Sunday, 28 April 2024
เศรษฐกิจ

'ทิพานัน' โชว์แผนเดินหน้าพัฒนาบุคลากรในเขต EEC มุ่งสร้าง 'คน-งาน-อาชีพ' กว่า 4.75 แสนตำแหน่ง

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลได้มีการผลักดันโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC อย่างจริงจัง ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคบริการ บนฐานของเทคโนโลยีสมัยใหม่ และนวัตกรรม ทั้งนี้ได้มีการเตรียมกำลังคนเพื่อทำงานในพื้นที่ EEC โดยสถาบันการศึกษาผลิตคน เน้นที่ศักยภาพตามความต้องการของสถานประกอบการ (Demand Driven) เพื่อให้เยาวชนและประชาชนมีงานทำ มีรายได้สูงด้วยความสามารถ ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2561 

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า รัฐบาลโดย พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้วางแนวทางเรื่องการพัฒนาบุคลากรให้ตรงความต้องการไว้แล้ว โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ 

1.) EEC Model Type A ให้สถานศึกษาจัดการศึกษาหลักสูตร ที่ได้รับปริญญา (Degree) หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.) เน้นการดำเนินการร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการ เพื่อให้ตรงความต้องการและได้อัตราค่าจ้างที่สูงกว่าปกติ  

2.) EEC Model Type B เป็นการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น ไม่มีปริญญา (Non-Degree) เพื่อพัฒนาบุคลากรแบบเร่งด่วน โดยสถาบันการศึกษาและสถานประกอบร่วมกันออกแบบหลักสูตร โดยมุ่งเน้น การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมหรือชั้นปีสุดท้ายของการศึกษาในระบบ หรือประชาชนทั่วไปให้มีความรู้และทักษะที่สามารถทำงานในอุตสาหกรรมเป้าหมายได้ทันที

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ กล่าวว่า EEC ได้คาดการณ์เรื่องความต้องการบุคลากรไว้ว่า เมื่อโครงการสำเร็จลุล่วง จะมีสถานประกอบการที่ต้องการแรงงาน ในระดับอาชีวศึกษา 377 แห่ง และระดับอุดมศึกษา 277 แห่ง รัฐบาลจึงเดินหน้าผลักดันสำรวจความร่วมมือจากสถานศึกษา-สถาบันการศึกษา ให้เข้าร่วมเพื่อพัฒนาบุคลากรให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมกว่า 941 แห่ง โดยแบ่งเป็นทั้งในพื้นที่ EEC และนอกพื้นที่ EEC โดยในพื้นที่ EEC ตั้งแต่ระดับโรงเรียน 847 แห่ง อาชีวศึกษา 17 แห่ง มหาวิทยาลัย 7 แห่ง ส่วนเครือข่ายสถาบันศึกษานอกพื้นที่ EEC ได้แก่อาชีวศึกษา 61 แห่ง มหาวิทยาลัย 9 แห่ง หน่วยงานภาครัฐ 14 แห่ง ที่จะสามารถรองรับและส่งเสริมหลักสูตรในอนาคตได้ นอกจากเรื่องสถาบันการศึกษายังมีในส่วนของการปกครองส่วนท้องถิ่น ใน 3 จังหวัดคือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ได้แก่ เทศบาล 111 แห่งและองค์การบริหารส่วนตำบล 161 แห่ง ที่จะสามารถเข้าร่วมในการพัฒนาบุคลากรด้วย

ในเบื้องต้นประมาณการความต้องการบุคลากรในพื้นที่ EEC อยู่ที่ 475,688 อัตรา อาทิ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 16,920 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 37,526 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมดิจิทัล 116,222 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 58,228 ตำแหน่ง,อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร 11,538 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมพาณิชย์นาวี 14,630 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต 53,738 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ 166,992 ตำแหน่ง โดยแบ่งเป็น ระดับอาชีวศึกษา 253,114 ตำแหน่ง ระดับปริญญาตรี 214,070 ตำแหน่ง และระดับปริญญาโทร-เอก 8,610 ตำแหน่ง

8 บิ๊กคอมพานีปักหมุดไทยฐานผลิตรถ EV หอบทุนแสนล้าน ดันไทยฮับ EV อาเซียน

(17 ต.ค. 65) จากเพจเฟซบุ๊ก Vaccine ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับ อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าของไทยที่กำลังจะกลายเป็น EV Hub ของโลก หลัง 8 บริษัทใหญ่ทั่วโลกร่วมลงทุนด้วยเงินกว่าแสนล้านบาท ไว้อย่างน่าสนใจว่า…

