Sunday, 28 April 2024
จีน

ชาวเน็ตจีนฉุน!! รุมจวกผู้ผลิตช็อกโกแลต Snickers หลังผลิตโฆษณาเรียกไต้หวันเป็นประเทศ

บริษัท มาร์ส ริกลีย์ (Mars Wrigley) ผู้ผลิตช็อกโกแลตชื่อดังยี่ห้อ Snickers ออกคำแถลงขออภัยต่อรัฐบาลจีนเมื่อวานนี้ (5 ส.ค.) หลังโฆษณาเปิดตัวสินค้าใหม่มีการอ้างถึงไต้หวันว่าเป็น “ประเทศ”

เว็บไซต์ Snickers มีการปล่อยคลิปวิดีโอและภาพโฆษณาผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตแท่งแบบ limited edition ที่ระบุว่าวางจำหน่ายเฉพาะใน “บางประเทศ” เท่านั้น ได้แก่ เกาหลีใต้, มาเลเซีย และไต้หวัน ซึ่งหลังจากที่เรื่องนี้แพร่ออกไปก็ทำให้ Snickers ถูกบรรดาชาวเน็ตจีนรุมถล่มอย่างหนักบนแพลตฟอร์มเวยปั๋ว (weibo)

ท้ายที่สุด มาร์ส ริกลีย์ ต้องออกมาแถลง “ขออภัย” ผ่านบัญชี Snickers ในเวยปั๋ว และยืนยันว่าบริษัทได้ดำเนินการแก้ไขสื่อโฆษณาดังกล่าวให้ถูกต้องแล้ว

“มาร์ส ริกลีย์ เคารพในอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนจีน และเราได้ดำเนินธุรกิจโดยปฏิบัติตามระเบียบและข้อกฎหมายท้องถิ่นของจีนอย่างเข้มงวด” คำแถลงระบุ

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าดราม่านี้จะยังไม่จบลงง่ายๆ เพราะชาวเน็ตจีนบางคนยังคงไม่พอใจที่ผู้ผลิตขนมสัญชาติอเมริกันไม่แถลงยอมรับว่า “ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน”

“พูดออกมา : ไต้หวันคือดินแดนส่วนหนึ่งของจีนอันไม่อาจแบ่งแยกได้” ชาวเน็ตรายหนึ่งคอมเมนต์ลงบนเพจเวยปั๋วของ Snickers และมีคนแห่เข้าไปกดไลค์มากกว่า 8,000 ครั้ง

สถานะของไต้หวันถือเป็นปัญหาละเอียดอ่อนที่คาราคาซังมาตั้งแต่ยุคสงครามกลางเมืองจีนที่สิ้นสุดลงในปี 1949 โดยตอนนั้นฝ่ายพรรคชาตินิยมหรือ 'ก๊กมินตั๋ง' ที่พ่ายแพ้ได้หลบหนีข้ามไปยังเกาะไต้หวัน ในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์เข้าปกครองจีนแผ่นดินใหญ่

ปักกิ่งถือว่าไต้หวันเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีน และไม่ปฏิเสธที่จะใช้กำลังทหารนำเกาะประชาธิปไตยแห่งนี้กลับมาอยู่ภายใต้การปกครอง หากว่ามีความจำเป็น

'แนนซี เพโลซี' ปล่อยไก่!! เผลอหลุดปาก บอก 'จีน' เป็นสังคมที่เสรีที่สุดในโลก

แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้เผลอหลุดปากเรียก 'ไต้หวัน' ว่า 'จีน' แถมยังกล่าวย้ำอีกว่า 'จีน' เป็นชาติที่มีสังคมที่เสรีที่สุดในโลก

วาทะปล่อยไก่ของ แนนซี เพโลซี มาจากการให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ NBC Today Show ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการออกสื่อครั้งแรกหลังจากการเดินทางเยี่ยมเยียนประเทศในย่านอาเซียน และ เอเชียตะวันออก โดยได้แวะลงที่ไต้หวัน จนสร้างความไม่พอใจแก่รัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่เป็นอย่างมากจนถึงวันนี้

นอกจากการสับสนชื่อประเทศแล้ว แนนซี เพโลซี ยังกล่าวสนับสนุน 'นโยบายจีนเดียว' ออกสื่ออย่างชัดเจน โดยบางส่วนของบทสัมภาษณ์ของเธอได้กล่าวว่า...

