Friday, 3 May 2024
เศรษฐกิจไทย

‘เพื่อไทย’ แซะ ‘บิ๊กตู่’ โวเศรษฐกิจขยายตัว ทั้งที่บวกลบแล้ว ยังติดลบอยู่ถึง -4.6%

‘เพื่อไทย’ ติง ‘ประยุทธ์’ อย่าพูดเกินจริง เศรษฐกิจขยายตัวยังไม่ถึงระดับที่ได้ตกลงมา ชี้ เศรษฐกิจไทยอยู่ในแดนลบมา 3 ปีแล้ว ประชาชนลำบาก รายได้ลด ค่าใช้จ่ายเพิ่ม แนะ ฟื้นฟูเศรษฐกิจดีกว่าแจกเงิน คนอยากมีรายได้ที่มั่นคง 

นางสาวจุฑาพร เกตุราทร ว่าที่ผู้สมัคร สส. กทม. เขตบางรัก และ คณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตามที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แย่งซีน สภาพัฒน์ฯ เร่งแถลงการขยายตัวในไตรมาสที่สองว่าจะขยายตัวได้ 3.3% ทั้งที่โดยมารยาทแล้วต้องให้สภาพัฒน์ฯ แถลงข่าวก่อนในช่วงกลางเดือนสิงหาคมนี้ อย่างไรก็ตามอาจจะเป็นเพราะพลเอกประยุทธ์ถูกโจมตีเรื่องความล้มเหลวด้านเศรษฐกิจ จึงพยายามหาเรื่องเพื่อมากลบปมด้อย โดยที่อาจจะไม่ทราบเลยว่าการขยายตัวได้ 3.3% ไม่ได้แปลว่าดี ทั้งนี้เพราะเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ทรุดหนักติดลบไปถึง -6.2% และปี 2564 เศรษฐกิจไทยแทบไม่ฟื้นเลย โดยขยายได้แค่ 1.6% ซึ่งบวกลบกันแล้ว ยังคงติดลบอยู่ถึง -4.6% ดังนั้น การขยายตัว 3.3% ก็ยังฟื้นไม่ถึงระดับที่ได้ตกลงมา แถมไตรมาสแรกปีนี้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้เพียง 2.2% เท่านั้น ดังนั้น ครึ่งปีแรกปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้เพียงประมาณ 2.8% ซึ่งถือว่าต่ำมาก ไม่เห็นน่าจะภูมิใจถึงกับต้องเร่งแย่งแถลงข่าวแต่อย่างไร ทั้งที่ตอนต้นปีพลเอกประยุทธ์ยังโม้เองว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายได้ 4% ซึ่งคณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทยได้บอกแต่แรกแล้วว่ารัฐบาลพลเอกประยุทธ์จะทำได้ไม่ถึงแน่ 

การที่ในปีนี้เศรษฐกิจไทยก็ยังขยายตัวได้ต่ำยังไม่ฟื้นกลับไปถึงระดับที่ได้ตกลงมา ทำให้เศรษฐกิจไทยอยู่ในแดนลบเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ขนาดนักวิชาการของทีดีอาร์ไอยังยืนยันว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นช้าที่สุดประเทศหนึ่งของโลก  ส่งผลทำให้ทำไมประชาชนถึงรู้สึกลำบากกันอย่างมาก เพราะเศรษฐกิจติดลบทำให้รายได้ของประชาชนลดลง คนหาเงินไม่พอค่าใช้จ่ายที่จะเลี้ยงตัวเองแลครอบครัว หาเงินไม่พอผ่อนบ้าน ไม่พอผ่อนรถ ต้องกู้เงินมาประคองชีวิต กู้มาจ่ายค่าเล่าเรียนให้ลูกหลาน ทำให้หนี้ครัวเรือนพุ่งสูง อีกทั้งธุรกิจก็ย่ำแย่ หนี้สินรุงรังและพุ่งสูงขึ้นเพราะรายได้เข้ามาน้อยแต่รายจ่ายเพิ่ม แถมยังต้องมาเจอกับภาวะเงินเฟ้อ ข้าวของแพง ไข่แพง หมูแพง น้ำมันแพง ก๊าซหุงต้มแพง ไฟฟ้าแพง ปุ๋ยแพง ค่าขนส่งแพง ฯลฯ ซ้ำเติม ยิ่งทำให้ชักหน้าไม่ถึงหลัง ไม่รู้จะหารายได้ที่ไหนมาประคองชีวิตให้เพียงพอ อีกทั้งหากดอกเบี้ยขึ้นอีก ภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจะยิ่งซ้ำเติมปัญหาเดิมอยู่แล้วให้ยิ่งหนักขึ้น ซึ่งพลเอกประยุทธ์ไม่ได้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้เลย ปัญหาจะเพิ่มหนักขึ้น และ ประชาชนจะทนกันไม่ไหว

