Friday, 10 May 2024
ม112

‘ชัยวุฒิ’ ชี้ ระบบเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด ทำคนไทยแตกแยก ชู ‘พปชร.’ เดินหน้าก้าวข้ามความขัดแย้ง ยัน!! ม.112 แก้ไม่ได้

เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 66 ที่บริเวณสวนสาธารณะใต้สะพานพระราม 8 พรรคพลังประชารัฐ ที่เปิดเวทีปราศรัยย่อยโซนธนบุรีเหนือ ‘พลังใหม่ พลังกรุงเทพ พลังประชารัฐ’ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวปราศรัยเรื่อง การก้าวข้ามความขัดแย้ง โดยได้กล่าวถึงประเด็นการแบ่งแยกเลือกตั้งผู้ว่าในแต่ละจังหวัด ว่า…

“การแบ่งแยกเลือกตั้งผู้ว่าทุกจังหวัด ทำให้เกิดความไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน จังหวัดนี้ของพรรคนี้ เสื้อสีนี้ จังหวัดนี้ของบ้านใหญ่พรรคนี้ เข้าใจคำว่า ‘บ้านใหญ่’ ใช่ไหมครับ แล้วจะทำงานร่วมกันได้อย่างไร แบบนี้ก็ทะเลาะกันทั้งจังหวัด แล้วจะไปปกครองบริหารราชการแผ่นดินได้อย่างไร ประเทศไทยก็แตกออกเป็นจังหวัด ๆ ราชอาณาจักรไทยก็ไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน เราจะยอมให้ประเทศเป็นแบบนั้นไม่ได้ และพรรคพลังประชารัฐ ขอยืนยันกับทุกคน ว่าเราจะต้องก้าวข้ามความขัดแย้ง ดูแลประเทศไทยให้ดีที่สุด เพื่อให้คนไทยอยู่ดีกินดี เราต้องรักษาสถาบันหลักของชาติ คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ต้องคงอยู่อย่างมั่นคงสืบต่อไป”

นอกจากนี้ นายชัยวุฒิ ยังพูดถึงกรณีมาตรา 112 อีกว่า ตนไปฟังมาหลายเวทีแล้วบอก 112 เป็นคดีการเมือง มันเป็นการเมืองตรงไหน มันเป็นคดีอาญา สมัยก่อนก็ไม่เคยมี มามียุคนี้นี่แหละ เพราะมีคนไปยุยงปลุกปั่น เอาเรื่องนี้มาเป็นเรื่องการเมือง ก็เลยวุ่นวายทั้งที่ความจริงไม่มีปัญหา

“ผมขอบอกเลยมาตรา 112 แก้ไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญ โดยศาลรัฐธรรมนูญตัดสินแล้ว การแก้หรือยกเลิกมาตรา 112  ทำไม่ได้แน่นอน เพราะถือว่าเป็นการล้มล้างการปกครองในระบบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” นายชัยวุฒิ กล่าว

‘ส.ว.’ ชี้!! มอบรางวัลให้ผู้ต้องหาคดี ‘ม.112’ ผู้จัดไม่โดดเดี่ยว แต่ผู้สนับสนุนเอี่ยวผิดด้วย

(7 เม.ย.66) นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการมอบรางวัล The People Awards 2023 ซึ่งมอบให้กับ 10 คนต้นแบบ ผู้พร้อมสำหรับอนาคตที่จะมาถึง ภายใต้คอนเซปต์ ‘People of Tomorrow’ โดยมีชื่อ น.ส.ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือ ‘ตะวัน’ และ น.ส.อรวรรณ ภู่พงษ์ หรือ ‘แบม’ สองแนวร่วมม็อบ 3 นิ้ว ผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 รวมอยู่ด้วย ดังนี้...

