Thursday, 28 March 2024
PRESS

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิด 'ศูนย์ปัญญาประดิษฐ์' คิดค้นนวัตกรรมสู่การพัฒนา 'เศรษฐกิจ-สังคม' ในอนาคต

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิด 'ศูนย์ปัญญาประดิษฐ์' คิดค้นนวัตกรรมสู่การพัฒนา 'เศรษฐกิจ-สังคม' ในอนาคต

โหลดไว้ปลอดภัย!! Thaiwater สุดยอดสแกนภัย 'น้ำ-อากาศ' ข้อมูลรอบด้าน ช่วยคนไทยรับมือภัยพิบัติก่อนมาถึงตัว

จากสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือโดยอาศัยแนวคิดการลดความเสี่ยงตามหลักสากล คือ รู้รับ ปรับตัว ฟื้นเร็วทั่ว อย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความตระหนักในการลดความเสี่ยง ตั้งแต่ก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย โดยระยะก่อนเกิดภัยการพยากรณ์และแจ้งเตือนภัยจึงเป็นเรื่องสำคัญ THE STATES TIMES ขอแนะนำเว็บไซต์ คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ thaiwater.net ที่ให้ข้อมูลต่าง ๆ ก่อนเกิดภัย ของ สสน. หรือ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่มีการบูรณาการข้อมูลจากทุกหน่วยงานด้านน้ำ เพื่อส่งสัญญาณเตือนไปยังประชาชน จุดเด่นของ Thaiwater ให้ข้อมูลสภาพอากาศ และสถานการณ์น้ำได้อย่างละเอียด เช่น ระบบติดตามและแนวโน้มสถานการน้ำท่วม กล้อง CCTV ระบบเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลัน สถานการณ์น้ำ กทม. หรือสามารถอธิบายผังน้ำ เพื่อวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยงการเกิดอุทกภัยได้ วิธีการดูข้อมูลก็ง่าย ๆ เพียงคลิกเข้ามาในหัวข้อ ติดตามสถานการณ์น้ำ และเลือกผังน้ำ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา (ย่อ) ดังแสดงในภาพที่ 1

 

ภาพที่ 1 ผังลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2565 (ทำกราฟฟิกจุด (A) สถานีบางไทร, (B) จุดวัดบริเวณสะพานนวลฉวี, (C) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์)

ดร.สุรเจตส์ บุญญาอรุณเนตร ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมสารสนเทศทรัพยากรน้ำ สสน. ได้อธิบายภาพผังลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเปรียบเสมือนเป็นลู่ถนนของน้ำ ซึ่งไหลมาจากต้นน้ำ แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน และบรรจบเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเราสามารถทราบอัตราการไหลของน้ำผ่านจุดสถานีวัดต่าง ๆ ได้ ซึ่งมีหน่วยเป็น cms หรือ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เช่น...

(A) สถานีบางไทร 3,409/3,500 cms หมายถึง ปัจจุบันที่สถานีบางไทรมีอัตราการไหลของน้ำผ่านอยู่ที่ 3,409 cms ซึ่งสถานีบางไทรสามารถรองรับอัตราการไหลของน้ำได้สูงสุดที่ 3,500 cms และนอกจากนี้ยังสามารถทราบความสูงของระดับน้ำที่เทียบกับค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง (msl) 

(B) จุดวัดบริเวณสะพานนวลฉวี (CPY014) 2.75/2.50 msl อธิบายได้ว่าขณะนี้ระดับน้ำบริเวณดังกล่าวอยู่ที่ 2.75 เมตร (สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง หรือ msl) ซึ่งสูงกว่าระดับตลิ่งหรือระดับเฝ้าระวังที่ 2.50 msl หมายถึงขณะนี้ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง (2.75 > 2.50) อาจเกิดสถานการณ์น้ำท่วมในบริเวณนั้นได้ถึง 0.25 เมตร เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถแสดงถึงปริมาณน้ำในเขื่อนว่ามีปริมาณมากน้อยอย่างไร

ลุงตู่คัมแบ็ค ลงพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 'อุบลฯ - ขอนแก่น' ลุยให้กำลังใจ - ใส่ใจ - เข้าถึงประชาชน

ลุงตู่คัมแบ็ค ลงพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 'อุบลฯ - ขอนแก่น' ลุยให้กำลังใจ - ใส่ใจ - เข้าถึงประชาชน

'อดีตทูตฯ นริศโรจน์' เอือม!! สังคมไทยฟังไม่ได้ศัพท์ ทั้งที่นายกฯ พูดชัด ต้องมีทรานซิสเตอร์ช่วงไฟฟ้าไม่มี

(5 ต.ค. 65) นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ได้ให้สัมภาษณ์กับ THE STATES TIMES กรณี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม แนะนำให้ใช้วิทยุทรานซิสเตอร์ในการออกอากาศแจ้งเตือนประชาชน รองรับระบบเตือนภัยล่ม จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ซึ่งท่านนริศโรจน์แสดงความเห็นว่า...

