Sunday, 28 April 2024
จีน

IMF เพิ่มอัตราส่วนเงินหยวน ใน SDR ครั้งแรก สวนทาง เงินเยน-ปอนด์-ยูโร ที่ถูกปรับลง

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงาน กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยเมื่อวันเสาร์ว่าได้เพิ่มอัตราส่วนของดอลลาร์และหยวนของจีนในการทบทวนสกุลเงินที่ประกอบขึ้นเป็นสิทธิพิเศษถอนเงิน (SDR) ซึ่งเป็นสินทรัพย์สำรองระหว่างประเทศของทางกองทุน 

การทบทวนครั้งนี้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เงินหยวนหรือเงินเหรินหมินปี้ (renminbi) เข้าร่วมตะกร้าสกุลเงินในปี 2559 ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในความพยายามของปักกิ่งในการทำให้สกุลเงินเป็นสากลมากขึ้น

IMF ได้เพิ่มน้ำหนักของสกุลเงินสหรัฐเป็น 43.38% จาก 41.73% และเงินหยวนเป็น 12.28% จาก 10.92% การถ่วงน้ำหนักของเงินยูโรลดลงเหลือ 29.31% จาก 30.93% เงินเยนลดลงเหลือ 7.59% จาก 8.33% และเงินปอนด์อังกฤษลดลงเหลือ 7.44% จาก 8.09%

กองทุนการเงินระหว่างประเทศกล่าวในแถลงการณ์ว่าคณะกรรมการบริหารได้กำหนดอัตราส่วนสกุลเงินโดยพิจารณาจากการพัฒนาการค้าและตลาดการเงินตั้งแต่ปี 2560 ถึง 2564

‘จีน’ ฟาด!! G7 ควรใส่ใจปัญหาของตน หยุดบังคับชาติอื่นคว่ำบาตรตามคำสั่ง

ไม่นานมานี้ กลุ่มมหาอำนาจ G7 ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐฯ, อังกฤษ, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, อิตาลี และญี่ปุ่น ได้ออกมากดดันให้ ‘รัฐบาลจีน’ ให้แสดงท่าทีกระตุ้นให้รัสเซียยุติสงครามในยูเครน และยุติความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการทหารกับรัสเซีย รวมทั้งเรียกร้องให้จีนต้องสนับสนุนเอกราชและอิสรภาพของยูเครนด้วย

ทันทีที่ G7 แสดงท่าทีดังกล่าว ฟากรัฐบาลจีน ก็ได้ออกมาตอบโต้ท่าทีดังกล่าวทันที โดย จ้าว ลี่เจี้ยน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันจันทร์ (16 พ.ค.65) ที่ผ่านมาว่า…

กลุ่ม G7 ควรจะหยุดความพยายามในการบีบบังคับให้ชาติอื่นคว่ำบาตรตามคำสั่งของตน และควรหันไปสนใจปัญหาความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศของตนเอง มากกว่าที่จะเข้าไปแทรกแซงประเทศอื่นให้ทำตามคำสั่ง

ตุรกียื่นข้อเสนอ รับสวีเดนและฟินแลนด์เข้า NATO หากหยุดสนับสนุนกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในตุรกี | NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช EP.52

✨ ตุรกียื่นข้อเสนอ รับสวีเดนและฟินแลนด์เข้า NATO หากหยุดสนับสนุนกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในตุรกี

✨ เสียสละซะ!! ‘ทูตยูเครน’ ชี้!! ชาติยุโรปควรเสียสละทางเศรษฐกิจ เพื่อกดดันการคว่ำบาตรรัสเซีย

✨ จีนฟาดกลับแรง!! บอก G7 ควรใส่ใจปัญหาของตน หยุดบังคับชาติอื่นคว่ำบาตรตามคำสั่ง

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

โดย อ.ต้อม - กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

.

.