"We still support the 'one China policy', we go there to acknowledge the status quo is what our policy is, there is nothing disruptive about that. It was only about saying, China is one of the freest societies in the world, don't take it from me, that 's from Freedom House, it's a strong democracy, courageous people"

"เรายังคงสนับสนุน 'นโยบายจีนเดียว' เราไปที่นั่นเพื่อรับรู้ถึงสถานะที่เป็นอยู่นั้นตามนโยบายของเรา เราไม่ได้ต้องการไปก่อกวน แค่ต้องการบอกว่าจีนเป็นหนึ่งในสังคมที่เสรีที่สุดในโลก ซึ่งเรื่องนี้ฉันไม่ได้พูดเอง แต่มาจากองค์กร Freedom House (องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐในการทำวิจัย และสนับสนุนด้านประชาธิปไตย เสรีภาพทางการเมือง และสิทธิมนุษยชน) ที่นั่นมีประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง และประชาชนที่กล้าหาญ”

จีนขึ้นบัญชีดำ 7 เจ้าหน้าที่รัฐไต้หวัน โทษฐาน ‘สนับสนุนแบ่งแยกดินแดน’

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 16 ส.ค.ว่า สำนักงานกิจการไต้หวันในกรุงปักกิ่งขึ้นบัญชีดำเจ้าหน้าที่รัฐของไต้หวัน 7 คน ‘โทษฐานสนับสนุนการแบ่งแยกดินแดน’ โดยผู้ที่อยู่ในรายชื่อนั้น ได้รวมถึงนางเซียว เหม่ย-ฉิน ซึ่งเป็นผู้แทนสาธารณรัฐจีนประจำกรุงวอชิงตัน และนายเวลลิงตัน กู่ เลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงของไต้หวันด้วย

อนึ่ง รัฐบาลปักกิ่งประกาศมาตรการดังกล่าวเป็นครั้งแรก เมื่อปลายปีที่แล้ว โดยนิยามว่าเป็น ‘บทลงโทษทางอาญา’ ต่อบุคคลซึ่งสนับสนุน ‘ขบวนการแบ่งแยกดินแดนและเรียกร้องเอกราชของไต้หวัน’ ด้วยการห้ามเดินทางเข้าจีนและเขตบริหารพิเศษทั้งสองแห่ง คือ ฮ่องกง และมาเก๊า การห้ามคบค้าสมาคมกับบุคคลและองค์กรทุกแห่ง และทุกประเภทของแผ่นดินใหญ่ และผู้ที่สนับสนุนกลุ่มคนซึ่งจีนประกาศให้เป็น ‘บุคคลต้องห้าม’ จากกรณีไต้หวัน จะไม่สามารถดำเนินธุรกิจในจีน, ฮ่องกง และมาเก๊า ได้เช่นกัน

'สาวจีน' ฟ้องร้อง 'เพื่อนร่วมงานชาย' หลังกอดเธอแน่นจนซี่โครงหัก 3 จุด

ผู้หญิงคนหนึ่งในจีน ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากเพื่อนร่วมงานชาย หลังเธอกล่าวหาว่าเขากอดเธอแน่นเกินไป จนทำให้กระดูกซี่โครงของเธอหัก 3 จุด และสุดท้ายศาลสั่งจำเลยจ่ายเงินชดเชยเป็นจำนวนที่มากพอดู

รายงานข่าวระบุว่าผู้หญิงรายนี้ยื่นฟ้องร้องเพื่อนร่วมงานต่อศาลเมืองหยุนซี และเรียกเงินชดเชย สำหรับรายได้ที่เธอต้องสูญเสียไปจากการถูกกอดจนกระดูกซี่โครงหัก

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในระหว่างที่ผู้หญิงรายดังกล่าว ซึ่งมาจากเมืองเยว่หยาง มณฑลหูหนาน กำลังพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งในที่ทำงาน แต่ระหว่างนั้นเพื่อนร่วมงานอีกคน ซึ่งเป็นผู้ชาย ได้เดินเข้ามาหาหรือกอดรัดเธอแรงมาก

ว่ากันว่าแรงกอดทำให้ผู้หญิงถึงกับกรีดร้องด้วยความเจ็บปวด และเธอเล่าในเวลาต่อมา ว่าเธอรู้สึกแน่นหน้าอกเป็นเวลานานหลายชั่วโมง แม้กระทั่งหลังเลิกงานแล้วก็ตาม

