หลายปีก่อนผมเดินทางโดยจักรยาน เริ่มที่อิหร่าน โดยต้องการไปจบทริปที่ตุรกี ก่อนออกทริปไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีประเทศน่าแวะอย่างจอร์เจียด้วย แต่เนื่องจากแผนและเวลาค่อนข้างยืดหยุ่น เมื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม จึงตัดสินใจปั่นอ้อมขึ้นไปทางเหนือ เลาะเข้าไปเที่ยวประเทศซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโซเวียต ปัจจุบันเป็นไทแก่ตัวแล้ว แต่ยังคงเป็นรัฐกันชนระหว่างกลุ่มอำนาจโลกขั้วตะวันออกและตะวันตก 

โดยทำเลที่ตั้งของทบิลิซีเอง เอื้อให้เป็นเมืองสวยได้ไม่ยากเลย เพราะเป็นหุบเขายาว ๆ มีแม่น้ำไหลผ่ากลาง สองฝั่งเป็นเนินสูงต่ำ ราบบ้าง ชันบ้าง บ้านเรือนสูงต่ำน้อยใหญ่ปลูกสร้างลดหลั่นกันไป ศาสนสถานแทรกแซมเป็นระยะ ๆ ถนนตรอกซอยคดเคี้ยว สถาปัตยกรรมเก่าแก่น้อยใหญ่ อายุอานามแตกต่างกันเรียงรายเบียดเสียดกัน ทว่ายังมีพื้นที่สีเขียวทั้งต้นไม้ใหญ่ริมถนนและสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อน ถนนในย่านเมืองเก่าปูด้วยก้อนหิน ตึกทรงทันสมัยออกแบบและก่อสร้างโดยผ่านการวางแผนอย่างรอบคอบ จึงกลมกลืนและไม่บดบังภูมิทัศน์

เมืองก่อร่างสร้างขึ้นบนไหล่เขา จึงเดินเล่นเพลิน ขยันก็ขึ้นไปยังจุดชมวิวซึ่งมีมากมายหลายจุดให้เลือก วันนี้เดินขึ้นเนินนี้ พรุ่งนี้เดินขึ้นอีกเนิน ได้ออกกำลังกายพร้อมกับหย่อนใจในเวลาเดียวกัน 

ตามผนังอาคารมักเห็นงานพ่นสเปรย์ประเภทกราฟฟิตี้สวย ๆ บางวันจึงสนุกไปกับการเดินตามถ่ายรูปศิลปะบนผนังเหล่านี้ พื้นที่ท้ายสะพานในย่านใจกลางเมืองถูกจัดสรรให้เป็นตลาดแบกะดิน พ่อค้าแม้ค้านำสมบัติมือสองผลัดกันชมมาวางขายกันในราคาย่อมเยา ลูกค้าเลือกชมและต่อรองราคา แล้วตกลงซื้อเมื่อพอใจทั้งสองฝ่าย อีกโซนใกล้กันขายงานศิลปะประเภทภาพวาด ทบิลิซีเป็นเมืองที่มีชีวิตชีวามาก

ศิลปะการแสดงยังคงเฟื่องฟูต่อเนื่อง โรงละครหุ่นกระบอกเปิดการแสดงทุกวัน ซึ่งผู้แสดงต้องอาศัยทักษะในการเชิด เรื่องราวมีทั้งร่วมสมัยและที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ขึ้นอยู่กับผู้กำกับ ละครเวทีซึ่งใช้นักแสดงจริงเป็นอีกทางเลือกในการเสพศิลปะ หรือหากชอบความชดช้อยอ่อนหวานอลังการก็ตีตั๋วเข้าชมบัลเล่ต์ได้ นักแสดงหลายคนจากเมืองนี้ไปโด่งดังที่มอสโกในฐานะนางเอกพระเอก การันตีคุณภาพคับโรง แม้กระทั่งดนตรีที่เกี่ยวข้องกับศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ ซึ่งขับขานก้องกังวานในโบสถ์ฟังแล้วซาบซึ้งขนลุกกันเลยทีเดียว 