กลุ่ม 'BRICS' เห็นชอบคำแนะนำของ 'จีน' เล็งวางแผนอ้าแขนรับสมาชิกเพิ่มเติม

ชาติต่างๆ ใน BRICS (กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว) สนับสนุนคำชี้แนะของจีน ว่าทางกลุ่มควรขยายขอบเขตอ้าแขนรับสมาชิกเพิ่มเติม แต่ยังไม่ได้เอ่ยชื่อว่าที่ประเทศที่จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม

ในถ้อยแถลงร่วมของบรรดารัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่ม BRICS อันประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ซึ่งมีขึ้นตามหลังการประชุมออนไลน์ในวันพฤหัสบดี (19 พ.ค.) สนับสนุนการขยายขอบเขตสมาชิกเป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษ แต่บอกว่ามันต้องมีหลักชี้นำ มาตรฐานและขั้นตอนที่ชัดเจน

แม้ไม่มีการพาดพิงชื่อประเทศผู้สมัคร แต่ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงต้นปี ประธานาธิบดีอัลแบร์โต เฟอร์นานเดซ แห่งอาร์เจนติน่า ระบุว่าต้องการเห็นประเทศของเขาเข้าร่วมกลุ่ม BRICS ส่วนบรรดานักวิเคราะห์มองว่าอินโดนีเซียก็อาจเป็นอีกหนึ่งว่าที่ผู้สมัครเช่นกัน

บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งกลุ่มขึ้นในปี 2009 ก่อนที่ แอฟริกาใต้ จะเข้าร่วมในปี 2010

การประชุมของรัฐมนตรีต่างประเทศทั้ง 5 ชาติ ในนั้นรวมถึง เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศของรัสเซีย ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มอสโกเปิดฉากรุกรานยูเครนในเดือนกุมภาพันธ์

หวัง อี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน เน้นย้ำจุดยืนของปักกิ่ง ที่เรียกร้องขอให้เจรจาสันติภาพและวิพากษ์วิจารณ์บรรดาประเทศตะวันตกต่อการมอบอาวุธแก่ยูเครนและกำหนดมาตรการคว่ำบาตรเล่นงานรัสเซีย

"การส่งมอบอาวุธไม่อาจนำมาซึ่งสันติภาพสู่ยูเครน และแรงกดดันจากมาตรการคว่ำบาตรไม่อาจคลี่คลายภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกในด้านความมั่นคงของยุโรป" หวังกล่าว

เขาบอกด้วยว่าจีนคัดค้านการใช้เศรษฐกิจและความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศเป็นอาวุธ บีบบังคับให้ชาติอื่นๆ ต้องเลือกข้าง

ขณะเดียวกันเขายังเรียกร้องให้พยายามลดผลกระทบที่ลุกลามของสงคราม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศและอุปทานอาหาร "โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้การสนับสนุนบรรดาประเทศกำลังพัฒนาที่อ่อนแอ เอาตัวรอดจากช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้"

นอกจากนี้แล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีนยังเรียกร้องให้สมาชิกกลุ่ม BRICS ประเทศอื่นๆ "มีความเป็นอิสระ" และ "ยุติธรรม" ในประเด็นยูเครน

ก่อนหน้านี้สมาชิก 3 ชาติของกลุ่ม BRICS ได้แก่ จีน อินเดีย และแอฟริกาใต้ งดออกเสียงจากการลงมติของสหประชาชาติในญัตติประณามรัสเซียต่อกรณีรุกรานยูเครน

รัฐมนตรีต่างประเทศทั้ง 3 ชาติออกถ้อยแถลงร่วม สนับสนุนให้รัสเซียเจรจากับยูเครน และ "พูดคุยหารือความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมในยูเครนและที่อื่นๆ"

