Saturday, 4 May 2024
กระทรวงอุตสาหกรรม

ดัชนี้ผลผลิตอุตสาหกรรม พุ่ง 8 เดือนติด คาดขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง จากอานิสงส์ส่งออกโต

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเมษายน 2565  ขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 0.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ส่งผลให้ MPI 4 เดือนแรกปี 2565 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.37 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเมษายน 2565 ขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 0.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน ส่งผลให้ MPI ช่วง 4 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 1.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิต 4 เดือนแรกอยู่ที่ระดับ 64.63 หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศคลี่คลายลงจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่าง ๆ ตามลำดับ ส่งผลให้การบริโภคในประเทศปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่เติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมทางการเกษตร  

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศมีแนวโน้มคลี่คลาย ประชาชนสามารถออกมาใช้ชีวิตประจำวันและบริโภคได้ตามปกติมากขึ้น ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว สะท้อนได้จากอุตสาหกรรมน้ำมันปิโตรเลียมที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 รวมถึงการอ่อนค่าของเงินบาทส่งผลดีต่อ ภาคการส่งออกทำให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถังและอากาศยาน) เดือนเมษายนขยายตัวร้อยละ 4.98 ในขณะที่สถานการณ์ความไม่สงบของรัสเซียและยูเครนได้ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะราคาพลังงานและค่าขนส่ง ด้านภาพรวมสถานการณ์เงินเฟ้อเริ่มส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม สะท้อนได้จากดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเดือนเมษายนขยายตัวที่ร้อยละ 11.4 เร่งตัวขึ้นจากเดือนมีนาคมขยายตัวที่ร้อยละ 10.4
 

'สุริยะ' สั่งยกเว้นค่าธรรมเนียมโรงงานต่อเนื่อง หวังช่วยฟื้นฟูกิจการหลังโควิดคลี่คลาย

ผู้ประกอบการโรงงาน จำพวก 2 และ 3 ได้เฮ!! อีกรอบ หลัง 'สุริยะ' สั่งการกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ดำเนินการยกเว้นค่าธรรมเนียมโรงงานรายปีต่อเนื่อง หลังจากยกเว้นมาแล้ว 2 ปี มีโรงงานเข้าข่ายได้รับการยกเว้น 60,344 แห่งทั่วประเทศ มูลค่ากว่า 280 ล้านบาท เพื่อช่วยผู้ประกอบกิจการโรงงานสามารถฟื้นฟูกิจการหลังสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ผู้ประกอบกิจการโรงงานได้รับผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและการเงิน เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย เป็นช่วงเวลาที่ผู้ประกอบกิจการโรงงานจะได้ฟื้นฟูกิจการ จึงสั่งการให้ กรอ. ดำเนินการยกเว้นค่าธรรมเนียมโรงงานจำพวกที่ 2 และจำพวกที่ 3 ทุกขนาดอีก 1 ปี ต่อเนื่องจากการยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่ผู้ประกอบการโรงงานในปี 2564 ที่จะสิ้นสุดการยกเว้นค่าธรรมเนียมฯ ในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 โดยการยกเว้นค่าธรรมเนียมในครั้งนี้เป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมครั้งที่ 3 ต่อเนื่องจากปี 2563 และ 2564

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า “การยกเว้นค่าธรรมเนียมให้แก่เจ้าของกิจการโรงงาน เป็นหนึ่งในมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน ในการฟื้นฟูกิจการภายหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย เพื่อให้กิจการสามารถพลิกฟื้นจนก้าวเดินต่อได้อย่างต่อเนื่อง"

'ก.อุตฯ' เผย ค่าเงินบาทอ่อน ส่งผลบวก ศก.อุตฯ ไทย  แนะภาคธุรกิจบริหารความเสี่ยง หันใช้วัตถุดิบทางเลือก

กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยผลการศึกษาผลกระทบค่าเงินบาทอ่อนต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรมไทย ชี้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงส่งให้เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมไทยขยายตัว เป็นผลบวกต่อการส่งออกและผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง (RGDP) แม้ภาคอุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น พร้อมแนะนำผู้ประกอบการให้ความสำคัญในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน บริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้วัตถุดิบทางเลือกอื่นเพื่อทดแทนการนำเข้าวัตถุดิบหลัก