ประเทศไทยเนื้อหอม ยุครปภ.
8 บริษัทยักษ์ใหญ่ลงทุนโรงงานผลิตรถ EV

ประเทศไทยกำลังจะกลายเป็น EV Hub ของโลก...ในยุครปภ.
ด้วยเงินลงทุนกว่าแสนล้านจากบ.ยานยนต์ทั่วโลก
เพราะประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจะเลิกจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในอย่างสิ้นเชิงภายในปี 2035 และสหประชาชาติก็เสนอร่างเลิกขายรถเครื่องยนต์สันดาปในปี 2040
ส่งผลให้รถ EV กลายเป็นหน้าใหม่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นความต้องการของโลก

ด้วยความทันเกมส์ของรัฐบาลไทย ก็ประกาศเป้าหมาย ปี 2573 ไทยจะผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งรถยนต์นั่งและรถกระบะทั้งสิ้น 725,000 คัน ประเภทรถจักรยานยนต์จะมีการผลิตทั้งสิ้น 675,000 คัน หรือมีสัดส่วน 30% ของการผลิตทั้งหมด 

และคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ตั้งเป้าการผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี 2573 เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) พร้อมผลักดันไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลกหรือศูนย์กลางของภูมิภาค (EV Hub)

วันนี้ 8 บริษัทยักษ์ใหญ่เลือกลงทุนในไทยเป็นฐานการผลิตรถ EV ลงทุนแล้ว 5 บริษัท คือ

1. Foxconn + Horizon plus 🇹🇼🇹🇭 
มูลค่าการลงทุน 1.04 billion USD ที่จ.ชลบุรี

2. Ford 🇺🇲
มูลค่าการลงทุน 1.02 billion USD ที่จ.ระยอง

3. BYD 🇨🇳
มูลค่าการลงทุน 522 million USD ที่จ.ระยอง

'บิ๊กป้อม' ปลื้ม!! วิ่งเทรลชิงแชมป์โลกในไทยไปได้สวย มั่นใจ!! เป็นสินค้าท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ของประเทศ

พล.อ.ประวิตร ชื่นชมความสำเร็จยิ่งใหญ่ ไทยจัดแข่งวิ่งเทลชิงแชมป์โลกครั้งแรก ร่วมแสดงความยินดีผู้ได้รับรางวัลนักกีฬาต่างชาติ สร้างปรากฏการณ์ด้านกีฬาระดับสากล บนแผ่นดินไทยหลังโควิด-19 คลี่คลาย 

(8 พ.ย. 65) ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รอง นรม. เปิดเผยว่า ก่อนการประชุม ครม. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการโอลิมปิก แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ร่วมแสดงความยินดีกับความสำเร็จ อย่างยิ่งใหญ่ ต่อคณะกรรมการจัดการแข่งขันวิ่งเทลภูเขา ชิงแชมป์โลกครั้งที่ 1 รายการ ‘AMAZING THAILAND WORLD MOUNTAIN & TRAIL RUNNING CHAMPIONSHIPS’ พร้อมทั้งได้แสดงความชื่นชม ต่อนักกีฬาต่างชาติที่เข้าร่วมการแข่งขันและได้รับรางวัลแชมป์โลกและรองแชมป์โลกที่มาร่วมคณะ ในโอกาสนี้ ประกอบด้วยนักกีฬาจากประเทศสหรัฐฯ, เคนย่า, อูกานด้า, อิตาลี และอังกฤษ 

‘ส.ส.เพื่อไทย’ ซัด!! ‘รบ.ประยุทธ์’ เอื้อนายทุนผลิตสุรา ยก ‘รบ.ทักษิณ’ เทียบ ดันสุราพื้นบ้าน ทำเศรษฐกิจโต

วันนี้ (8 พ.ย. 65) ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นพ.กิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ ส.ส.มหาสารคาม คณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทยกล่าวว่า การกระตุ้นและการพัฒนาเศรษฐกิจให้ประเทศมีความมั่นคง คือการพัฒนาฐานรากของประเทศให้มีความแข็งแรง การพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่รัฐบาลไทยรักไทยทำไว้แต่เดิมนั้น เป็นการกระตุ้นด้านเศรษฐกิจจากรากหญ้าสู่ยอดไผ่ ประชาชนแข็งแรง เศรษฐกิจดี ประเทศชาติก็แข็งแรง อย่างเช่น พ.ร.บ.สุรา รัฐบาลควรส่งเสริมสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านนี้ มากกว่าผูกขาดเพื่อเอื้อกลุ่มทุนใหญ่เท่านั้น เมื่อปี 2544 รัฐบาลนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร มีนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน หนึ่งในนั้นคือการส่งเสริมให้มีการผลิตสุราแช่ชนิดสุราผลไม้ สุราแช่พื้นเมืองและสุรากลั่น ล้วนแต่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทยที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ จำหน่ายสุราพื้นเมือง ส่งผลให้มีโรงงานสุราเกิดขึ้นจำนวนมากในชุมชนต่างๆ 

ททท.เปิดตัวเลขนักท่องเที่ยวทะลุ 7.3 ล้านคน คาดสิ้นปีเป้า 10 ล้าน ไม่พลาดแน่นอน

(16 พ.ย. 65) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เผยตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 26 ตุลาคม 65 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยแล้ว 7,349,843 ล้านคน และตั้งเป้าไว้ทั้งหมดในปีนี้ราว 10 ล้านคน โดยจำแนกจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรายเดือนได้ดังนี้...