หวัง เรียกร้องทางกลุ่มต่อต้านการสร้าง "ระบบคู่ขนาน" เพื่อแบ่งแยกโลก ทั้งนี้เขาไม่ได้พาดพิงถึงประเทศใด แต่เข้าใจดีว่าน่าจะหมายถึงสหรัฐฯ พร้อมกันนั้นเขาบอกว่ากลุ่ม BRICS ควรต่อต้านมาตรการคว่ำบาตรฝ่ายเดียวทุกรูปแบบ เช่นเดียวกับการใช้เขตอำนาจรัฐนอกดินแดน

สหรัฐฯ เตือนทหารเตรียมพร้อมรับมือสงคราม ชี้ มีความเสี่ยงเผชิญหน้ากับ ‘จีน-รัสเซีย’

สหรัฐเตือนทหารเตรียมพร้อมสงครามระดับโลก รับเผชิญหน้ากับจีน-รัสเซีย

ประธานคณะเสนาธิการร่วมสหรัฐฯ เตือนถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของความขัดแย้งระดับโลก และสงครามสมัยใหม่ที่จะเปลี่ยนไปจากเดิม

Fox News และ Daily Mail รายงานว่าพลเอกมาร์ค มิลลีย์ ประธานคณะเสนาธิการร่วมสหรัฐอเมริกา กล่าวกับ นักเรียนนายร้อยที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก แห่งสหรัฐอเมริกา (USMA) เวสต์พอยต์ เมื่อวันที่ 21 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยมีใจความสำคัญให้ทุกคนเตรียมพร้อมกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของสงครามระดับโลก และความขัดแย้งที่เกิดจากมหาอำนาจอย่างจีนและรัสเซียที่กำลังขยายตัว

"ขณะนี้เรากำลังเผชิญหน้ากับ 2 มหาอำนาจของโลก คือ จีนและรัสเซีย ซึ่งแต่ละประเทศมีขีดความสามารถทางทหารที่สำคัญ และทั้งคู่ตั้งใจอย่างเต็มที่ที่จะเปลี่ยนกฎในปัจจุบัน" มิลลีย์กล่าว

จีนเริ่มฉุน!! เตือนสหรัฐฯ หยุดใช้ไต้หวันเป็นไพ่บีบจีน หลังไบเดนประกาศพร้อมใช้กำลังปกป้องไต้หวัน

สำนักงานกิจการไต้หวันแห่งคณะรัฐมนตรีจีนออกมาเตือนเมื่อวันจันทร์(23พ.ค.)ว่า สหรัฐฯ "กำลังเล่นกับไฟ" หลังจากประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งอเมริกา ประกาศพร้อมที่จะใช้กำลังปกป้องไต้หวัน ในกรณีที่ปักกิ่งพยายามเข้ายึดครอง ตามรายงานของสื่อมวลชนแห่งรัฐ

"อเมริกากำลังใช้ไพ่ไต้หวันในการสกัดกั้นจีน และพวกเขาเองจะถูกไฟแผดเผา" จู เฟิ่งเหลียน โฆษกสำนักงานกิจการไต้หวันแห่งคณะรัฐมนตรีจีนกล่าว

คำพูดของ ไบเดน ก่อนหน้านี้ในวันเดียวกัน ถือเป็นถ้อยคำที่แข็งกร้าวที่สุดเท่าที่เคยใช้มาของเขา ในประเด็นไต้หวัน และมีขึ้นท่ามกลางความตึงเครียดที่หนักหน่วงขึ้นเรื่อย ๆ เกี่ยวกับการเติบโตของจีนทั้งในด้านเศรษฐกิจและแสนยานุภาพด้านการทหาร

สำนักข่าวซินหัว สื่อมวลชนแห่งรัฐของจีน รายงานอ้างคำกล่าวของ จู "เรียกร้องให้สหรัฐฯหยุดใช้คำพูดหรือการกระทำใดๆที่ละเมิดหลักการต่างๆที่สถาปนาขึ้นก่อนหน้านี้ระหว่าง 2 ชาติ"

เมื่อวันจันทร์(23พ.ค.) เมื่อถูกถามว่า วอชิงตันมีความตั้งใจเข้าพัวพันด้านการทหารหรือไม่ เพื่อปกป้องไต้หวัน ไบเดน ตอบว่า "ใช่ มันเป็นคำสัญญาที่เราเคยให้ไว้"

คำกล่าวนี้เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางเยือนกรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่น ที่ไบเดนพบปะกับนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำระดับภูมิภาคที่จะเริ่มขึ้นในวันอังคาร(24พ.ค.)