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้ศึกษาผลกระทบค่าเงินบาทอ่อนต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรมไทย โดยพบว่าสถานการณ์ค่าเงินบาทอ่อนค่าในปัจจุบัน (ณ วันที่ 7 มิ.ย. 2565 อยู่ที่ระดับ 34.46 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับวันที่ 30 ธ.ค. 2564 อยู่ที่ระดับ 33.38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ) ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมโดยรวม 

เนื่องจากสถานการณ์ค่าเงินบาทอ่อนค่าเป็นบวกต่อการส่งออก ทำให้สินค้าไทยมีราคาถูกลงและสามารถส่งออกได้มากขึ้น แม้ว่าในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบจะได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น แต่เมื่อพิจารณาโครงสร้างการผลิตอุตสาหกรรมพบว่า การอ่อนค่าของเงินบาทจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่างๆ แตกต่างกันตามสัดส่วนการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง และสัดส่วนการส่งออกสินค้า โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการนำเข้าวัตถุดิบน้อยและมีสัดส่วนการส่งออกมากจะเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์ 

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ผลกระทบของการอ่อนค่าของเงินบาทโดยใช้แบบจำลองเศรษฐมิติมหภาค กรณีถ้าหากเงินบาทอ่อนค่าลงร้อยละ 5 ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง (RGDP) จะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.40 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.35 มูลค่าการส่งออกเมื่อคิดเป็นสกุลเงินบาทจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.14 มูลค่าการนำเข้าเมื่อคิดเป็นสกุลเงินบาทจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.94 

ด้านการบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.21 เนื่องจากผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มมากขึ้น การลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.31 และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะขยายตัวที่ร้อยละ 0.57 

ทั้งนี้ จากการศึกษาข้อมูลปัจจัยการผลิตและผลผลิต สามารถแบ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการอ่อนค่าของเงินบาทแบ่งเป็น 4 กลุ่ม

'สุริยะ' เร่งผลักดันการส่งออกอาหารแปรรูปไทย  รับมือสถานการณ์ความมั่นคงอาหารโลก 

'สุริยะ' พลิกวิกฤตเป็นโอกาส เร่งผลักดันการส่งออกอาหารแปรรูปไทย พร้อมรับมือสถานการณ์ความมั่นคงอาหารโลก ก้าวสู่ 1 ใน 10 ประเทศผู้ส่งออก

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผย ครม. เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565 มีมติรับทราบความคืบหน้าและแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2570) ตั้งเป้าส่งออกอาหารแปรรูปของไทยช่วงครึ่งแรกของปี 2565 มีมูลค่ากว่า 6 แสนล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 และลุ้นปี 2565 ทะลุ New High 1.3 ล้านล้านบาท พร้อมพลิกวิกฤตเป็นโอกาสรับมือสถานการณ์ความมั่นคงด้านอาหารโลก ก้าวสู่ 1 ใน 10 ประเทศผู้ส่งออก ผ่าน 4 มาตรการ เพื่อเร่งสร้างโอกาสสู่การขยายตัวของอุตสาหกรรมในอนาคต

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบความคืบหน้าและแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 - 2570) ที่กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะหน่วยงานหลักได้รับมอบหมายให้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ คาดว่าการส่งออกอาหารแปรรูปของไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 จะมีมูลค่าประมาณ 600,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 ส่วนภาพรวมปี 2565 คาดจะถึงจุดสูงสุดเดิมและมีมูลค่ากว่า 1.3 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นการพลิกวิกฤตเป็นโอกาสในการรับมือกับสถานการณ์ความมั่นคงด้านอาหารโลก และก้าวสู่ 1 ใน 10 ประเทศผู้ส่งออก ผ่านการขับเคลื่อน 4 มาตรการหลักตามแผนปฏิบัติการ เพื่อเร่งสร้างโอกาสสู่การขยายตัวของอุตสาหกรรมในอนาคต โดยมีความคืบหน้า ดังนี้...

