Thursday, 25 April 2024
กระทรวงอุตสาหกรรม

รมว.อุตสาหกรรม เผย 8 เดือน ดัชนีเอ็มพีไอพุ่ง 7.13% หลังได้ปัจจัยบวกจากการคลายล็อก - ส่งออกขยายตัว - ภาครัฐเร่งฉีดวัคซีนในโรงงาน ช่วยดันเศรษฐกิจไทย

29 ก.ย. 2564 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงสถานการณ์ภาคผลิตอุตสาหกรรมว่า ได้รับรายงานจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) 8 เดือนแรก ปี 2564 (ม.ค.-ส.ค.) ขยายตัวเฉลี่ย 7.13% จากทิศทางของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มดีขึ้นส่งผลให้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมได้รับอานิสงส์ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6

ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศเริ่มคลี่คลาย การเร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนและแรงงานในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น รวมถึงมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากภาครัฐ มาตรการควบคุมพื้นที่เฉพาะหรือบับเบิลแอนด์ซีล และโครงการนำร่องการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงานอุตสาหกรรมหรือแฟคทอรี่แซนด์บอกซ์ ส่งผลให้เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสศอ. กล่าวว่า เอ็มพีไอเดือนสิงหาคม 2564 อยู่ที่ระดับ 87.71 หดตัว 4.15% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ของแรงงานในสถานประกอบการ ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานและการผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาพรวม สะท้อนได้จากดัชนีแรงงานอุตสาหกรรม เดือนส.ค. 2564 หดตัวเช่นกันอยู่ที่ 2.52% นอกจากนี้เอ็มพีไอที่ลดลงยังมีสาเหตุจากการขาดแคลนชิปทั่วโลกในช่วงการแพร่ระบาดจนกระทบต่อการผลิตและการจำหน่าย ในอุตสาหกรรมสำคัญ อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์

กระทรวงอุตสาหกรรม จับมือ กระทรวงเศรษฐกิจและการจ้างงานแห่งสาธารณรัฐฟินแลนด์ ลงนาม MOU ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ตั้งเป้าส่งเสริมและเสริมสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระดับทวิภาคีด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน 

นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และนายยูริ ยาร์วียาโฮ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐฟินแลนด์ประจำประเทศไทย ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจการดำเนินการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Memorandum of Understanding on Cooperation in Circular Economy) ผ่านระบบออนไลน์ โดยรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมระบุว่า การจัดทำบันทึกความเข้าใจการดำเนินการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนครั้งนี้ เกิดขึ้นจากเมื่อเดือนกันยายน 2562 รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศฟินแลนด์ ได้ร่วมหารือกับรัฐบาลไทยเรื่องแนวปฏิบัติสำหรับความร่วมมือเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) 

และแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งไทยและฟินแลนด์ต่างเล็งเห็นความสำคัญของการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมและยั่งยืน โดยเป็นกลไกสำคัญสำหรับแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกัน และจัดทำบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมและเสริมสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในระดับทวิภาคีด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น การแลกเปลี่ยนความรู้ นโยบาย และกลยุทธ์ในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน การดำเนินการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนในสาขาที่สำคัญ เช่น อุตสาหกรรม เคมี พลาสติก และผลิตภัณฑ์ชีวภาพ และการจัดการกิจการอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน

‘สุริยะ’ กำชับ สมอ. ยกระดับมาตรการเข้มข้น สกัดสินค้าไม่ได้มาตรฐานก่อนถึงมือผู้บริโภค

‘สุริยะ’ กำชับ สมอ. ยกระดับมาตรการเข้มข้นป้องกันสินค้าไม่ได้มาตรฐานทะลักเข้ามาในประเทศ เตรียมบูรณาการกรมศุลกากรสุ่มตรวจหน้าด่านทั่วประเทศ พร้อมบูรณาการความร่วมมือ สคบ. อย. ตรวจควบคุมสินค้าอุปโภค บริโภค ป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับผู้บริโภค 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ สมอ. เพิ่มมาตรการเชิงรุกในการตรวจควบคุมการจำหน่ายสินค้าในท้องตลาด และทางออนไลน์ให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่มีการโฆษณาผ่านทางทีวีดิจิทัล และสื่อออนไลน์ ในช่วงที่ประชาชนต้องใช้ชีวิตอยู่ที่บ้าน เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่มีภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น อย. และ สคบ. ร่วมกันทำงานเชิงรุกเพื่อตรวจสอบคุณภาพสินค้าในท้องตลาดอย่างเข้มงวด 

นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เปิดเผยภายหลังเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการ สมอ. ว่า สมอ. จะเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจควบคุมไม่ให้สินค้าด้อยคุณภาพทะลักเข้ามาในประเทศเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค ด้วย 3 มาตรการหลัก ได้แก่ 

1.) บูรณาการความร่วมมือกับกรมศุลกากรในการสุ่มตรวจสินค้าที่ด่านศุลกากรทั่วประเทศ 
2.) เพิ่มความถี่ในการตรวจติดตามเมื่อผู้รับใบอนุญาตได้นำสินค้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศ โดยบูรณาการความร่วมมือกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด 
3.) สมอ. จะตรวจติดตาม ณ โรงงานที่ตั้งในต่างประเทศทันทีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย เพราะที่ผ่านมา สมอ. ไม่สามารถส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปตรวจโรงงานในต่างประเทศได้ 

บอร์ด สมอ. เคาะแผนทำมาตรฐานปี 65 เห็นชอบมาตรฐานระบบเตือนภัย ป้องกันการโจรกรรม

บอร์ด สมอ. เคาะแผนจัดทำมาตรฐาน ปี’65 โฟกัส S-curve / New S-curve พร้อมเห็นชอบมาตรฐานระบบเตือนภัย เตรียมล้อมคอกป้องกันการโจรกรรม

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของภาคอุตสาหกรรม เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น โดยมีแผนแม่บทการกำหนดมาตรฐานระยะ 5 ปี (พ.ศ.2565-2569) เป็นกลไกสำคัญเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งตนได้สั่งการให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จัดทำมาตรฐานให้สอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของทุกภาคส่วน ทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ และประชาชน ซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาล เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรม และคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัยจากการใช้สินค้า

นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด สมอ. เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมาว่า บอร์ดได้มีมติเห็นชอบรายชื่อเพื่อจัดทำมาตรฐานในปีงบประมาณ 2565 จำนวน 596 เรื่อง โดยมีแผนตามที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 240 เรื่อง ครอบคลุมมาตรฐานกลุ่ม S-curve / New S-curve กลุ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ มาตรฐานตามนโยบาย และมาตรฐานเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ยังเห็นชอบมาตรฐานระบบเตือนภัย และมาตรฐานสินค้าอื่น ๆ รวม 58 มาตรฐาน รวมทั้งให้ สมอ. ควบคุมคาร์บอนไดออกไซด์ทางการแพทย์ เป็นสินค้าควบคุมอีกด้วย

‘สุริยะ’ ลุ้นเปิดประเทศ หนุนดัชนี MPI ขยายตัว แต่ต้องจับตาราคาน้ำมัน - ค่าเงินบาทผันผวน

กระทรวงอุตสาหกรรม เผย ดัชนีผลผลิตอุตฯ ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.49 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ภาพรวม 9 เดือน ขยายตัวร้อยละ 6.10 ส่งออกโตต่อเนื่อง ร้อยละ 17.90

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ภาคการผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือ MPI เดือนกันยายน 2564 กลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย เห็นได้จากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลง ประกอบกับการเร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนและแรงงานในภาคอุตสาหกรรม โดยสะท้อนได้จากดัชนีแรงงานอุตสาหกรรม และดัชนีการส่งสินค้าในเดือนกันยายน 2564 เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสำคัญที่ดัชนีแรงงานขยายตัว เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศ และอุตสาหกรรมแปรรูปผักและผลไม้ เป็นต้น ส่งผลให้ภาครัฐสามารถผ่อนคลายกิจกรรมเศรษฐกิจได้มากขึ้น ประกอบกับภาครัฐยังได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน 

ขณะเดียวกันนโยบายการเปิดประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 นี้ เชื่อมั่นว่าจะเป็นปัจจัยหนุนสำคัญที่จะทำให้ดัชนี MPI ขยายตัวต่อไปได้ นอกจากนี้กระทรวงอุตสาหกรรมโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือ สศอ. จะมีการปรับประมาณการณ์ตัวเลขดัชนี MPI ปี 2564 ใหม่อีกครั้งในเดือนพฤศจิกายนนี้ แต่ทั้งนี้ ยังคงต้องจับตาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงค่าเงินบาทที่มีความผันผวนด้วยเช่นกัน

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 93.72 หดตัวลงเล็กน้อยร้อยละ 1.28 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าขยายตัวร้อยละ 7.49 โดย 9 เดือนแรกขยายตัวร้อยละ 6.10 โดยภาพรวมของอุตสาหกรรมหลักของประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับไตรมาส 3/2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 90.43 จากสถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของแรงงานในสถานประกอบการมีทิศทางที่ดีขึ้น สะท้อนจากดัชนีแรงงานอุตสาหกรรมเดือนกันยายนที่ปรับตัวดีขึ้น โดยดัชนีแรงงานในอุตสาหกรรมสำคัญหลายกลุ่มยังคงขยายตัว อาทิ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวร้อยละ 10.85 แปรรูปผักผลไม้ขยายตัวร้อยละ 5.86 เครื่องปรับอากาศขยายตัวร้อยละ 9.76 และยางล้อขยายตัวร้อยละ 3.42  

แต่อย่างไรก็ตาม การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยังส่งผลต่อการขาดแคลนชิปและชิ้นส่วนรถยนต์บางรายการ แต่ในเดือนกันยายนสถานการณ์เริ่มคลี่คลายในทิศทางที่ดีขึ้น โดยโรงงานผลิตรถยนต์ได้รับส่งมอบชิปและชิ้นส่วนรถยนต์ได้มากขึ้น ด้านสถาบันการเงินเริ่มผ่อนคลายความเข้มงวดในการอนุมัติ ทำให้คาดว่ายอดขายรถยนต์ในประเทศน่าจะเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ตั้งแต่ต้นปีที่ 750,000 คัน ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตขยายตัวต่อเนื่องตามกัน ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดของประเทศ ไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมอย่างมีนัยสำคัญ แต่ทั้งนี้อาจส่งผลกระทบบ้างในด้านโลจิสติกส์ รวมถึงอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพิงวัตถุดิบทางการเกษตรอาจจะได้รับผลกระทบบ้างในระยะถัดไป

อย่างไรก็ตาม สำหรับการส่งออกของไทยยังมีแนวโน้มของการขยายตัวที่ดี โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2564 ขยายตัวร้อยละ 15.75 มูลค่า 18,424.90 ล้านเหรียญ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถังและอากาศยาน) ขยายตัวร้อยละ 17.90 มูลค่า 18,093.70 ล้านเหรียญ โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ในส่วนการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 16.06 ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ รวมถึงการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 43.56 ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น 

ธพว. ร่วมพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานกระทรวงอุตสาหกรรม

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกรรมการ นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เข้าร่วมพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน กระทรวงอุตสาหกรรม ประจำปี 2564 โดยมี นายธีระยุทธ วานิชชัง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธี พร้อมมอบทุนการศึกษาแก่ โรงเรียนวัดสร้อยทอง และ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดสร้อยทอง นอกจากนี้ ภายในพิธียังมีคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และพนักงาน กระทรวงอุตสาหกรรม หน่วยงานในสังกัด ตลอดจนประชาชนผู้มีจิตศรัทธาเข้าร่วมพิธีดังกล่าวฯ ณ วัดสร้อยทอง กรุงเทพมหานคร 

ก.อุตฯ รับเลื่อนคำชี้ขาดคดีเหมืองทองเป็น 31 ม.ค. 65 เหตุต้องเจรจาระงับข้อพิพาท ยันไทยยังไม่แพ้

กระทรวงอุตสาหกรรม ยืนยันอนุญาโตตุลาการในคดีข้อพิพาทเหมืองทอง เลื่อนการออกคำชี้ขาดจากกำหนดการเดิม 31 ตุลาคม 2564 ออกไปเป็นวันที่ 31 มกราคม 2565 เนื่องจากการเจรจาระงับข้อพิพาทของทั้งสองฝ่ายมีแนวโน้มและทิศทางที่ดี 