นายกฯ สั่งเตรียมพร้อมรับนักท่องเที่ยวเข้าไทย คาด!! เป็นโอกาสฟื้นเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยว

เมื่อวันที่ 12 ส.ค. นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวจีน 

โดยจากรายงานของ Global Times ระบุว่า ประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศปลายทางที่นักท่องเที่ยวจีนเดินทางมามากที่สุด ภายหลังรัฐบาลจีนเริ่มผ่อนคลายให้ประชาชนในประเทศเดินทางออกนอกประเทศได้ ถือเป็นโอกาสสำคัญของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง 

ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวจีนถือเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยอย่างมากในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19

'บิ๊กตู่' ยินดี นักลงทุนญี่ปุ่นเชื่อมั่นศักยภาพ EEC เร่งเดินหน้าขยายความร่วมมือด้านการลงทุนเพิ่ม

เมื่อวันที่ (16 ส.ค. 65) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่นักลงทุนชาวญี่ปุ่นเชื่อมั่นในศักยภาพของ EEC และความพร้อมในการสร้างความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ มุ่งพัฒนาการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพต่อไป

ทั้งนี้ประเทศญี่ปุ่นยังคงเป็นอันดับ 1 ที่สนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งจากภาพรวมการลงทุนชาวญี่ปุ่นในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) พบว่า นักลงทุนญี่ปุ่นที่ได้รับการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI (Board of Investment) ในปี 2564 มีมูลค่ารวม 19,445 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาสแรกของปี 2565 มีมูลค่าการออกบัตรส่งเสริมฯ แก่นักลงทุนญี่ปุ่นรวม 3,240 ล้านบาท 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ข้อมูลจากสถานเอกอัครทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยพบว่า นักลงทุนญี่ปุ่นยังให้ความสนใจลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง จากศักยภาพการเติบโตของไทย ทั้งยังได้เปรียบด้านพื้นที่ยุทธศาสตร์ในภูมิภาคอาเซียน มีต้นทุนจากสภาพแวดล้อม ทรัพยากรมนุษย์ สะดวกต่อการลงทุนเพิ่มและพร้อมพัฒนาในอุตสาหกรรมใหม่ สอดคล้องกับที่นักลงทุนญี่ปุ่นกล่าวถึง EEC ว่ามีศักยภาพ เหมาะสมแก่การลงทุนแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งภายหลังการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์และการเปิดประเทศของไทย มีการติดต่อเจรจาธุรกิจระหว่างกันทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง

'เพื่อไทย' อัด 'บิ๊กตู่' ทำคนไทยไร้ที่อยู่-ที่ทำกินเพียบ ชี้!! ไม่พัฒนาต่อยอดบ้านเอื้ออาทร-บ้านมั่นคง

เมื่อวันที่ (3 ต.ค. 65) น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า ทุกวันจันทร์แรกของเดือนต.ค.ทุกปี องค์การสหประชาชาติ (UN) กำหนดให้เป็นวันที่อยู่อาศัยโลก (World Habitat Day) ในปีนี้อยู่ภายใต้แนวคิด Mind the Gap Leave No One and Place Behind หรือใส่ใจช่องว่าง ไม่ทิ้งใครและที่ใดไว้ข้างหลัง เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของสิทธิในที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมของประชากรโลก ซึ่งในส่วนของประเทศไทยเครือข่ายต่างๆ ได้จัดกิจกรรมเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกินให้กับคนจนเมืองและพี่น้องประชาชนมาโดยตลอด โดยเฉพาะชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่จากนโยบายของรัฐ 

