Sunday, 28 April 2024
จีน

โควิดต้องเป็นศูนย์! 'จีน' ผนึกกำลังรอบด้าน ต้าน Omicron เจาะเซี่ยงไฮ้ ใต้นโยบาย Zero-Covid เพื่อรักษาชีวิตพลเมือง

วันนี้สื่อจีนยังคงรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 สายพันธุ์ Omicron ที่เข้ามาระบาดอย่างหนักในมหานครเซี่ยงไฮ้ ศูนย์กลางธุรกิจและการเงินที่สำคัญที่สุดของจีนอยู่ในขณะนี้

ล่าสุดยอดผู้ติดเชื้อยังคงเพิ่มต่อเนื่องมากกว่า 21,000 รายต่อวันในวันนี้ ซึ่งเป็นตัวเลขการติดเชื้อที่รุนแรงที่สุดของจีนนับตั้งแต่เกิดการระบาดใหญ่ครั้งแรกของโลกในเมืองอู่ฮั่นเมื่อต้นปี 2020

แต่ครั้งนี้ศูนย์กลางการระบาดเกิดที่เซี่ยงไฮ้ ที่เป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีน ทำให้จีนต้องล็อกดาวน์เขตย่านธุรกิจของเมืองนานกว่า 1 สัปดาห์แล้ว และไล่ปูพรมตรวจเชื้อ Covid-19 ทั่วทั้งเมือง ที่สามารถตรวจได้ถึง 25 ล้านคนต่อวัน

แต่ทางการจีนนั้นยอมรับว่า เชื้อ Covid-19 สายพันธุ์ Omicron มีความท้าทายกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ที่เคยระบาดในจีน เนื่องจากความไวในการแพร่ระบาด ที่มักไม่แสดงอาการ จึงทำให้การตีวงสกัดทำได้ค่อนข้างยาก ซึ่งตอนนี้ การระบาดก็ยังคงเพิ่มสูงขึ้นจนจำนวนผู้ป่วยเริ่มเกินกำลังที่ทางโรงพยาบาลทั่วไปจะรับไหวแล้ว

นอกจากนี้ ยังเกิดปัญหาสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นเริ่มขาดแคลน ระบบขนส่งสิ่งของจำเป็นเข้าเมืองเซี่ยงไฮ้ ที่มีประชากรหนาแน่นมากกว่า 23 ล้านคนก็มีอุปสรรคอย่างมากจากมาตรการล็อกดาวน์แบบเข้มของจีน

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม สื่อจีนรายงานว่า ชาวจีนยังสนับสนุนนโยบาย Zero-Covid ของรัฐบาลจีน เพราะเชื่อว่าการสกัดการระบาดให้ได้ก่อนเป็นอันดับแรกจะช่วยรักษาชีวิตผู้คนได้

และตอนนี้จีนได้ผนึกสรรพกำลังส่งบุคลากรลงไปช่วยที่เซี่ยงไฮ้อย่างเร่งด่วน โดยมีรายงานข่าวว่าจีนได้ระดมแพทย์อาสา กว่า 38,000 คน จาก 15 มณฑลทั่วประเทศ เข้าไปดูแลผู้ป่วยที่เซี่ยงไฮ้แล้ว และเตรียมเปิดโรงพยาบาลสนามอีกจำนวน 60,000 เตียงได้ในไม่ช้า

ส่วนที่มณฑลเจียงซู และเจ้อเจียง ซึ่งอยู่ติดกับมหานครเซี่ยงไฮ้ จะกันพื้นที่ไว้สำหรับเป็นที่พักกักตัว และ Hospitel เสริมรวมกันอีก 60,000 ห้อง ตามมาตรการของกรมควบคุมโรคแห่งเซี่ยงไฮ้

'ผู้นำสิงคโปร์' เตือน!! สหรัฐฯ อย่าโดดเดี่ยวจีนจากปัญหายูเครน ลั่น!! ทุกคนมีสิทธิ์ตัดสินใจเรื่องนี้ตามทางของตน