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและประธานคณะกรรมการดำเนินการระงับข้อพิพาทระหว่างราชอาณาจักรไทยกับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด เปิดเผยว่า กรณีข้อพิพาทระหว่างประเทศไทยกับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด ประเทศออสเตรเลีย ผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ผู้ถือประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำ จังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการ และโดยที่ปรากฏเป็นข่าวว่า บริษัท คิงส์เกตฯ ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความคืบหน้าในการพิจารณาข้อพิพาท และการขอเลื่อนการออกคำชี้ขาดจากกำหนดการเดิม 31 ตุลาคม 2564 ออกไปเป็นวันที่ 31 มกราคม 2565 นั้น

‘สุริยะ’ สั่ง กรอ. ช่วยเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุน ตั้งเป้าปี 65 ดันใช้เครื่องจักรกู้แบงก์ 2 แสนลบ.

“สุริยะ” สั่งกรมโรงงาน เดินหน้าจดทะเบียนเครื่องจักร ช่วยเหลือผู้ประกอบการ ปลื้มปี 64 มีมูลค่าการจดจำนองเครื่องจักรกว่า 1.6 แสนล้านบาท คาดปี 65 โตกว่า 2 แสนล้านบาท

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เร่งดำเนินงานด้านการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร และนำเครื่องจักรมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกับสถาบันการเงิน เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ รวมถึงสนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากตามนโยบายของรัฐบาล โดยปีงบประมาณ 2564 มีผู้ประกอบการยื่นจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร นำมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้กับสถาบันการเงิน คิดเป็นวงเงินจดจำนองถึง 1.6 แสนล้านบาท  

นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า สำหรับปีงบประมาณ 2565 กรอ. ยังคงเดินหน้าช่วยเหลือผู้ประกอบการ อย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะมีผู้ประกอบการนำเครื่องจักรเข้ามาจดทะเบียนกรรมสิทธิ์และจดจำนอง 2 แสนล้านบาท เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 (COVID-19) เริ่มคลี่คลาย และมาตรการรองรับต่าง ๆ ทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชนที่ดีขึ้น รวมถึงสถาบันการเงินเริ่มมีการอนุมัติปล่อยสินเชื่อให้กับทางสถานประกอบการมากขึ้น เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศขับเคลื่อนต่อไปได้ 

‘สุริยะ’ ยกทัพลงกระบี่ ชี้ช่องเพิ่มมูลค่า SMEs พร้อมฟังข้อเสนอกลุ่มจังหวัดฝั่งอันดามัน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหารลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการในจังหวัดกระบี่ ร่วมหารือแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ พร้อมสนับสนุนข้อเสนอของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ภูเก็ต, กระบี่, ตรัง, พังงา, ระนอง และสตูล) เร่งยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพด้านกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม มุ่งสู่อุตสาหกรรม 4.0 พร้อมขยายช่องทางการตลาดออนไลน์ ตั้งเป้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการและร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2564 ณ จังหวัดกระบี่ ระหว่างวันที่ 15 - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เพื่อพบปะและรับฟังปัญหาข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการในพื้นที่ และนำไปขับเคลื่อนเศรษฐกิจในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ภูเก็ต, กระบี่, ตรัง พังงา, ระนอง และสตูล) โดยจุดแรกได้เดินทางไปยังบริษัท วู้ดเวอร์ค จำกัด ประกอบกิจการแปรรูปไม้ยางพาราและไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ 13 ชนิด (ตามมติ ครม.) อาทิ ยูคาลิปตัส, กระถินณรงค์, กระถินเทพา, มะพร้าว, มะขาม, ไม้จามจุรี ฯลฯ  

โดยการอัดน้ำยาอบแห้ง เพื่อทำลังไม้ และไม้รองสินค้าเพื่อจำหน่าย มูลค่าการลงทุนกว่า 390 ล้านบาท กำลังการผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปกว่า 11 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี มูลค่าการส่งออกกว่า 200 ล้านบาท/ปี โดยเป็นการส่งออก 90% ใช้ในประเทศ 10% ส่วนใหญ่ส่งไปยังประเทศจีน