"พวกคุณตามนายกฯ ไม่ทันกันเอง นายกฯ ท่านรู้ ท่านเรียนเรื่องนี้มา จะไปใช้บลูทูธ ถ้าไม่มีไฟฟ้า ไม่มีอินเทอร์เน็ต พวกนี้ตายหมด วิทยุทรานซิสเตอร์นอกจากใช้ถ่านแล้ว บางรุ่นยังใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ผมเคยอยู่สเปน, ลาว, อาร์เจนตินา เคยใช้ชีวิตแถวละตินอเมริกา เค้าก็ใช้วิทยุทรานซิสเตอร์เตือนภัยในช่วงภัยพิบัติทั้งนั้น ตอนภัยพิบัติฟุกุชิมะ ที่ญี่ปุ่น ไฟฟ้าดับทั้งเมือง คุณจะเอาอะไรฟังข่าวสาร ถึงขนาดที่ญี่ปุ่นระบุว่า ในถุงอุปกรณ์สำหรับการดำรงชีวิต ต้องมีวิทยุทรานซิสเตอร์ ต้องมีถ่านไฟฉาย ต้องมี first aid 

'มูลนิธิราชประชานุเคราะห์' หน่วยหนุนเคลื่อนที่ไว ส่งสิ่งของจำเป็นในการดำรงชีพทั่วถึงทุกราษฎร

ปัญหาอุทกภัยในลุ่มแม่น้ำภาคกลางที่กำลังสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างมาก ต้องอาศัยหน่วยงานภาครัฐออกมาเร่งช่วยเหลือและแก้ไขปัญหากันอย่างเต็มที่ 

โดยมีหลายหน่วยงานทึ่ออกตัวไว ช่วยเร็ว ซึ่งหนึ่งในนั้น ก็คือ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ 'ปิดทองหลังพระ' ออกลุยช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

ทีมข่าว THE STATES TIMES ได้มีโอกาสลงพื้นที่เก็บภาพบรรยากาศการทำงานของหน่วยงานดังกล่าวแบบใกล้ชิด ส่วนภารกิจที่พี่ๆ ต้องเร่งทำนั้นจะเหน็ดเหนื่อยแค่ไหน ตามไปให้กำลังใจกันดูได้เลย

เริ่มตั้งแต่บรรจุสิ่งของพระราชทานบริเวณ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อนำไปมอบให้กับผู้ประสบอุทกภัยทั้งในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวัด โดยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลทางมูลนิธิฯ จะลงพื้นที่ไปมอบให้กับผู้ประสบภัยโดยตรงตามบ้านผู้ประสบภัย 

ส่วนต่างจังหวัดทางมูลนิธิฯจะส่งสิ่งของพระราชทานมอบให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อดำเนินการแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ประสบภัย ซึ่งตั้งแต่ภัยพิบัติพายุโนรูที่ผ่านมา ทางมูลนิธิฯ ได้แจกถุงยังชีพพระราชทานไปแล้วกว่า 30,000 ชุด โดยถุงยังชีพพระราชทาน มีน้ำหนักมากถึง 20 กิโลกรัม ภายในมีสิ่งของจำเป็นในการดำรงชีพสำหรับราษฎรที่เดือดร้อน เช่น ข้าวสาร, อาหารแห้ง, เครื่องกระป๋อง, น้ำดื่ม ยารักษาโรค และของใช้ในชีวิตประจำวัน 

'ดร.เสรี - ปู จิตกร' นิยามแซ่บ 'วิทยุทรานซิสเตอร์' 'หลุมดักควาย' ที่นึกว่าตัวเองฉลาด แต่มีปัญญาจำกัด