วอชิงตันและบรรดาพันธมิตร ในนั้นรวมถึงญี่ปุ่น วางกรอบมาตรการตอบโต้หนักหน่วงที่กำหนดเล่นงานรัสเซีย จากกรณีที่รุกรานยูเครน ในฐานะเป็นคำเตือนถึงประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะจีน ต่อความเคลื่อนไหวทางทหารฝ่ายเดียวใด ๆ

ความเห็นของไบเดน ว่าเขามีความตั้งใจใช้กำลังปกป้องไต้หวันจากการไต้หวัน ดูเหมือนเป็นการทำให้นโยบายของสหรัฐฯที่มีต่อเกาะปกครองตนเองแห่งนี้มีความกำกวมมากขึ้น

เวทีเช็กเสียง ยกระดับคว่ำบาตร เกมหยั่งเสียงจาก ‘สหรัฐฯ’ แม้รู้ว่า ‘จีน-รัสเซีย’ ต้อง Veto ป้องโสมแดง

เมื่อ 26 พ.ค.ที่ผ่านมา ในที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ‘จีน’ และ ‘รัสเซีย’ ได้ขอใช้สิทธิ์ในการเป็นสมาชิกถาวร Veto ญัตติของสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการให้องค์การสหประชาชาติเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือให้เข้มข้นยิ่งขึ้น จากการที่เกาหลีเหนือได้ทดสอบขีปนาวุธพิสัยไกลข้ามทวีปเมื่อเร็วๆ นี้

กรณีเกาหลีเหนือยิงทดสอบขีปนาวุธพิสัยไกลถึง 3 ลูก ทางด้านชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรเกาหลี เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (25 พ.ค.65) ไล่หลัง โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ ที่เพิ่งจบภารกิจการเยือนญี่ปุ่น และเกาหลีใต้เป็นเวลา 5 วันอย่างเป็นทางการเพียงไม่กี่ชั่วโมงนั้น ทางสหรัฐฯ มองว่าเป็นการท้าทายอย่างชัดเจน จนเป็นเหตุให้รัฐบาลวอชิงตัน ต้องชงญัตติเพิ่มระดับการคว่ำบาตรโสมแดงเข้าที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งจะครอบคลุมถึงการลดปริมาณการนำเข้าน้ำมันสำหรับประชาชนเกาหลีเหนือจาก 4 ล้าน ให้เหลือแค่ 3 ล้านบาร์เรลอีกด้วย

สหรัฐฯ ได้อ้างเหตุผลว่า เกาหลีเหนือได้ละเมิดข้อตกลงที่ให้ไว้กับสภาความมั่นคงในปี 2017 ว่าจะระงับการพัฒนาขีปนาวุธพิสัยไกล แต่ทว่ารัฐบาลเปียงยางกลับรื้อฟื้นแผนการทดสอบขีปนาวุธขึ้นมาใหม่ และอ้างว่าสามารถพัฒนาได้ถึงขั้นขีปนาวุธพิสัยไกลข้ามทวีปได้แล้ว 