เมืองนี้ผลิตนักเขียนผู้ฝากผลงานวรรณกรรม...เป็นที่รู้จักในประเทศและทั่วโลกหลายท่าน อย่างเช่น โนดาร์ ดุมบัดเซ่ นักเขียนดังที่หนังสืออย่างน้อยสองเล่มของเขาได้รับการแปลและตีพิมพ์เป็นภาษาไทย ได้แก่ ความรื่นรมย์ของชีวิต และ คืนวันอันแสนงาม นอกจากนี้ ยังมีนักคิดนักเขียนอีกหลายคนกำเนิดเกิดมาจากเมืองนี้ด้วย

ใคร ๆ ก็ชอบออนเซ็นใช่ไหม เมืองนี้มีน้ำพุร้อนและโรงอาบน้ำด้วย เวลาอากาศหนาว แถมบางวันในฤดูใบไม้ผลิฝนดันตกและลมแรง หรือบางครั้งก็ทำงานจนเครียด ร่างกายขมึงตึงปวดเมื่อย การไปแช่น้ำร้อนให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายจึงเกือบเหมือนได้ขึ้นสวรรค์เลยล่ะ

ระบบขนส่งสาธารณะราคาย่อมเยาและครอบคลุม มีให้เลือกทั้งรถไฟใต้ดิน บนดิน พัฒนากันมาตั้งแต่สมัยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต ปัจจุบันยังใช้การใช้งานได้ดีมีประสิทธิภาพ จะว่าไปค่าครองชีพไม่แพงเลย เทียบแล้วพอ ๆ กับบ้านเรา ส่วนราคาโรงแรมโฮสเทลมีตั้งแต่ไร้ดาวไปจนถึงห้าดาว ค่าอาหารเครื่องดื่มเทียบเป็นเงินไทยก็มื้อละประมาณสี่ห้าสิบบาท หากไปนั่งทานตามภัตตาคารต้องจ่ายมากกว่าเป็นเรื่องธรรมดา วัฒนธรรมอาหารนั้นผสมผสานความเป็นตะวันตก อย่างเมนูขนมปังและชีส ในขณะที่สำรับกับข้าวรับมาจากโลกตะวันออก หนีไม่พ้นข้าวราดต้มผัดแกงทอดอะไรต่าง ๆ คนบ้านเมืองนี้ปลูกองุ่นและทำไวน์กันมานานนับพันปี จึงถือเป็นเครื่องดื่มสามัญประจำประเทศ หาซื้อง่าย มีตั้งแต่ราคาลิตรละไม่เท่าไหร่ไปจนถึงไวน์คุณภาพสูงแพงลิบลิ่ว สุรากลั่นดีกรีสูงประเภทวอดก้า หรือเบียร์สำหรับซื้อหามาจิบยามบ่ายยามเย็นก็มากมี มนุษย์คอทองแดงน่าจะหลงรักประเทศนี้เพราะเหตุผลนี้ล่ะ

แม้หน้าตา สีตา สีผม ผิวพรรณจะเป็นฝรั่ง แต่นิสัยใจคอของคนจอร์เจียกระเดียดไปทางเอเชีย เพราะโฉ่งฉ่างกระโตกกระตาก และมักไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยด้วยประการทั้งปวง ความอิเหละเขะขะยังเห็นได้ทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามตลาด ที่เห็นแล้วขำคือพฤติกรรมพ่อค้าแม่ค้าริมฟุตบาทพากันเก็บข้าวของวิ่งหนีกันจ้าละหวั่นเวลาเทศบาลมากวดขัน สิ่งละอันพันละน้อยอันเป็นปกติสามัญของที่นี่แหละที่เป็นสีสัน

