Sunday, 28 April 2024
เศรษฐกิจ

'เด็กเพื่อไทย' ซัด!! 'ประยุทธ์' อย่าสับสนเรื่องการท่องเที่ยว แนะ!! เร่งส่งเสริมเพิ่มนักท่องเที่ยวช่วยเหลือผู้ประกอบการ

นางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. เชียงราย เขตอำเภอพาน และคณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตามที่พรรคเพื่อไทย โดยนายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม รองเลขาธิการพรรค ได้อภิปรายไม่ไว้วางใจเรื่องการท่องเที่ยว แต่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กลับตอบสับสนและยังเข้าใจผิดคิดไปเองว่าบริหารการท่องเที่ยวได้ดี ทั้งที่ล้มเหลว ภูมิใจกับตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ยังต่ำมาก โดยการท่องเที่ยวของประเทศไทยน่าจะต้องฟื้นมากกว่านี้ เห็นได้จากนักท่องเที่ยวในประเทศสิงคโปร์และประเทศในยุโรปที่นักท่องเที่ยวมากขึ้นอย่างชัดเจน โรงแรมถูกจองเต็มกันหมด ในขณะที่โรงแรมในประเทศไทยยังมีห้องว่างมาก ขนาดนายกสมาคมการท่องเที่ยวยังบ่นและเรียกร้องให้รัฐบาลต้องทำงานส่งเสริมการท่องเที่ยวหนักกว่านี้

ทั้งนี้ หากมองย้อนหลังจะพบว่ารัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ดำเนินนโยบายท่องเที่ยวแบบสับสน ช่วงต้นปี 63 ขณะที่ท่องเที่ยวยังไม่แย่ รัฐบาลเสนอให้แจกเงินนักท่องเที่ยวต่างประเทศในโครงการ 'ชิมช้อปใช้ อินเตอร์' เพื่อเพิ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศ แต่ถูกประชาชนและสื่อมวลชนตำหนิกันมาก จนต้องล้มเลิกไป พอมาปี 2565 หลังจากวิกฤตการณ์โควิด การท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัวดีนักนักท่องเที่ยวยังน้อย แต่รัฐบาลกลับมีแนวคิดย้อนแย้งที่จะเก็บค่าเหยียบแผ่นดินกับนักท่องเที่ยวต่างประเทศคนละ 300 บาท และก็ถูกตำหนิอย่างรุนแรงจากประชาชนและจากสื่อมวลชน จึงต้องเลื่อนมาเรื่อยๆ แต่ยังไม่ยกเลิก 

รัฐผนึก 'SME D Bank - SAM' แก้หนี้ SME หวังฟื้นการจ้างงาน - เศรษฐกิจขยายตัว

เมื่อวันที่ (29 ส.ค. 65) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่นโยบายรัฐบาลมุ่งส่งเสริมและดูแลผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เข้าถึงสภาพคล่อง และที่มีปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ (NPLs) ให้ฟื้นกลับมาเดินหน้าทางธุรกิจต่อได้ ทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank และ บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) หรือ SAM ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อความร่วมมือทางธุรกิจในรูปแบบหน่วยงานรัฐกับหน่วยงานรัฐ (G To G) เป้าหมายเพื่อช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกลุ่มหนี้ด้อยคุณภาพ ให้สามารถกลับมาพลิกฟื้น อยู่รอด และเติบโตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ

น.ส.รัชดา กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าว ถือเป็นเป็นครั้งแรกของภาครัฐที่ร่วมบูรณาการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เป็นหนี้อย่างยาวนาน โดยจะนำร่องช่วยกลุ่มหนี้ด้อยคุณภาพที่มีหลักประกันที่เกิดขึ้นก่อนปี 2558 เงินต้นรวม ประมาณ 8,000 ล้านบาท และเมื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีผ่านกระบวนการแก้ปัญหาต่าง ๆ จาก บสส. แล้ว ทาง ธพว. พร้อมต่อยอดผ่านกระบวนการด้านการเงิน และการพัฒนา ในโครงการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ ลดวงเงินผ่อนชำระเหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้ และเติมทุนใหม่เสริมสภาพคล่อง นำไปใช้บริหารจัดการธุรกิจ ซื้อวัตถุดิบ เพิ่มกำลังการผลิต หรือสร้างมาตรฐาน