แทนที่จะรุดไปพบแพทย์ พอกลับถึงบ้านเธอตัดสินใจใช้น้ำร้อนประคบและนอนพักผ่อน

อย่างไรก็ตามในอีก 5 วันต่อมา อาการเจ็บบริเวณหน้าอกรุนแรงขึ้น ดังนั้นเธอจึงตัดสินใจเดินทางไปยังโรงพยาบาล

ผลการเอ็กซ์เรย์ พบว่าเธอกระดูกหัก 3 จุด ในนั้น 2 จุดเกิดที่ซี่โครงฝั่งขวา ส่วนอีกจุดอยู่ตรงซี่โครงฝั่งซ้าย

เธอจำเป็นต้องลาหยุดงาน ซึ่งมันทำให้เธอขาดรายได้ นอกจากนี้แล้วเธอยังต้องใช้เงินเก็บที่มีอยู่หมดไปกับค่ายาและค่ารักษาพยาบาล

'ดร.สมเกียรติ' เผย มันสมองจีนหลั่งไหลกลับสู่มาตุภูมิ ความ 'เสียดาย - เสียหาย' ที่สหรัฐฯ ต้องแอบหวั่น

ดร.สมเกียรติ โอสถสภา อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า...

เวลานี้เป็นช่วงของกระแสนักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้าหัวกระทิ หลั่งไหลกลับสู่มาตุภูมิบ้านเกิด

1.) มหาเศรษฐี หลี่ ไค ฟู่ (李开复) เป็นคนนำหน้า ทิ้งกรีนการ์ดกลับสู่ประเทศจีน ทำให้สหรัฐฯ เสียหายถึง 1 แสน 3 หมื่น ล้านเหรียญ พร้อมทั้งประกาศว่าจะออกจากตลาดสหรัฐฯ ตลอดไป โดยบริษัทใหญ่ที่ทำการวิจัยถอนตัวออกจากหุบเขาซิลิคอน (ซิลิคอนแวลลีย์ 硅谷) ของสหรัฐฯ นำเงินทุนของบริษัท 95% พร้อมทั้งเทคโนโลยีทั้งหมด กลับสู่ประเทศจีน

การกระทำเช่นนี้ยังเป็นการชักจูงแบบโดมิโนให้คนเชื้อชาติจีนชั้นนำ ทยอยกลับประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมทั้งนำเงินทุนกลับประเทศมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

2.) หยิ่น จื้อ หย๋าว (尹志尧) เทพแห่งซิลิคอนแวลลีย์ แม้ว่าทางสหรัฐฯ จะเสนอเงินทองเงื่อนไขที่ดีเลิศเพียงใดก็มิอาจยับยั้งให้เขาที่มีความตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยวที่จะกลับสู่ประเทศจีนได้

เขาถูกขนานนามว่าเป็นหนึ่งในคนเชื้อชาติจีนที่มีความสามารถอย่างยอดเยี่ยมคนหนึ่ง เป็นคนจีนที่ทางสหรัฐฯ ไม่อยากให้จากไปอย่างยิ่ง

เขาไม่เพียงแค่นำพานักวิทยาศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมทางด้านไมโครชิป 30 กว่าคนกลับไปด้วย เมื่อกลับถึงประเทศจีนแล้ว เขายังเป็นผู้นำกลุ่มเอาชนะการผูกขาดทางเทคโนโลยี โดยสามารถสร้าง 5 nm Etching machine ได้สำเร็จ เปิดตำนานไมโครชิปขึ้นมาใหม่

‘กอบศักดิ์’ ชี้ วิกฤติอสังหาจีนเริ่มลาม แนะติดตามใกล้ชิด เตรียมพร้อมรับมือ

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพและประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า...

วิกฤตอสังหาจีน 

หนึ่งในประเด็นที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดในช่วงต่อไป ก็คือ วิกฤตอสังหาจีน
หลายคนถาม - ทำไมจีนต้องลดดอกเบี้ย ขณะที่ประเทศอื่น ๆ เกือบทุกประเทศทั่วโลกกำลังเร่งขึ้นดอกเบี้ย

คำตอบ - จีนกำลังเผชิญปัญหาที่คนอื่นไม่มี

ปัญหาเริ่มตั้งแต่กรณี Evergrande เมื่อปีที่แล้ว ลุกลามบานปลายขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่ง อสังหารายใหญ่สุดของจีน คือ Country Garden ก็ยังเอาตัวไม่รอด ลำบากสุดๆ

ล่าสุดในภาพ จะเห็นว่า หุ้นกู้สกุลดอลลาร์ครบกำหนดปี 2024 ของ Country Garden ซื้อขายกันอยู่ที่ประมาณ 50% ของราคาเต็ม เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เคยลงไปต่ำสุดที่ประมาณ 31% !!!

จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมบริษัทอสังหาจีนทุกขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ ต่างเข้าสู่ช่วงคับขัน ขาดสภาพคล่อง กันถ้วนหน้า ยิ่งนานวัน ยิ่งยากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะหากหุ้นกู้ที่มีอยู่เดิม ซื้อขายกันราคานี้ การออกหุ้นกู้ใหม่ คงเป็นไปได้ยากยิ่ง ดอกเบี้ยที่อสังหาจีนจะต้องจ่าย เพื่อให้ได้เงินใหม่มาหมุน จึงแพงขึ้นเป็นพิเศษ นำไปสู่เหตุการณ์ “โครงการสร้างไม่เสร็จ” ล่าสุด นำไปสู่การประท้วงของลูกบ้านที่ไม่ยอมจ่ายคืนเงินสินเชื่อบ้าน ในโครงการเหล่านั้น 

Bloomberg รายงานว่า จากจุดเล็กๆ จากจดหมายประท้วงสั้นๆ 590 คำ ของลูกบ้านในโครงการ Dynasty Mansion Project ของ Evergrande ที่มณฑลเจียงซี แจ้งเพื่อทราบว่า “ถ้าไม่เริ่มสร้างต่อ ลูกบ้านก็จะไม่จ่ายเงินเช่นกัน” ในช่วงเวลาสั้น ๆ ไม่กี่สัปดาห์ ได้แพร่ระบาดไปยังเมืองต่าง ๆ ประมาณ 100 เมือง 300 กว่าโครงการ กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวิกฤตอสังหาจีน 

เพราะปัญหาเรื่องนี้กำลังกระจายออกจาก “ภาคอสังหา” ไปสู่ “ภาคการเงิน” ที่เป็นคนปล่อยกู้ ทำให้ทางการไม่สามารถปล่อยให้เรื่องนี้เป็นเรื่องของเอกชน เป็นเรื่องของภาคอสังหา ที่จะต้องจัดการปัญหาโดยลำพัง อีกต่อไป เพราะถ้าปล่อยไป เราอาจจะเห็นภาพของคนไปยืนรอถอนเงินอีกหลายธนาคารท้องถิ่นในจีน ทำให้วิกฤตอาจจะลุกลามขึ้นไปอีกขั้น

แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป? วิกฤตฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นปกติในประเทศต่าง ๆ 
ญี่ปุ่นประสบปัญหาในช่วงก่อนปี 1991 
ไทยเคยประสบปัญหานี้เมื่อก่อนปี 1997 
สหรัฐประสบปัญหาในช่วงก่อนปี 2008 
ทุกครั้งที่เกิด จะส่งผลกระทบกว้างไกลในประเทศดังกล่าว

ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์มีสัดส่วนที่ใหญ่ มี Supply chain ที่ยาว ส่งต่อไปถึงภาคส่วนอื่นๆ ภาคก่อสร้าง วัสดุ เครื่องใช้ เครื่องตกแต่งบ้าน และอื่นๆ หลายสำนักประเมินไว้ว่า ภาคอสังหาของจีนมีสัดส่วนใหญ่ถึง 25-30% ของ GDP จีน หมายความว่า เมื่ออสังหาจีนเกิดวิกฤต ก็จะมีนัยตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวม

จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมจีนที่เคยขยายตัวดีมาตลอด ตอนนี้ กำลังมีปัญหาในการขยายตัว Goldman Sachs ปรับลดอัตราขยายตัวปี 2022 ของจีนจาก 3.3% เหลือ 3.0% ส่วน Nomura จาก 3.3% เหลือ 2.8% การผลิตซีเมนต์ เหล็กกำลังลดลง ตัวเลขการใช้จ่ายด้านต่างๆ ต่ำกว่าที่เคยคาดกันไว้

ล่าสุด เด็กที่จบใหม่ 20% หางานทำไม่ได้ !!! ทั้งหมด เป็นสัญญาณเตือนภัยว่า ปัญหากำลังรออยู่ข้างหน้า และสถานการณ์เรื่องนี้ กำลังคับขันมากขึ้นเรื่อยๆ 