มาตรการที่ 1 การสร้างนักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่ (Food Warriors) ผ่าน 4 หน่วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรม (สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด และสถาบันอาหาร) ในการพัฒนายกระดับผู้ประกอบการ สถานประกอบการและวิสาหกิจชุมชน ผ่านการอบรมและให้คำปรึกษาด้านการเพิ่มผลิตภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานสากลและมาตรฐานฮาลาล (HALAL) ถ่ายทอดความรู้เชิงธุรกิจและการนำนวัตกรรมมาใช้ในการผลิต เช่น การยกระดับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่สากล การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปสู่การเป็นโรงงานอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีดิจิตัล รวมทั้งสิ้น 3,218 ราย (4,836 คน) พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรแปรรูปให้มีมูลค่าเพิ่มสูงกว่า 390 ผลิตภัณฑ์  

มาตรการที่ 2 การสร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต มีการเชื่อมโยงกลไกและให้บริการด้านการวิจัยและพัฒนาผ่านเครือข่ายเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดยมีผู้ประกอบการได้รับการเสริมสร้างความสามารถในการดำเนินธุรกิจนวัตกรรม 651 ราย สร้างนักวิจัยให้สามารถผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารมูลค่าสูง เช่น การวิจัยและพัฒนาสารสกัดที่มีฤทธิ์ต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสำหรับผู้สูงอายุ และจัดให้มีศูนย์บริการด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารให้บริการครบวงจร นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยจัดทำโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพมาตรฐานกว่า 791 ราย

มาตรการที่ 3 การสร้างโอกาสทางธุรกิจยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 โดยในปี 2564 กระทรวงพาณิชย์ จัดงานแสดงสินค้าระดับโลกในไทย จำนวน 2 ครั้ง มีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการที่ลงทะเบียนในแฟลตฟอร์ม ทั้งสิ้น 2,363 ราย 2,088 บริษัท 97 ประเทศ มูลค่าการสั่งซื้อรวมประมาณ 3,122.8069 ล้านบาท ด้านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ให้การส่งเสริม กิจการอุตสาหกรรมแปรรูปที่เป็น SMEs มูลค่า 322 ล้านบาท และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จัดทำและปรับปรุงฐานข้อมูล SMEs ประเทศไทย และเชื่อมโยงข้อมูลเข้าสู่ระบบ SMEs Big Data 

‘สุริยะ’ ปลื้ม ‘ร้าน มอก.’ ทะลุ 13,060 ร้าน ประกาศชัด!! ‘ร้านเล็ก-ใหญ่’ ใครๆ ก็เป็นได้

สมอ. อนุมัติเซเว่นฯ กว่า 12,000 สาขา เข้าร่วมเป็น ‘ร้าน มอก.’ รวมยอดทะลุ 13,060 ร้าน ประกาศชัด ‘ร้าน มอก.’ ใคร ๆ ก็เป็นได้ หากขายสินค้ามาตรฐาน มอก. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมยังคงเดินหน้าโครงการ ‘ร้าน มอก.’ อย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ดำเนินการ เพื่อสร้างเครือข่ายร้านจำหน่ายที่ใส่ใจในความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยการคัดเลือกสินค้ามาตรฐาน มอก. มาจำหน่ายภายในร้าน เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าที่ได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น รวมทั้งผลักดันให้ร้านค้าจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ภาครัฐและเอกชนร่วมกันคุ้มครองความปลอดภัยในคุณภาพสินค้าแก่ประชาชน ซึ่งผู้บริโภคจะได้รับความปลอดภัยหากเลือกซื้อสินค้าจากร้านที่เข้าร่วมเป็นร้าน มอก. 