ดูเหมือนว่าตอนนี้จะมีประเทศในแถบเอเชีย ที่เริ่มกล้าออกมาแสดงจุดยืนที่ห้าวหาญในประเด็นการเมืองโลก โดยล่าสุด Lee Hsien Loong นายกรัฐมนตรีของสิงค์โปร์ ได้ออกคำเตือนไปยังสหรัฐฯ โดยตรงว่า "อย่าพยายาม โดดเดี่ยวจีน จากประเด็นเรื่องยูเครน เพราะทุกวันนี้โลกของเรา "ก็มีปัญหามากพออยู่แล้ว" และยังลั่นอีกด้วยว่าในอนาคต สหรัฐฯ อาจไม่ใช่เบอร์ 1 ของโลกอีกต่อไป 

นายกฯ สิงคโปร์ กล่าวไว้ชัดเจนว่า ถ้าหากสหรัฐฯ ยังหันมาเปิดศึกกับจีน จะยิ่งเป็นการแบ่งแยกระบอบประชาธิปไตยกับเผด็จการอย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้ปัญหา Supply Chain โลกซับซ้อนเข้าไปอีก และแน่นอนว่าถ้าลุกลามถึงขั้นคว่ำบาตรจีน ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกสูงกว่าการคว่ำบาตรรัสเซียเป็นอย่างมาก

“คุณต้องระวังให้มากที่จะไม่กำหนดปัญหายูเครนในลักษณะที่จะทำให้จีนเป็นฝ่ายผิดตั้งแต่แรกเริ่มโดยอัตโนมัติ ยกตัวอย่างเช่น การทำให้เกิดการต่อสู้ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยและเผด็จการ”

(You have to be very careful not to define the problem with Ukraine in such a way that automatically, China is already on the wrong side, for example, by making this a battle of democracies against autocracies.)

“เราทุกคนมีปัญหาในยูเครน ผมคิดว่าถ้าเราพูดถึงอธิปไตย ความเป็นอิสระ และบูรณภาพแห่งดินแดน หลายประเทศสามารถเข้าร่วมได้ แม้แต่จีนเองก็ยังไม่คัดค้านและยังมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนอย่างแข็งขันเป็นการส่วนตัวด้วย แต่ถ้าคุณ (สหรัฐฯ) บอกว่านี่เป็นเรื่องของประชาธิปไตยกับระบอบเผด็จการของปูติน ผมคิดว่านั่นเป็นเรื่องที่ยากพออยู่แล้ว และถ้าคุณยังบอกอีกว่าประชาธิปไตยต้องสู้กับเผด็จการ นั่นถือเป็นการกำหนดให้ประเทศจีนเป็นฝ่ายที่ผิดตั้งแต่แรก และทำให้สิ่งต่างๆ จะยากขึ้นไปอีก”

(We all have a problem in Ukraine. I think if we talk about sovereignty, independence and territorial integrity, a lot of countries can come along. Even China would not object to that, and would actually privately strongly support that. But if you say it is democracies versus Putin’s autocracy, I think that already is difficult. If you say democracies versus autocracies – plural – that already defines China into the wrong camp, and makes things even more difficult.)

นอกจากนี้ นายกฯ สิงคโปร์ยังสอนมวยสหรัฐฯ อีกว่าในสถานการณ์ปัจจุบันนั้น ทั้ง 2 ฝ่ายมีความไว้วางใจกันน้อยมาก และมันไม่ง่ายเลยที่จะหาระดับที่เหมาะสมในความสัมพันธ์ ขณะที่สิงคโปร์จะเลือกเดินตามทางของตัวเองในการแก้ไขและป้องกันไม่ให้เรื่องทั้งหมดบานปลาย

ดังนั้นสหรัฐฯ ต้องรู้ตัวแล้วว่า ถ้าเศรษฐกิจยังคงต้องพึ่งพากันและกันกับจีน ก็ไม่ควรวาง 80% ของจุดยืนในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไว้ในมุมของการเป็นปรปักษ์หรือศัตรูกัน แล้วมาบอกว่าความสัมพันธ์อันดี 20% ที่เหลือคือการ "Win-Win" ทั้ง 2 ฝ่าย