สรุปก็คือ เมืองอันเปี่ยมเสน่ห์นี้ไม่เหมาะสำหรับรีบ ๆ ไปเยือนรีบ ๆ จากไป แต่เหมาะที่จะแช่อยู่นาน ๆ ค่อย ๆ ซึมซับความประทับใจกันไป

แด่ผู้ท่องโลกกว้าง...ที่จากไป ตามรอย ‘เช เกบารา’ ที่ อัลตา กราเซีย (Alta Gracia)

ผมได้ยินชื่อ “เช เกบารา” น่าจะตั้งแต่สมัยเป็นวัยรุ่นแล้ว เคยเห็นหน้าของชายคนนี้พิมพ์ลงไปตามหมวกบ้าง ตามเสื้อยืดบ้าง และเห็นตามท้ายรถสิบล้อบ้าง เห็นว่าเป็นชายเซอ ๆ เท่ ๆ ที่ดูดีคนหนึ่งเท่านั้นเอง จนกระทั่งภาพยนตร์เรื่อง The motorcycle diaries ออกฉายในโรงเมื่อสักสิบกว่าปีที่แล้ว เป็นการนำเอาเรื่องราวการเดินทางทั่วทวีปอเมริกาของเชและเพื่อนมาสร้าง โดยทั้งตัวหนังและนักแสดง รวมถึงองค์ประกอบทั้งหมดทำให้ยกให้เป็นหนึ่งในหนังประทับใจที่สุดของผม และน่าจะของใครอีกหลาย ๆ คนด้วย 

ในแง่ของบทบาททางการเมือง ลัทธิการต่อสู้แบบกองโจร รวมถึงการปฏิวัติเพื่ออุดมการณ์ในการต่อต้านโลกทุนนิยมชนิดสุดโต่งนั้นผมไม่ค่อยสนใจ รู้แค่ว่าการออกผจญภัยของ เช เกบารา มีส่วนกระตุ้นต่อมเดินทางของผมค่อนข้างมาก ผมเองชื่นชอบการเร่ร่อนส่องโลกมากเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ได้เห็นแบบอย่าง (อันดีงาม) แบบนี้จึงยิ่งเป็นการตอกย้ำว่าตนเองก็สามารถใช้ชีวิตตามฝันได้เช่นกัน นี่จึงนับว่าเขาเป็น “ไอดอล” คนหนึ่งของการออกนอกกรอบและท่องโลกกว้างสำหรับตัวเอง 

การได้ผ่านไปสัมผัสสถานที่ซึ่งครั้งหนึ่งเชเคยเกิด เติบโต ใช้ชีวิตอยู่ แม้กระทั่งสถานที่ตายและหลุมฝังศพ จึงเป็นความฝันอย่างหนึ่งของผม อธิบายง่าย ๆ ก็คงอารมณ์คล้าย ๆ บรรดาติ่งเกาหลีอยากไปตามรอยซีรีส์เกาหลีนั่นแหละ และครั้งนี้ผมมีโอกาสได้ไปเที่ยวบ้านเมืองที่เขาเกิดและเติบโตล่ะ

อันที่จริง ข้อมูลทั้งประวัติและวีรกรรมต่าง ๆ ของเชมีเพียบละเอียดถี่ยิบแล้ว ทั้งตามชั้นหนังสือและในโลกอินเตอร์เน็ต แต่การได้เดินทางไปเยือนด้วยตัวเองมันให้ความรู้สึกที่ต่างจากการซึมซับรับทราบข้อมูลมือสองเยอะเลย สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็นครับ ดังนั้น เมื่อมีโอกาสได้ไปเยือนอาร์เจนติน่า จึงตั้งใจเป็นมั่นเหมาะว่าจะต้องไปให้ถึงบ้านเกิดเชให้ได้