ทั้งนี้ พรรคไทยรักไทย พลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย เล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีสิทธิในการเข้าถึงที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชากรโลก ในปี 2546  รัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ได้จัดหาที่อยู่อาศัยให้กับคนไทยทุกกลุ่ม ทั้งบ้านเอื้ออาทรในต่างจังหวัด และบ้านมั่นคงสำหรับคนเมือง ผ่านการทำงานของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. เพราะตระหนักถึงความสำคัญของ คนหาเช้ากินค่ำ คนจนเมือง คนไร้ที่อยู่อาศัย

'ทิพานัน' เผยยอดขอจดทะเบียนโรงงานอุตฯ พุ่ง 1,900 แห่ง สะท้อนผลสำเร็จจากการกระตุ้นศก. ภายใต้รัฐบาลประยุทธ์

'ทิพานัน' เผยตัวเลขขอจดทะเบียนโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ปีงบฯ 65 พุ่ง 1.9 พันแห่ง จ้างงานเพิ่ม 5.6 หมื่นคน สะท้อนผลสำเร็จมาตรการส่งเสริมการลงทุน-กระตุ้นเศรษฐกิจ-จ้างงาน ของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ 

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีมาตรการส่งเสริมการลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้สิทธิประโยชน์ตามกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยพบว่าสถานการณ์ในรอบเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการขอจดทะเบียนโรงงานอุตสาหกรรมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ จำนวน 172 แห่ง เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น 3,812 คน

ทั้งนี้ในภาพรวมปีงบประมาณ 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2565 มีโรงงานอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนใหม่ 1,914 แห่ง เกิดการจ้างงาน 56,263 คน ขณะที่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ขอเลิกกิจการ 870 แห่ง มีลูกจ้างได้รับผลกระทบทั้งหมด 21,917 คน จะเห็นได้ว่า โรงงานอุตสาหกรรมที่ขอจดทะเบียนใหม่นั้น มีจำนวนสูงกว่าโรงงานที่ขอเลิกกิจการถึง 2 เท่า และเกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าของการขอเลิกกิจการ แม้ที่ผ่านมาจะต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และผลกระทบด้านพลังงาน จากสงครามรัสเซียกับยูเครนก็ตาม แต่รัฐบาลไม่เคยทอดทิ้ง ได้ออกมาตรการต่างๆมาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว รวมทั้งนายกรัฐมนตรีได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและประกันสังคม พร้อมให้การช่วยเหลือในการเตรียมจัดหางาน ฝึกอาชีพและการเข้าถึงแหล่งทุน เพื่อให้มีงานทำอย่างยั่งยืน

เอกชนสำคัญ!! รู้จัก ABAC ‘สภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปค’ กลไกสำคัญขับเคลื่อน APEC

หลังจากการกำหนดเป้าหมาย ‘โบกอร์’ (Bogor Goals) ในปี 1994 ที่สมาชิก APEC ต้องการเดินหน้าไปสู่การเปิดเสรีการค้าและการลงทุนในระหว่างสมาชิกทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ ต่อมาในปี 1995 กับการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC ณ ประเทศญี่ปุ่น ผู้นำ APEC ก็ได้มีมติร่วมกันที่จะจัดตั้ง ‘สภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปก’ (APEC Business Advisory Council) หรือที่นิยมเรียกกันในชื่อย่อว่า ABAC (อ่านว่า เอ-แบค) เพื่อให้ภาคธุรกิจ, ภาคเอกชน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงจากการเปิดเสรีการค้าและการลงทุน เข้ามามีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อเสนอแนะ ศึกษา ตลอดจนสร้างกลไกในการร่วมกันกำหนดนโยบายการขับเคลื่อนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่าง 21 เขตเศรษฐกิจ