แล้วทางออกคืออะไร?
การจะออกจากวิกฤตภาคอสังหา ต้องเริ่มจากความเข้าใจที่ว่า “ความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว” 
คำถามหลัก คือ จะจัดการกับความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วอย่างไร 
จะให้ “ใคร” เป็นคนรับภาระบ้าง
ความเสียหายเริ่มมาจาก “โครงการที่ไม่เสร็จ” “ราคาที่เพิ่มสูงไปแล้วตกลง” “ลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายชำระหนี้” 
กลายเป็นหนี้เสีย NPL ในระบบการเงินและเศรษฐกิจ 

นอกจากนี้ หากจัดการไม่ดี อาจจะมีหนี้เสียเพิ่มเติมจากภาคส่วนอื่นๆ ของเศรษฐกิจมาให้ทางการแก้ไขเพิ่มเติม จากเศรษฐกิจที่ขยายตัวน้อยกว่าที่ทุกคนคาดมาก ทำให้แผนธุรกิจของหลายๆ บริษัท ไม่เป็นไปตามเป้า อย่างที่เกิดในไทยเมื่อปี 1997 

ทั้งนี้ เวลาเกิดวิกฤตอสังหา ปกติแล้วมีทางออกอยู่ 2 ทาง 

ทางแรก - แบบไทยหรือสหรัฐ ยอมเกิดวิกฤตใหญ่เพื่อล้างปัญหาภาคอสังหา แบงก์ เจ้าหนี้หุ้นกู้ ผู้ฝากเงิน ต่างรับภาระไปบางส่วน โดยสุดท้ายแล้ว ทางการต้องยอมรับหนี้เสียต่างๆ เข้ารัฐ อย่างที่ไทยทำในช่วงปี 1997 เพื่อที่จะให้สามารถเริ่มต้นใหม่ได้อีกครั้งหนึ่ง
ไทยเสียเวลาไป 4-5 ปี ในการสะสางปัญหา สหรัฐประมาณ 5 ปีกว่าที่ทุกอย่างจะกลับดีขึ้น

ทางที่สอง - แบบญี่ปุ่น ที่ประคองเลี้ยงปัญหาไว้ไม่ให้ลุกลามกลายเป็นวิกฤต แต่สุดท้ายหนี้เสียที่ฝังตัวอยู่ในระบบไม่ได้รับการคลี่คลาย สุดท้ายญี่ปุ่นก็ต้องเสียหายเช่นกัน Pay the Price โดยเศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่สามารถขยายตัวได้เป็นเวลานับสิบกว่าปี กลายเป็น “ทศวรรษที่หายไป” หรือ “Lost decades”

วิกฤตภัยแล้งจีน ทำระดับน้ำลด เผยให้เห็นฐานพระใหญ่เล่อซาน

องค์พระใหญ่เล่อซาน หนึ่งในมรดกโลกขององค์การยูเนสโก ในมณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน นับเป็นพระพุทธรูปหินแกะสลักที่มีชื่อเสียงอีกแห่งของโลก ซึ่งในช่วงนี้ มีปรากฏการณ์ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำแยงซีลดลงจนปรากฏให้เห็นฐานด้านล่างทั้งหมดใต้องค์พระ

สำนักข่าวซินหัว สื่อทางการของจีน เผยภาพถ่ายให้เห็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำแยงซี จำนวน 3 สาย มีระดับน้ำลดลงเพราะภัยแล้งในช่วงไม่นานนี้ ส่งผลให้เห็นส่วนฐานของพระใหญ่เล่อซานได้อย่างชัดเจน

ทั้งนี้พระพุทธรูปดังกล่าวแกะสลักขึ้นริมผาภูเขาเล่อซาน และตั้งอยู่ ณ จุดที่แม่น้ำสาขาทั้งสามสายไหลมาบรรจบกัน ได้แก่ แม่น้ำหมิ่นเจียง, แม่น้ำชิงอี และแม่น้ำต้าตู้ ที่มาของพระใหญ่ในสมัยราชวงศ์ถัง เกิดจากแนวคิดของพระสงฆ์รูปหนึ่งนามว่า “ไห่ทง” ที่ทราบว่าบริเวณจุดตัดแม่น้ำสามสายมีอุบัติเหตุบ่อยครั้ง การสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ น่าจะช่วยปกป้องให้การโดยสารทางน้ำปลอดภัย รวมทั้งป้องกันปัญหาจากอุทกภัย