เช เกบารา เป็นคนอาร์เจนตินา ประเทศซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ บ้านเกิดจริง ๆ ของเขาคือเมืองโรซาริโอ ตั้งอยู่บนที่ราบภาคกลางของประเทศ ปัจจุบันถือว่าเป็นเมืองข้างค่อนใหญ่และวุ่นวายขวักไขว่ สภาพอากาศคล้ายเมืองไทย คือร้อนชื้นและยุงเยอะ พื้นที่นอกเมืองเต็มไปด้วยทุ่งกสิกรรม ต่างกันตรงที่ทางโน้นไม่ได้ปลูกข้าวนาปีนาปรังเหมือนภาคกลางบ้านเรา เขาลืมตาดูโลกในโรงพยาบาลของเมืองนั้น แต่เนื่องจากอาการหอบหืด พ่อแม่จึงตัดสินใจย้ายไปอยู่ที่เมืองเล็กตากอากาศ ซึ่งห่างออกไปราวสี่ร้อยกิโลเมตร ซึ่งอยู่ใกล้อีกเมืองใหญ่ชื่อกอร์โดบาร์

เอาเข้าจริง ๆ โดยตัวเมืองบนเนินเขาอย่างอัลตากราเซียนั้น แม้อากาศจะเย็นสบายกว่าเยอะ หากดูในแผนที่แล้วจะเห็นว่าเมืองนี้อยู่บริเวณเชิงเขาของเทือกเขาแอนดีส ซึ่งทอดตัวยาวมาจากตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้มายังตอนใต้สุด และเป็นหนึ่งในเทือกเขาที่เต็มไปด้วยยอดเขาสูงชันติดอันดับโลกไม่แพ้เทือกเขาหิมาลัยของทวีปเอเชีย แน่นอน อากาศดี สมเหตุสมผลแล้วโดยประการทั้งปวงที่ครอบครัวนี้จะย้ายมาลงหลักปักฐานที่นั่นด้วยเหตุผลด้านสุขภาพของเด็กชายเช และแม้ว่าอัลตากราเซียจะมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางประวัติศาสตร์และธรรมชาติ แต่สำหรับผมแล้ว เหตุผลเดียวของการไปที่นั่นก็คือการได้ไปเยี่ยมชมบ้านเพียงหลังเดียวโดยไม่ได้สนใจอย่างอื่นเลย

ไปถึงแล้วก็ไม่เสียเวลา (ผมเดินทางโดยจักรยานครับ) เช็คข้อมูลในมือถือ รู้ว่าจากใจกลางเมืองต้องขึ้นเนินไปอีกนิด และลัดเลาะถนนเล็กซึ่งเป็นย่านที่อยู่อาศัย จนกระทั่งถึงบ้านเล็กที่ 501 ซึ่งเป็นบ้านชั้นเดียว มีรั้วรอบขอบชิดเหมือนบ้านทั่วไป นั่นแหละบ้านเชเขาล่ะ สิ่งที่แตกต่างก็คือ ปัจจุบันบ้านหลังนี้ได้ปรับเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าชม ไม่ได้มีใครอาศัยอยู่อีกต่อไปแล้ว

เมื่อซื้อตั๋วแล้วก็เดินดูโดยรอบ แม้สถานที่ไม่ได้กว้าง มีเพียงไม่กี่ห้อง แต่เต็มไปด้วยรายละเอียดและสิ่งที่น่าสนใจ อบอวลไปด้วยความทรงจำมากมายจริง ๆ รู้สึกดีใจที่ได้เห็นสมุดบันทึกลายมือเช

เพราะเป็นที่รู้กันดีในหมู่นักเดินทางทั้งหลายว่าการจดบันทึกนั้นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย บนผนังในห้องต่าง ๆ มีรูปภาพใส่กรอบติดไว้ ส่วนใหญ่เป็นภาพสมาชิกครอบครัวและกิจกรรมที่เคยทำกัน 