เขากล่าวชัดเจนว่าแนวคิดนี้ "ควรจะครอบงำรัฐบาลสหรัฐฯ" (กล่าวคือสหรัฐฯ ควรตระหนักเรื่องนี้โดยด่วน) และนอกเหนือจากยูเครนแล้ว สหรัฐฯ ควรรู้ด้วยว่าภูมิภาคเอเชียนี้ ถือเป็นสมรภูมิสำคัญที่สหรัฐฯ ต้องวางจุดยืนของตัวเองให้ดี 

ยิ่งไปกว่านั้น เขายังกล่าวด้วยว่าสหรัฐฯ ควรหันมามองเรื่อง "ความน่าเชื่อถือของตัวเอง" โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคงและความสม่ำเสมอในการทำธุรกิจ (ซึ่งแน่นอนว่าหมายถึงการคว่ำบาตรด้วย) เพราะเรื่องนี้ทำให้เกิดความไม่แน่นอนสูงมาก และอาจทำให้ประเทศอื่น ๆ ลดความไว้เนื้อเชื่อใจสหรัฐฯ ลงในอนาคต

Lee เสริมว่า ในภายภาคหน้านี้ สหรัฐฯ อาจจะไม่ใช่เบอร์ 1 ของโลกอีกต่อไป แต่จะยังคงเป็น 1 ในแนวหน้าทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก ซึ่งเขากล่าวว่ามันอาจเป็นเรื่องที่เจ็บปวดที่จะทำใจยอมรับได้สำหรับสหรัฐฯ แต่เขาก็ปลอบใจว่าเมื่อเวลาผ่านไป สหรัฐฯ จะปรับตัวได้เอง

‘ไต้หวัน’ ออก ‘คู่มือป้องกันพลเรือน’ แนะวิธีเอาตัวรอดหากเกิดสงคราม

กองทัพไต้หวันเผยแพร่คู่มือว่าด้วยการป้องกันพลเรือนฉบับแรก เพื่อให้ประชาชนได้ใช้เป็นแนวทางเอาตัวรอดในยามเกิดสงคราม หลังปฏิบัติการรุกรานทางทหารที่รัสเซียกระทำต่อยูเครนกระตุ้นให้ไทเปตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องเตรียมรับมือภัยคุกคามจาก ‘จีน’ ภายหลังจาก จีน ยังคงยืนยันว่าไต้หวันเป็นดินแดนในอธิปไตยของตน และไม่ปฏิเสธที่จะใช้กำลังทหารนำไต้หวันมาอยู่ภายใต้การปกครอง อีกทั้งยังมีการยกระดับกิจกรรมทางทหารข่มขู่ไทเปอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

คู่มือดังกล่าวของไต้หวัน ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการใช้แอปพลิเคชันในสมาร์ตโฟนเพื่อหาที่หลบระเบิด อาหารและน้ำดื่ม รวมไปถึงวิธีเตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาลในกรณีฉุกเฉิน

โดยอันที่จริงกองทัพไต้หวันมีแผนจัดทำคู่มือลักษณะนี้ตั้งแต่ก่อนที่รัสเซียจะบุกยูเครน ทว่าผลลัพธ์ของสงครามในยุโรปมีส่วนทำให้ไต้หวันยิ่งตื่นตัว และพยายามศึกษาบทเรียนเพื่อเตรียมความพร้อม ซึ่งรวมถึงการปฏิรูประบบการฝึกของทหารกองหนุน

“เราได้ให้ข้อมูลแก่ประชาชนว่าพวกเขาควรปฏิบัติตัวอย่างไร ในกรณีที่เกิดวิกฤตด้านการทหารหรือหายนะต่างๆ” หลิว ไท่อี้ (Liu Tai-yi) เจ้าหน้าที่จากสำนักงานระดมสรรพกำลังทางทหาร (All-out Defence Mibilisation Unit) ในสังกัดกระทรวงกลาโหมไต้หวัน ระบุในงานแถลงข่าวผ่านระบบออนไลน์

'จีน' ตอกกลับ 'มะกัน' ก่อนเรียกร้องให้ประณามรัสเซีย ยังจำวัน 'ถล่มปักกิ่ง-ปล้นชิง-เผาราชวังจีน' ได้หรือไม่?