ส.ว.หญิงมะกัน เรียก 'ประเทศไต้หวัน' ขณะเข้าพบ 'ไช่ อิงเหวิน' ด้านสถานทูตจีนในสหรัฐฯ ลั่น!! จะตอบโต้อย่างสาสม

กลุ่มสื่อต่างประเทศ - วุฒิสมาชิกหญิงของสหรัฐฯ ประกาศให้การสนับสนุนไต้หวันปกป้องอิสรภาพ และดินแดน พร้อมกับเรียกไต้หวันว่า ประเทศ

มาร์ชา แบล็กเบิร์น วุฒิสมาชิกรัฐเทนเนสซีจากพรรครีพับลิกัน ของสหรัฐฯ เข้าพบกับประธานาธิบดี ไช่ อิงเหวิน ของไต้หวันที่กรุงไทเป เมื่อวันศุกร์ (26 ส.ค.) นับเป็นการมาเยือนไต้หวันครั้งที่ 4 ของคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ ในเดือนนี้ (ส.ค.) โดยมีนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคเดโมแครต ประเดิมเป็นรายแรกเมื่อต้นเดือน ซึ่งทำให้เสถียรภาพในช่องแคบไต้หวันสั่นคลอนหนัก เมื่อจีนตอบโต้ด้วยการซ้อมรบใหญ่รอบเกาะไต้หวัน

การมาเยือนของ ส.ว.หญิงมะกันคนล่าสุดเกิดขึ้นท่ามกลางเสียงคัดค้านอย่างหนักแน่นจากปักกิ่ง เช่นเดียวกับคราวนางเพโลซี อย่างไรก็ตาม ในวิดีโอ ซึ่งทำเนียบประธานาธิบดีไต้หวันเผยแพร่ทางเฟซบุ๊ก แบล็กเบิร์นได้กล่าวกับประธานาธิบดีไช่ ว่า เธอรอคอยการมาเยือนที่ยอดเยี่ยม และยังจดจำการมาเยือนไต้หวัน อันน่าประทับใจเมื่อปี 2551 ได้ดี นอกจากนั้น เธอถึงขั้นเรียกไต้หวันว่า เป็นประเทศหนึ่งเลยทีเดียว พร้อมกับระบุด้วยว่า การสนับสนุนให้ไต้หวันรักษาอิสรภาพของตนเองถือเป็นสิ่งสำคัญ

'ไต้หวัน' กร้าว!! จะโจมตีตอบโต้ 'ทางทะเล-อากาศ' หากกองกำลังจีนบุกเข้ามาในดินแดนแห่ง ปชต.

เมื่อวันพุธ (31 ส.ค. 65) ที่ผ่านมา ไต้หวัน ระบุจะใช้สิทธิ์ในการป้องกันตนเองและโจมตีตอบโต้ หากว่ากองกำลังจีนบุกเข้ามาในดินแดน โดยคำประกาศกร้าวดังกล่าวเกิดขึ้น ในขณะที่ปักกิ่งยกระดับความเคลื่อนไหวทางทหารเข้าใกล้เกาะปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตยแห่งนี้

ปักกิ่ง ซึ่งอ้างว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน ทำการซ้อมรบหลายรอบบริเวณใกล้เคียงหมู่เกาะแห่งนี้ มาตั้งแต่ช่วงต้นเดือนสิงหาคม ตอบโต้การเดินทางเยือนกรุงไทเปของนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ

เจ้าหน้าที่กลาโหมไต้หวันรายหนึ่งระบุว่า "จีนยังคงเดินหน้าลาดตระเวนทางทหารใกล้ไต้หวันอย่างเข้มข้น และเจตนาของปักกิ่ง คือ ทำให้ช่องแคบไต้หวันที่กั้นกลางระหว่าง 2 ฝ่าย กลายเป็นบ่อเกิดหลักของความไร้เสถียรภาพในภูมิภาค"

"สำหรับเครื่องบินและเรือรบที่เข้าสู่อาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของเรา ทั้งทางทะเลและทางอากาศ ทางกองทัพแห่งชาติจะใช้สิทธิป้องกันตนเองและโจมตีตอบโต้โดยปราศจากข้อยกเว้นใด ๆ" Lin Wen-Huang รองประธานเสนาธิการทหารของไต้หวัน ฝ่ายปฏิบัติการและวางแผน กล่าวและว่า