'เพื่อไทย' จี้ 'ประวิตร' เร่งช่วยเกษตรกรผู้ปลูกขิง ชี้!! ไม่มีผู้รับซื้อสินค้า วอนรัฐฯ อย่าทอดทิ้ง

นายวิกรม  เตชะธีราวัฒน์  ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. เชียงราย เขตพื้นที่ อ.แม่สรวย-อ.เวียงป่าเป้า ในฐานะคณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชน ได้รับการร้องเรียนจากเกษตรกรว่า เกษตรกรผู้ปลูกขิงเดือดร้อนหนักมากไร้พ่อค้ารับซื้อผลผลิตทางการเกษตร โดนเฉพาะขิงในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จากปีก่อนหน้านี้ราคาที่เคยขายได้ 20-30บาท ต่อกิโลกรัม ล่าสุดขิง 1 บาท ก็ไม่มีคนรับซื้อ ตกต่ำมากจนเกษตรกรนำขิง มาเททิ้งกลางถนนประชด เพราะรัฐบาลไม่เหลียวแล

นายวิกรม กล่าวด้วยว่า น่าประหลาดใจก่อนหน้านี้ ขิงถือว่าเป็นสินค้าส่งออกที่มีความต้องการสูงและมีราคาดี พ่อค้าจากต่างประเทศ ทั้งจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ตะวันออกกลาง ต่างมีความต้องการขิงของไทยมาก แต่จากการบริหารของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ไร้การวางแผนและต่อยอด ส่งผลให้ตลาดส่งออกขิงหายไป

'กรณ์' ลงใต้ พบนักศึกษา - นักธุรกิจใต้ 14 จังหวัด ชี้!! วัยเกษียณ - LGBTQ+ - โลจิสติกส์ พลิกฟื้นศก.ใต้ได้

'กรณ์' โชว์เก๋าอดีตรมว.คลัง บรรยายให้นักศึกษาม.หาดใหญ่ และนักธุรกิจใต้ 14 จังหวัด ชี้โอกาสทางเศรษฐกิจใหม่จากกลุ่ม LGBTQ+ และกลุ่มวัยเกษียณ พัฒนาระบบขนส่งจากอ่าวไทยไปจีน-ตะวันออกกลาง เชื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจภาคใต้ได้   

11 กันยายน 2565 นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงภารกิจได้รับเชิญให้บรรยายให้นักศึกษามหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และพบนักธุรกิจ 14 จังหวัดภาคใต้ โดยนายกรณ์ระบุว่า ลงใต้รอบนี้มีงานบรรยายเศรษฐกิจสำคัญ 2 งาน ๆ แรกนักศึกษา ม.หาดใหญ่ เชิญบรรยายในหัวข้อที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับ โอกาสทางเศรษฐกิจไทยจากการผลักดันเรื่องความหลากหลายทางเพศ ซึ่งตนขอเรียกว่า Rainbow Economy งานนี้นักศึกษาจัดงานกันเองอย่างมืออาชีพ มีการโหวตว่าสนใจประเด็นไหนมากที่สุด

นายกรณ์ กล่าวว่า ในห้องบรรยายเราถกกันหลายเรื่อง ซึ่งได้พบว่า ถึงแม้ว่าเขาจะสนใจเรื่องประเด็นทางสังคมอย่างสิทธิของ LGBTQ+ และกฎหมาย แต่ก็ย้ำถึงความสำคัญทางเศรษฐกิจปากท้อง และยังมองถึงโอกาสที่ตัวน้อง ๆ เองจะได้รับจากสิ่งนั้นเพื่อเตรียมพร้อมสู่อนาคตด้วย ช่วงตอบคำถามมีอาจารย์ท่านนึงเสริมว่ากลุ่มวัยเกษียณก็เป็นหนึ่งกลุ่มโอกาสทางเศรษฐกิจที่สำคัญซึ่งตรงกับใจตนมาก เพราะเราเตรียมพร้อมถึงยุทธศาสตร์ Silver Economy เอาไว้แล้วด้วยเช่นกัน ทั้งสองเรื่องนี้จริงๆ แล้วผูกโยงกันอย่างไม่น่าเชื่อ และตนเชื่อว่าจะเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ใหม่ให้คนไทยอีกมาก