• มกราคม 133,903 คน

• กุมภาพันธ์ 152,954 คน

• มีนาคม 210,836 คน 

• เมษายน 293,350 คน 

• พฤษภาคม 521,410 คน

ผลบวกเน้นๆ 'กระตุ้นศก. - หนุน Soft Power' โอกาสที่ไทยจะได้จากการประชุมเอเปคหนนี้

(18 พ.ย. 65) The World Echo ได้เผยข้อมูลประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับผ่านการประชุมเอเปคครั้งนี้ ว่า…

หลายคนอาจสงสัยในฐานะที่ไทยเป็นเจ้าภาพ จัดงานเลี้ยงอย่างใหญ่โตด้วยเงินภาษีของประชาชน แล้วประชาชนอย่างเรา ๆ จะได้ประโยชน์อะไรจากงานนี้ ขอสรุปเป็นข้อ ๆ...

ข้อแรก-การจัดงานจะส่งผลช่วยเศรษฐกิจไทย ทั้งรายย่อยและรายใหญ่ หลังการระบาดของโควิด 19  เรื่องนี้นับเป็นประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับทั่วหน้า โดยเฉพาะด้านธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

ข้อสอง-นี่คือช่องทางให้ไทยได้แสดงศักยภาพและความพร้อม ในการจัดการประชุมระดับโลก หลังการระบาดของโควิด-19 ซึ่งทั้งโลกอยู่ในภาวะซบเซา โดยเฉพาะครั้งนี้เป็นการประชุมแบบพบปะกัน ไม่ใช่เป็นการประชุมแบบออนไลน์

‘ไทย’ เตรียมดัน ‘FTAAP’ ในการประชุม APEC 2022 สร้างเขตการค้าเสรีใหญ่ที่สุดในโลก พาศก.ไทยโตหลายมิติ

(18 พ.ย. 65) นายอนุชา บรูพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในการประชุมเอเปกวันที่ 17-19 พฤศจิกายน 2565 นี้ จะมีการประชุมประเด็น เขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก หรือ Free Trade Area of the Asia-Pacific (FTAAP) ซึ่งรัฐบาลได้ประชุมและร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปก ครอบคลุมประเด็นสำคัญ 47 หัวข้อ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเด็นหลัก คือ 

1.) การเปิดกว้างต่อทุกโอกาส 
2.) การเชื่อมโยงในทุกมิติ 
และ 3.) ความสมดุลในทุกด้านในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ FTAAP

นายอนุชา กล่าวว่า นอกจากนี้ ไทยจะเสนอแผนงานขับเคลื่อน FTAAP ได้รวบรวมประเด็นที่สมาชิกเอเปกสนใจร่วมกัน ทั้งการค้าดั้งเดิม การค้าใหม่และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยตั้งเป้าหมายของ FTAAP เพื่อขยายการค้าการลงทุนภายในเอเชีย-แปซิฟิก รวมทั้งลดอุปสรรคการค้าการลงทุนที่ไม่จำเป็น และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของสมาชิกเอเปก และลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างกัน ทั้งนี้ ปัจจุบันกำลังทำแผนงาน FTAAP ระยะ 4 ปี (2566-2569) ที่มุ่งสู่การจัดทำ FTAAP เพื่อตอบสนองสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ด้านการค้า การลงทุน นวัตกรรม การเข้าสู่ยุคดิจิทัล

ผู้ประกอบการใจชื้น!! ดัชนีเชื่อมั่น SME โตต่อเนื่อง 3 เดือนติด หลังรัฐกระตุ้นเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยวสำเร็จ

รัฐบาล ชี้ ผลสำเร็จมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ บูมท่องเที่ยว ดันดัชนีเชื่อมั่น SME โตต่อเนื่อง 3 เดือน พร้อมย้ำข่าวดีโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำธุรกิจโรงแรมและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME (SMESI) เดือนตุลาคม 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 อยู่ที่ระดับ 53.1 โดยที่เดือนกันยายน และสิงหาคม 2565 มีค่าดัชนีอยู่ที่ 52.9 และ 51.2 ตามลำดับ โดยที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME (SMESI) เดือนตุลาคม 2565 มีปัจจัยบวกมาจากการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเป็นสำคัญ อีกทั้งราคาน้ำมันและราคาวัตถุดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ส่งผลดีต่อกำไรของภาคธุรกิจ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top