ปัจจุบันมีร้านจำหน่ายทั่วประเทศทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เข้าร่วมโครงการร้าน มอก. กับ สมอ. แล้วจำนวน 49 ราย 13,060 ร้าน ซึ่งมีทั้งห้างสรรพสินค้า, โมเดิร์นเทรด, ร้านจำหน่ายทั่วไป, ร้านสะดวกซื้อ และร้านค้าออนไลน์ที่มีความตระหนักและใส่ใจในความปลอดภัยของผู้บริโภค 

ด้าน นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า สมอ. จะให้ความรู้ด้านการมาตรฐานแก่ร้านจำหน่าย เพื่อให้มีองค์ความรู้ในการคัดเลือกสินค้าที่มีเครื่องหมายมาตรฐาน มอก. มาจำหน่ายภายในร้าน โดยเฉพาะสินค้าที่ สมอ. ควบคุมจำนวน 136 รายการ ซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เช่น พาวเวอร์แบงค์, อะแดปเตอร์, ปลั๊กพ่วง, หลอดไฟ, ไดร์เป่าผม, ของเล่น, ผงซักฟอก, ภาชนะเมลามีน, ถ่านไฟฉาย, ไฟแช็ก, เตาปิ้งย่าง, ฟิล์มยืดห่อหุ้มอาหาร เป็นต้น

มติการประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ร้าน มอก. ครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ (24 มิ.ย. 65) ที่ผ่านมา 
ได้อนุมัติให้ร้านจำหน่ายจำนวน 3 ราย ที่ยื่นคำขอต่ออายุเป็น ‘ร้าน มอก.’ ได้แก่ 
1) บริษัท ทวีโชค พาณิช จำกัด 
2) บริษัท แสงไพบูลย์เชียงราย จำกัด (เอสซีจี โฮม บุญถาวร เชียงราย) 
และ 3) บริษัท โฮมมาร์ท ช. โลหะกิจ จำกัด (เอสซีจี โฮม บุญถาวร กระบี่) และมีร้านจำหน่ายรายใหม่ จำนวน 2 ราย สมัครเข้าร่วมเป็น ‘ร้าน มอก.’  ได้แก่…

'สุริยะ' ชี้!! ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน 5 โต 7.46% คาด!! ศก.ภาคอุตฯ ขยายตัวอีกหลังจีนคลายล็อกดาวน์

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤษภาคม 2565  ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 7.46 เนื่องจากการท่องเที่ยวฟื้นตัวหลังผ่อนคลายมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยว โดยสะท้อนได้จากอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เย็นที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 19.97 ชี้ภาคการผลิตรับผลกระทบจากการขาดแคลนวัตถุดิบจากการล็อกดาวน์เมืองท่าสำคัญของจีน สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) คาด!! การขาดแคลนวัตถุดิบเป็นผลกระทบระยะสั้น ส่วนภาคการผลิตจะขยายตัวหลังประเทศจีนเริ่มคลายล็อกดาวน์

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศคลี่คลายลงและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่าง ๆ โดยเฉพาะมาตรการเปิดประเทศ ส่งผลให้การบริโภคในประเทศปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการอ่อนค่าของเงินบาทช่วยสนับสนุนให้การส่งออกขยายตัว สะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤษภาคม 2565 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 7.46 โดยสะท้อนได้จากอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เย็นที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 19.97 ส่งผลให้ภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมช่วง 5 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 0.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิต 5 เดือนแรกอยู่ที่ระดับ 64.11 ทั้งนี้จำเป็นต้องจับตาดูสถานการณ์การล็อกดาวน์เมืองท่าสำคัญของจีนที่ทำให้เกิดปัญหา Supply shortage โดยเฉพาะการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) คาดการณ์ว่าการขาดแคลนวัตถุดิบเป็นผลกระทบระยะสั้น ภาคการผลิตขยายตัวอีกครั้งหลังประเทศจีนเริ่มคลายล็อกดาวน์เมืองท่าสำคัญเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา 