#พลาดอย่างแรง
#มอบรางวัลผู้ต้องหาคดี112
#คำขอโทษคงไม่พอ

การมอบรางวัล The People Awards 2023 เมื่อวันที่ 5 เม.ย.ที่ผ่านมา ให้กับ 10 คนต้นแบบ โดยเฉพาะกับรางวัลที่มอบให้ผู้ต้องหาความผิดมาตรา112 นั้น ดูท่าว่าการจบเรื่องด้วยคำการขอพักงานตัวเองหรือปิดเว็บไซต์ชั่วคราว 7 วัน หรือคำชี้แจงจากองค์กรเจ้าของผู้ถือหุ้นหรือผู้สนับสนุนการจัดงาน อาจไม่พอต่อความผิดมหันต์อันอาจเกิดในคดีความสำคัญนี้แล้วกระมัง

ด้วยความผิดในคดีของผู้ต้องหาดังกล่าวนั้นเป็นความผิดอุกฉกรรจ์อันเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา112 ในหมวด 1 ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

และมาตรา 116 ในหมวด 2 ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ที่มีระวางโทษสูงจำคุกไม่เกิน 7 ปี และมีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี และกระทบต่อความรู้สึกของผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมไทย

ถึงแม้ว่าขณะนี้ผู้ต้องหาในคดียังไม่ได้รับคำพิพากษาถึงที่สุด แต่ผู้ต้องหายังคงมีการเคลื่อนไหวต่อเนื่องและอาจจะมีการกระทำผิดเพิ่มเติมขึ้นอีกได้

‘รพ.เมดพาร์ค’ แจง กรณีงานมอบรางวัล The People Awards 2023 เผย ทาง รพ.ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หลังพบโลโก้ของ รพ.ปรากฎในงาน

(7 เม.ย. 66)  จากกรณีการมอบรางวัล The People Awards 2023 เมื่อวันที่ 5 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้มีชื่อ น.ส.ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือ ‘ตะวัน’ และ น.ส.อรวรรณ ภู่พงษ์ หรือ ‘แบม’ ผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 รวมอยู่ด้วย และภายในงานได้มีภาพโลโก้ของโรงพยาบาลเมดพาร์ดปรากฎอยู่นั่น ล่าสุดทางเฟซบุ๊กแฟนเพจของโรงพยาบาลเมดพาร์ค ได้ออกหนังสือชี้แจง โดยมีเนื้อหาระบุว่า…

“MedPark ชี้แจงเกี่ยวกับงานมอบรางวัล The People Awards 2023

ตามที่ปรากฎโลโก้ของโรงพยาบาลเมดพาร์ดในงานมอบรางวัล The People Awards 2023 ซึ่งจัดโดย The People สื่อออนไลน์ในเครือของเนชั่น นั้น รพ.เมดพาร์ค ขอชี้แจงว่าที่ผ่านมา โรงพยาบาลฯ ได้ให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ที่แจ้งถึงวัตถุประสงค์ที่ดี โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

ทั้งนี้ รพ.เมดพาร์ค ขอชี้แจงว่า โรงพยาบาลฯ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับคณะกรรมการการตัดสินรางวัล The People Awards 2023 หรือบุคคลผู้ที่ได้รับรางวัลแต่อย่างใดรวมทั้งไม่ได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่ได้รับรางวัลมาก่อน

โรงพยาบาลเมดพาร์ค เป็นองค์กรที่ประกอบกิจการ ให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยและป้องกันโรค ตามมาตรฐานสากล ภายใต้หลักธรรมาภิบาลในกรอบของกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เรายึดมั่นในชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ฝักใฝ่หรือเกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมืองใด ๆ ทั้งสิ้น”

ในขณะเดียวกัน ทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘Seiko Club by Seiko Thailand’ ก็ได้มีการออกมาโพสต์หนังสือชี้แจง ถึงกรณีงานมอบรางวัล The People Awards 2023 ว่า ทางบริษัทฯ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินผู้ได้รับรางวัลทั้ง 10 ท่าน หรือมีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับความขัดแย้งทางการเมือง และไม่ทราบรายละเอียดของผู้ที่จะเข้ารับรางวัลจากการตัดสินของคณะกรรมการล่วงหน้า