กลไกการทำงานของ ABAC ประกอบขึ้นจากตัวแทนของแต่ละเขตเศรษฐกิจจำนวน 3 ท่าน ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากผู้นำของแต่ละเขตเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้มีคณะที่ปรึกษาธุรกิจเอเปคจำนวนทั้งสิ้น 63 ท่าน

โดยในกรณีของประเทศไทย ตัวแทน 3 ท่านจะมาจาก หอการค้าไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย 

ทั้งนี้ 63 ท่านจาก 21 เขตเศรษฐกิจ จะประชุมร่วมกันอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง พร้อมทั้งมีการจัดงาน APEC CEO Summit จำนวน 1 ครั้ง เพื่อร่วมหารือและแลกเปลี่ยนมุมมองด้านธุรกิจและความท้าทายทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เพื่อพัฒนาบทสรุปคำแนะนำประจำปีที่จะยื่นเสนอต่อผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC ในการประชุมสุดยอดผู้นำในแต่ละปี โดยในปี 2022 ‘คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล’ รับหน้าที่ประธานสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปก เพื่อนำข้อเสนอไปหารือกับคณะผู้นำของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ 

จากการเตรียมงานอย่างทุ่มเทของภาคเอกชนไทยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ก่อนปี 2022 ... ABAC ก็ได้มีการกำหนด theme ของการประชุมภาคเอกชนในปีนี้ไว้ว่า Embrace. Engage. Enable

- Embrace หมายถึงการกลับมาใกล้ชิดพร้อมหน้ากันอีกครั้งในการร่วมประชุม หลังจากที่ต้องไปประชุมทางไกลมาตลอดช่วงการระบาดของโควิด-19
- Engage หมายถึง การลงมือทำงานร่วมกันอย่างจริงจัง...
- เพื่อให้ Enable นั่นคือ สามารถผลักดันกลไก APEC ให้เดินหน้าไปได้อย่างแท้จริง

ตลอดปี 2022 ที่ผ่านมา ภาคเอกชนทำงานอย่างหนักและต่อเนื่องร่วมกันกับทุกเขตเศรษฐกิจสมาชิก โดยแบ่งมิติการทำงานร่วมกันออกเป็น 5 คณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์ 5 ด้าน เพื่อนำไปสู่ ‘การเร่งฟื้นตัวทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค และการกระตุ้นให้เกิดการพลิกฟื้นสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ครอบคลุม และมีความยืดหยุ่นในระยะยาว’ โดยทั้ง 5 คณะทำงาน และ 5 กลยุทธ์เพื่อบรรลุเป้าหมาย ได้แก่...

1.) Regional Economic Integration: เส้นทางสู่เขตการค้าเสรีของเอเชียแปซิฟิก (FTAAP) และการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของการค้าภาคบริการ สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคเห็นว่า FTAAP ควรตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจระดับโลกที่ค่อยๆ พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไป จึงเห็นควรในการพัฒนาแผนงานนี้ต่อไปเพื่อให้วาระนี้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม  และในขณะเดียวกัน นวัตกรรมจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการเติบโตในภูมิภาคโดยเฉพาะในภาคบริการผ่านการผนึกกำลังระหว่างภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมนวัตกรรม โดยเฉพาะเกี่ยวกับบริการดิจิทัลที่สนับสนุนอีคอมเมิร์ซ, บริการทางโลจิสติกส์, บริการด้านสุขภาพ และบริการด้านสิ่งแวดล้อม

2.) Digital – การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล เพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์และดิจิทัล แนวทางการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่สอดคล้องและบูรณาการ นับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น และนับเป็นความสามารถในการปกป้องความก้าวหน้าและนวัตกรรมต่างๆ คณะทำงานจึงขอเรียกร้องให้เอเปคสร้างแพลตฟอร์มในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับภูมิภาค ที่จะประสานการดำเนินการและการลงทุนด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ร่วมกัน  

2 เหตุผลใหญ่ ทำไมการประชุม APEC ปี 2022 ที่ไทย คนทั่วทั้งโลกต้อง ‘ทบทวน-พิจารณา’

ปี 2022 ที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นประธานและเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดทั้งปี มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของระบบเศรษฐกิจโลก 

ทำไม? เราถึงสามารถกล่าวเช่นนี้ได้ ผู้เขียนคิดว่าเป็นเพราะอย่างน้อย 2 เหตุผลด้วยกัน...