'พงศ์พรหม' ห่วง!! 'ช่องว่าง' คุณภาพคนไทย VS ชาวโลก เริ่มห่าง!! พายุศก.ลูกใหม่ที่ต้องรีบแก้ ก่อนต่างชาติเทใจไปประเทศอื่น

(13 ก.ย. 65) พงศ์พรหม ยามะรัต รองโฆษกพรรคสร้างอนาคตไทย ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า...

เมื่อคืนแชร์เรื่องสัมภาษณ์เด็กเวียดนามไป

ที่ห่วงมาก ๆ คือตอนนี้เด็กเวียดนามสามารถเกาะกลุ่มความมุ่งมั่น ตั้งใจ ไฝ่รู้ กล้าล้ม กล้าลุกแบบเด็กอเมริกัน, สิงคโปร์, จีน, ญี่ปุ่น, เยอรมันได้แล้ว

แต่ที่ผมห่วงเด็กไทยรุ่นใหม่ คือ 'ช่องว่าง' ความเก่งระหว่าง 'เด็กไทย' กับ 'เด็กโลก' มันห่างกันกว่าเดิม

ผมไม่เถียงเลย เด็กไทยรุ่นใหม่กลุ่มนึง ที่เก่ง ๆ เค้าเก่งกว่าคนรุ่นผมมาก

แต่ที่ด้อยกว่า ก็มีจำนวนมากจนน่าตกใจเช่นกัน

>> ทำงานไม่ Productive แต่ท้อเก่ง!!

เจ้าของกิจการทั้งไทย-เทศบ่นเรื่องเดียวกัน

ต่างชาติก็ทะยอยไปประเทศอื่น เหตุนึงก็เพราะหาพนักงานคุณภาพดียาก

>> การทำงานไม่ Productive

ตัวเองก็จะรู้สึกไปเองว่างานเยอะ ทั้งที่ไม่เยอะ เพียงแต่งานไม่จบ 

ต้องทำงานเล็ก ๆ ที่คนอื่นทำ 2 วันจบ โดยใช้เวลา 2 อาทิตย์

Research บอกชัดว่าคนทำงาน Productive จะมี Work Life Balance ดีกว่าคนอื่น ๆ
 
*** แต่เด็กไทยจำนวนมาก...ไม่ ***

ไม่ Focus ไม่พยายาม งานไม่จบ ก็บ่นว่าเหนื่อย

ต่างชาติเบื่อ เค้าก็ไปลงทุนประเทศอื่น

>> เทียบคนรุ่นผม

ผมเองเป็นเด็กเรียนไม่เก่ง ผมจบรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ด้วย GPA 2.41 แต่ในวันที่ออกจากรั้วมหาลัยแล้ว คนรุ่นเรา 'สู้' ทุกคน

ผมเข้าทำงานครั้งแรกที่ IBM ตอนนั้นนายผม Assign งานให้ทำด้วยโปรแกรม Excel ที่ผมไม่เคยรู้จัก

สิ่งที่ผมทำ คือ ผมอยู่ที่ IBM เพื่อทำความรู้จักโปรแกรม Excel เองถึง 3 ทุ่มแทบทุกคืน พอเริ่มจับอะไรได้ที ก็จะรวบรวมคำถามไปถามพี่กุ้ง กับพี่แหม่ม ฝ่ายบัญชีที

เรียนเองโดยไม่กวนเงินพ่อแม่ จนสามารถใช้ทำงานเพื่อส่งงานได้

ผมไม่เคยมองว่าการต้องกลับบ้านดึกเพื่อเรียน Excel เอง เป็นความเหนื่อย ไม่เคยโทษนายที่ให้ทำอะไรที่ไม่เคยทำ

>> ในวันนั้นผมสมัครมาทำงานที่ IBM 

IBM ไม่ได้ง้อให้ผมมาทำงานซะหน่อย ผมก็ต้องทำให้เต็มที่ และคนที่ได้ประโยชน์ที่สุดมันก็ผม