ทางบริษัทฯ จึงขอแจงรายละเอียดเพื่อป้องกันความเข้าใจอันคลาดเคลื่อน และเน้นย้ำ ถึงการเล็งเห็นความสำคัญของสังคม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยทางบริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นที่ ดำเนินงานอันเป็นประโยชน์แก่สังคมและสิ่งแวดล้อมต่อไป

ทว่าในเวลาต่อมา ทาง 'Seiko Club by Seiko Thailand’ ก็ได้ลบแถลงการณ์ดังกล่าวไปจากหน้าเพจ


ที่มา: https://www.facebook.com/medpark.thailand/posts/pfbid02HtrS4gX2a5wRSzpRX4pc92BmhLXGzd692B7rpuHzkmaHxitZptY7zDjD6QUUXeSBl

‘บิ๊กป้อม’ ยัน!! ไม่จับมือ ‘เพื่อไทย-ก้าวไกล’ ชี้!! จุดยืนนโยบาย ม.112 ไม่ตรงกัน

(11 เม.ย.66) ที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ภายหลังประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรค พปชร. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรค พปชร. ตอบคำถามผู้สื่อข่าวกรณีทำไมคนไทยถึงต้องเลือกพรรค พปชร. ว่า ต้องขึ้นอยู่กับประชาชนว่าจะเลือกใคร ขอให้เลือกคนดีมาทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ และให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ซึ่งเป็นนโยบายหลักของพรรค พปชร. ส่วนจะเลือกหรือไม่ และถ้าเห็นว่ามีคนอื่นดีกว่าก็เชิญนะครับ ทั้งนี้ พรรค พปชร. ขออาสารับใช้ประชาชน 

ผู้สื่อข่าวถามว่า อะไรคือความโดดเด่นของพรรค พปชร. ที่ประชาชนต้องเลือกพล.อ.ประวิตรเป็นนายกฯ พล.อ.ประวิตร ย้อนถามว่า คุณคิดว่าอะไร พร้อมกับกล่าวว่า เราก้าวข้ามความขัดแย้ง ก้าวข้ามความยากจน ที่พรรค พปชร. จะทำให้ชัดเจน 

ไม่ทำผิด ไม่ต้องกลัว ทวนย้ำซ้ำๆ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ป้องกันการหมิ่นฯ เหมือน กม.อาญาธรรมดาทั่วไป

การเลือกตั้งครั้งนี้มีพรรคการเมืองนำเรื่องของกฎหมายอาญา มาตรา 112 มากล่าวถึงมากมาย ตามแต่แนวคิดและความเชื่อของแต่ละพรรค โดยเฉพาะสมาชิกที่เป็นแกนนำของพรรคนั้น ๆ ก่อนอื่นอยากผู้อ่านได้อ่านสามบทความก่อนที่มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับเรื่องนี้ ได้แก่ :

‘Thailand Spring’ ความพยายามที่ไม่มีวันสำเร็จ ตราบที่คนไทยยังยึดมั่นใน 3 สถาบันหลักของแผ่นดิน https://thestatestimes.com/post/2023040420

เปิดหลักฐานความพยายามให้สยามเกิด Thailand Spring เรื่องจริง!! อันตรายพุ่งเป้าต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ https://thestatestimes.com/post/2023041016

ปัญหาใหญ่ของโลก คนรุ่นใหม่คลั่ง ‘ลัทธิปัจเจกชนนิยม’ ขั้นรุนแรง จนขาดความเข้าใจใน ‘ลัทธิเสรีนิยม’ https://thestatestimes.com/post/2023041053

อันที่จริงแล้วประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นเพียงกฎหมายป้องกันการหมิ่นประมาทเช่นเดียวกับกฎหมายอาญาธรรมดาทั่วไปมาตราหนึ่งเท่านั้น หากไม่ทำผิดก็ไม่ผิดกฎหมาย แล้วกลัวไปทำไม เมื่อไม่ได้ทำผิดแล้ว...ทำไมจึงต้องกลัว

กฎหมายหมิ่นประมาทของไทยมีอยู่ 3 จำพวก เช่นเดียวกับกฎหมายหมิ่นประมาทของนานาประเทศได้แก่

1) หมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา (มาตรา 326 ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย)