ด้านนางศิริเพ็ญ เกียรติเฟื่องฟู รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2565 ปรับตัวลดลงที่ร้อยละ 2.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการล็อกดาวน์เมืองท่าสำคัญของจีน ทำให้เกิดปัญหา Supply shortage โดยเฉพาะการขาดแคลน เซมิคอนดักเตอร์เพื่อใช้เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์และสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ โดยจะกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้งในเดือนหน้าหลังประเทศจีนเริ่มคลายล็อกดาวน์เมืองท่าสำคัญ ในขณะที่การบริโภคในประเทศปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องหลังจากภาครัฐเริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่าง ๆ โดยเฉพาะมาตรการเปิดประเทศ ส่งผลให้ประชาชนสามารถออกมาใช้ชีวิตประจำวันและบริโภคได้ตามปกติมากขึ้น การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว สะท้อนได้จากอุตสาหกรรมน้ำมันปิโตรเลียมที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 รวมถึงการอ่อนค่าของเงินบาทส่งผลดีต่อภาคการส่งออกทำให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก  ด้านสถานการณ์ความไม่สงบของรัสเซียและยูเครนมีผลให้ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะราคาพลังงานและค่าขนส่ง ขณะเดียวกันภาพรวมสถานการณ์เงินเฟ้อเริ่มส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม สะท้อนได้จากดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคมขยายตัวที่ร้อยละ 11.8 เร่งตัวขึ้นจากเดือนเมษายนขยายตัวที่ร้อยละ 11.4

‘สุริยะ’ ดันโครงการแปลงเครื่องจักรเป็นทุน โชว์ 9 เดือน จดจำนองทะลุ 2 แสนลบ.

‘สุริยะ’ สั่งเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ ดันโครงการแปลงเครื่องจักรเป็นทุนฯ ช่วยเหลือผู้ประกอบการ โชว์ตัวเลขปี 2565 แค่ 9 เดือน อัดเงินทุนถึงมือผู้ประกอบการกว่า 2 แสนล้านบาทแล้ว

 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในโอกาสเป็นประธานสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ “โครงการแปลงเครื่องจักรเป็นทุนเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน” ระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย และ SME Bank ว่าได้สั่งการให้กรมโรงงานฯ ดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยให้เร่งจัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการโรงงานสามารถนำเครื่องจักรที่อยู่ในโรงงานมาใช้เป็นหลักประกันสินเชื่อกับทางสถาบันการเงินได้ และนำเงินทุนที่ได้มาทำการปรับปรุงการประกอบการให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านประสิทธิภาพการผลิต ลดมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันให้กับกลุ่มอุตสาหกรรม ตามนโยบายโมเดลเศรษฐกิจแบบใหม่ (BCG Economy) ของรัฐบาล

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เสริมว่า โครงการนี้ทั้งสี่ฝ่ายจะร่วมมือกันในด้านการส่งเสริมผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนด้านเครื่องจักร และจะมีการส่งเสริมสนับสนุนมาตรการทางการเงิน (Financial support) พิเศษต่าง ๆ ให้กับผู้ประกอบการ โดยที่ธนาคารกรุงไทย และ SME Bank จะดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อพิเศษในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สินเชื่อ Factoring สินเชื่อเพื่อการเป็นคู่ค้ากับภาครัฐ ฯลฯ เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสนับสนุนผู้ประกอบการ โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายไปที่โรงงานเป็นหลัก

‘ดร.กฤชนนท์’ เผย อุตสาหกรรมไทยยังโตต่อเนื่อง ชี้ กลุ่มเครื่องมือแพทย์ - ยานยนต์ไฟฟ้า มาแรง

เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เผย ภาพรวมอุตสาหกรรมไทยช่วงครึ่งปีหลัง 2565 ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง แม้จะเกิดวิกฤตสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมโลก 

โดยในไทยพบ กลุ่มอุตสาหกรรมด้านอาหาร อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์สมุนไพรไทย และยานยนต์ไฟฟ้า มีแนวโน้มการเติบโตสูง ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าแฟชั่นเติบโตลดลง

นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงภาพรวมอุตสาหกรรมไทย ในงาน Thailand’s Smart Awards ครั้งที่ 3

ว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ภาพรวมการเติบโตอุตสาหกรรมไทยลดลงจากมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งในส่วนของภาคอุตสาหกรรมไทยนั้น มีการปรับตัวทำให้กลับมาเทียบเท่าก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 และยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดย GDP ภาคอุตสาหกรรมไทยเติบโตขึ้น 5.9 % ซึ่งสูงกว่า GDP ของประเทศที่เมื่อปีที่แล้วเติบโตอยู่ประมาณ 1.6 % โดยในปีนี้คาดการณ์ว่า GDP ภาคอุตสาหกรรมจะเติบโตเพิ่มขึ้นอยู่ระดับ 2.2 – 3.2 % 