>> เข้า IBM ปีนั้นได้รู้จัก 'แนน'

แนนจบหอการค้าปีเดียวกัน แนนน่ารัก นิสัยดี สวยด้วย แต่ลุยงานเก่งกว่าผมอีก ผมอยู่ 3 ทุ่ม แนนมันลุยยัน 4-5 ทุ่ม

ปีนั้นน้ำท่วมอยุธยา คน IBM เราก็แห่ไปช่วยน้ำท่วมกัน

งานหนักเอา งานเบาสู้
งานเสร็จ ค่อยแดกเหล้า

>> ตอนจะต่อโท

ผมสอบ TOEFL ได้ห่วยมาก ถ้าจำไม่ผิด ผมสอบครั้งแรกได้ 430 หรืออะไรซักอย่าง ก็เลยต้องวางแผนพัฒนาตัวเอง

อย่าลืมว่าสมัยนั้นไม่มี Google หรือ YouTube ทุกคนต้องสู้เอง

ผมใช้วิธีเข้าร้านหนังสือ 'ดวงกมล' วันไหนมีเงิน ก็ซื้อหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์มาอ่าน และเก็บทุกฉบับไว้ที่บ้าน เพื่อนำมาอ่านให้ครบทุกข่าว จะได้ไม่เปลืองเงินที่ซื้อมา

วันไหนไม่มีเงิน ก็แอบไปยืนอ่านนิตยสารภาษาอังกฤษที่แผง หลบ ๆ คนขาย

ลอกเลนส์ นักเศรษฐศาสตร์โลก จากเวที World Economic Forum คาด ศก.6-12 เดือนข้างหน้าสุดท้าทาย แต่ไม่ใช่ให้แตกตื่น

ไม่นานมานี้ นายสันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist และกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัท Sea Group โพสต์ข้อคิดเกี่ยวกับทิศทางอนาคตเศรษฐกิจโลกลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวไว้อย่างน่าสนใจ ระบุว่า...

รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นตัวแทนกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์จากทั่วโลกของ World Economic Forum (WEF) ไปเสวนารอบพิเศษเรื่องทิศทางอนาคตเศรษฐกิจโลก (Special Agenda Dialogue on the Future of the Global Economy) 

เลยเอาข้อคิดที่สำคัญมาฝากครับ (ยาวนิดนะครับ)

ควรเตรียมรับมือเศรษฐกิจโลกถดถอย แต่จีนอาจเป็นม้ามืด

ไม่ว่าจะถึงขั้น Recession ไหมหรือจะนิยามเศรษฐกิจถดถอยว่ายังไง สิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่ๆ ในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า คือเศรษฐกิจโลกอาการไม่เบาแน่ 

รายงานสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ 22 คนทั่วโลกพบว่า ส่วนใหญ่ต่างเห็นตรงกันว่าทั้งธุรกิจและคนวางนโยบายควรต้องเตรียมรับมือ Global Recession ในปี 2566 (2023) จากการที่ธนาคารกลางในเศรษฐกิจขนาดใหญ่หลายแห่งขึ้นดอกเบี้ยพร้อมๆ กันเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อที่อาจจะยังดื้อดึงไม่ลงง่ายๆ 

โดย 90% ของนักเศรษฐศาสตร์ในแบบสำรวจมองว่ายุโรปอาการหนักแน่ๆ ตั้งแต่ปลายปีนี้จากวิกฤติพลังงานที่ทำให้เศรษฐกิจซบเซาพร้อมเงินเฟ้อสูง (Stagflation)

นอกจากนั้น หลายคนมองเศรษฐกิจอเมริกาจะแย่ลงอย่างชัดเจนในปีหน้าเมื่อฤทธิ์ยาขมจากดอกเบี้ยสูงออกผลเต็มที่ (ดอกเบี้ยเป็นเหมือนยาแรงที่ใช้เวลากว่าจะออกฤทธิ์)

แต่อย่างไรก็ตาม มีบางคนเหมือนกันที่มองว่าจีนอาจเป็นม้ามืด เพราะต่อไปอาจผ่อนคลายนโยบายซีโร่โควิดเปิดให้มีการเดินทางรวมถึงต่างประเทศได้มากขึ้น และอาจปล่อยยาแรงมากระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในต้นปีหน้า