2) หมิ่นประมาทเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 136 ตามประมวลกฎหมายอาญา และหากหมิ่นประมาทศาลก็จะมีความเฉพาะเจาะจงลงไปอีก)

3) หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์หรือประมุขของรัฐ (มาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย)

ขอบคุณภาพจากเพจ ‘ฤๅ’

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี"

และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 133 บัญญัติไว้ว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย ราชาธิบดี ราชินี ราชสวามี รัชทายาท หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 7 ปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

บรรดาเด็กน้อย เด็กโข่งที่โดนหมายเรียกและหมายจับตามความผิดฐานนี้ เป็นเพราะ ได้กระทำการอันเป็นการ "หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท" ถ้าสิ่งที่พูดนั้นเชื่อไม่ได้พูดผิดก็สามารถพิสูจน์ตัวเองได้ในกระบวนการยุติธรรม ทำไม่ผิดย่อมไม่ต้องติดคุก หากแต่ทำผิดแล้วก็ย่อมต้องติดคุกเป็นปกติธรรมดาเช่นเดียวกับการทำผิดกฎหมายอาญาทั่วไปที่มีโทษหนักเบาเป็นไปตามโทษานุโทษ

ขอบคุณภาพจากเพจ ‘ฤๅ’

มาตรา 112 จึงเป็นเพียงกฎหมายที่มีไว้เพื่อปกป้องพระเกียรติของ ในหลวง พระราชินี และรัชทายาท เฉกเช่นเดียวกับ กฎหมายอาญา มาตรา326 อันเป็นการปกป้องการหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาทั่วไป และมาตรา 126 การปกป้องการหมิ่นประมาทเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเหมือนกับกฎหมายปกป้องการหมิ่นประมาทต่อประมุขแห่งรัฐ (Head of State Defamation Law) ของทุกประเทศในโลกนี้

ส่วนคำว่า Lèse majesté Law ที่มักมีการนำมาเอ่ยอ้างนั้น ใน Wikipedia ระบุว่า หมายรวมถึงผู้นำที่เป็นทั้ง พระมหากษัตริย์ ประธานาธิบดี และตำแหน่งประมุขแห่งรัฐอื่น ๆ ด้วย และมักถูกนำมาแปลใช้เป็นคำว่า ‘กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ’ อันเป็นวาทกรรมที่บิดเบือน โดย นักการเมือง นักเคลื่อนไหว และกลุ่มบุคคลที่ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมือง เพราะประเทศไทยมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 แล้ว จึงไม่มีกฎหมายนี้อยู่อีกต่อไป

สำหรับกฎหมายเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์หรือประมุขของรัฐ ในประเทศต่าง ๆ ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อาทิ

สเปน มาตรา 490 และ 491 ของประมวลกฎหมายอาญาควบคุมการหมิ่นพระมหากษัตริย์ บุคคลใดที่หมิ่นหรือดูหมิ่น พระมหากษัตริย์ พระราชินี บูรพกษัตริย์หรือรัชทายาท มีโทษจำคุกได้สองปี นิตยสาร El Jueves เคยลงบทความเสียดสีภาษาสเปน จึงถูกปรับในข้อหาละเมิดกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ของสเปน หลังจากตีพิมพ์ภาพล้อเลียนปัญหาเกี่ยวกับสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสเปน (ในขณะนั้นยังทรงเป็นเจ้าชายแห่ง Asturias (องค์มกุฏราชกุมาร)) ในปี ค.ศ. 2007

บรูไน การหมิ่นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนถือเป็นอาชญากรรมในบรูไนดารุสซาลาม มีโทษจำคุกสามปี

กัมพูชา กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 รัฐสภากัมพูชาได้ลงมติให้การกระทำอันเป็นการหมิ่นพระมหากษัตริย์ใด ๆ ก็ตาม มีโทษจำคุกสูงสุดหนึ่งถึงห้าปี และปรับ 2 ถึง 10 ล้านเรียล โดยเมื่อมกราคม ค.ศ. 2019 ชายชาวกัมพูชาคนหนึ่งถูกตัดสินจำคุก 3 ปีจากการโพสต์บน Facebook