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565 ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักสื่อสารมวลชน ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า “นิยามใหม่ของวิทยุทรานซิสเตอร์ คือ “หลุมดักควาย” พอลุงตู่แนะนำให้ใช้วิทยุทรานซิสเตอร์ในการติดตามข่าวสารในยามระบบโทรคมนาคมล่ม ไฟฟ้าดับ เราได้เห็นควายตกหลุมหลายตัว นึกว่าตัวเองฉลาด ออกมาแซะว่าลุงตู่โบราณ ตกยุค แท้ที่จริงไม่รู้จริงว่าหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาก็ใช้วิทยุทรานซิสเตอร์ในภาวะฉุกเฉินกันทั่วโลก” 

ขณะที่ ปู จิตกร บุษบา คอลัมนิสต์ชื่อดัง ก็ได้อธิบายถึง 'ทรานซิสเตอร์' ไว้ในเฟซบุ๊กว่า “นายกประยุทธ์ ท่านมีประสบการณ์ตรง รู้ว่าบางพื้นที่ ประชาชนเดือดร้อนลำบาก จากเหตุไฟดับ อินเทอร์เน็ตล่ม และต้องแจ้งเตือน สื่อสารถึงประชาชน ผ่านทาง 'วิทยุกระจายเสียง' ซึ่งก็คือคำว่า 'ทรานซิสเตอร์' ที่กำลังบ้วนถุยใส่กันอยู่นี่แหละ วิทยุกระจายเสียงมีทั้งระบบเอเอ็มและเอฟเอ็ม ที่สู้กับสภาวะฝนฟ้าคะนองได้สบายๆ” 

ถอดบทเรียน ก่อเหตุกราดยิงในไทย อารมณ์ส่วนตัวหรือสื่อมวลชนกระตุ้น?

สยามเมืองยิ้ม ตอนนี้คนไทยไม่สามารถยิ้มออกมาได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์อันน่าสลดใจอีกครั้ง หลังอดีตตำรวจก่อเหตุกราดยิงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จ.หนองบัวลำภู เป็นการกระแทกซ้ำหัวใจคนไทย หลังได้รับบทเรียนจากกราดยิงโคราชเมื่อ 2 ปีที่แล้ว วันนี้ทีมข่าว THE STATES TIMES จะพาผู้อ่านทุกท่านมาถอดบทเรียนเกี่ยวกับการกราดยิงร่วมกัน

(คำถาม : ท่านผู้อ่านคิดว่าอะไรที่ส่งผลให้ผู้ร้ายทำการกราดยิง?)

จากข้อมูลการเสวนาถอดบทเรียนทางจิตวิทยาเหตุกราดยิงฯ โดยคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ข้อมูลถึงปัจจัยที่ทำให้คนก่อเหตุอาชญากรรมไว้ว่า ปัจจัยที่ทำให้คนก่อเหตุอาชญากรรม คือ 'มูลเหตุจูงใจ + โอกาส'  

มูลเหตุจูงใจ คือ การตัดสินใจของคน พฤติกรรมของคน ส่วนโอกาส คือ ช่วงจังหวะเวลา สถานที่ ที่ทำให้ประกอบอาชญากรรมได้ เช่น การเข้าถึงอาวุธปืน การเข้าถึงสถานที่

ส่วนมูลเหตุของคดีนี้ สาเหตุมาจากเครียดอยากระบาย เก็บกด เคียดแค้นจากการถูกไล่ออกจากราชการ ประกอบกับที่ผ่านมามีอาการหลอนยาจากการเสพยาบ้า, ยาไอซ์ ขณะที่ โอกาส มาจากผู้ก่อเหตุเป็นอดีตตำรวจสามารถที่จะเข้าถึงปืนได้ง่าย สถานที่ก่อเหตุก็สามารถเข้าถึงได้ง่าย เพราะลูกผู้ก่อเหตุก็เรียนอยู่ที่ศูนย์เด็กเล็กนี้ 

หากกล่าวถึงลักษณะของผู้ก่อเหตุ ดร.นัทธี จิตสว่าง นักอาชญาวิทยา อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ อธิบายไว้ว่า ส่วนใหญ่ผู้ก่อเหตุจะมีลักษณะอยู่ 4 ประการได้แก่...