แต่ทั้งนี้อย่างเก่งก็แค่ช่วยบรรเทาอาการทรุดของเศรษฐกิจโลกไม่พอที่จะพยุงเศรษฐกิจโลกคนเดียวในเวลาที่อเมริกาและยุโรปต่างชะลอตัว

จากท่องเที่ยวไปส่งออก แล้วกลับไปท่องเที่ยวใหม่

แต่ไม่ใช่ทุกอย่างจะแย่ไปหมด

ก่อนโควิด ภาคบริการโดยเฉพาะการท่องเที่ยว เป็นหัวหอกของการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสำหรับประเทศไทย

แต่พอโควิดมาท่องเที่ยวแห้งเหือดกลายเป็นการส่งออกสินค้ากลับมาเป็นตัวละครหลักผลักดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยในปีที่ผ่านมา 

ตั้งแต่นี้ไปเราอาจกลับไปหนังม้วนเก่าคือท่องเที่ยวที่กำลังฟื้นตัวต่อเนื่องเป็นพระเอกอีกครั้ง 

สถานการณ์ด้านพลังงานในยุโรป เป็นหนึ่งในโอกาสสำคัญที่อาจทำให้การเดินทางมาพักผ่อนหรือทำงานในประเทศไทย มีความน่าสนใจเพิ่มขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งจะเป็นแรงสนับสนุนที่สำคัญของเศรษฐกิจไทยในปีหน้า อันเป็นช่วงที่ภาคการส่งออกอ่อนแอลงจากกำลังซื้อที่ลดลงของเศรษฐกิจใหญ่ๆ 

ประเทศที่พึ่งพาทั้งส่งออกและท่องเที่ยวอย่างไทยจะได้อย่างเสียอย่าง ส่งออกจะกลายเป็นตัวฉุดและเราก็ต้องกลับไปพึ่งการท่องเที่ยวเป็นพระเอกเช่นเคย

การดูแลให้ท่องเที่ยวฟื้นตัวได้ต่อเนื่องจึงจะยิ่งสำคัญในปีหน้า

กำลังซื้อลดลง คนจนเพิ่มขึ้น นโยบายต้องช่วยคนตัวเล็ก

ปัญหาค่าครองชีพดูแค่ตัวเลขเงินเฟ้อไม่ได้ 

เงินเฟ้อเป็นเสมือนภาษีของคนรายได้น้อย 

นักเศรษฐศาสตร์กว่า 80% ในแบบสำรวจมองว่ากำลังซื้อคนจะลดลงเพราะรายได้และค่าแรงจะไม่สามารถปรับตามเงินเฟ้อได้ทำให้เงินในกระเป๋าลดลง 

และ 90% ของนักวิเคราะห์กลุ่มนี้มองว่าคนจนจะเพิ่มขึ้นหลังจากนี้เพราะเงินเฟ้อที่มาจากราคาพลังงานและอาหารกระทบคนรายได้น้อยมากกว่าคนรายได้สูง

แม้ตัวเลขเงินเฟ้อน่าจะปรับตัวลงในปีหน้าแต่ปัญหาค่าครองชีพยังอาจจะไม่ได้หายไปเพราะรายได้คนไม่ได้ปรับขึ้นตามและราคาสินค้าจำนวนมากอาจไม่ได้ปรับลงเมื่อราคาพลังงานลดลง

มาตราการช่วยกลุ่มคนตัวเล็กของรัฐจึงจะมีบทบาทสำคัญมาก รัฐบาลต่างๆ ในวันนี้อาจไม่ได้มีเงินในกระเป๋าตังค์มากพอที่จะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่อีกรอบ จึงต้องใช้นโยบายการคลังที่ยิงแม่นตรงจุดมากขึ้นช่วยคนที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้จริงๆ