ดร.สมเกียรติ โอสถสภา อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

มีนักข่าวสหรัฐฯ ถามโฆษกกระทรวงต่างประเทศจีน 'หัวชุนอิ๋ง' ว่า "ทำไมจีนไม่ประณามรัสเซียที่ใช้กำลังทหารรุกรานยูเครน ประเทศเพื่อนบ้าน หรือเป็นเพราะ จีนเห็นด้วยกับการรุกรานประเทศเพื่อนบ้านของรัสเซีย"

โฆษก กต.จีน หัวชุนอิ๋ง ตอบว่า พวกคุณน่าจะหันกลับไปมองตัวเองบ้างว่า พวกคุณได้ทำอะไรไว้บ้างในเรื่องสิทธิสภาพของประเทศต่างๆ ว่าพวกคุณยึดมั่นให้เกียรติประเทศอื่นๆ แค่ไหน 

'มะกัน' ขู่ รัฐบาลจีน ระวังเจอ 'กรรมสนอง' ปมไม่ช่วยหยุดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทั้งที่สามารถทำได้

จีนควรช่วยหยุด "สงครามอันชั่วร้าย" ของรัสเซียในยูเครน ไม่อย่างนั้นอาจเผชิญการสูญเสียสถานะในเวทีโลก เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวในวันพุธ (13 เม.ย.) ส่งเสียงเตือนว่าใครก็ตามที่บ่อนทำลายมาตรการคว่ำบาตรของตะวันตกที่กำหนดเล่นงานมอสโกตอบโต้กรณีรุกรานยูเครน จะต้องเจอผลสนองทางเศรษฐกิจ

เยลเลน กล่าวที่สถาบันวิจัยสภาแอตแลนติกในวอชิงตัน ว่า เธอหวังอย่างแรงกล้า จีนจะใช้ "ความสัมพันธ์พิเศษ" ระหว่างพวกเขากับรัสเซีย โน้มน้าวมอสโกให้หาทางยุติความขัดแย้ง และบอกว่าประเทศต่างๆ ที่เหยียบเรือสองแคมในสงครามนี้เป็นพวกสายตาสั้น

"ทัศนคติของโลกที่มีต่อจีน และความตั้งใจของโลกในการเปิดรับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในอนาคต อาจได้รับผลกระทบจากท่าทีของจีนที่มีต่อเสียงเรียกร้องของเรา ที่ขอให้ดำเนินการอย่างเด็ดขาดกับรัสเซีย" เธอกล่าว

ความเห็นของเธอสะท้อนจุดยืนของรัฐบาลประธานาธิบดีโจ ไบเดน ที่เรียกร้องให้จีนประณามการรุกรานของรัสเซีย และเลือกยืนเคียงข้างประชาธิปไตยตะวันตก ซึ่งปักกิ่งกำลังเพลิดเพลินกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ให้ผลตอบแทนงดงาม

ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีไบเดน ได้เตือน นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดียในวันจันทร์ (11 เม.ย.) ว่าการซื้อน้ำมันรัสเซียเพิ่มเติมจะไม่เป็นประโยชน์กับอินเดีย

อย่างไรก็ตาม หลิว เผิงหยู (Liu Pengyu) โฆษกสถานทูตจีนประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สวนกลับข้อเรียกร้องของ เยลเลน โดยบอกว่าจีนคัดค้านอย่างหนักแน่นต่อการผูกโยงความสัมพันธ์จีน-รัสเซียกับวิกฤตยูเครน พร้อมระบุว่า ปักกิ่งมุ่งมั่นสนับสนุนการเจรจาสันติภาพ

"จีนคัดค้านมาตรการคว่ำบาตรฝ่ายเดียวทุกรูปแบบ และการใช้เขตอำนาจรัฐนอกดินแดนของสหรัฐฯ และจะปกป้องอย่างเด็ดเดี่ยวต่อสิทธิความชอบธรรม ผลประโยชน์ของบุคคลและบริษัทต่างๆ ของจีน" เขากล่าวในถ้อยแถลงที่เผยแพร่ผ่านอีเมล