1. ถูก Discriminate จากเพื่อน มีปัญหาด้านปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ไม่มีที่ปรึกษา แนะนำทางออกให้ จึงแก้ปัญหาด้วยตัวเอง อย่างเช่นกรณีที่โคราชนี้ มีทหารคนอื่นที่โดนโกงเหมือนกัน ถูกกระทำแบบเดียวกัน และมีแนวคิดจะก่อเหตุเหมือนกัน แต่ได้ไปปรึกษาแม่ เมื่อมีคนปรึกษาจึงไม่ได้กระทำ

2. เป็นคนที่ถูกกระทำมาในวัยเด็ก เช่น คนที่มีปัญหาครอบครัวแตกแยก ถูกกระทำจากพ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง ถูกกระทำจากในโรงเรียนหรือที่ทำงาน ทำให้เกิดความรู้สึกโกรธเกลียด เช่นในอเมริกา เคยมีเหตุเด็กอายุ 16 ไปกราดยิงเพื่อนในโรงเรียน และได้ให้เหตุผลว่าเขาเกลียดโรงเรียน เกลียดวันจันทร์เท่านั้น เพราะเคยถูกปฏิเสธ และรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม รู้สึกกดดัน

3. เป็นผู้ที่นิยมหรือคลุกคลี เรียนรู้เกี่ยวกับความรุนแรงมาโดยตลอด เช่น เคยมีผู้ก่อเหตุกราดยิงที่มีพฤติกรรมชอบฆ่าสัตว์ ยิงม้า ยิงสุนัข ชื่นชอบสะสมปืน บางรายมีการเขียนเรียงความที่แสดงถึงความคับแค้นและการฆาตกรรม

4. มีการเรียนรู้ศึกษาจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่ผ่านมา (อย่างจริงจัง) มีการจดบันทึก และวางแผนไว้

*** นอกจากนี้ ยังมีสื่อเป็นส่วนประกอบที่ทำให้ผู้ก่อเหตุทำการกราดยิง โดย 'สื่อ' มีส่วนสร้างพฤติกรรมเลียนแบบ ซึ่งเรื่องนี้  FRANK SHYONG ได้เขียนไว้ในสำนักข่าว Los Angeles Times ไว้ว่า “พฤติกรรมการกราดยิง” เป็นผลมาจากการรายงานข่าวอย่างละเอียดของสื่อ เมื่อสำรวจการรายงานข่าวกราดยิง พบว่าสื่อให้ความสนใจแก้ผู้ก่อเหตุเป็นอย่างสูง มีการเสนอภาพคนร้ายมากกว่าเหยื่อ 16 เท่า 

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเท็กซัสสเตทชี้ว่า การรายงานข่าวถี่และเข้มข้นต่อการกราดยิงโดยเฉพาะตัวผู้ก่อเหตุ ทำให้เกิดการส่งต่อพฤติกรรมและเป็นแรงจูงใจให้กับผู้ที่คิดจะก่อเหตุรายต่อไป ยังระบุอีกว่าพื้นฐานการรายงานข่าวคือ การเสนอข้อเท็จจริง แต่จะต้องหลีกเลี่ยงการส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นที่น่ากลัว

>> มีคำถามที่ว่า ผู้ก่อเหตุมีอาการทางจิตหรือเปล่า? เพราะคนที่ปกติอาจไม่สามารถก่อเหตุเช่นนี้ได้ง่าย

ก็อยากให้ผู้อ่านทุกท่านมาดูข้อมูลการศึกษา “ความเชื่อมโยงระหว่างการกราดยิงและอาการเจ็บป่วยทางจิต” ของ James L. Knoll IV และ George D. Annas ซึ่งได้อธิบายไว้ว่า “มีเพียง 3% ที่ผู้ป่วยทางจิตมีประวัติก่ออาชญากรรมรุนแรง และมี 1% ที่ใช้อาวุธปืน ซึ่งส่วนใหญ่ของผู้ป่วยทางจิตที่ใช้อาวุธปืน คือการใช้เพื่อจบชีวิตตัวเอง”

ซ้ำร้ายข้อมูลจาก Amy Barnhorst ในนิตยสาร Psychology Today ได้เขียนไว้ว่า ผู้ก่อเหตุใช้ปืนกราดยิง ไม่ได้ก่อเหตุจากอาการป่วยทางจิต หรือได้ยินเสียงและเห็นภาพหลอนในหัว แต่เกิดขึ้นเพราะถูกกระตุ้นจากความเกลียดชัง

สอดคล้องกับข้อมูลศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคในสหรัฐ (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) ที่อธิบายไว้ว่า ผู้ป่วยทางจิตมีแนวโน้มทำร้ายตัวเองมากกว่าทำร้ายผู้อื่น เนื่องจากสถิติการตายด้วยปืนถึง 2 ใน 3 เป็นการจบชีวิตตัวเอง 

>> คำถาม คือ แล้วเราจะสอนลูกอย่างไร เมื่อตกอยู่ในเหตุความรุนแรง?