ประเทศต่างๆ ควรฉวยโอกาสที่คนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นในยุคหลังโควิด เอาเทคโนโลยีมาปรับช่วยคนเล็ก เช่น ส่งเสริมอีคอมเมิร์ซให้ช่วย SME ขยายตลาดใหม่ กระจายความเสี่ยง ใช้ฟินเทคช่วยให้คนเข้าถึงบริการการเงิน เช่น สินเชื่อ ประกัน ได้ดีขึ้น ไม่ต้องหันไปพึ่งเงินนอกระบบ เป็นต้น

โลกแตกแยกขึ้น ธุรกิจเร่งรีบปรับตัวต่อโลกใหม่มากขึ้น

'เพื่อไทย' ผุดกลุ่ม 'มหาสมุทรมหานคร' มุ่งแก้เศรษฐกิจ 'อ่าวไทย-อันดามัน'

(3 ต.ค. 65) วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล อดีตรัฐมนตรีว่ากระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย กฤษ ศรีฟ้า อดีต ส.ส.ภาคใต้ พรรคไทยรักไทย เสรีย์ นวลเพ็ง อดีตนายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และไพศาล หลีเส็น สมาชิกพรรคเพื่อไทย พบปะกลุ่มนักธุรกิจแถบจังหวัดอันดามัน และกลุ่มอ่าวไทยที่จังหวัดกระบี่

การพูดคุยวันนี้ ประกอบด้วยนักธุรกิจด้านการท่องเที่ยว กลุ่มเกษตรกร กลุ่มประมง แลกเปลี่ยนกันถึงศักยภาพของฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก ไม่ได้รับการดูแลจากภาครัฐเพียงพอ โดยกลุ่มที่มาประชุมทั้งหมดนี้จะตั้งเป็น 'กลุ่มมหาสมุทรมหานคร' ยกระดับจังหวัดที่อยู่ริมทะเลทั้งหมด ดึงศักยภาพด้านประมง ส่งออก ท่องเที่ยว กีฬา สถาปัตยกรรมและศิลปวัฒนธรรม ซึ่งหากพรรคเพื่อไทยเข้ามาดูแลและหาแนวทางผลักดันเป็นนโยบายเศรษฐกิจ เชื่อว่าจะสามารถสร้างนโยบายขับเคลื่อนภาคใต้และทำให้เกิดขึ้นได้จริง โดยมอบหมายให้ กฤษ ศรีฟ้า ซึ่งเคยเป็นอดีตส.ส.พรรคไทยรักไทยในพื้นที่ภาคใต้ และอดีตประธานหอการค้า เป็นผู้นำกลางของกลุ่มผนึกกำลังตัวแทนภาคเศรษฐกิจและการเมืองจากทุกจังหวัดเข้ามาเป็นคณะทำงานเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและชีวิตของประชาชนในภาคใต้ได้อย่างจริงจัง

'บิ๊กตู่' ปั้น 'ศูนย์ธุรกิจ EEC-เมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ' สำเร็จ ตั้งเป้าเป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ TOP 10 ของโลกในปี 2580

'ทิพานัน' ย้ำ 'พล.อ.ประยุทธ์' สร้างศูนย์ธุรกิจ EEC - เมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะสำเร็จ ชี้ปี 2566 เปิดให้เอกชนเข้าพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ เชื่อสร้างงาน 200,000 คน ดันมูลค่าจ้างงาน 1.2 ล้านล้านบาท

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และโฆษกพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีนโยบายในการพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจ และการเงินระดับภูมิภาคในพื้นที่ EEC โดยมติคณะรัฐมนตรี (วันที่ 22 มีนาคม 2565) ได้อนุมัติให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เข้าใช้ประโยชน์ที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จำนวน 14,619 ไร่ ในพื้นที่ ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ดำเนินโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ เป็น 'ศูนย์กลางธุรกิจและการเงินระดับภูมิภาค' เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยแห่งอนาคต โดยธรรมชาติ มนุษย์ และเทคโนโลยีอยู่ร่วมกันมุ่งสู่เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) เป็นพื้นที่แห่งนวัตกรรมและคุณภาพชีวิตระดับสากลของประเทศไทย และจะเป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ 1 ใน 10 ของโลกในปี 2580 โดยคาดว่าสามารถสร้างงานทางตรง 200,000 คน มูลค่าการจ้างงาน 1.2 ล้านล้านบาทภายในปี 2575


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top