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้เข้าร่วมโครงการของกระทรวงอุตสาหกรรมในหลายด้าน เช่น โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว โครงการสร้างและพัฒนาเครือข่ายอุตสาหกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน โดยทางบริษัทได้ขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมช่วยส่งเสริมและสนับสนุนในการยกระดับบุคลากร เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตด้วยนวัตกรรมเพื่อมุ่งสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยในช่วงของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) บริษัทฯ ได้เข้าร่วมโครงการมาตรการ Bubble and seal ด้วยการแยกพนักงานออกเป็นกลุ่มย่อยและไม่ให้ทำงานเข้ากลุ่มกัน รวมถึงจำกัดพื้นที่ หรือการเดินทางภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งโรงงานจะจัดเตรียมที่พักสำหรับพนักงาน ขณะที่พนักงานที่ติดเชื้อจะถูกแยกไปตามพื้นที่ที่จัดสรรตามระดับอาการป่วยเพื่อรับการรักษาต่อไป

‘สุริยะ’ สั่งเร่งฟื้นฟูผู้ประกอบการใต้ฝั่งอันดามัน ชู 4 ประเด็นเร่งด่วน - ยกระดับ BCG Model

‘สุริยะ’ สั่งการ ‘ดีพร้อม’ ฟื้นฟูผู้ประกอบการพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน พร้อมชู 4 ประเด็นเร่งด่วนหนุนอุตฯ ศักยภาพ พร้อมรุกนโยบายเสริมแกร่ง ‘BCG Model’

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งติดตามการดำเนินงานผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน พร้อมมอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม ปรับแผนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้พื้นที่ดังกล่าวมีความเข้มแข็ง ทั้งในด้านการยกระดับเศรษฐกิจชีวภาพ - เศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio-Circular-Green Economy รวมถึงการเร่งฟื้นฟูอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของพื้นที่ ผ่าน 4 แนวทางหลัก ได้แก่ 

1.) เพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมผ่านศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 
2.) การยกระดับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน 
3.) การดึงอัตลักษณ์ประจำถิ่นกระตุ้นความต้องการของตลาด 
และ 4.) การพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าชุมชน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2564 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ภูเก็ต กระบี่ ตรัง พังงา ระนอง และสตูล) ณ จังหวัดกระบี่ และได้มีการติดตามการดำเนินงานในส่วนของการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รวมถึงการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ซึ่งได้แก่ จังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง พังงา ระนอง และสตูล โดยในการดำเนินงานดังกล่าว ได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กำกับและมีบทบาทการยกระดับศักยผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม  

ขณะเดียวกัน ยังร่วมรับฟังความต้องการของผู้ประกอบการ พร้อมนำไปปรับเป็นแผนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งเขตเศรษฐกิจที่เข้มแข็งของประเทศ นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้เร่งปฏิบัติงานด้านการเพิ่มประสิทธิภาพเศรษฐกิจชีวภาพ - เศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio-Circular-Green  Economy : BCG Model รวมถึงสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ การขยายช่องทางการตลาดออนไลน์ และพัฒนานวัตกรรมการผลิตในธุรกิจที่มีศักยภาพเพื่อก้าวไปสู่การเป็นอุตสาหกรรม 4.0

ด้าน นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาดีพร้อม มีแนวทางและแผนการยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน รวมถึงได้มีการติดตามการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการในหลากหลายสาขา โดยเฉพาะที่เป็นกลุ่มไมโครเอสเอ็มอี ซึ่งมีอยู่กว่า 5 แสนราย ไม่ว่าจะเป็น การประมง การปศุสัตว์ การทำเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การประกอบธุรกิจอาหารและเกษตรแปรรูป รวมถึงวิสาหกิจชุมชน ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าและมีอานิสงส์ต่อการจ้างงานของประชากรในพื้นที่ โดยหลังจากได้รับข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ดีพร้อมได้เร่งเตรียมฟื้นฟูและยกระดับผู้ประกอบการด้วยแนวทางที่สำคัญหลากหลายรูปแบบ ดังนี้   


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top