'เสี่ยงลุย' ไม่คุ้มเสีย!! ระวัง!! ขับรถเปิดแอร์ฝ่าน้ำท่วม รถยุโรป ตุย!! รถญี่ปุ่นผ่านฉลุย

เมื่อเข้าฤดูฝนอย่างนี้คนมีรถยนต์อย่างเรา มันจี๊ดที่ใจมากเวลาขับรถฝ่าน้ำท่วม คนกรุงทราบดีว่าถ้าไม่ขับฝ่าน้ำท่วมกลับบ้าน ตี 5 ก็คงไม่ถึงบ้านถ้ายังรอให้น้ำลดอยู่ แต่คุณรู้ไหมครับเราควรจะขับรถยนต์ฝ่าน้ำยังไงให้ยังรอด? 

(คำถาม : คุณคิดว่าทำไมรถยุโรปถึงกลัวน้ำมากกว่ารถญี่ปุ่น?)

หากจะเล่าถึงทริกเล็กๆ ในการขับรถฝ่าน้ำท่วม สิ่งสำคัญคือห้ามขับรถเร็ว เพราะการที่คุณขับรถเร็วจะทำให้รถนั้นเสียการทรงตัว เบรกจะลื่นขึ้นกว่าปกติทำให้ควบคุมรถได้ยาก

ปิดแอร์แล้วเปิดกระจกเล็กน้อยเพื่อให้อากาศถ่ายเท ทำไมต้องปิดแอร์ เป็นเพราะว่าเมื่อเราเปิดแอร์ ใบพัดแอร์จะทำงานอาจทำให้ใบพัดหมุนน้ำกระจายไปยังจุดต่างๆ ของห้องเครื่อง อาจจะทำให้ใบพัดแอร์หักได้รับความเสียหาย

ห้ามสตาร์ตเครื่องยนต์ที่ดับขณะฝ่าน้ำ หากคุณพยายามสตาร์ต 1-2 ครั้งแล้วรถยังไม่ติด ห้ามฝืนสตาร์ตต่อไปเรื่อยๆ เพราะน้ำจะเข้าระบบเครื่องยนต์ เสียหายหนักไปอีกไม่คุ้มแน่นอน สาเหตุที่เครื่องดับอาจเกิดจาก หัวเทียนเปียกน้ำ น้ำเข้ากรองอากาศดูดเข้าเครื่องยนต์ ซึ่งรถยุโรปมักวางกรองอากาศไว้ต่ำใกล้ซุ้มล้อ มีโอกาสเสี่ยงมากกว่ารถญี่ปุ่น

หลังลุยน้ำท่วมให้จอดสตาร์ตทิ้งไว้สักพัก ข้อดีของการทำแบบนี้ คือการให้ไอเสียไล่น้ำที่อาจตกค้างอยู่ แล้วให้คุณเดินสำรวจรถว่ามีหลอดไฟดับไหม แผ่นป้ายทะเบียนหลุดหรือเปล่า สำรวจพรมภายในรถ หากมีน้ำซึมเข้ามา ให้ผึ่งรถให้แห้ง

หากมีคำถามว่าน้ำต้องท่วมระดับไหนถึงไม่ควรขับฝ่า เพราะบางทีมันก็จำเป็นต้องขับฝ่าจริงๆ กรมการขนส่งก็ได้ออกมาให้ความรู้ผ่านเพจ 'ขับขี่ปลอดภัย by DLT' ไว้ว่า..

• ระดับน้ำ 5-10 ซม. ขับผ่านได้ทุกคัน แต่ยังต้องมีสติ ระมัดระวัง ไม่ควรใช้ความเร็วสูง อาจทำให้สูญเสียการควบคุมได้ เพราะถนนลื่น

• ระดับน้ำ 10-20 ซม. รถทุกประเภทยังขับผ่านไปได้ รถขนาดเล็กอาจได้ยินเสียงน้ำใต้ท้องรถ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะยังมีโอกาสที่น้ำจะเข้าไปในตัวรถ

• รถอีโคคาร์ต้องระวัง ระดับน้ำ 20-40 ซม. เพราะส่วนใหญ่ถูกออกแบบให้มีความสูงจากระดับพื้น 15-17 ซม. อาจทำให้เกิดปัญหาท่อไอเสียจม แต่ยังสามารถขับลุยน้ำผ่านได้ ส่วนรถกระบะยังผ่านไปได้