มาเลเซีย มีพระราชบัญญัติการปลุกระดม ค.ศ. 1948 เพื่อตั้งข้อหาผู้ซึ่งถูกกล่าวหาว่า หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ในปี ค.ศ. 2013 Melissa Gooi และเพื่อนอีก 4 คนถูกควบคุมตัวเนื่องจากถูกกล่าวหาว่า ดูหมิ่นราชวงศ์ ในปี ค.ศ. 2014 Ali Abd Jalil ถูกคุมขังและถูกคุมขัง 22 วันในข้อหาดูหมิ่นราชวงศ์ยะโฮร์และสุลต่านแห่งสลังงอร์ มีการลงโทษจำคุกในยะโฮร์ในข้อหาดูหมิ่นราชวงศ์กับ Muhammad Amirul Azwan Mohd Shakri

โมร็อกโก มีชาวโมร็อกโกถูกดำเนินคดีจากข้อความที่ถือว่าเป็นการล่วงละเมิดต่อพระมหากษัตริย์ บทลงโทษขั้นต่ำสำหรับความผิดดังกล่าวคือ จำคุกหนึ่งปี หากคำแถลงดังกล่าวจัดทำขึ้นเป็นการส่วนตัว (เช่นไม่ออกอากาศ) และจำคุกสามปีหากเผยแพร่ในที่สาธารณะ ในทั้งสองกรณีสูงสุดคือ 5 ปี คดีของ Yassine Belassal และ Nasser Ahmed (อายุ 95 ปี ซึ่งเสียชีวิตในคุกหลังจากถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์) และ Fouad Mourtada Affair ได้อภิปรายเกี่ยวกับรื้อฟื้นการกฎหมายเหล่านี้และการบังคับใช้งานของพวกเขา ใน ปีค.ศ. 2008

‘เต้’ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ กล่าวแสดงจุดยืนเกี่ยวกับ ม.112

นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ หรือ ‘เต้’ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ กล่าวแสดงจุดยืนเกี่ยวกับ ม.112 ในเวที BIG DEBATE เลือกตั้ง'66 ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 66 กรณี ‘ก้าวไกล’ เสนอแก้ไข ม.112 และ ‘เพื่อไทย’ ยังแสดงจุดยืนไม่ชัดเจน โดย ‘เต้’ มงคลกิตติ์ ย้ำชัดเจน ว่า “ไม่ยกเลิก-ไม่แก้ไข ม.112”

ข้อความส่วนหนึ่งจาก นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า

“เราไม่แก้ ม.112 แต่ไม่ได้หมายความว่าเราทำงานกับพรรคก้าวไกลไม่ได้...พรรคชาติพัฒนากล้าที่ธงที่จะเป็นพรรคซึ่งกล้าเข้าไปชนกับผู้มีอำนาจ ณ ปัจจุบันในการรื้อโครงสร้าง เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นตอ พร้อมเข้าไปสร้าง ‘โอกาสนิยม’ แบบที่ไม่ใช่ ‘ประชานิยม’ ด้วยหลักปฏิบัตินิยมผ่าน ‘ยุทธศาสตร์ 7 เฉดสี’ นำพารายได้ 5 ล้านล้านบาทเข้าประเทศ ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี”

เช็กจุดยืน 10 พรรคการเมืองในเรื่อง มาตรา 112 ใครกั๊ก-ใครชัด มาดูกัน!!

“มาตรา 112 ไม่ใช่คดีการเมือง ไม่มีปัญหา คนในประเทศส่วนใหญ่ไม่เดือดร้อน” 
ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ตัวแทนพรรคพลังประชารัฐ 

“ผมมองมาตรา 112 ว่าไม่มีปัญหา”
พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ตัวแทนพรรคภูมิใจไทย 

“มาตรา 112 ไม่มีปัญหา ที่มีปัญหา เพราะคนเข้าไปมีปัญหาเอง”
จุติ ไกรฤกษ์ ตัวแทนพรรครวมไทยสร้างชาติ 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top