มีเตียงนอนและชุดเสื้อผ้าสมัยยังเป็นเด็กชายเช โดยมีจักรยานสามล้อคันเล็กของเขาอยู่ที่มุมหนึ่งของห้องนอน ส่วนจักรยานซึ่งติดเครื่องยนต์อีกคันอยู่อีกมุมหนึ่งของห้อง คันนี้เชเคยใช้ปั่นเดี่ยวหลายพันไมล์ขึ้นเขาลงห้วยเดินทางภายในประเทศสมัยเป็นวัยรุ่น พันธุกรรมเร่ร่อนคงตกค้างอยู่ในตัวผู้ชายคนนี้มากเอาเรื่อง แม้ว่าจะมาจากครอบครัวฐานะปานกลางมีอันจะกิน และเจ้าตัวมีโอกาสได้ร่ำเรียนจนจบแพทย์ที่เมืองหลวงบัวโนสไอเรส แต่ก็ตัดสินใจออกเดินทางไกลด้วยมอเตอร์ไซค์ คราวนี้ไปไกลกว่าเดิมมาก และนั่นเอง เป็นจุดเริ่มต้นทำให้เขาไม่เคยได้กลับมาลงหลักปักฐานที่ประเทศบ้านเกิดเมืองนอนอีกเลย แน่นอน มอเตอร์ไซค์คันนั้นก็ถูกนำมาเก็บรักษาไว้ในบ้านหลังนี้ด้วย

สิ่งที่เห็นแล้วสะท้อนใจ พร้อมกระตุ้นความอยากไปให้ถึงสถานที่ดังกล่าว ก็คือ เศษอิฐชิ้นหนึ่ง มีคำเขียนไว้ว่า La Higuera Bolivia 09-10-67 เป็นชิ้นอิฐระบุสถานที่และวันเดือนปีที่เช เกบาราเสียชีวิต 

การได้ไปซึมซับอดีตเช่นนี้ ทำให้อยากไปเห็นอีกหลาย ๆ ที่ที่เขาเดินทางผ่านหรือไปใช้ชีวิตอยู่ในบางช่วง อย่างเช่น ชิลี กัวเตมาลา คิวบา รวมถึงสถานที่โดนสังหารอย่าง La Higuera ในประเทศโบลิเวียด้วย ลาก่อนเช... แล้วพบกันที่ปลายทางถัดไปนะ
 

เสียง (เพรียก) แห่งสายน้ำปัตตานี... ตอนที่ 5

พายเรือผ่านพ้นช่วงต้นน้ำจนถึงช่วงกลางของสายน้ำกันแล้ว ครึ่งหลังเป็นการล่องจากท้ายเขื่อนบางลางเพื่อไปจบที่ตัวเมืองปัตตานีซึ่งตั้งอยู่บริเวณปากอ่าวไทย ยังมีเวลาคายักกันแบบไม่ต้องรีบร้อนอีกหลายวัน ระหว่างทางได้พบเจอทั้งเรื่องราวประทับใจ และเหตุการณ์ไม่สบอารมณ์นัก ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกของการเดินทางและของชีวิตนั่นแหละ 

ความแรงและการไหลของน้ำขึ้นอยู่กับการเปิดประตูน้ำของเขื่อน ในช่วงที่มีการผลิตกระแสไฟฟ้าก็ต้องปล่อยน้ำเพื่อให้เครื่องจักรกลทำงาน ปกติแล้วมีการเปิดปิดน้ำวันละรอบ ระดับน้ำเปลี่ยนแปลงขึ้นลงทุกวัน 