'จีน' เซ็นสัญญาความมั่นคงกับ 'หมู่เกาะโซโลมอน' ตัดหน้าสหรัฐฯ หลังหวังส่ง จนท.ระดับสูงไปสกัด

กลุ่มสื่อต่างประเทศ - สหรัฐฯ พลาดท่าช้ากว่าจีนไปก้าวหนึ่งจนได้ หลังจากกระทรวงต่างประเทศมะกัน เพิ่งประกาศเตรียมส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงไปหมู่เกาะโซโลมอน หวังสกัดการลงนามข้อตกลงด้านความมั่นคงกับจีน แต่คล้อยหลังแค่หนึ่งวัน ปักกิ่งก็ประกาศข่าวการลงนามเป็นที่เรียบร้อย

ข้อตกลงฉบับนี้ไปลงนามกันตอนไหนและเมื่อไร ไม่มีใครรู้

ในการแถลงของกระทรวงต่างประเทศจีนเมื่อวันอังคารที่ 19 เม.ย. นายหวัง เหวินปิน โฆษกบอกเพียงว่า เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นการลงนามกรอบความตกลงความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างจีนกับหมู่เกาะโซโลมอน ด้วยความเห็นชอบของรัฐบาลทั้งสองฝ่าย โดยมีนายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีต่างประเทศของจีน กับนายเจเรเมียห์ มาเนเล รัฐมนตรีต่างประเทศและการค้าของหมู่เกาะโซโลมอนเป็นตัวแทนผู้ลงนาม

โฆษกหวัง ยังย้ำด้วยว่า จุดมุ่งหมายของกรอบความตกลงฉบับนี้มิได้มุ่งเป้าประสงค์ไปยังชาติที่ 3 ใดๆ ทั้งสิ้น แต่เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถของหมู่เกาะโซโลมอนในการรักษาความสงบสุขมั่นคงของประเทศ ทั้งในด้านการรักษาระเบียบของสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการรับมือกับภัยธรรมชาติ

แน่นอนว่า สหรัฐฯ และชาติพันธมิตรไม่มีวันเชื่อน้ำมนต์ของจีน โดยเจ้าหน้าที่ของออสเตรเลียกล่าวหาว่า จีนชิงลงมือ ก่อนเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ 2 คนคือนายเคิร์ต แคมป์เบล และนายแดเนียล คริเทนบริงก์ จะไปเยือนหมู่เกาะโซโลมอนในสัปดาห์นี้ เพื่อถ่ายทอดให้รัฐบาลกรุงโฮนีอารา รับทราบถึงความวิตกกังวลของรัฐบาลสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรในภูมิภาคแปซิฟิกใต้ ซึ่งรวมทั้งออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ กรณีจีนเข้ามาดำเนินบทบาทมากขึ้นในภูมิภาคนี้

คณะกรรมาธิการยุโรป กล่าว!! จีนแสดงให้โลกเห็น 'ประชาธิปไตย' ไม่ใช่กุญแจสำหรับการเติบโต

กลายเป็นข่าวเด่นในแวดวงเศรษฐกิจโลกกันขึ้นมาเลยทีเดียว หลังจากล่าสุด 1 ในคณะกรรมาธิการทางด้านเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปอย่าง Paolo Gentiloni เริ่มส่อแววแปรพักตร์ไปหาจีน 

โดยเขาได้กล่าวว่าตอนนี้ 'จีน' แสดงให้โลกเห็นแล้วว่า "ประชาธิปไตย" นั้นไม่ใช่กุญแจสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ?? ซึ่งคำพูดนี้ถือเป็นการหักหน้าสหรัฐฯ อย่างไม่ต้องถามหมอกันเลยทีเดียว !

Paolo Gentiloni กล่าวในงานที่สถาบันปีเตอร์สันในวอชิงตัน ดี.ซี. ว่า...