อย่างไรก็ตาม ฟาก จีน ซึ่งเป็นพันธมิตรใกล้ชิดที่สุดของเกาหลีเหนือ ก็ได้จับมือกับรัสเซีย ใช้สิทธิ์สมาชิกถาวรของสภาความมั่นคง คัดค้านข้อเสนอของสหรัฐฯ โดยมองว่าข้อตกลงร่วมเรื่องการคว่ำบาตรตามหลักการแบบเดิมก็เหมาะสมอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเพิ่มมาตรการคว่ำบาตร หรือตั้งให้เป็นข้อบังคับที่มีผลกับทุกประเทศในสหประชาชาติเพียงเพื่อต้องการเล่นงานเกาหลีเหนือ 

‘จีน’ ผนึก ‘รัสเซีย’ ส่งเสริม ‘ประชาธิปไตยที่แท้จริง’บนพื้นฐาน ‘กฎหมาย-เงื่อนไข’ ของแต่ละประเทศ

ทูตสูงสุดจีนประกาศกร้าว!! ปักกิ่งจะทำงานร่วมกับมอสโก เพื่อส่งเสริม ‘ประชาธิปไตยที่แท้จริง’ ตอกย้ำถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างประเทศจีนกับรัสเซีย

“จีนมีความมุ่งมั่นทำงานร่วมกับรัสเซียและประชาคมนานาชาติ เพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยที่แท้จริง บนเงื่อนไขของแต่ละประเทศ” ถ้อยแถลงของรัฐบาลอ้างอิงคำกล่าวของ หวัง อี้ (Wang Yi) รัฐมนตรีต่างประเทศจีน ที่พูดกับที่ประชุมของสถาบันวิจัยจีน-รัสเซียแห่งหนึ่ง ผ่านวิดีโอลิงก์ในวันพุธ (1 มิ.ย.65) โดยกิจกรรมดังกล่าวมี เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เข้าร่วมด้วย

นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวเสริมอีกว่า ‘พวกเผด็จการโลก’ (Monopolizing) ซึ่งเป็นคำจำกัดความที่ใช้เรียกลัทธิที่มีการใช้ ‘ระบอบประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน’ เพื่อสร้างอิทธิพลในประเทศอื่นๆ ซึ่งจีนกล่าวว่า เป็นกลวิธีที่มาถึงวาระล้มเหลว (เป็นการพูดเหน็บแนมสหรัฐฯ ประเทศที่เป็นแกนนำประชาคมโลกประณามปฏิบัติการรุกรานยูเครนของรัสเซีย)

จนถึงตอนนี้ จีนยังคงแสดงท่าทีที่เป็นกลางต่อ ‘รัสเซีย-ยูเครน’ เช่นเดียวกับ ซาอุฯ, อินเดีย และอีกหลายประเทศ แต่มีเพียงสิ่งเดียวที่จีนกล่าวโทษคือ ‘สหรัฐฯ’ ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นสงคราม

จีนอธิบายไว้ชัดเจนว่า สหรัฐฯ ทำทุกอย่างเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของ NATO ไปยังอาณาเขตของรัสเซีย ทำให้ ‘ปูติน’ ไม่มีทางเลือก ในขณะที่ประธานาธิบดี ‘สี จิ้นผิง’ ได้ประกาศ "มิตรภาพไม่จำกัดขอบเขต" กับปูติน ในช่วงก่อนการรุกราน และไม่ได้พูดคุยกับ เซเลนสกี้ ผู้นำยูเครน เลยตั้งแต่สงครามเริ่มต้นขึ้น
 

ส่องความขัดแย้ง 'เบอร์ 2' กับ 'เบอร์ 1' ประเด็นร้อนบนแผ่นดินจีนที่ต้องจับตา

สัญญาณความขัดแย้งระหว่างเบอร์ 2 กับเบอร์ 1 ของจีน ได้กลายเป็นประเด็นร้อนบนแผ่นดินจีนช่วงนี้  

รองศาสตราจารย์ ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจจีน จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงความเห็นในประเด็นนี้ผ่านเฟซบุ๊ก ดังนี้...

เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2565 นายกจีนฯ หลี่ เค่อเฉียง กล้าทิ้งระเบิดวิจารณ์ตรงๆ ชัดๆ แบบไม่เกรงใจใครอีกต่อไป ในประเด็นปัญหาเศรษฐกิจจากนโยบาย ZeroCovid ที่นายกจีน นักเศรษฐศาสตร์ท่านนี้ น่าจะอึดอัดใจมานาน และเขาก็ใกล้จะพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจีนแน่นอน เนื่องจากอยู่มาจนจะครบ 2 วาระ รวม 10 ปี ในเดือนมีนาคม 2023 ที่จะถึงนี้

ในปี 2018 ช่วงที่จีนแก้รัฐธรรมนูญ ก็มีการปลดล็อกให้เพียงแค่ตำแหน่งประธานาธิบดีจีน ที่อยู่ต่อไปได้แบบไร้วาระ แต่ไม่ได้ครอบคลุมตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

นอกจากนี้ ที่ผ่านมา นายกหลี่ฯ ไม่ได้มีบทบาทสำคัญอะไรมากนัก ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงไม่ได้ใช้งานนายกหลี่ฯ เท่าที่ควร แต่ไปให้เพื่อนสนิทของท่านสี คือ หลิวเฮ่อ รองนายกฯ จีน มารับงานสำคัญในหลายเรื่อง เช่น การเป็นตัวแทนจีนในการเจรจากับสหรัฐฯ 

ส่วนนายกฯ หลี่รับผิดชอบงานเศรษฐกิจภายในประเทศ และต้องประสบปัญหาทางเศรษฐกิจหลายอย่างจากการที่จีนต้อง Lockdown และปิดประเทศมานานหลายปี จากนโยบาย ZeroCovid จนทำให้เศรษฐกิจจีนเริ่มมีปัญหา เช่น การว่างงาน

แถมยังไม่รู้ว่า การรับมือกับวิกฤติโควิดในจีนจะจบลงเมื่อไร จบลงในรูปแบบไหน จะต้องปิดประเทศอีกนานแค่ไหน เนื่องจากจีนไม่มีภูมิคุ้มกันหมู่ วัคซีนจีนเชื้อตายไม่สามารถจัดการกับไวรัสกลายพันธุ์ ฯลฯ 

ทั้งหมดนี้ จึงเป็นสถานการณ์ที่อึมครึมมาก จนนายกฯ หลี่ทนไม่ไหว ต้องออกมาวิจารณ์แรงๆ กับบรรดาข้าราชการ/เจ้าหน้าที่จีนที่เกี่ยวข้อง

จีน สุดล้ำ!! นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ช่วยทำนายวิถีของขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง 

หนังสือพิมพ์ South China Morning Post รายงานว่า บรรดานักวิจัยของสถาบันการเตือนภัยล่วงหน้า สังกัดกองทัพอากาศจีน ได้พัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่สามารถคาดการณ์วิถีของขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง หรือ ไฮเปอร์ โซนิก ที่กำลังพุ่งเข้าหาเป้าหมายที่มีความเร็วกว่าความเร็วเสียง 5 เท่า 

โดยเทคโนโลยี AI ของจีน สามารถตรวจจับขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง ได้เร็วกว่าระบบป้องกันทางอากาศในปัจจุบัน

นักวิจัยของสถาบันการเตือนภัยล่วงหน้าของกองทัพอากาศจีน อ้างว่า เทคโนโลยี AI ล่าสุดนี้ สามารถตรวจจับภัยคุกคามของขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงได้แค่ 15 วินาที ก่อนขีปนาวุธพุ่งเข้าหาเป้าหมาย     

ทุกวันนี้ ขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง ถือเป็นระบบเทคโนโลยีป้องกันที่ดีที่สุดที่จีน รัสเซีย สหรัฐฯ และชาติมหาอำนาจอื่นครอบครอง แต่ก็มีหลายประเทศพยายามพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง
 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top