"กองทัพไต้หวันจะใช้สิทธิ์แบบเดียวกันนี้ในการโจมตีตอบโต้โดรนของจีน หากว่าไม่ยอมทำตามคำเตือนให้ออกจากดินแดนของไต้หวัน หลังจากมีท่าทีเป็นภัยคุกคาม"

ก่อนหน้านี้ไต้หวันยิงเตือนโดรนของจีนเป็นครั้งแรกเมื่อวันอังคาร (30 ส.ค.) ไม่นานหลังจากประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน ออกคำสั่งให้กองทัพ "ใช้มาตรการหนักหน่วง" กับสิ่งที่เธอให้คำนิยามว่า "เป็นการยั่วยุของจีน"

ต่อมาในวันพุธ (31 ส.ค.) กองทัพไต้หวันเผยว่ากำลังพลของพวกเขายิงกระสุนและพลุแฟร์เตือนอีกรอบ คราวนี้เป็นการยิงเตือนโดรนที่บินเฉียดใกล้เกาะต่าง ๆ ในจินเหมิน ซึ่งตั้งอยู่นอกชายฝั่งไม่ห่างจากเมืองเซี่ยเหมินและเมืองเฉวียนโจวของจีน จากนั้นโดรนเหล่านั้นก็บินกลับไปยังเซี่ยหมิน

ด้าน หม่า เฉิงคุน ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยป้องกันสถาบันทหารไต้หวัน กล่าวว่า จีนอาจเคลื่อนไหวมากขึ้น เพื่อปฏิเสธการเดินทางผ่านช่องแคบไต้หวันของเรือรบต่างชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต

สหรัฐฯ กันท่าบริษัทที่รัฐหนุนงบห้ามลงทุนในจีน 10 ปี ฟากจีนชูสถาบันรัฐ เร่งพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเข้าต่อกร

การแข่งขันในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ระหว่างสหรัฐฯ และจีนนั้นเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยล่าสุดผู้นำจีนสั่งรวมทุกองคาพยพในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงให้ได้ ขณะที่สหรัฐฯ ออกกฎใหม่ห้ามบริษัทที่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลสหรัฐฯ ลงทุนในจีนเป็นเวลา 10 ปี 

รัฐบาลสหรัฐฯ ออกกฎระเบียบใหม่กำหนดว่า บริษัทด้านเทคโนโลยีที่รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางสหรัฐฯ จะไม่สามารถสร้างโรงงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีอันก้าวหน้าในจีนได้เป็นเวลา 10 ปี โดยมีเป้าหมายในการสร้างอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศ และมีขึ้นหลังภาคธุรกิจได้เรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐฯ สนับสนุนภาคเอกชนมากกว่านี้ เพื่อลดการพึ่งพาจีน

‘จีนา ไรมอนโด’ รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ อธิบายเนื้อหาของกฎหมาย US Chips and Science Act ว่า รัฐบาลจะบังคับใช้มาตรการเหล่านี้ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่ได้รับทุนด้านชิปจะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เงินไปลงทุนในจีน พวกเขาจะไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีล้ำสมัยในจีนได้เป็นเวลา 10 ปี แต่บริษัทที่รับเงินช่วยเหลือนั้นจะสามารถขยายโรงงานในจีนได้ก็ต่อเมื่อ เพื่อรองรับตลาดจีนเท่านั้น

เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ลงนามกฎหมายทุ่มงบวิจัยมูลค่า 2.8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 10 ล้านล้านบาท ในอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์และการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูง ท่ามกลางความกังวลว่าสหรัฐฯ กำลังจะสูญเสียเทคโนโลยีล้ำสมัยให้แก่จีน ซึ่งงบประมาณดังกล่าวครอบคลุมการลดภาษีให้บริษัทต่างๆ ที่สร้างโรงงานผลิตชิปคอมพิวเตอร์ในสหรัฐฯด้วย

ปัจจุบันสหรัฐฯ ผลิตชิปราว 10% ของอุปทานเซมิคอนดักเตอร์โลก ลดลงจากที่เคยผลิตได้สัดส่วนถึงเกือบ 40% ในปี 1990 

ในฝั่งของจีน มีความเคลื่อนไหวเช่นกัน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน ได้เรียกร้องให้จีนยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญต่อความมั่นคงของชาติ ในระหว่างการประชุมของพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีบรรดาเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านนโยบายเข้าร่วม


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top