‘สุริยะ’ เร่งช่วยเหลือภาคธุรกิจกระทบสงคราม สั่ง สมอ. แก้กฎลดอุปสรรค ‘ส่งออก-นำเข้า’

สมอ. แก้ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) ช่วยเหลือผู้ส่งออกสินค้าควบคุม จากเดิมที่ให้รายงานปริมาณการผลิต การส่งออก และปริมาณคงเหลือ ต่อ สมอ. ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีการส่งออก เป็น 30 วัน หลังจากได้รับเอกสารครบถ้วนจากกรมศุลกากร เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการส่งออกอย่างเร่งด่วน โดยตนได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปแก้ไขสถานการณ์ที่ผู้ประกอบการได้รับความเดือดร้อน หากมีกฎระเบียบหรือประกาศของหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ การค้า การส่งออก-นำเข้า ให้พิจารณาแก้ไขเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการให้มากที่สุด โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ต้องไม่กระทบกับนโยบายด้านการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค รวมถึงให้ความช่วยเหลือกรณีที่ผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ไม่สามารถส่งสินค้าเข้าประเทศปลายทางได้ และจำเป็นต้องนำกลับเข้ามาในประเทศให้ สมอ. หามาตรการช่วยเหลือด้วย

ด้าน นายบรรจง  สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่ที่ตนได้เข้ามารับตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เมื่อเดือนตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ก็ได้รับข้อร้องเรียนจากผู้ส่งออกมาอย่างต่อเนื่อง กรณีที่ไม่สามารถรายงานปริมาณการผลิต การส่งออก และปริมาณคงเหลือ ต่อ สมอ. ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ส่งออกได้ จึงทำให้ต้องถูกดำเนินคดี ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว สมอ. จึงเสนอบอร์ดคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์

‘หม่อมปลื้ม’ ปลื้ม!! เดินหน้าโครงการเหมืองโปแตซ ยก ‘สุริยะ’ ตัวจริงพาฉลุย!! แนะอย่าแคร์เอ็นจีโอแขวะ

ถือเป็นความเคลื่อนไหวจากภาครัฐ โดยเฉพาะผลงานที่ถูกขับเคลื่อนโดยกระทรวงอุตสาหกรรม จนทำให้พิธีกรฝีปากกล้าอย่าง ‘หม่อมปลื้ม’ หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล ผู้ดำเนินรายการ ‘The Daily Dose’ ที่ออกมาเชียร์ให้รัฐบาลเดินหน้าสุดซอยกับโครงการเหมืองโปแตซ โดยหม่อมปลื้มได้ลงรายละเอียด ระบุว่า...

ข่าวดี!! ครม.อนุมัติ ‘เอเชีย แปซิฟิค’ บริษัทในเครืออิตาเลียนไทย เดินหน้าเหมืองโปแตซ อุดรฯ ลงทุน 3.6 หมื่นล้านบาท เตรียมให้ประทานบัตร กำลังการผลิตปีละ 2 ล้านตัน เพื่อลดการพึ่งพาปุ๋ยต่างประเทศเสียที

ทุกวันนี้ประเทศไทยนำเข้าปุ๋ยปีละ 4 ล้านตัน มูลค่า 60,000 ล้านบาท เป็นปุ๋ยโปแทชเซียมประมาณ700,000 ตัน คิดเป็น 9,000 ล้านบาทต่อปี ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตโปแตซเซียมสูงมาก ซึ่งคาดว่าไทยมีสำรองแร่โปแตชสูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลกอยู่ที่ 400,000 ล้านตัน รองจากแคนาดา, เบลารุส และเยอรมนี

สำหรับพื้นที่พบแร่โปแตชขนาดใหญ่ในไทยมี 2 แหล่ง คือ ‘แอ่งสกลนคร’ ประกอบด้วย จังหวัดสกลนคร, หนองคาย, อุดรธานี และ นครพนม

และ ‘แอ่งโคราช ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น, กาฬสินธุ์, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, ยโสธร, อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, นครราชสีมา และ ชัยภูมิ