สายน้ำ และเด็ก ๆ เป็นของคู่กันเสมอ ภาพชินตาพบเห็นเวลาบ่ายเสาร์อาทิตย์ คือโขยงเด็กน้อยวัยประถมถึงมัธยมต้นทั้งชายและหญิงลงมากระโดดน้ำ ดำผุดดำว่าย หยอกล้อเล่นกัน เสาร์อาทิตย์เด็ก ๆ ยังคงต้องไปเรียนหลักศาสนาอิสลาม ชั้นเรียนเลิกแล้วก็พากันไปเล่นต่อ ชนบทแบบนี้ไม่มีห้างสรรพสินค้าหรือสวนสนุก จึงอาศัยหลังบ้านเป็นสนามเด็กเล่น เมื่อเจอชายต่างถิ่นแปลกหน้าสองคนพายเรือผ่าน จึงตะโกนทักทายแบบกล้า ๆ กลัว ๆ ขณะเดียวกันก็ใส ๆ และเป็นมิตร บางคนชักชวนให้เล่นน้ำกับพวกเขา หรือเด็กผู้ชายบางคนก็ขออนุญาติขึ้นมานั่งบนเรือ ล่องไปด้วยกันจนถึงท้ายหมู่บ้านก็ลาแล้วกระโดดลงน้ำว่ายขึ้นฝั่งกันไป เด็ก ๆ มักตะโกนบอกให้เดินทางปลอดภัยบ้าง โชคดีบ้าง เป็นความรู้สึกดีและน่าประทับใจมาก


“อีกันมูเด๊ะ” นั่นคือคำบอกเล่าจากปากผู้เฒ่าผู้อาศัยอยู่ริมน้ำแต่อ้อนออกท่านหนึ่ง และอันที่จริงนี่เป็นคำสามัญภาษามลายูท้องถิ่นซึ่งคนรุ่นตั้งแต่อายุเลย 50 ปีขึ้นไปคุ้นเคยกันดี หมายความว่าการอพยพขึ้นสู่ต้นน้ำของปลาเพื่อหาที่ซึ่งอาหารอุดมสมบูรณ์และสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการวางไข่และการอพยพกลับลงมาของตัวอ่อนมายังปลายน้ำเพื่อเติบโตและสืบเผ่าพันธุ์ วงจรซึ่งเกิดขึ้นมาเนิ่นนาน จวบจนกระทั่งเมื่อระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ ทำให้บรรดาปลาแม่น้ำทั้งหลายต้องปรับตัวแบบ “นิวนอร์มอล” พวกที่ปรับตัวไม่ได้ก็ค่อย ๆ ลดจำนวนลงจนในที่สุดสูญพันธุ์ไปนั่นเอง ผู้เฒ่าเล่าว่าสมัยแกยังเด็กปริมาณลูกปลาเคยล่องกลับลงมาเยอะมากขนาดเอาผ้าช้อนเล่นก็ติดผ้ามาแล้ว เป็นช่วงที่ฝูงนกบินว่อนเหนือแม่น้ำโฉบจับปลากกันทั้งวัน อาหารการกินเคยอุดมสมบูรณ์ขนาดนั้น

ปัจจัยซึ่งนำการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบนิเวศสายน้ำปัตตานีอย่างแน่นอนที่สุดกว่าสิ่งอื่นใด คือเขื่อนบางลางนั่นเอง พูดแบบนี้เหมือนเขื่อนเป็นผู้ร้ายเลยใช่ไหม ถ้าจะว่าใช่ก็ถูก จะว่าไม่ใช่ก็ต้องมองอีกมุมล่ะ ท้ายที่สุดแล้วอาจจะต้องมาชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีหรือประโยชน์กับข้อเสียหรือผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนว่าอย่างไหนมากกว่ากัน และ “คุ้มค่า” แค่ไหน อย่างเขื่อนบางลางนั้นสร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์หลักคือผลิตกระแสไฟฟ้าและการประมงในทะเลสาบเหนือเขื่อน โดยหน่วยงานภาครัฐนำพันธุ์ปลาต่างถิ่นอย่างปลาบึกมาปล่อย ทว่า คุ้มกันไหม แค่เมื่อต้องแลกสิ่งที่ได้มากับอิกันมูเด๊ะ