>> เหตุผลส่วนแรก
APEC คือ ความร่วมมือของ 21 เขตเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ประชากรของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจรวมกันครอบคลุมประชากรมากกว่า 3 พันล้านคน หรือคิดเป็น 38% ของประชากรของทั้งโลก และนี่คือกลุ่มประชากรที่มีความน่าสนใจมากที่สุด เพราะตลอด 3 ทศวรรษที่ผ่านมา กำลังซื้อของประชากรกลุ่มนี้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง 

พิจารณาได้จากสัดส่วนของประชากรของ 21 เขตเศรษฐกิจที่ดำเนินชีวิตอยู่ใต้เส้นขีดความยากจนที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จากที่มีสัดส่วนของคนจนสูงถึง 41.7% ของประชากรในปี 1990 โดยปัจจุบันตัวเลขนี้ลดต่ำลงเหลือเพียง 1.8% ของประชากร APEC เท่านั้นที่ยังอยู่ในสถานะยากจน 

นอกจากนี้ APEC ยังเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีขนาดเศรษฐกิจรวมกันราว 2 ใน 3 ของมูลค่าผลผลิตมวลรวมของทั้งโลก หรือคิดเป็นตัวเงินกว่า 50 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการค้าระหว่าง 21 เขตเศรษฐกิจ ยังเทียบเท่ากับครึ่งหนึ่งของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของทั้งโลก

ยิ่งไปกว่านั้นตลอดช่วงเวลากว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมา จากปี 1990 ถึง 2020 มูลค่าการลงทุนระหว่างประเทศภายในกลุ่มสมาชิก APEC เพิ่มขึ้นจาก 45.2% เป็น 67.9% นั่นแปลว่า 21 เขตเศรษฐกิจนี้คือผู้ลงทุนรายสำคัญที่ต่างก็ลงทุนภายกลุ่ม APEC ด้วยกันเอง ซึ่งการลงทุนที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องนี้ เป็นผลมาจากการที่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่าง APEC ที่เน้นสร้างความร่วมมือในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitations: TFs) อาทิ การลด ละ เลิก มาตรการทางการค้าที่มิใช่มาตรการทางภาษี, การสร้างความร่วมมือเพื่อให้พิธีการทางศุลกากรมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น, ลดความซับซ้อนลง หรือ การอำนวยความสะดวกให้นักธุรกิจ APEC ได้ทำให้ดัชนีความยากง่ายในการทำธุรกิจ (Ease of Doing Business: EoDB Index) เฉลี่ยของทั้งกลุ่มปรับตัวสูงขึ้นกว่า 11.3% 

เป้าหมายกรุงเทพฯ กลไกสำคัญ ยกระดับคุณภาพชีวิต 2 พันล้านคน ใน 21 เขตเศรษฐกิจ

จากการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC ที่ล้มเหลวในปี 2018 และ 2019 สู่การประชุมทางไกล ที่ผู้นำไม่มีโอกาสได้พบหน้าหารือ โอภาปราศรัย ทั้งระหว่างผู้นำและระหว่างผู้นำกับประชาคมนักธุรกิจของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ สู่การประชุมที่มีแรงกดดันสูงในปี 2022

ที่เกริ่นเช่นนี้เพราะ...ไม่ว่าใครจะได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพการประชุม APEC ในปี 2022 ก็ต้องประสบกับแรงกดดันของการเป็นเจ้าภาพของการประชุมครั้งแรกที่ผู้นำจะได้มาเจอหน้ากันอีกครั้งทั้งนั้น ท่ามกลางภาวะวิกฤตทั้งจาก สงครามระหว่างรัสเซียกับพันธมิตร NATO ที่ปะทุขึ้นเป็นสงครามในยูเครน, ความพยายามของชาติมหาอำนาจในการยกระดับจากสงครามเศรษฐกิจ