“การเติบโตของจีนแสดงให้เห็นแล้วว่าประชาธิปไตยนั้นไม่จำเป็นต่อการบรรลุความสำเร็จทางเศรษฐกิจเลย และนั่นคือการเปลี่ยนแปลงวิถีที่เราได้เห็นและมีการหารือกันกับอีกหลายประเทศ ผมคิดว่าภาพลวงตาแห่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ ผ่านด้านการค้า การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และความสัมพันธ์ส่วนบุคคล กำลังจางหายไป”

(China’s growth shows that democracy is not necessary to achieve economic success and that is changing the way we see and interact with such countries, I think the illusion of changing an autocratic regime through trade, cultural exchanges, personal relations, is fading,)

ใหญ่คับฟ้า!! สหรัฐฯ เตือนหมู่เกาะโซโลมอน อย่าให้จีนตั้งฐานทัพเด็ดขาด

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 23 เม.ย.65 เผยทำเนียบขาวเผยแพร่แถลงการณ์ ว่านายเคิร์ต แคมป์เบลล์ ผู้ประสานงานด้านกิจการอินโด-แปซิฟิก ของสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ เข้าพบนายกรัฐมนตรีมานัสเซห์ โซกาวาเร ผู้นำหมู่เกาะโซโลมอน ที่กรุงโฮนีอารา เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

แคมป์เบลล์ กล่าวกับ โซกาวาเร อย่างตรงไปตรงมา ว่า การที่รัฐบาลโซโลมอนลงนามในข้อตกลง “ว่าด้วยการยกระดับการเป็นหุ้นส่วนด้านความมั่นคงระดับทวิภาคี” นั้น “มีความหมายและผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายความมั่นคง” ของสหรัฐและพันธมิตรในภูมิภาคแห่งนี้ 

รัฐบาลวอชิงตันและพันธมิตร “จะมีความวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่ง และเตรียมตอบสนองตามความเหมาะสม” หากทางการโซโลมอนอนุญาตให้จีนตั้งฐานทัพเป็นการถาวร การติดตั้งอุปกรณ์ทางทหาร และสิ่งก่อสร้างใดก็ตามที่บ่งบอกเจตนาแผ่ขยายอิทธิพลทางทหาร

'ศาลรวันดา' สั่งจำคุก ผู้จัดการเหมืองชาวจีน 20 ปี เหตุ เฆี่ยนตี-ทารุณ คนงานผิวดำ

กลายเป็นเรื่องราวใหญ่โต เมื่ออาเจ๊ก ผู้จัดการเหมืองชาวจีนวัย 43 ปี คนหนึ่งในรวันดาในสัปดาห์นี้ถูกพิพากษาถึงขั้นถูกลงโทษจำคุก 20 ปี ข้อหาทรมานหลังเขาถูกแอบถ่ายคลิปกำลังเฆี่ยนคนงานเหมืองผิวดำคนหนึ่งที่ถูกผูกอยู่กับเสา

เน็กซ์ชาร์ก (Nextshark) สื่อสหรัฐฯ รายงานวันศุกร์ (22 เม.ย.) ว่า ในวิดีโอคลิปความยาว 45 วินาที อ้างอิงจาก The China Africa Project ในการรายงานของหนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์ ที่กลายเป็นหลักฐานเล่นงาน ซุน ชูจุน (Sun Shujun) วัย 43 ปี ผู้จัดการเหมืองแห่งหนึ่งทางตะวันตกของรวันดา ถูกแอบถ่ายไว้เมื่อปีที่แล้วขณะที่เขากำลังดุด่าคนงานเหมืองผิวดำรายหนึ่งที่ถูกผูกไว้กับเสา และทำการเฆี่ยนตีด้วยเชือกอย่างหนักเพื่อลงโทษระหว่างที่มีคนงานเหมืองคนอื่นๆ ในเสื้อกั๊กสีส้มกำลังเฝ้ามอง

ทั้งนี้ พบว่าซุน ถูกตำรวจรวันดาจับกุมหลังจากที่คลิปเผยแพร่ไปทั่วเดือนกันยายนปีที่แล้ว และในภายหลังเขาถูกปล่อยตัวภายใต้วงประกัน