• ระดับน้ำ 40-60 ซม. รถเก๋ง รถขนาดเล็กต้องเลี่ยง รถกระบะยังฝ่าไปได้ ปิดแอร์ขณะขับ ป้องกันพัดลมแอร์หน้ารถดูดละอองน้ำเข้าไปในเครื่องยนต์ จะทำให้เครื่องยนต์ดับ ขับขี่ให้ช้าลง ลดการเกิดคลื่นน้ำซัดเข้าหารถ จากรถคันอื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่น้ำจะกระจายเข้าสู่ห้องเครื่องยนต์

• ระดับน้ำ 60-80 ซม. อันตรายต่อรถทุกคัน ไม่ควรขับลุย เพราะน้ำอาจไหลเข้าห้องเครื่องยนต์ ทำให้เครื่องยนต์ดับ หยุดชะงัก ก่อให้เกิดความเสียหายในระบบต่างๆ ได้ ซึ่งการขับลุยน้ำท่วมระดับนี้ต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ ที่สำคัญอย่าปะทะคลื่นโดยตรง เพื่อหลีกเลี่ยงเครื่องดับกลางอากาศ

• ระดับน้ำสูงเกินกว่า 80 ซม. ควรใช้เส้นทางอื่น

'ไฟร์เซฟ' แคปซูลดับเพลิง นวัตกรรมสุดเจ๋งจากญี่ปุ่น อุปกรณ์ติดบ้านที่ 'เด็ก-ผู้สูงอายุ' 'ใช้ง่าย-สะดวก-ปลอดภัย'

(10 ต.ค. 65) ณ สโมสรทหารบก บริษัท สมาร์ทเฮลท์โซลูชั่น จำกัด เปิดตัวแคปซูลดับเพลิง 'ไฟร์เซฟ' (FIRESAVE) นวัตกรรมใหม่จากญี่ปุ่น ซึ่งทางบริษัทฯ ได้นำเข้ามาจัดจำหน่ายในประเทศไทย เพื่อให้คนไทยได้ใช้ประโยชน์ช่วยเซฟชีวิตและความเสียหายจากอัคคีภัย 

โดยผลิตภัณฑ์ แคปซูลดับเพลิง 'ไฟร์เซฟ' (FIRESAVE) เป็นเทคโนโลยีจากญี่ปุ่น มีขนาดเล็กเพียง 16-20 ลูกบาศก์เมตร มีความจุ 650 MI สามารถใช้งานได้พื้นผิวไม้ กระดาษ แก๊ส วิธีใช้ก็แค่ขว้างให้แตกไปยังจุดเกิดเหตุไฟไหม้ หรือผสมน้ำเปล่า น้ำทะเล น้ำเสีย แล้วใช้ดับไฟไหม้ได้เช่นกัน สามารถเก็บไว้ในบ้าน, รถยนต์ได้ เก็บในอุณหภูมิลบ 10 หรือ 60 องศาเซลเซียส 

ด้วยน้ำหนักเบา จึงใช้งานง่ายทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา อีกทั้งยังเป็นที่ยอมรับจากต่างประเทศ ปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เพราะมีส่วนประกอบหลักคือสารที่มีในอาหาร จึงไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนังมนุษย์ 

พ.ต.อ.จารึก สารโภค ประธานบริษัท สมาร์เฮลท์โซลูชั่น จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมามีเหตการณ์เพลิงไหม้บ่อยครั้ง ตนจึงคิดว่าทุกบ้านควรที่จะมีอุปกรณ์ดับเพลิง ปัญหาใหญ่บ้านเราที่พบคือการใช้ถังดับเพลิงไม่ถูกวิธี มีขนาดใหญ่ ใช้งานยาก เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นมาส่วนใหญ่ไม่สามารถดับไฟได้ทัน ส่งผลให้ไฟลุกลามเกิดความเสียหาย ตนเชื่อว่าแคปซูลดับเพลิง 'ไฟร์เซฟ' (FIRESAVE) จะช่วยแก้ปัญหาได้ โดยวิธีใช้เพียงขว้างให้แตกไปยังจุดที่เกิดไฟไหม้ แคปซูลจะแตกตัวเป็นของเหลว ดับไฟได้ง่าย อีกทั้งมีน้ำหนักเบา เด็กหรือผู้สูงอายุสามารถหยิบได้รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top