อีกทั้งยังมี สงครามการค้าแบบเดิม ที่ออกมาตรการกีดกันทางการค้า ไปสู่การ Weaponized Economic Interdependency หรือการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า อาทิ บริการการเงิน, การธนาคาร, การโอนย้ายเงินระหว่างประเทศ, ระบบโลจิสติกส์, ระบบประกันภัย ฯลฯ มาเป็นเครื่องมือประหัตประหารซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจจนโลกเกิดทั้งวิกฤตอาหาร, วิกฤตพลังงาน และการดำเนินนโยบายที่ไร้ความรับผิดชอบของระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มุ่งมั่นในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่สร้างขึ้นด้วยตนเองในอดีต จนนำไปสู่การดูดสภาพคล่อง ขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ ที่ทำให้เงินทุนจำนวนมากไหลออกจากหลายเขตเศรษฐกิจ และนำไปสู่ความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยน 

ยิ่งไปกว่านั่น การที่บางประเทศเลือกที่จะนำเอาประเด็นทางด้านการเมือง (หรือแม้แต่เหตุผลส่วนตัวด้านครอบครัว) เข้ามาเป็นข้ออ้างในการที่จะหลีกเลี่ยงการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ของประชากรโลกกว่า 2 พันล้านคน จาก 21 เขตเศรษฐกิจเหล่านี้ ก็อาจจะสร้างความหนักใจให้กับเจ้าภาพการประชุม APEC ได้ทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม เราสามารถเชื่อมั่นใจ ‘ประเทศไทย’ ในฐานะประเทศ และเจ้าภาพการประชุมได้ครับ เพราะไทยเรามีความแข็งแกร่งในด้านการมีน้ำใจที่ดีงาม เปิดกว้าง และรักการให้บริการ Thailand Hospitality ซึ่งเหล่านี้ เป็นหนึ่งในหลักประกันได้ในระดับหนึ่งว่า ในฐานะประธานและเจ้าภาพ เราจะให้การต้อนรับผู้แทนในทุกระดับ และคณะทำงานทุกคนที่เข้ามาประชุมในประเทศไทย ตลอดทั้งปี 2022 ที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดีที่สุด 

หากแต่อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันนั่นคือ ‘สารัตถะ’ และการประสานงานของเจ้าภาพอย่างประเทศไทยต้องการผลักดัน ยังคงต้องเกิดขึ้นได้ ท่ามกลางความแตกแยก แม้จะไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมของผู้นำจากทุกเขตเศรษฐกิจร่วมกันได้ก็ตาม แต่ประเทศไทยต้องประสานงาน ดำเนินการทั้งในทางปกติ และในทางลับ เพื่อให้ในที่สุด แม้จะมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก็ตาม ประเทศไทยในฐานะประธานจะยังสามารถออกแถลงการณ์ของประธานในที่ประชุม ซึ่งได้รับการเห็นชอบจากสมาชิกทั้ง 21 เขตได้ และ สารัตถะสำคัญ นั้นคือ ‘เป้าหมายกรุงเทพฯ’ Bangkok

เป้าหมายกรุงเทพฯ คือ การต่อยอดจากโมเดลเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economy หรือ BCG ของประเทศไทยที่วางอยู่บนแนวคิดสำคัญคือ ‘ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง’ และความต้องการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDGs 2030) ที่ประเทศไทยต้องการเชิญชวนให้ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ร่วมกันสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีความรับผิดชอบ (Responsible Economies) 

ส่งออก 9 เดือนโตพุ่ง 10.6% โกย 7.5 ล้านล้านบาท อานิสงส์ 'โควิดซา - เปิดประเทศ - ค้าขายชายแดนคึกคัก'

‘จุรินทร์’ ปลื้มส่งออกไทย ก.ย.65 โต 7.8% มูลค่า 888,371 ล้านบาท เผยส่งออก 9 เดือนแรกปีนี้พุ่ง 10.6% ร่วม 7.5 ล้านล้านบาท ผลบวกโควิดคลี่คลาย-เปิดประเทศ ค้าชายแดนยังดี 9 เดือนแรก บวก 19.3% เกือบ 4.9 แสนล้านบาท คาดปีนี้โตทะลุเป้า