ซุน กล่าวว่า เขาจำเป็นต้องโบยคนงานเหมืองเหล่านี้เพราะรู้สึกเหนื่อยอ่อนใจที่พวกเขามักจะขโมยแร่ออกไปเสมอ ซึ่งเขาถูกผู้พิพากษาศาลรวันดา แจ็กเกอส์ เคนยารูคิกา (Jacques Kanyarukiga) ในวันอังคาร พิพากษาว่า ผู้จัดการเหมืองชาวจีนทรมานเหยื่อคนงานเหมืองผิวดำ และออกคำสั่งลงโทษทางร่างกายด้วยเจตนาร้าย และนี่ถือเป็นคดีอุกฉกรรจ์ทางอาญา

ซึ่งขณะที่อัยการกล่าวหาซุน ทำร้ายคนอื่นอีก 4 คน แต่เขากลับยอมรับว่าทำร้ายคนงานเหมือง 2 คนเท่านั้น พร้อมกับให้เหตุผลอ้างว่า คนเหล่านี้ขโมยแร่ในเหมืองออกไปซ้ำหลายครั้ง

พยานขึ้นให้การในศาลว่า คนงานเหมืองต้องสงสัยถูกผูกไว้และโดนโบยตี

สื่อโซโลมอน จวกมะกัน ปมบีบยกเลิกข้อตกลงกับจีน ซัด! ตลอด 30 ปี ไม่เคยเหลียวแล ตั้งแต่หลังสงครามโลก

เพจ “ลึกชัดกับผิงผิง” สื่อที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศจีน โพสต์ข้อความกรณีตัวแทนทำเนียบขาวเดินทางเยือนโซโลมอน ว่า ...

สื่อโซโลมอนชี้ สหรัฐฯ ลืมพวกเรานานแล้ว พอรู้สึกตัวก็มาบังคับให้เรายกเลิกข้อตกลงระหว่างโซโลมอนกับจีน

วันที่ 20 เมษายน 2022 นายมานัสเซห์ โซกาวาเร (Manasseh Sogavare) นายกรัฐมนตรีโซโลมอนยืนยันว่าได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านความมั่นคงกับจีนแล้ว และกล่าวว่า “นี่สอดคล้องกับผลประโยชน์สำคัญที่สุดของโซโลมอน ส่งเสริมการพัฒนาแห่งชาติ ฟื้นฟูความมั่นใจของนักธุรกิจและนักลงทุนท้องถิ่น”

เรื่องดังกล่าวทำให้โซโลมอนกลายเป็น “ศูนย์กลางพายุ” ของมหาสมุทรแปซิฟิก 

วันที่ 22 เมษายน นายแคมป์เบลล์ ผู้ประสานงานกิจการอินโด-แปซิฟิก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งทำเนียบขาว ได้นำคณะผู้แทนไปเยือนโซโลมอนและจัดประชุมหารือกับนายกรัฐมนตรีโซโลมอน หลังจากรัฐบาลสหรัฐฯ ปิดสถานทูตประจำโซโลมอนเป็นเวลานานถึง 30 ปี และไม่เคยจัดคณะผู้แทนไปเยือนโซโลมอนในช่วง 80 ปีที่ผ่านมา 

วันที่ 23 เมษายน โซโลมอนสตาร์ (solomon star) ที่เป็นสื่อสำคัญของโซโลมอนที่ติดตามรายงานข่าวเกี่ยวกับการเยือนของคณะผู้แทนสหรัฐฯ ครั้งนี้และชี้ชัดว่า “หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 วอชิงตันก็ลืมโซโลมอนโดยสิ้นเชิง พอตื่นขึ้นมาตอนนี้ก็มาบังคับให้นายกรัฐมนตรีโซกาวาเรยกเลิกข้อตกลงกับจีน”

รายงานข่าวของโซโลมอนสตาร์ระบุว่า หลังการประชุมสหรัฐฯ ได้ประกาศแถลงการณ์เชิงข่มขู่แสดงความห่วงใยต่อมาตรการการสร้างฐานทัพถาวรในโซโลมอน และจะมีปฏิกิริยาตอบโต้


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top