แน่นอนว่าตอนนี้ ‘กระทรวงอุตสาหกรรม’ ได้อนุมัติประทานบัตรให้กับเอกชน 2 ราย คือ บริษัท ไทยคาลิจำกัด จ.นครราชสีมา และ บริษัท อาเซียนโปแตชชัยภูมิ จำกัด (มหาชน) จ.ชัยภูมิ เพื่อเข้ามาดำเนินโครงการเหมืองโปแตซ ที่จะนำไปสู่การผลิตปุ๋ยใช้เองในประเทศได้แล้ว

โดยล่าสุดกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเมื่อวันที่ (28 มิ.ย.) ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นโครงการของบริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปแตชคอร์ปอเรชั่น จำกัด (เอพีพีซี) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์จำกัด (มหาชน) หรือ ไอทีดี ซึ่งเข้าไปซื้อกิจการบริษัทเอเซีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่นจำกัด เมื่อปี 2549

สำหรับเรื่องของการเคาะโครงการเหมืองโปแตช ‘อุดร’ นั้น นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ครม.เห็นชอบโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยขั้นตอนจากนี้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ จะไปเร่งออกประทานบัตร เพื่อเป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาการขาดแคลนปุ๋ยช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป

ถึงตรงนี้ ผมขอปรบมือให้ครับ!! โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับรัฐมนตรีอย่างคุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และ คุณสมศักดิ์ เทพสุทิน

เขา 2 คนเป็นคนที่อยู่เงียบๆ แต่ทำงานจริง เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการอนุมัติโครงการสำคัญต่อประเทศ อย่างโครงการเหมืองโปแตซนี้ ที่ได้รับการอนุมัติจากคุณสุริยะ มันสำคัญมากๆ

(กลับมาที่เนื้อหาต่อ) ทั้งนี้ในส่วนของโครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี ถือเป็นเหมืองแร่ขนาดใหญ่โดยเหมืองดังกล่าว มีแผนการผลิต 2 ล้านตันต่อปี โดยประเมินว่า จะมีปริมาณการผลิตตลอดอายุโครงการ 25 ปี อยู่ที่ 33.67 ล้านตัน เบื้องต้นมีมูลค่าการลงทุนของโครงการประมาณ 36,000 ล้านบาท โดยที่ผ่านมา บริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้ยื่นขอประทานบัตรไปแล้ว

ที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และส่วนราชการตามกฎหมายถึงโครงการดังกล่าวแล้ว รวมทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังได้พิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมแล้วด้วย ซึ่งก็พบว่าเป็นไปตามข้อกำหนด ดังนั้นจึงได้เสนอเข้ามาใน ครม. เพื่อพิจารณาเห็นชอบ

หลังจากโครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี ได้ผ่านการเห็นชอบจาก ครม.แล้ว ขั้นตอนต่อไปจะไปเร่งออกประทานบัตร ซึ่งภาคเอกชนก็อยากทำไห้เร็ว คาดว่า อย่างเร็วที่สุดภายใน 6 เดือน หรือ 1 ปีก็คงเริ่มต้นดำเนินการได้ โดยจะค่อยๆ เริ่มทำไป ซึ่งเหมืองแร่แห่งนี้มีปริมาณการผลิตอยู่ที่ 2 ล้านตันต่อปี

ส่วนอีก 2 บริษัทที่ได้รับประทานบัตรทำเหมืองแล้ว คือ บริษัท เหมืองแร่โปแตชอาเซียน จำกัด (มหาชน) จังหวัดชัยภูมิ อยู่ระหว่างให้กระทรวงการคลังดำเนินการเริ่มการเพิ่มทุน ขณะที่บริษัท ไทยคาลิ จำกัด จังหวัดนครราชสีมา อยู่ระหว่างการขุดอุโมงค์เพื่อเริ่มทำเหมืองตามขั้นตอน แต่ยังไม่ได้เปิดการทำเหมืองได้ โดยในส่วนของกำลังการผลิตเหมืองโพแทชในประเทศไทยทั้งหมด หากสามารถเปิดเหมืองทั้ง 3 แห่งได้นั้น จะอยู่ที่ 3.2 ล้านตันต่อปีเลยทีเดียว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top