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยว่า ในเดือนก.ย.65 มีมูลค่า 24,919 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 7.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ตลาดคาดว่าจะขยายตัว 4.3.-4.4% ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 25,772 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 15.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้เดือนก.ย. ไทยขาดดุลการค้า 853.2 ล้านเหรียญสหรัฐ 

ส่วนในช่วง 9 เดือนปีนี้ (ม.ค.-ก.ย.65) มูลค่าการส่งออกรวม อยู่ที่ 221,366 ล้านเหรียญสหรัฐ  ขยายตัว 10.6% มูลค่าการนำเข้ารวม อยู่ที่ 236,351 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 20.7% ส่งผลให้ไทย 9 เดือน ไทยขาดดุลการค้า 14,985 ล้านเหรียญสหรัฐ เชื่อว่า การส่งออกของไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ จะขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง และยังเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ โดยคาดว่าทั้งปีนี้ การส่งออกของไทยจะขยายตัวได้ราว 8% จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 4% มั่นใจว่าการส่งออกไตรมาส 4 ยังจะขยายตัวได้ดี และยังเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญทางเศรษฐกิจปีนี้ คาดว่าส่งออกจะโตได้เท่าตัวจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 4

สำหรับปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนให้การส่งออกของไทยในเดือน ก.ย.65 ยังขยายตัวได้ดีมาจาก 1.กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้ชีวิตของประชาชน เริ่มกลับสู่ภาวะปกติหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย 2.ปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์เริ่มคลี่คลาย ทำให้การผลิตสินค้าที่มีชิปเป็นส่วนประกอบสามารถกลับมาผลิตได้ตามความต้องการของตลาด 3.เงินบาทที่อ่อนค่า ส่งผลดีต่อราคาส่งออกสินค้าเกษตรของไทย โดยเฉพาะสินค้าข้าว ซึ่งคาดว่าปีนี้จะสามารถส่งออกข้าวได้สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 7 ล้านตัน

โดยการส่งออกสินค้าในเดือนก.ย. เมื่อแยกเป็นรายกลุ่ม จะพบว่า สินค้าเกษตร กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน โดยขยายตัว 2.7% ที่มูลค่า 2,005 ล้านเหรียญ สินค้าเกษตรที่ขยายตัวได้ดี คือ ไก่สด แช่เย็นแช่แข็ง และแปรรูป, ผลไม้แช่แข็ง และผลไม้แห้ง, ข้าว สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ยังขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 19 โดยขยายตัว 0.8% ที่มูลค่า 1,734 ล้านเหรียญ สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่ขยายตัวได้ดีคือ ไอศกรีม, อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป,น้ำตาลทราย และอาหารสัตว์เลี้ยง ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรม ยังขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 19 เช่นกัน โดยขยายตัว 9.4% ที่มูลค่า 20,234 ล้านเหรียญ สินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวได้ดีคือ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, อัญมณีและเครื่องประดับ, เครื่องใช้สำหรับเดินทาง, รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศ

ทั้งนี้ตลาดส่งออกสำคัญในเดือน ก.ย.นี้ ที่ขยายตัวได้ในระดับสูง 10 อันดับแรก คือ อันดับ 1 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ขยายตัว 70% อันดับ 2 สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ขยายตัว 51.5% อันดับ 3 ซาอุดีอาระเบีย ขยายตัว 36.7% อันดับ 4 CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) ขยายตัว 26.3% อันดับ 5 สหรัฐอเมริกา ขยายตัว 26.2% อันดับ 6 สหภาพยุโรป ขยายตัว 18% อันดับ 7 ออสเตรเลีย ขยายตัว 15.5% อันดับ 8 แคนาดา ขยายตัว 10.6% อันดับ 9 อาเซียน (5) ขยายตัว 9% และอันดับ 10 ลาตินอเมริกา ขยายตัว 6.3%


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top