หลายเดือนก่อนเกิดน้ำท่วมใหญ่ตั้งแต่บริเวณเหนือเขื่อนไปจนถึงเมืองปัตตานี จากการปล่อยน้ำของเขื่อนบางลางโดยไม่มีการแจ้งข่าวเตือนล่วงหน้า ส่งผลทำให้ผู้คนต้องหนีกันจ้าละหวั่น บ้านเรือนจมน้ำได้รับความเสียหาย เรือกสวนถูกโดยเฉพาะอย่างยิ่งทุเรียนยืนต้นตาย ตลิ่งถูกกัดเซาะโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงโค้งน้ำนั้นผืนดินบางแปลงหายไปเลยก็มี หรือไม่ต้นยางพาราริมน้ำบางแถวถูกน้ำเซาะจนล้มไปเลยก็มี นี่ยังไม่นับกระชังปลาบริเวณปลายน้ำของชาวบ้านหลายคนที่ถูกน้ำซัดเสียหายไปกันคนละหลักแสนบาท ทว่า กฟผ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อความเสียหายดูเหมือนจะยังคงนิ่งเฉย ไม่ได้ออกมาอธิบายใด ๆ ต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบรุนแรง ซึ่งนี่อาจกลายเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่เพิ่มการสะสมตัวของความขุ่นมัวอึมครึมที่มีมาก่อนหน้านี้อย่างยาวนานอยู่แล้วด้วยก็เป็นได้

นอกจากเขื่อนใหญ่แล้ว ยังมีฝายกั้นน้ำเพื่อการเกษตรอีกหลายแห่ง ส่วนใหญ่อยู่ช่วงปลายของสายน้ำ พายเรือผ่านช่วงนี้ให้ความรู้สึกคล้ายกับการพายเรือผ่านแม่น้ำปิงที่ต้องยกเรือข้ามฝายเป็นว่าเล่น 

สิ่งสามัญที่พบเห็นคือทหารและเจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงแห่งชาติประจำการตามจุดต่าง ๆ หรือออกลาดตระเวนทั้งทางบกและทางน้ำ พาหนะก็ตั้งแต่รถมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ หรือกระทั่งรถถัง เจ้าหน้าที่ต้องใส่เสื้อเกราะกันกระสุน ในฐานะนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นคนนอกพื้นที่มองว่ายังมีการระแวงระวังกันระหว่างคนท้องถิ่นและภาครัฐในระดับหนึ่ง ในมุมของชาวบ้านไม่แน่ใจว่าพวกเขาอึดอัดมากแค่ไหนเมื่อต้องโดนเรียกตรวจหรือสอบถามประหนึ่งเป็นผู้ต้องสงสัย ขณะเดียวกันก็ไม่รู้ว่าเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการเองก็สะสมอาการเครียดจากการทำงานในพื้นที่แค่ไหนเช่นกัน

เดินทางกันหลายวัน ระหว่างทางได้รับน้ำใจไมตรีและความช่วยเหลือทั้งจากคนท้องถิ่นและเพื่อนที่อยู่ในเมือง ในที่สุด บ่ายแก่ของวันที่ 7 ของการเดินทางพวกเราก็ไปถึงเมืองปัตตานี มิตรสหายต่างพากันมารอต้อนรับประหนึ่งจะจัดมหรสพริมน้ำให้ แดดร่มลมตกวันนั้นเราร่วมสรุปทริปกันสั้น ๆ ส่วนตัวผมมองว่าประสบการณ์ครั้งนี้มีค่ามาก เพราะลดทอนความกลัว “สามจังหวัด” ในใจลงไปโดยสิ้นเชิง ได้เพื่อนใหม่อีกหลายคน และสำคัญที่สุดก็คือ แม่น้ำปัตตานีได้หยิบยื่นสารพัดสารพันให้แก่ผมมากกว่าที่ผมคาดไว้มากทีเดียว ประทับใจและขอบคุณมากครับ


สนับสนุนข่าวโดย : แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit
คลิก : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top